210 likes | 672 Views
Urinary Tract Infection Updated Guigeline. พญ .สุ มิศรา อา รีย์ วัฒนานนท์ กุมารแพทย์ รพ.หนองคาย 20 พ.ย. 2556. แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะใน ผู้ป่วย เด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี.
E N D
Urinary Tract InfectionUpdated Guigeline พญ.สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์ กุมารแพทย์ รพ.หนองคาย 20 พ.ย. 2556
แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี • ร้อยละ 36-46 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กไทย พบความผิดปกติของ ระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย • ความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่ - โรคปัสสาวะไหลย้อน (vesicoureteral reflux, VUR) - ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น posterior urethral valveureteropelvicjunction obstructionureterovesicaljunction obstruction • การติดเชื้อซ้ำอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่ไต(renal scarring) ความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี • พิจารณาตรวจหาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • แนวทางการตรวจทางรังสี • การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
1. พิจารณาตรวจหาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ในกรณีต่อไปนี้ 1.1 ผู้ป่วยมีอาการที่บ่งชี้ถึงโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ 1.ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ร้องเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะรดที่นอนที่มาเป็นภายหลัง (secondary enuresis) ปัสสาวะมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ เช่น ขุ่น มีตะกอน มีเลือดปน * โดยผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ * 2. อาการปวดหรือกดเจ็บที่บริเวณท้อง ท้องน้อย หลังหรือบั้นเอว 1.2 ผู้ป่วยที่มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ (fever without localizing sign)* โดยเฉพาะรายที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี *
2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.1 การตรวจปัสสาวะ (urinalysis) • การตรวจ leukocyte esterase และ nitrite โดยแถบ dipstick ถือว่าผิดปกติหากให้ผลบวก • การตรวจนับเม็ดเลือดขาว ถือว่าผิดปกติหากเม็ดเลือดขาว>5 เซลล์/high power field (pyuria) • การย้อมแกรมปัสสาวะ (ใช้ปัสสาวะที่เพิ่งเก็บใหม่ ย้อม Gram’s stain โดยไม่ปั่น) ถือว่าผิดปกติหากพบเชื้อแบคทีเรีย>1 ตัว/oil power field * การตรวจเบื้องต้นเป็นการตรวจคัดกรอง แต่หากพบความผิดปกติตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป จะทำให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น *
2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.2 การเพาะเชื้อในปัสสาวะ : (gold standard) * ข้อบ่งชี้ ควรเพาะเชื้อในปัสสาวะเมื่อ : 1. ผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ ร่วมกับมีลักษณะป่วยหนัก หรือจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะอย่างเร่งด่วน ให้เก็บปัสสาวะตรวจ uaพร้อมกับการเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ 2. ผู้ป่วยมีความผิดปกติจากการตรวจua 3. ผู้ป่วยมีผล uaเป็นปกติ แต่ไม่สามารถแยกโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้แน่ชัดควรส่งตรวจเพาะเชื้อในปัสสาวะ ก่อนให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทุกราย
2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.2 การเพาะเชื้อในปัสสาวะ: วิธีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและการแปลผลเพาะเชื้อ 1. Suprapubicaspiration - เป็นวิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุด แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุ <2 ปี - โดยเฉพาะเด็กชายที่มี phimosisหรือเด็กหญิงที่มี labial adhesion หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ urethral catheterization ได้ - หากผลเพาะเชื้อพบ uropathogenไม่ว่าปริมาณเท่าใด ถือว่ามีแบคทีเรียในปัสสาวะจริง
2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.2 การเพาะเชื้อในปัสสาวะ: วิธีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและการแปลผลเพาะเชื้อ 2. Urethral catheterization -ใช้ได้ในเด็กอายุ<3 ปี หรือเด็กที่ยังควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ - ถือว่ามีแบคทีเรียในปัสสาวะเมื่อเพาะเชื้อได้ >104CFU/mL 3. Clean-catch, midstream void -ใช้ได้ในเด็กอายุ >3 ปี - ถือว่ามีเชื้อในทางเดินปัสสาวะเมื่อเพาะเชื้อได้ >105CFU/mL
3. การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 3.1 ชนิดของยาปฏิชีวนะ - การให้ยาปฏิชีวนะ (empirical therapy) ควรให้ยาที่ครอบคลุมเชื้อสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ amoxicillin, co-trimoxazole, third และ fourth generation cephalosporins, aminoglycoside, amoxicillin-clavulanateเป็นต้น - เมื่อทราบผลเพาะเชื้อแล้ว ควรปรับยาตามความไวของเชื้อ 3.2 วิธีบริหารยา - แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยไข้สูง หรือรับประทานไม่ได้ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอายุ <3 เดือน จนกว่าไข้ลงจึงเปลี่ยนเป็นยาชนิดรับประทาน
3. การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 3.3 ระยะเวลาในการให้ยา - ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือผู้ป่วยที่มีไข้สูง ควรได้รับยาปฏิชีวนะรวม 7-14 วัน - ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โดยผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ 3-7 วัน
4. แนวทางการตรวจทางรังสี 4.1 กรณีผู้ป่วยที่มีไข้และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นครั้งแรก (First febrile UTI) - ตรวจอัลตราซาวน์ระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งไต ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ - ไม่ตรวจ voiding cystourethrogram (VCUG) ทุกราย การตรวจ VCUG แนะนำให้ปฏิบัติ หรือพิจารณาให้ปฏิบัติ แสดงดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แนวทางการส่งตรวจ VCUG ในผู้ป่วยที่มีไข้และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นครั้งแรก
4. แนวทางการตรวจทางรังสี 4.2 กรณีผู้ป่วยที่มีไข้และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ (>1 episodes of febrile UTI) - หากยังไม่เคย ให้ตรวจอัลตราซาวน์ระบบทางเดินปัสสาวะ - หากยังไม่เคย ให้ตรวจ VCUG
5. การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • ไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นประจำแก่ผู้ป่วยทุกรายที่มีโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นครั้งแรก • ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำแก่เด็กที่แนะนำให้ตรวจ และพิจารณาให้ตรวจ VCUG ดังตารางที่ 1 โดยให้ยาจนกว่าจะได้ผล VCUG * ในอดีตแนะนำให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีทุกรายที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะครั้งแรก แต่จากข้อมูลการศึกษาระยะหลังพบว่า การให้และการไม่ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมีโอกาสการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำไม่แตกต่างกันและไม่สามารถลดการเกิดแผลเป็นที่ไตได้ อีกทั้งอาจทำให้เพิ่มอัตราการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย *
ตารางที่ 2 ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำในเด็ก