340 likes | 837 Views
ภาพรวม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น. น.ส. สุนันทา กังวาลกุลกิจ ผู้อำนวยการสำนักเอเชียและแปซิฟิก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554 ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ. ภาพรวมของความตกลง TAFTA TNZCEP และ JTEPA.
E N D
ภาพรวม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น น.ส. สุนันทา กังวาลกุลกิจ ผู้อำนวยการสำนักเอเชียและแปซิฟิก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554 ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ
ภาพรวมของความตกลงTAFTA TNZCEP และ JTEPA ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง (Comprehensive)* * หมายเหตุ: ขอบเขตความครอบคลุมของแต่ละความตกลงแตกต่างกัน
ความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลียThailand – Australia Free Trade Agreement: TAFTA นับตั้งแต่ความตกลง TAFTA มีผลบังคับใช้ในปี 2548 ไทยและออสเตรเลียทยอยลดภาษีนำเข้าให้แก่กัน ปัจจุบัน ทั้งสองประเทศยังมีสินค้าที่ยังไม่ลดภาษีเป็น 0 ดังนี้
ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันไทย-นิวซีแลนด์ Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership : TNZCEP ปัจจุบัน ยังมีสินค้าที่ไทยและนิวซีแลนด์ยังไม่ลดภาษีเป็น 0 ดังนี้
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย - ญี่ปุ่นJapan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA นับตั้งแต่ความตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้ในปี 2550 ไทยและญี่ปุ่นทยอยลดภาษีนำเข้าให้แก่กัน ปัจจุบัน ทั้งสองประเทศยังมีสินค้าที่ยังไม่ลดภาษีเป็น 0 ดังนี้
การเปิดตลาดภาคบริการภายใต้ TAFTA ไทย ออสเตรเลีย เปิดตลาดให้ผู้ให้บริการไทยเข้าไปจัดตั้งธุรกิจในออสเตรเลียทุกประเภทได้ 100% ยกเว้นหนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การบินระหว่างประเทศและท่าอากาศยาน แต่การลงทุนขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ต้องขออนุญาต Foreign Investment Review Board (FIRB) ยกเลิกเงื่อนไขที่ต้องทดสอบตลาดแรงงานในประเทศก่อนจ้างคนจากต่างประเทศให้แก่ไทยถาวร และ อนุญาตให้คนไทยไปทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ และพ่อครัว/แม่ครัวได้ • เปิดตลาดในบางธุรกิจให้คนออสเตรเลียถือหุ้นได้ไม่เกิน 60% โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทยและมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ไม่เกิน 3 ต่อ 1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และใช้เงินลงทุนสูง เช่น หอประชุมศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ • อนุญาตให้คนออสเตรเลียเข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญได้ ยกเว้น 39 อาชีพที่ห้ามคนต่างชาติทำ
การเปิดตลาดภาคบริการภายใต้ TNZCEP ยังไม่มีการเจรจาเปิดตลาด แต่มีหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ TNZCEP เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองและทำงานในไทยและนิวซีแลนด์มากขึ้น ไทย นิวซีแลนด์ ให้พ่อครัว/แม่ครัวที่ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีประสบการณ์ทำงานตามที่กำหนดและได้รับการว่าจ้างจากธุรกิจในนิวซีแลนด์เข้าไปทำงานได้ 3 ปี ต่ออายุได้อีก 1 ปี • ให้นักธุรกิจนิวซีแลนด์ที่เข้ามาติดต่อธุรกิจสามารถขอ Multiple Visa ได้ • นักธุรกิจนิวซีแลนด์ที่ถือบัตร APEC Business Travel Card มาประชุมในไทยได้ 90 วัน • ให้นักลงทุนนิวซีแลนด์สามารถใช้ศูนย์ One Stop Service for Visa and Work Permit ได้
การเปิดตลาดภาคบริการภายใต้ JTEPA ไทย ญี่ปุ่น ให้บริษัทไทยเข้าไปจัดตั้งกิจการ/ให้บริการ และ/หรือให้คนไทยทำงาน/ให้บริการในญี่ปุ่นได้ เพิ่มเติมจากที่ผูกพันไว้ที่ WTO ประมาณ 65 สาขาย่อย และปรับปรุงข้อผูกพันที่ WTO ประมาณ 70 สาขาย่อย โฆษณา – จัดประชุม ร้านอาหาร – จัดเลี้ยง ทัวน์และไกด์ – สปา โรงแรม – ออกแบบพิเศษ จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ • ให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาจัดตั้งกิจการ/ให้บริการ เพิ่มเติมที่ผูกพันไว้ที่ WTO ทั้งหมด 14 สาขาย่อย (โดยมีเงื่อนไข) • บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการทั่วไป (100%) • บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านการตลาด (49%) • บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล (49%) • บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านผลิต (49%)
การเปิดตลาดภาคลงทุนภายใต้ TAFTA ไทย ออสเตรเลีย เปิดการลงทุน 2 สาขา ได้แก่ เหมืองแร่: ทุกประเภทกิจกรรม แต่มีข้อสงวนด้านกฎระเบียบในระดับท้องถิ่น การผลิต: ทุกประเภทกิจกรรม แต่มีข้อสงวนด้านกฎระเบียบในระดับท้องถิ่น • เปิดการลงทุน 2 สาขา ได้แก่ • เหมืองแร่: ให้คนออสเตรเลียร่วมทุนกับคนไทยโดยถือหุ้นได้ไม่เกิน 60% • การผลิตที่ไม่อยู่ในบัญชี 1 และ 2ของ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ: ให้คนออสเตรเลียร่วมทุนกับคนไทยโดยถือหุ้นได้ไม่เกิน 50%
การเปิดตลาดภาคลงทุนภายใต้ TNZCEP ไทย นิวซีแลนด์ อนุญาตให้คนไทยไปลงทุนในธุรกิจทุกเกือบประเภท แต่หากเป็นการลงทุนเกิน 50 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์ จะต้องขออนุญาตก่อน • อนุญาตให้นิวซีแลนด์เข้ามาลงทุนธุรกิจผลิตสินค้าบางประเภทที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ กระดาษ สิ่งทอ ชิ้นส่วนยานยนต์
การเปิดตลาดภาคลงทุนภายใต้ JTEPA ข้อกำหนดอื่น ๆ: การเปิดเสรีครอบคลุมเฉพาะการลงทุนโดยตรง, การคุ้มครองการลงทุนไม่ครอบคลุมการลงทุนในภาคบริการการเงิน, อนุญาตการใช้มาตรการปกป้องชั่วคราวเพื่อปกป้องดุลชำระเงินและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและของอัตราแลกเปลี่ยน ไทย ญี่ปุ่น ให้บริษัทไทย/คนไทยเข้าไปลงทุนในทุกสาขา ยกเว้นอุตสาหกรรมผลิตยา อุตสาหกรรมอวกาศและยานอวกาศ อุตสาหกรรมผลิตน้ำมัน อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการกระจายเสียง การทำเหมืองแร่ การประมง การเกษตร ป่าไม้ และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง • เฉพาะภาคการผลิตยานยนต์ ให้บริษัท/คนญี่ปุ่นที่ถือหุ้นน้อยกว่า 50% (หุ้นที่เหลือต้องถือโดยผู้ลงทุนไทย) ไม่ต้องขออนุญาตการประกอบธุรกิจ
การค้าของไทยก่อนและหลังมีความตกลงการค้าเสรีการค้าของไทยก่อนและหลังมีความตกลงการค้าเสรี สำหรับ TAFTA และ TNZCEP (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) สำหรับ JTEPA (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) TAFTA TNZCEP และ JTEPA ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการค้าโดยนับแต่ความตกลงทั้งสามฉบับมีผลบังคับใช้ การค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ มีการขยายตัวมากกว่า 3 เท่าตัว และ 2 เท่าตัว ตามลำดับ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าเป็นส่วนใหญ่ สำหรับ TAFTA และ TNZCEP การค้าก่อนมีความตกลงคือ ปี 2542-2547 และการค้าหลังมีความตกลงคือ ปี 2548-2553 สำหรับ JTEPA การค้าก่อนมีความตกลงคือ ปี 2546-2549 และการค้าหลังมีความตกลงคือ ปี 2550-2553
การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง TAFTA ของไทย • ด้านการส่งออก:ผู้ส่งออกไทยใช้ประโยชน์จากความตกลง TAFTA มาก (สัดส่วนการใช้สิทธิ • ประโยชน์สูงกว่าร้อยละ 80 ทุกปี (ยกเว้นปี 2552 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก) • ด้านการนำเข้า:การใช้สิทธิประโยขน์ค่อนข้างน้อย เฉลี่ยประมาณร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจาก • สินค้าที่นำเข้ามาจากออสเตรเลียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ซึ่งภาษีนำเข้าปกติได้รับการยกเว้นหรือมี • อัตราต่ำอยู่แล้ว ร้อยละ ที่มา : สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ หมายเหตุ: สถิติการนำเข้าภายใต้ TAFTA ประจำปี 2548 ไม่มีการเก็บรวมรวมไว้
การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง TNZCEP ของไทย • ด้านการส่งออก: ใช้ระบบ self-certification(การรับรองเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองโดยผู้ส่งออก) จึงไม่มีการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ดังนั้น หน่วยงานของไทย (กรมการค้าต่างประเทศ) ไม่สามารถเก็บสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ได้ แต่หน่วยงานศุลกากรของนิวซีแลนด์จะมีข้อมูลดังกล่าว ซึ่งล่าสุดไทยและนิวซีแลนด์ตกลงที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงการใช้สิทธิประโยชน์ด้านการส่งออกระหว่างกัน • ด้านการนำเข้า:การใช้สิทธิประโยชน์ของไทยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 40 ร้อยละ
สถิติการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ JTEPA ของไทย ในปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.)ไทยมีการขอใช้สิทธิ JTEPA ส่งออกมูลค่า 2,964.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.01 จากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 2,116.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 68.35 ของมูลค่าการส่งออกเฉพาะรายการที่ได้รับสิทธิฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 64.64 ของปีก่อนหน้า ที่มา : สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
การลงทุนกับความตกลงTAFTA/TNZCEP/JTEPAการลงทุนกับความตกลงTAFTA/TNZCEP/JTEPA ด้านการลงทุน:การลงทุนจากออสเตรเลียในไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นการลงทุนจากนิวซีแลนด์ค่อนข้างผันผวน ส่วนการลงทุนจากญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง การลงทุนของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (พันล้านบาท) การลงทุนของญี่ปุ่น (พันล้านบาท) ที่มา: BOI (สถิติการลงทุนจากต่างประเทศ รายเดือนสะสม) หมายเหตุ: TAFTA, TNZCEP และ JTEPA มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ม.ค. 2548,1 ก.ค.2548 และ 1 พ.ย. 2550ตามลำดับ
TAFTA / TNZCEP: สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้การใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น • เร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลง TAFTA และ TNZCEP • คณะทำงาน SPS: สำหรับสินค้าเกษตรทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีความเข้มงวดเรื่องการตรวจด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)ภายใต้กรอบ TAFTA และ TNZCEP ได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน SPS ขึ้น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ไทยผลักดันให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว • กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin: ROO) สำหรับสินค้าบางรายการภายใต้ TAFTA ไม่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตของไทยในปัจจุบัน เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อย่างไรก็ดี ภายใต้ความตกลง TAFTA มีคณะทำงานคณะกรรมการกฏว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งเป็นกลไกที่ไทยจะสามารถเจราปรับแก้ไข ROO ให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
JTEPA : สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้การใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ด้านการลดภาษี สินค้า 4 กลุ่มที่ต้องการเจรจาลดภาษีเพิ่มเติม • กลุ่มลดภาษีแล้วแต่ต้องการให้ลดเพิ่มเติม น้ำตาลดิบ เนื้อสุกรแปรรูป เอสเตอร์รีไฟด์สตารช์ 2. กลุ่มสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP ในปัจจุบัน ให้ญี่ปุ่นโอนสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จำนวน 102 รายการที่ให้แก่ไทยในปัจจุบันไปลดภาษีนำเข้าภายใต้ JTEPA
JTEPA: สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้การใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) ด้านการลดภาษี สินค้า 4 กลุ่มที่ต้องการเจรจาลดภาษีเพิ่มเติม (ต่อ) 3. กลุ่มที่ให้มีการเจรจาใหม่ภายใน 5 ปี ปลาแปรรูป/ปลากระป๋อง (ซาร์ดีน แมคเคอเรล ฯลฯ) ปูกระป๋อง น้ำผัก-ผลไม้แปรรูป (สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด มะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ) สุกรแปรรูป (บางรายการ) 4. กลุ่มที่ไม่นำมาลดภาษี (Exclusion List) ให้นำมาลดภาษี ได้แก่หมึกแปรรูป พาสต้า มักกะโรนี สปาเก็ตตี้ ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้อเสนอ: ทยอยลดภาษีให้เหลือ 0% ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
ข้อห่วงกังวลจากการเปิดเสรีภายใต้ TAFTA และ TNZCEP อุตสาหกรรมโคเนื้อ/โคนม • ตั้งแต่ความตกลง TAFTA และ TNZCEP มีผลบังคับใช้ ไทยมีความร่วมมือกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้านปศุสัตว์หลายโครงการ เช่น • - การศึกษาดูงานด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโคนมและการปรับตัวของเกษตรกร • โคนม ณ รัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย • - การฝึกอบรมหลักสูตร Business Management for Dairy Farmers ณ จ.เชียงใหม่ • - โครงการ Quality Milk ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และเอกชนนิวซีแลนด์ • ไทยเสนอความร่วมมือเพิ่มเติม เช่น โครงการ Product Development and Marketing of Qualified Fattened Cattle Products of Thailand Cooperatives และ Capacity Building on Best Management Practices on Environment Issues in Dairy Farms
มาตรการรองรับและเยียวยามาตรการรองรับและเยียวยา • นอกจากนั้น รัฐบาลมิได้นิ่งนอนใจ ยังมีการเตรียมการป้องกันเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ • จาก FTA โดยมีการตั้ง 2 กองทุน 1) กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ [กองทุนปรับโครงสร้าง] (หน่วยงาน: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 2) โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า [กองทุน FTA] (หน่วยงาน: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) ตัวอย่างโครงการความช่วยเหลือที่ได้รับอนุมัติภายใต้ 2 กองทุน เช่น - โครงการปรับโครงสร้างสินค้าเนื้อโคขุนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ - โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มคลัสเตอร์ส้มเชียงใหม่ เพื่อการปรับตัวจากผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า - โครงการจัดทำระบบประกันสุขภาพ GMP โรงงานผลิตปลาป่นเพื่อความปลอดภัย ของอาหารสัตว์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
การเจรจาต่อตามพันธกรณีภายใต้ TAFTA และ TNZCEP ไทยมีพันธกรณีภายใต้ TAFTA และ TNZCEP ที่จะต้องเจรจาเพิ่มเติมในประเด็น ดังนี้
การเจรจาต่อตามพันธกรณีภายใต้ JTEPA - ส่วนการค้าสินค้า -
การเจรจาต่อตามพันธกรณีภายใต้ JTEPA - ส่วนการค้าบริการ และการลงทุน-
TAFTA / TNZCEP: การดำเนินการเตรียมการสำหรับการเจรจาเพิ่มเติม • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินการตาม ม.190 ของรัฐธรรมนูญ ดังนี้ • - ให้ข้อมูลประชาชนผ่านสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ เว๊บไซต์ และรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านการจัดสัมมนาเวทีสาธารณะ • - รัฐสภาให้ความเห็นชอบกรอบเจรจา TAFTA และ TNZCEPเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2553 • มีจัดตั้งคณะเจรจา TAFTA และ TNZCEP ฝ่ายไทยโดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็น • หัวหน้าคณะ และมีผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ เป็นองค์ประกอบ เช่น กรมเจรจาการค้า • ระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงาน • เศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมศุลกากร เป็นต้น • ในการประชุม TAFTA JC และ TNZCEP JC ที่ผ่านมาล่าสุด มีการหารือในเบื้องต้นกับทั้งสองประเทศเกี่ยวกับกำหนดการและรูปแบบเจรจาต่อตามพันธกรณี
JTEPA : การดำเนินการเตรียมการสำหรับการเจรจาเพิ่มเติม
ความเห็น คำถาม ข้อเสนอแนะ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 44/100 ถ. นนทบุรี 1 อ. เมือง จ. นนทบุรี Call Center 0-2507-7555 http://www.dtn.go.th http://www.thaifta.com ตู้ ป.ณ. 150 ปณ. นนทบุรี 11000