370 likes | 699 Views
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาขยะแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนครบวงจร โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน โดย. ซึ่งได้ดำเนินการ ค้นคว้า ศึกษา ปัญหาขยะ และพัฒนาหาวิธีการ กำจัด ขยะแบบไร้มลพิษ มาก ว่า 10 ปี. บริษัท เสริมทรัพย์ไพศาล กรุ๊ป 1999 จำกัด.
E N D
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาขยะแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนครบวงจรยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาขยะแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนครบวงจร โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน โดย ซึ่งได้ดำเนินการ ค้นคว้า ศึกษาปัญหาขยะ และพัฒนาหาวิธีการกำจัดขยะแบบไร้มลพิษ มากว่า 10 ปี บริษัท เสริมทรัพย์ไพศาล กรุ๊ป 1999 จำกัด สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่89/1-2 ถนนหทัยราษฎร์ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ทุนจดทะเบียน 999 ล้านบาท
หัวข้อ “แนวทางในการบริหารจัดการขยะในชุมชน” ขยะ เป็นปัญหาใหญ่ของชุมชนเมืองทั่วไป ความเจริญอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งปริมาณขยะให้เพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่าทั่วทั้งประเทศไทย ปริมาณขยะมีวันละ 43,779 ตัน/วัน หรือปีละกว่า 15.97 ล้านตัน งบประมาณที่สนับสนุนในการจัด เก็บและกำจัดขยะเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ชุมชนนั้นๆ จัดเก็บและกำจัดขยะได้อย่างสะอาด รวดเร็ว เรียบร้อย และประหยัดได้ ระบบโครงสร้างและแผนงานการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นจึงจะทำให้การจัดเก็บ และกำจัดขยะประสบผลสำเร็จกล่าว โดยทั่วไป ควรใช้วิธีจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยและขยะต่าง ๆ ดังนี้
การให้ความรู้ขั้นพื้นฐานแก่ผู้ที่ทิ้งขยะเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทิ้งขยะและสร้างวินัยความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บและเป็นระบบเดียวกันจะเป็นผลดีต่อการปฏิบัติจริง ส่งผลดีสืบเนื่องต่อขบวนการกำจัดขยะแบบบูรณาการ และยั่งยืนต่อไป เริ่มต้นด้วย ทิ้งที่ไหน คือ การกำหนดจุดทิ้งขยะไม่ว่าจะเป็นหน้าบ้าน หรือปากซอย (บางซอยคับแคบรถขยะเข้าไม่ได้) ทิ้งเมื่อไหร่ คือการกำหนดเวลาทิ้งขยะที่ชัดเจนเมื่อเวลารถขนขยะเข้ามาจัดเก็บขยะจะได้ไม่มีขยะตกค้าง ทิ้งอย่างไร คือการจัดหาอุปกรณ์สำหรับรองรับขยะ(ถังรับขยะ) สำหรับแห้งและขยะเปียก และติดป้ายให้ชัดเจนหรือแบ่งสี เพื่อให้ผู้ทิ้งขยะทิ้งได้ถูกต้องเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปกำจัด เมื่อสร้างวินัยและจิตรสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมให้ทุกคนเข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างถูกต้องแล้วจะทำให้ง่ายต่อกระบวนการกำจัดขยะต่อไป
การกำจัดขยะที่ประชาชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้กันอยู่ในขณะนี้ คือ • การทิ้งทั่วไปโดยผิดวิธีประมาณ 15 % ซึ่งพบมากที่สุดในแหล่งชุมชน • พื้นที่รกร้าง ว่างเปล่า และบางแห่งโยนลงแม่น้ำลำคลอง • 2. การเผาแบบง่าย ๆ ประมาณ 10% ในอุณหภูมิในการเผาที่ 80 -150 • องศาเซลเซียส • การคัดแยกไปแปรรูปประมาณ 10 % เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่ง • ก่อนนำไปฝังกลบ • 4. การฝังกลบขยะมากถึง 65%
ซึ่งวิธีการกำจัดขยะแบบต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นในปัจจุบันและในอนาคต ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เพราะสร้างปัญหาในด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และการฝังกลบขยะนั้นเป็นการสิ้นเปลืองพื้นที่มาก มีต้นทุนสูง ฝังกลบไม่ทันทำให้ขยะตกค้างกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค สร้างผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำใต้ดินเพราะน้ำเสียจากบ่อฝังกลบขยะ เริ่มซึมซับเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำใต้ดิน ทำให้น้ำเน่าเสียบางแห่งเริ่มใช้การไม่ได้ เป็นปัญหาด้านมลพิษกับสิ่งแวดล้อมและเกิดปัญหาการต่อต้านการฝังกลบขยะจากชุมชนทั่วไป
บริษัท เสริมทรัพย์ไพศาล กรุ๊ป 1999 จำกัด ร่วมกับ WUXI HUAGUAGN BOILER CO.,LTD จากประเทศจีน และ บริษัท ลาวีเอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จึงขอนำเสนอแนวทางการกำจัดขยะใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยมาช่วยหรือที่เลือกว่าโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน (โรงงานเตาเผาขยะมูลฝอยแบบไร้มลพิษและผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่าย) เพื่อเป็นการแก้ปัญหาขยะและกำจัดของเสียที่ทุกคนรังเกียจมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และได้สิ่งแวดล้อมที่ดีกลับมา ได้พลังงานไฟฟ้าสะอาดทดแทนให้กับประเทศชาติ และช่วยให้ประเทศประเงินตราในการซื้อเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ก๊าซ ด้วยเทคโนโลยีที่ดีและมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในโลกโดยคำนึงถึงมลภาวะและสิ่งแวดล้อมของโลกเป็นสำคัญ
โครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาขยะได้แบบบูรณาการและยั่งยืนทั้งจังหวัด สามารถเผากำจัดขยะแบบไร้มลพิษได้ในปริมาณจำนวนมากทำให้ขยะไม่ตกค้าง ด้วยวิธีการเผาทำลายที่อุณหภูมิความร้อนตั่งแต่ 850-1,500 องศาเซลเซียส ซึ่งด้วยความร้อนขนาดนี้สามารถเผาเชื้อโรคและก๊าซต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงหมดปัญหาเรื่องมลพิษจากการเผา และสามารถเผาทำลายขยะได้ในปริมาณ 300 - 1,500 ตัน/วัน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน จึงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาขยะในภาวะขยะล้นเมืองที่ดีที่สุด แทนการกำจัดขยะในแบบต่าง ๆ ซึ่งสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างมากมาย เพราะการฝังกลบขยะกลายเป็นการเพิ่มปัญหาด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งเรื่อง อากาศเสีย – น้ำเสีย – กลิ่นเหม็น –เป็นแหล่งเพราะพันธ์เชื้อโรค ที่สำคัญ เป็นสาเหตุทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำใต้ดินเสียหาย หลายแห่งใช้การไม่ได้ น้ำเสียจากบ่อขยะไหลออกสู่ไร่นาชาวบ้านทำให้มีผลกระทบเป็นบริเวณกว้างต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และทำให้ทัศนีย ภาพของบริเวณนั้นและจังหวัดนั้น ๆ เสียหายปัญหาเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มทวีคูณหากไม่หาวิธีการกำจัดขยะให้หมดไป เพราะขยะจะยิ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย การกำจัดขยะโดยการเผาแบบไร้มลพิษใน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนใหญ่มีงบประมาณของตนเอง และอาจขอสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางเป็นบางส่วน ยิ่งแต่ละเทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ดำเนินการเองโดยไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องขยะเพิ่มมากขึ้น เพราะแต่ละพื้นที่มีจำนวนประชากรและปริมาณขยะที่ไม่เท่ากัน ส่งผลต่อการหาที่ทิ้งและกำจัดขยะหรือจุดทีจะฝังกลบขยะมีปัญหามาโดยตลอดกลายเป็นว่านำขยะจากเขตนั้นมาทิ้งและฝังกลบในเขตนี้ เป็นการยกปัญหาจากที่หนึ่งมาสร้างปัญหาให้กับอีกที่หนึ่ง อีกทั้งปัญหามวลชน การเมืองท้องถิ่น การบริหารงบประมาณ ของแต่ละเขต ที่ส่งผลเสียต่อการจัดเก็บและกำจัดขยะทั้งระบบ สาเหตุหลักคือต่างคนต่างทำไม่ประสานแนวคิดและวิธีการเข้าด้วยกัน “ การรวมศูนย์ ” จึงเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการ กล่าวคือเมื่อรวม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปริมาณจำนวนขยะในจังหวัดนั้นแล้ว ต้องมีเจ้าภาพหนึ่งแห่งเพื่อดำเนินการ ( เป็นเจ้าของโครงการหรือคู่สัญญาในการรวบรวมขยะกับบริษัทที่ลงทุน) จากนั้นวิเคราะห์หาต้นทุนในการจัดเก็บและค่ากำจัดขยะ แล้วจัดการวางแผนงาน วางโครงสร้างการบริหารโครงการ
การจัดหาที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน ตามมติของที่ประชุมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( เป็นเจ้าของโครงการหรือคู่สัญญาในการรวบรวมขยะกับบริษัทที่ลงทุน) วางแผนระบบการขนส่งขยะขนาดใหญ่ (ระบบโลจิสติกส์ ) กำหนดจุดรับขยะดัวยรถขนส่งขยะขนาดใหญ่แล้วนำเข้าสู่โรงงานฯในแต่ละอำเภอ ๆ ละ 1 จุด เพื่อเป็นการลดจำนวนรถขนขยะจะวิ่งเข้าโรงงานฯเป็นจำนวนมากเหลือเพื่อแค่ 1 คัน (จุดรับขยะควรเป็นบ่อฝังกลบขยะเดิมที่รับฝังกลบขยะอยู่แล้ว โดยเจ้าของโครงการควรเจรจากับเจ้าของบ่อขยะเดิมในการรับขยะมาเผากำจัดให้ในราคาต่ำหรือกำจัดให้ฟรี) กำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดปริมาณพื้นที่ใช้สอย กำหนดงบประมาณการก่อสร้างทั้งระบบ(กรณีดำเนินการเอง) โดยการดำเนินการเองหรือจ้าง บริษัทมาดำเนินการ หรือมอบ หมายให้ บริษัทเอกชนมาลงทุน สรุปวิธีการกำจัดขยะด้วยวิธีการเผาแบบไร้มลพิษจึงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพดีที่สุด
สภาวะสังคมเมืองทุกวันนี้ มีความเจริญเติบโตตลอดเวลา ปัญหาเรื่องขยะต่างๆ ก็ตามมามากมาย ขยะล้นถัง ขยะทำให้บ้านเมืองไม่สะอาดกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม
จัดการปัญหาขยะในปัจจุบันใช้วิธีการนำไปฝังกลบ ก่อนนำไปฝังกลบพนักงานเก็บขยะ จะคัดแยกขยะเช่น พลาสติก ขวด แก้ว เศษเหล็ก เศษอะลูมิเนียมและอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้เพื่อนำไปขายเป็นรายได้เสริมเพื่อนำไปรีไซเคิลและนำส่วนที่เหลือไปทิ้งที่บ่อฝังกลบต่อไป
สภาพโดยรอบ บ่อฝังกลบขยะทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน มนุษย์และสัตว์ต่างได้รับผลกระทบรวมทั้งทัศนียภาพโดยรอบในบริเวณบ่อฝังกลบขยะเสียหายเป็นบริเวณกว้าง
บ่อฝังกลบขยะ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนเรือนกระจกทำให้อากาศแปร ปรวนฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะแก๊สมีเทนที่เกิดจากการหมักหมมของขยะที่ต้องระบาย ออกมาตลอดเวลาถ้าไม่ ระบายแก๊สออกมาจะเกิดการระเบิดของบ่อฝังกลบขยะ
บ่อฝังกลบขยะ กลายเป็นภูเขาขยะลูกใหม่โดยฝีมือมนุษย์ และอีกหลายปัญหาจากบ่อฝังกลบขยะเช่น กลิ่นเหม็นของขยะ และน้ำเสียทั้งบนดินและ ใต้ดิน ที่ซึมซับและไหลออกจากบ่อฝังกลบขยะไปตาม ไร่ นา บ่อน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ หรือแหล่งน้ำดิบตามธรรมชาติ ซึ่งยากที่จะป้องกันได้
น้ำเสียจากบ่อฝังกลบขยะ เมื่อไหลซึมลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่างๆจะเกิดผลกระ ทบต่อระบบนิเวศของน้ำและทำความเสียหายอันตรายต่อสัตว์น้ำต่าง ๆ รวมทั้งจะทำลายแหล่งน้ำดิบที่เราใช้บริโภค อุปโภค
เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ขยะจะลอยเกลื่อนเมืองน้ำเน่าเสียไวและทำให้เกิดโรคระบาดต่างๆตามมาสภาพตามถนนและคลองมีแต่ขยะ ปัญหาที่ตามมาคือ น้ำเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำจะพัดพาขยะจากบ่อฝังกลบขยะในที่ต่างๆลงไปรวมกันที่ แหล่งน้ำดิบที่ใช้อุปโภค-บริโภค เช่น แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะเกิดวิกฤตแหล่งน้ำดิบเน่าเสียยากที่จะแก้ไขได้
หากเราไม่หาวิธีการกำจัดหากเราไม่หาวิธีการกำจัด ขยะต่างๆให้หมดไป วันข้างหน้าประเทศไทย ต้องพบปัญหา ขยะ..ล้นเมืองจนหมดทางแก้ไข เราสามารถนำขยะที่สร้างปัญหาต่อ สิ่งแวดล้อมและชุมชน มาเป็นพลังงานไฟ ฟ้าสะอาดทดแทน ให้กับประเทศชาติได้
บริษัท เสริมทรัพย์ไพศาล กรุ๊ป 1999 จำกัด SERMSUPPAISAL GROUP 1999 CO.,LTD. และ บริษัท อู๋สีหัวกวง บอยเลอร์ จำกัด WUXI HUAGUANG ELECTRIC POWER ENGINEERING CO.,LTD ด้วยระบบ CFBTECHNOLOGYbyFOSTER WHEELER จากประเทศสหรัฐอเมริกา ขอนำเสนอโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน ในการแก้ไขปัญหาขยะ เพื่อเผากำจัดขยะให้หมดไปแบบไร้มลพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน และสามารถนำความร้อนมาผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานสะอาดทดแทนได้
วิธีการที่จะกำจัดขยะให้หมดไปต้องใช้วิธีการเผากำจัด วิธีการที่จะกำจัดขยะให้หมดไปต้องใช้วิธีการเผากำจัด แต่ยังไม่หมดปัญหาไป…?
หรือ กำจัดในเตาเผาขยะ แต่การใช้เผาขยะที่ไม่ได้มาตรฐาน กลับสร้างปัญหาด้านมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมและชุมชน
บริษัทขอนำเสนอให้เปลี่ยนแนวคิดบริษัทขอนำเสนอให้เปลี่ยนแนวคิด การกำจัดขยะด้วยการฝังกลบหรือแบบอื่นๆ มาเป็นการเผา แบบไร้มลพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ประโยชน์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับ 1.ปัญหาของขยะทั้งเรื่อง กลิ่น น้ำเน่าเสีย แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค จะหมดไป 2.ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประหยัดงบประมาณในการจ่ายค่าฝังกลบขยะ(ตันละ 350 บาท) 3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คู่สัญญา กลับมีรายได้จากการรวบรวมขยะตันละ 30 บาท (บริษัท จ่ายให้) 4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตั่งโครงการมีรายได้จากค่าภาษีจำหน่ายไฟฟ้ามาพัฒนาชุมชนทั่งด้าน การศึษา การกีฬา และด้านสาธารณโภค โดยไม่รองบประมาณจากภาครัฐ ปีละกว่า 28 ล้านบาท 5.ประชาชนที่อยู่โดยรอบโครงการได้รับเงินตามระเบียบการไฟฟ้าปีละประมาณ 1 ล้านบาท 6.เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเพราะจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน 7.ได้พื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมที่ดีกลับคืนให้กับธรรมชาติและประชาชน 8.เป็นการนำของเสียมาสร้างเป็นพลังงานสะอาดทดแทนให้กับประเทศชาติ(ทำให้ประเทศชาติประหยัดเงินตราในการซื้อเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเพื่อมาผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น แก๊ส ก๊าซ และน้ำมัน) เปลี่ยนขยะที่ทุกคนรังเกียจให้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนให้กับประเทศชาติ
จุดเด่นคือ ต้องเผากำจัดขยะแบบไร้มลพิษ ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง
เปลี่ยนบ่อฝังกลบขยะที่สร้างปัญหาด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน มาเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนแบบไร้มลพิษ ภูมิทัศน์โดยรอบต้องสวยงามเสมือนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้การกำจัดขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสะอาดทดแทนให้กับประเทศชาติ ขณะการทำงานไม่มีกลิ่นและควัน นก สามารถบินผ่านได้
การเก็บรองรับขยะมูลฝอย,การป้องกันกลิ่น และน้ำเสียจากโรงงาน อาคารเก็บขยะ ได้ออกแบบในการป้องกันกลิ่นของขยะเป็นระบบ(VacCum)เพื่อดูดซับกลิ่นของขยะเข้าไปเผาในเตาเผาขยะกลิ่นของขยะ จึงกลายเป็นเชื้อเพลิง เสริมในการเผาขยะ การป้องกันน้ำเสียได้ออกแบบเป็นระบบกันซึมเพื่อป้องกันน้ำเสียจากห้องเก็บขยะ ออกไปสู่ภายนอกโรงงาน น้ำเสียที่มากับขยะจะถูกหมักจนเป็นแก็ส กลายเป็นเชื้อเพลิงเสริมช่วยในการเผากำจัดขยะและผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีหรือนำไปบำบัดจนกลายเป็นน้ำ ดีนำกลับมาใช้ในโครงการ จึงมั่นใจได้ว่ากลิ่นและน้ำเสีย จะไม่หลุดลอดออกนอกโรงงานฯ อาคารรับขยะถูกออก แบบให้มีขนาดใหญ่ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถรองรับขยะมูลฝอยได้ในปริมาณ 4,000-5,000 ตัน หรือ 7 วัน (ในกรณีปิดซ่อมบำรุง) โดยรถขนส่งขยะนำมาเทลงที่อาคารเก็บขยะ โดยไม่ต้องคัดแยกขยะและภายในอาคารเก็บขยะมีระบบ ( RDF ) การสับย่อยและลดความชื้นของขยะก่อนส่งเข้าไปเป็นเชื้อเพลิง (เผา) และนำความจากการเผาขยะมาผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป ซึ่งการออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนได้คำนึงถึงสภาวะด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นหลัก และต้องไม่สร้างผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนในทุกๆด้าน
เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ นำสมัย การเผาขยะด้วยระบบCFB TECNOLOGY by FOSTER WHEELER จากประเทศอเมริกา เป็นระบบการเผาขยะด้วยทรายร้อนและเผาใน BOILER ด้วยความร้อนมากกว่า 850 องศาเซลเซียส จึงสามารถเผาขยะที่มีความ ชื้นสูงได้ เป็นการเผากำจัดขยะแบบหมุนเวียนดัวยความร้อนขนาดนี้จึงเผาทำเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ทำให้สามารถ เผาขยะทุกชนิดได้อย่างสม บูรณ์แบบเต็มประสิทธิภาพ ทำให้หมดปัญหาด้านมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย การเผาขยะด้วยระบบ CFBTECNOLOGY by FOSTER WHEECER
ระบบการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน ระบบ CFB TECHNOLOGY การป้อนขยะโดยตัวคีบครั้งละ 3 - 5 ตัน โดยผ่านทางปล่องรับขยะ และด้วยระบบการเผาขยะในหม้อต้มน้ำ(Boiler)ผสมด้วยทรายร้อนกว่า 850 องศาเซลเซียส ทำให้สามารถเผาขยะได้ทุกชนิดอย่างสมบูรณ์แบบเต็มประสิทธิภาพเพราะทรายร้อนจะเข้าผสมและเผาขยะไปในตัวและเป็นการเผาขยะแบบหมุนเวียนช้ำหลายครั้ง จึงสามารถเผาทำลายแก๊สพิษต่างๆที่เกิดจากการเผาขยะทุกชนิด การเผาขยะด้วยระบบ CFB TECHNOLOGY จึงเป็นเผาขยะที่ดีที่สุดและไม่มีขี้เถ้าลอยมีแต่ขี้เถ้าหนักจึงมีรายได้จากการขาย by product หรือนำไปทำเป็น อิฐมวลเบา แจกประชาชนหรือทำตัวนอนปูทางเดินหรือนำไปทำถนนและถมที่ดิน
ระบบการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนระบบ CFB TECHNOLOGY &MOVING GRATES ห้องปรับอุณหภูมิEconomizer เป็นตัวนำความร้อนส่วน ที่มักจะสูญเสียไปจาก Boiler มาอุ่นน้ำและป้อนเข้าไปในBoiler และอุ่นอากาศ ก่อนป้อนเข้าเสริมระบบการเผาไหม้ช่วยประหยัดพลังงานลดการใช้เชื้อเพลิง(ขยะ)รวมทั้งลดรังสีความร้อนที่จะแผ่ออกสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน น้ำเสียจากขยะจะถูกดูดไปเผากำจัดหรือนำไปบำบัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ในโรงงาน กลิ่น ที่เกิดจากขยะจะถูกดูดนำไปเผาทำลายและกลายเป็นเชื้อเพลิงเสริมในการเผาขยะ ทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอ
ระบบการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนระบบ CFB TECHNOLOGY &MOVING GRATES • เครื่องกำเนิดและผลิตดระแสไฟฟ้า ระบบดักจับมลพิษก่อนจะระบายอากาศออกภายนอก ปล่องระบายอากาศ Air Pollution Control ใช้ Multi Cyclonesในการกำจัดฝุ่นหนัก แล้วผ่านมาที่ Dry Absorption ซึ่งคอยดักจับไอพิษ และใช้ Bag Filter คอยดักจับเถ้าลอยและอนุภาคขนาดเล็กก่อนโดยมีระบบ CEMS คอยตรวจวัดคุณภาพอากาศก่อนปล่อยระบาย ออกสู่ภายนอกในปริมาณน้อยกว่า 10 mg/m3ซึ่งระบบ CEMS นี้จะเชื่อมข้อมูลเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อค่อยรายงานผลของอากาศที่ปล่อยออกสู่ภายนอกถ้าอากาศไม่ได้มาตรฐานระบบCEMS จะไม่อนุญาตให้ปล่อยอากาศออกและจะสั่งให้ระบบควบคุมดูดอากาศที่ไม่ได้มาตรฐานกลับไปเผาซ้ำใหม่จนกว่าจะได้มาตรฐานตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดจึงจะอนุญาตให้ปล่อยอากาศออกโดยปล่องระบายอากาศ ด้วยระบบการป้องกันด้านมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมและชุมชนนี้จึงสามารถขายคาร์บอนเครดิต(อากาศดี)ได้ จึงมั่นใจได้ว่าอากาศที่ปล่อยออกสู่ภายนอกไร้มลพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ระบบควบคุมคุณภาพอากาศ Continuous Emission Monitoring System (CEMS) ควบคุมและตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่ ปล่อยออกสู่ภายนอกได้อย่างต่อเนื่องโดย ด้วยระบบCEMSซึ่งจะส่งข้อมูลรายงานผลของการปล่อยระบายอากาศไปยังกรมควบคุมมลพิษตลอดเวลาถ้าสารตัวไหนที่ปล่อยออกเกินกฎหมายกำหนดจะอารามไปที่กรมควบคุมมลพิษทันที ซึ่งทางกรมควบคุมมลพิษ จะสั่งการให้โรงงานหยุดเพื่อทำการแก้ไขทันที ทำให้มั่นใจได้ว่าชุมชนที่อยู่ใกล้หรือไกล จะไม่ได้รับผล กระทบจากโรงไฟฟ้าพลังขยะชุมชน
ระบบ โลจิสติกส์ (การขนส่งขยะจากแหล่งขยะตามอำเภอต่างๆ • ปริมาณการนำขยะเข้าสู่โรงไฟฟ้า กรณีไม่เพียงพอในแต่ละวันจะไม่มีผลกระทบต่อระบบเพราะได้ออกแบบอาคารรับขยะขนาดใหญ่ • ซึ่งรองรับขยะได้ถึง 6,000 - 8,000 ตัน เพื่อเป็นการเก็บสำรองเชื้อเพลิง(ขยะ)ได้อย่างเพียงพอ และทางโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน • สามารถใช้เชื้อเพลิงเสริมได้ไม่เกิน 25 % ของปริมาณขยะตามระเบียบของการไฟฟ้า เชื้อเพลิงเสริมเหล่านี้ เช่นเศษซากพืชไร่ทุกชนิด • ที่ชาวบ้านต้องการกำจัดทิ้ง ( โดยการรับซื้อจากชาวบ้านซึ่งจะเป็นรายได้เสริมให้กับประชาชนที่อยู่โดยรอบ ) เพราะเศษซากพืชไร่และ • เศษซากวัสดุต่างๆเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงเสริมอย่างดีสามารถเผารวมกับขยะทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มมากขึ้น • การขนส่งเชื้อเพลิง(ขยะ)เข้าสู่โรงไฟฟ้า เพื่อเป็นการลดจำนวนรถขนส่งขยะที่จะวิ่งเข้าสู่โรงไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะทำให้ • ประชาชนเดือดร้อน บริษัท จึงใช้ระบบการขนส่งขยะขนาดใหญ่ในการรับขยะในแต่ละอำเภอ ๆ ละ 1 จุด ซึ่งรถขนขยะตาม องค์กร • ปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างๆในอำเภอนั้นสามารถนำขยะมาส่งที่จุดรับส่งขยะได้ทำให้ประหยัดเวลาและงบประมาณการขนส่งขยะ ตัวอย่างระบบ โลจิสติกส์ การขนถ่ายขยะฯจากจุดรับขยะเข้าสู่โครงการใช้รถประมาณ 8-10 คัน 1 จุดตั้งโรงงาน จุดรับขยะในแต่ละอำเภอ 2 4 3 5 6 7 8 ที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน สถานีขนถ่ายขยะเข้าโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน
ผลงานการสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน ด้วยระบบ CFB TECHNOLOGY ของ WUXIHUAGUANG BOILER CO.,LTD ภายใต้ลิขสิทธิ์ ของ Foster Wheeler จากประเทศสหรัฐอเมริกา และผลงานการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ และชีวมวล & LAWI EINGINEERING (THAILAND)CO.,LTD จากประเทศเยอรมนี
19 ผลงานการสร้างโรงไฟฟ้าด้วย ระบบ CFB เทคโนโลยี ภายใต้ลิขสิทธิ์ ของ Foster Wheeler ประเทศจีน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนขนาด 750 ตัน/วัน เมือง เหอหลงเจียง โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนขนาด 550 ตัน/วัน เมือง ซื่อเจียง โรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาด 900 ตัน/วัน เมือง ซื่อเจียง. โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ขนาด 550 ตัน/วัน เมือง อันฮุย โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ขนาด 550 ตัน/วัน เมือง เหอหนาน
ผลงานการสร้างโรงไฟฟ้าด้วย ระบบ CFB เทคโนโลยี ภายใต้ลิขสิทธิ์ ของ Foster Wheeler โรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาด 750 ตัน/วัน เมือง เหอหนาน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาด 1,800 ตัน/วัน เมืองเจียง ประเทศจีน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาด 750 ตัน/วันเมือง หมิงปอ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาด 1200 ตัน/วันเมือง ยูนาน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาด 775ตัน/วัน เมืองเจียงซู โรงไฟฟ้าพลังงานขยะเมืองหางโจว . โรงไฟฟ้าพลังงานขยะเมืองซันตุง โรงไฟฟ้าพลังงานขยะเมือง จูไห่
21 ผลงานการสร้างโรงไฟฟ้าด้วย ระบบ CFB เทคโนโลยี ภายใต้ลิขสิทธิ์ ของ Foster Wheeler ประเทศญี่ปุ่น ประเทศ เกาหลีใต้ โรงไฟฟ้าพลังานขยะชุมชน เมืองปูซาน ขนาดกำจัดขยะ 1,200ตัน/วัน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนเมืองฮิโรชิม่า ขนาดกำจัด 1,560ตัน/วัน ประเทศ อินโดนีเซีย โรงไฟฟ้าถ่านหิน TK Kawasan.Industri Dumaiเมืองดูไม ขนาด 1,800ตัน/วัน โรงไฟฟ้าถ่านหิน PTM ultinabatisvlawesi เมืองบิตุง ขนาด 1,800ตัน/วัน ประเทศ ตุรกี ประเทศเวียดนาม โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน Vietnam National Coal Industry Group เมืองบันดีมา ขนาด 3,120ตัน/วัน (กำลังก่อสร้าง) โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน Turkey ETI Energy Department Refinery เมืองบันดีมา ขนาด 3,120ตัน/วัน เปิดดำเนินการเมื่อปี 2553
โรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากเศษซากพืชไร่ในประเทศไทยระบบMOVING GRATES( LAWI ) โรงไฟฟ้าชีวมวล บริษัท บัวใหญ่ไบโอเพาเวอร์ จำกัด ขนาด 7.3Mw. ณ จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 โรงไฟฟ้าชีวมวล บริษัท ก้าวหน้าพาวเวอร์ซัพพลาย จำกัด ขนาด 10 Mw ณ จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 โรงไฟฟ้าชีวมวล บริษัท ศรีเจริญ ไบโอเพาเวอร์ จำกัด ขนาด 9.9 Mw. อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2550
ด้วยความปรารถนาดี และ ร่วมพิทักษ์ รักษ์โลกกับเรา บริษัท เสริมทรัพย์ไพศาล กรุ๊ป 1999 จำกัด SERMSAPPAISAL GROUP 1999 CO., LTD www.sps1999.com