450 likes | 1.01k Views
วินัยและการรักษาวินัย. วินัยข้าราชการพลเรือน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 หมวด 6 วินัยและ การรักษาวินัย จริยธรรม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน จรรยา พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ประกาศสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
E N D
วินัยและการรักษาวินัยวินัยและการรักษาวินัย
วินัยข้าราชการพลเรือนวินัยข้าราชการพลเรือน • พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 หมวด 6 วินัยและ การรักษาวินัย • จริยธรรม • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 • ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน • จรรยา • พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 • ประกาศสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย
ความหมาย จุดมุ่งหมายและแนวทางการรักษาวินัย • ความหมายของวินัย • วินัยข้าราชการ คือ แบบแผนความประพฤติที่กำหนดให้ข้าราชการควบคุมตนเอง ควบคุมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ประพฤติดี ละเว้นการประพฤติปฏิบัติในทางที่ไม่ชอบ ไม่ควร • ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าสามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของบทวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย • มติคณะรัฐมนตรี ที่ นร 89/2497 ลงวันที่ 1 เมษายน 2547 ข้าราชการจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนข้อบังคับอันตนจะต้องปฏิบัติและอยู่ในหน้าที่ของตนมิได้ • ระเบียบแบบแผน คืออะไร ระเบียบแบบแผนประกอบด้วย กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับที่กำหนดให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติ
จุดมุ่งหมายของวินัย 1. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของราชการ 2. ความเจริญมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ 3. ความผาสุกของประชาชน 4. ภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ
หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย • ข้อปฏิบัติ (ต้อง) (มาตรา 81-82) • ข้อห้าม (ต้องไม่) (มาตรา 83) • ความผิดวินัยร้ายแรง (มาตรา 85) • หน้าที่เสริมสร้าง พัฒนา ป้องกัน ปราบปราม (มาตรา 87) • โทษทางวินัย (มาตรา 88) • การลงโทษทางวินัย (มาตรา 89)
ข้อกำหนดวินัยแยกเป็น 6 กลุ่ม 1. วินัยต่อประเทศชาติ • มาตรา 81 2. วินัยต่อประชาชน • มาตรา 82 (8) • มาตรา 83 (9) • มาตรา 85 (5) 3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา • มาตรา 82 (4), 83 (1), 83 (2)
ข้อกำหนดวินัยแยกเป็น 6 กลุ่ม (ต่อ) 4. วินัยต่อผู้ร่วมงาน • มาตรา 82 (7), 83 (7), 83 (8) 5. วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ • มาตรา 82 (1) (2) (3) (5) (6) (9) • มาตรา 83 (3) (4) (5) (6) • มาตรา 85 (1) (2) (3) 6. วินัยต่อตนเอง • มาตรา 82 (10), 85 (4) (6)
ข้อกำหนดวินัย 1. วินัยต่อประเทศชาติ • สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 81) 2. วินัยต่อประชาชน • ต้องต้อนรับให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ผู้ติดต่อราชการ (มาตรา 82 (8)) • ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหง ประชาชนผู้มาติดต่อ (มาตรา 82 (9)) • ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหงหรือทำร้ายประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 85 (5))
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา 3.1 ข้าราชการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา (มาตรา 82 (4)) • สั่งในหน้าที่ราชการ • โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของราชการ ตัวอย่าง ที่เป็นความผิดวินัย • ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ธุรการมาปฏิบัติงานเร่งด่วนใน วันเสาร์ อาทิตย์ แล้วไม่ปฏิบัติตาม • ไม่ลงชื่อมาทำงานและไม่ไปพบผู้อำนวยการสำนักตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุผล • ไม่ไปอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผล
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 3.2 ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ได้รับอนุญาต เป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (มาตรา 83 (2)) ตัวอย่าง • พนักงานที่ดินออกใบจอง น.ส.3 โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอน และเสนอนายอำเภอโดยไม่ผ่านพนักงานที่ดินอำเภอ • เจ้าหน้าที่ธุรการทำหนังสือขอเพิ่มโควต้าข้าราชการลาศึกษาต่อต่างประเทศถึงคณะกรรมการกำหนดโครงการให้ข้าราชการ ลาศึกษาและฝึกอบรม ณ ต่างประเทศโดยพลการและไม่ผ่านผู้บังคับบัญชา
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 3.3 ข้าราชการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความ ซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (มาตรา 83 (1)) • เป็นบทมาตราที่ถูกกล่าวหาควบกับมาตราอื่น เบิกเท็จ ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง 4. วินัยต่อผู้ร่วมงาน 4.1 ข้าราชการต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และต้องช่วยเหลือในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (มาตรา 82 (7)) ตัวอย่าง กรณีไม่สุภาพเรียบร้อย • กล่าวคำหยาบคายต่อหน้าผู้บังคับบัญชา • เมาสุราตะโกนด่าผู้บังคับบัญชาที่หน้าบ้านพัก และร้องท้าให้มาดวลปืนกัน 4.2 ข้าราชการต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 83 (7)) 4.3 ข้าราชการต้องไม่กระทำการล่วงละเมิด / คุกคามทางเพศ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ว่าด้วย การกระทำการล่วงละเมิด / คุกคามทางเพศ (มาตรา 83 (8)) ตัวอย่าง ผู้บังคับบัญชาพูดจาแทะโลม, ขอจับของสงวน
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 5. วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ 5.1 ต้องชื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (มาตรา 82 (1)) • ต้องไม่อาศัยอำนาจหน้าที่ราชการหาประโยชน์ • ต้องไม่ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ • ผู้ใดทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (มาตรา 85 (1)) โทษ ไล่ออกสถานเดียว หน้าที่ราชการพิจารณาจาก 1. กฎหมายหรือระเบียบที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร 2. มาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือแบบบรรยายลักษณะงาน 3. มีคำสั่งหรือการมอบหมายของผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติราชการไม่ว่าจะเป็นการ สั่งการด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม 4. โดยพฤตินัย สมัครใจเข้าผูกพันตนเองยอมรับเป็นหน้าที่ราชการที่ต้องรับผิดชอบ
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 5.2 ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (มาตรา 83 (3)) 1. มีอำนาจหน้าที่ราชการ 2. อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่น 5.3 ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ ความอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (มาตรา 82 (1)) 5.4 ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาลและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (มาตรา 82 (2)) 5.5 ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (มาตรา 83 (4)) • กรณีเก็บเงินค่าเช่าซื้อที่ดินจากเกษตรกรแล้วใส่ไว้ในโต๊ะทำงาน ลืมส่งเข้าคลังตามระเบียบ
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 5.6 ต้องรักษาความลับของทางราชการ (มาตรา 82 (6)) 5.7 ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง (มาตรา 82 (9)) 5.8 ข้าราชการ ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ (มาตรา 82 (5)) กรณีที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 1. ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุ ให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 85 (2)) 2. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (มาตรา 85 (3)) 3. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (มาตรา 85 (3))
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 5.9 ข้าราชการต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (มาตรา 83 (5)) ตัวอย่าง 1. เจ้าหน้าที่ ถูกจับกุมดำเนินคดีอาญาฐานเก็บของป่าหวงห้าม (ถ่านไม้) โดยไม่ได้รับอนุญาต ถูกลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน 2. เจ้าหน้าที่ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันในสำนักงาน 3. เจ้าหน้าที่ทะเลาะกับเพื่อนบ้านยิงปืนขึ้นฟ้า 4. เจ้าหน้าที่ ถูกจับขณะอยู่ในวงไพ่, ไฮโล
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) 5.10 ข้าราชการต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือตำแหน่งอื่นใด ที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (มาตรา 83 (6)) 6. วินัยต่อตนเอง • รักษาชื่อเสียงของตน รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย (มาตรา 82 (10)) • กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก (มาตรา 85 (4))
ข้อกำหนดวินัย (ต่อ) กรณีอย่างไรเป็นการประพฤติชั่วนั้น ก.พ.ได้วางแนวการพิจารณาไว้ ดังนี้ 1. การกระทำดังกล่าวเป็นการเสียเกียรติของตำแหน่งหน้าที่ราชการ 2. สังคมรังเกียจการกระทำดังกล่าว 3. เป็นการกระทำโดยเจตนา ตัวอย่าง กรณีเบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ฯลฯ เป็นเท็จ มิใช่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการ จึงไม่ใช่ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ แต่เป็นการใช้สิทธิเบิกเงินจากทางราชการอันเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
สาเหตุทำผิดวินัย • เหตุภายนอก • เหตุภายใน
เหตุภายนอก • อบายมุข • ตัวอย่างไม่ดี • ขวัญไม่ดี • งานล้นมือ • ความจำเป็นในการครองชีพ • โอกาสเปิดช่องล่อใจ • ผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย
เหตุภายใน • ไม่เข้าใจ • ตามใจ • ไม่ใส่ใจ • ชะล่าใจ • เผลอใจ • ล่อใจ • ไม่มีจิตใจ • จำใจ • เจ็บใจ • ตั้งใจ
จุดมุ่งหมายของการลงโทษจุดมุ่งหมายของการลงโทษ 1. เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายหรือระเบียบแบบแผน 2. เพื่อรักษามาตรฐานความประพฤติ ขวัญ และสมรรถภาพของข้าราชการ 3. เพื่อจูงใจให้ข้าราชการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น 4. เพื่อรักษาชื่อเสียงของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อทางราชการ
ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก ไม่ร้ายแรง ร้ายแรง โทษทางวินัย 5 สถาน ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ 1. เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัย • ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี • การฝึกอบรม • การสร้างขวัญและกำลังใจ • จูงใจ • การอื่น
ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ (ต่อ) 2. ป้องกันมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย • เอาใจใส่ • สังเกตการณ์ • ขจัดเหตุ 3. ปราบปรามผู้กระทำผิดวินัย • เมื่อมีการกล่าวหา • กรณีสงสัยว่ากระทำผิดวินัย ต้องรายงานผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจ สั่งบรรจุเพื่อดำเนินการทางวินัย (หนังสือ ก.พ.ที่ นร.1011/ว43 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553)
การลงโทษ • ทำเป็นคำสั่ง • คำสั่งระบุ • ผิดวินัยกรณีใด • ตามมาตราใด
อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ • ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง • อุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค.
พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 • หมวด 5 การรักษาจรรยาข้าราชการ (มาตรา 78-79) มาตรา 78 ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ มาตรา 79 กรณีไม่ปฏิบัติตามจรรยา • ผิดวินัย • ลงโทษทางวินัย • ถ้าไม่ผิดวินัย • ตักเตือน • นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือให้รับ การพัฒนา
ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ ส.ป.ก. • ประกาศใช้ 24 กันยายน 2552 มี 3 หมวด 1. บททั่วไป 2. จรรยาข้าราชการ ส.ป.ก. 3. กลไกในการขับเคลื่อนจรรยาข้าราชการ ส.ป.ก.
แนวทางปฏิบัติ อยู่ หมวด 2 (ข้อ 3-9) • ข้อ 3 กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง • 3.1 การรังวัดที่ดิน การตรวจสอบแนวเขต การตรวจสอบสภาพพื้นที่ การสอบสวนสิทธิ การอนุญาตให้ใช้ที่ดิน การบังคับใช้กฎหมาย ต้องปฏิบัติตามหลักวิชา ข้อกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม • 3.2 การดำเนินการด้านการพัสดุ การเงิน การบัญชี ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ของทางราชการ และ มีการตรวจสอบตรวจทานความถูกต้องอย่างเคร่งครัด • 3.3 กล้าที่จะต้านทานกับอิทธิพลหรือผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง
แนวทางปฏิบัติ อยู่ หมวด 2 (ต่อ) • ข้อ 4 มีความซื่อสัตย์ สุจริตและความรับผิดชอบ • 4.1 ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้มาติดต่อราชการ หรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ • 4.2 ละเว้นการมีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมเนื่องด้วยกิจการของ ส.ป.ก. • 4.3 ประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลา และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่ • 4.4 ไม่นำทรัพย์สินของทางราชการไปเป็นของส่วนตัว
แนวทางปฏิบัติ อยู่ หมวด 2 (ต่อ) • ข้อ 5 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ • 5.1 ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างตรงไปตรงมา โดยสามารถอธิบายให้เหตุผลในสิ่งที่ปฏิบัติได้ • 5.2 อำนวยความสะดวกต่อผู้มาตรวจสอบทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกและประชาชน • 5.3 มีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลของหน่วยงานตามพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสาร
แนวทางปฏิบัติ อยู่ หมวด 2 (ต่อ) • ข้อ 6 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ • 6.1 ใช้ภาษาถ้อยคำที่ชัดเจน เหมาะสมเข้าใจง่ายในการสื่อความหมายกับผู้มาติดต่อ และให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว เสมอภาค ด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ • 6.2 ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดที่ดินให้เกษตรกรโดยเสมอภาค เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยเคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติ • 6.3 การปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบการทำประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับมอบที่ดินจาก ส.ป.ก. ต้องกระทำด้วยความเป็นธรรม เสมอภาค เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด • 6.4 ปฏิบัติหน้าที่ / ตัดสินใจบนหลักการข้อเท็จจริง เหตุผลเพื่อความยุติธรรม และเป็นธรรม
แนวทางปฏิบัติ อยู่ หมวด 2 (ต่อ) • ข้อ 7 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน • 7.1 มุ่งมั่นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว รอบคอบ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล • 7.2 การจัดหาที่ดินให้คำนึงถึงด้านการส่งเสริม การพัฒนา และการรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ประโยชน์ของประชาชนและประโยชน์ของส่วนราชการเป็นสำคัญ • 7.3 การจัดหาที่ดินโดยมีการศึกษาข้อมูลด้านสมรรถนะของที่ดิน ด้านราคา รวมทั้งความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงการพัฒนาและภารกิจของ ส.ป.ก. • 7.4 พึงปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงหลักการเหตุผลในการจัดที่ดิน เพื่อคุ้มครองที่ดิน เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน สร้างมูลค่าที่ดินทำกิน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร คุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม • 7.5 ปรับปรุงวิธีการ กระบวนการทำงาน ตลอดจนกฎเกณฑ์ที่ไม่ชอบธรรม เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชน
แนวทางปฏิบัติ อยู่ หมวด 2 (ต่อ) • ข้อ 8 การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • 8.1 ปฏิบัติงานตามภารกิจของ ส.ป.ก. ด้านการพัฒนาโดยยึดหลักให้ประชาชนพึ่งตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน • 8.2 พัฒนาตนเองให้มีความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ประหยัดมัธยัสถ์ ไม่ฟุ่มเฟือย เกินฐานะแห่งตน • 8.3 ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
แนวทางปฏิบัติ อยู่ หมวด 2 (ต่อ) • ข้อ 9 การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศ • 9.1 เคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ • 9.2 มีจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง • 9.3 เสริมสร้างความสมานฉันท์ และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี • 9.4 พิทักษ์รักษาทรัพย์สินสาธารณะของประเทศ • 9.5 เอื้ออาทร เมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม