690 likes | 1.62k Views
วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค. บทที่ 7 หลักการในการศึกษาด้านโภชนศาสตร์ สัตว์เคี้ยวเอื้อง.
E N D
วิชา สศ 402โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค
บทที่ 7หลักการในการศึกษาด้านโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหลักการในการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารหรือส่วนประกอบทางเคมีในอาหารสัตว์ ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ในกลุ่มใดเป็นอาหารได้บ้าง เนื่องจากอาหารหลักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง คือกลุ่มอาหารหยาบ ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์บางอย่างที่แตกต่างไป นอกจากนี้นักศึกษาจะมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการและหลักการสมัยใหม่ในการศึกษาด้านโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง
ทำไมต้องเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเคมีในอาหารสัตว์ทำไมต้องเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเคมีในอาหารสัตว์ • เพราะส่วนประกอบทางเคมีเป็นสิ่งที่สามารถใช้บอกคุณค่าทางโภชนะในอาหารสัตว์ได้ • ผลการวิเคราะห์นำมาใช้แบ่งประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ • ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อพิจารณาการแปรรูปอาหารสัตว์หรือการเก็บรักษาอาหารสัตว์
การวิเคราะห์ทางเคมีเบื้องต้นเป็นอย่างไรการวิเคราะห์ทางเคมีเบื้องต้นเป็นอย่างไร • การวิเคราะห์คุณค่าทางเคมีของอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่จะใช้ วิธีการวิเคราะห์แบบประมาณ (proximate analysis) โดยหลักการวิธีนี้จะแบ่งกลุ่มของโภชนะออกเป็น 6 กลุ่ม คือ ความชื้นหรือน้ำ (moisture) เถ้า (ash) โปรตีนรวม (crude protein) ไขมัน (ether extract) เยื่อใยรวม (crude fiber) และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย (nitrogen free extract)
สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์คืออะไรสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์คืออะไร • สารอินทรีย์ (organic matter) คือ โปรตีน ไขมัน,เยื่อใย และ NFE • สารอนินทรีย์ (inorganic matter) คือโภชนะส่วนแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบในอาหาร สารอินทรีย์ และ สารอนินทรีย์รวมกันอยู่ในส่วนประกอบ ของวัตถุแห้ง
การวิเคราะห์หาค่าความชื้นการวิเคราะห์หาค่าความชื้น • ชั่งน้ำหนักตัวอย่าง • อบในตู้อบ ที่ 102 – 104๐ซ ตามเวลาที่กำหนด • ชั่งน้ำหนักตัวอย่างหลังอบ • น้ำหนักตัวอย่างที่หายไปคือค่าความชื้นในอาหาร • % วัตถุแห้ง = 100 - % ความชื้น ตาม AOAC (1998) ใช้ 135๐ซ
การวิเคราะห์เถ้า • ชั่งตัวอย่างใส่ในถ้วยกระเบื้อง • เผาในเตาเผา 550 ๐ซ นาน 3 ชม. • ชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่เหลือ • น้ำหนักที่เหลือ คือ สารอนินทรีย์ หรือเถ้า • ประกอบด้วยแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ % สารอินทรีย์ = % วัตถุแห้ง - % เถ้า เตาเผา
วิเคราะห์โปรตีนใช้วิธี kjeldahl method • 1.ชั่งตัวอย่างใส่หลอดแก้วย่อยด้วย H2SO4 • 2.กลั่นด้วย NaOH แล้วใช้ boric acid จับ N • 3. ไตเตรทด้วยกรด(ทราบความเข้มข้น) จะได้ค่า N ปริมาณโปรตีน (%) คือ N x 6.25 • วิธีนี้ ค่าที่คำนวณได้คือ ค่าของโปรตีนแท้ (true protein) รวมค่า NPN เครื่องย่อย เครื่องกลั่น
การวิเคราะห์ค่าไขมัน • 1.ชั่งตัวอย่างนำมาสกัดด้วยสารละลายอินทรีย์ Dichloromethane หรือ Petrolium ether • 2.แยกสารละลายอินทรีย์ออก • 3.ส่วนที่เหลือในขวด คือไขมัน สารที่ละลายได้ในสารละลายอินทรีย์ เช่น ไวตามินที่ละลายได้ในไขมัน และ Carotenoid และ ไลปิดประเภทอื่น ๆ
การวิเคราะห์คาร์โบไฮเดรตในอาหารสัตว์การวิเคราะห์คาร์โบไฮเดรตในอาหารสัตว์ การวิเคราะห์แบบประมาณแบ่งคาร์โบไฮเดรตออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเยื่อใย หรือ กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก(ส่วนประกอบของผนังเซลล์ เช่นเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน) 2. กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย ที่ไม่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น แป้งและน้ำตาล • การแบ่งประเภทนี้ใช้หลักการว่าเอนไซม์ในสัตว์ไม่สามารถย่อยเยื่อใยได้
การวิเคราะห์หาเยื่อใยการวิเคราะห์หาเยื่อใย • : ชั่งตัวอย่างต้มใน H2SO4 (10%) แล้วกรอง • :นำส่วนที่กรองได้ต้มใน NaOH (10%) แล้วกรอง • : นำส่วนที่กรองได้ใส่ crucible ที่รู้น้ำหนักแน่นอน เผาในเตาเผาที่อุณหภูมิ 550 ๐ซ • ตามเวลากำหนด • : ทำให้เย็นชั่งน้ำหนัก crucible • น้ำหนักส่วนที่หาย คือ ส่วนของเยื่อใย • น้ำหนักส่วนที่เหลืออยู่ในถ้วย คือ เถ้า เครื่องมือวิเคราะห์หาเยื่อใย
การหาค่าไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรค NFE ค่า NFE หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายที่ไม่มี N เป็นองค์ประกอบ • NFE เป็นค่าที่ไม่ได้จากการวิเคราะห์ แต่ได้จากการนำค่าต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ได้ทั้งหมดหักออกจากค่าวัตถุแห้ง คือ % ไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรค = % วัตถุแห้ง - % เถ้า - % โปรตีน - % ไขมัน - % เยื่อใย
Detergent method คืออะไร • เป็นวิธีการที่ค้นคิดขึ้นเพื่อวิเคราะห์เยื่อใยในอาหารหยาบที่เป็นอาหารหลักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผลวิเคราะห์ถูกต้องกว่าการวิเคราะห์เยื่อใยแบบประมาณ : เพราะคาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้างบางส่วนที่ผนังเซลล์ถูกย่อยได้โดยเอนไซม์ cellulase และ hemicellulase • แต่การวิเคราะห์เยื่อใยแบบประมาณ แยกผนังเซลล์ว่าเป็นส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย(โดยการย่อยใช้เอนไซม์จากตัวสัตว์)
การวิเคราะห์แบบ Detergent method - ชั่งตัวอย่าง ต้มใน neutral detergent solution ตามเวลาที่กำหนด แล้วกรองสารละลาย - ส่วนที่อยู่ในสารละลาย คือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่เป็นโครงสร้าง (non structural carbohydrate) เช่นแป้งและน้ำตาล - ส่วนกาก คือ คาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้าง (cell wall content )เช่นเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและลิกนิน
การวิเคราะห์แบบ Detergent method(ต่อ) - นำส่วนกากมาต้มในสารละลายที่เป็นกรด (acid detergent solution) ตามเวลาที่กำหนด - กรองสารละลาย • ส่วนที่ละลายได้ในสารละลายที่เป็นกรด คือ เฮมิเซลลูโลส • ส่วนกาก คือ acid detergent fiber (ADF) หรือ ส่วนของผนังเซลล์ที่เป็นส่วนของเซลลูโลส และ ลิกนิน
การวิเคราะห์แบบ Detergent method (ต่อ) - นำส่วนกากต้มในสารละลายด่างทับทิม (potassium permanganate) ลิกนินจะสลายตัว เหลือเซลลูโลสและเถ้า - เมื่อนำไปเผาจะได้ค่าเซลลูโลส หรือ- นำไปต้มในสารละลายกรดกำมะถัน 72% (72% H2SO4) เซลลูโลสจะละลายออกมา เหลือส่วนของลิกนินและเถ้า - เมื่อนำไปเผา ส่วนของลิกนินจะสลายตัวไป • สามารถคำนวณหาค่าลิกนิน (acid detergent lignin, ADL) ได้
ทำไมต้องศึกษาการย่อยได้ของโภชนะทำไมต้องศึกษาการย่อยได้ของโภชนะ • เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางเคมี ไม่สามารถบอกว่า เมื่อสัตว์กินอาหารแล้ว โภชนะในอาหารจะถูกย่อยและดูดซึมไปใช้ ในขบวนการเมตาโบลิซึมต่าง ๆ ในร่างกายได้เท่าใด เพราะมีบางส่วนของโภชนะที่ไม่ถูกย่อยจะถูกขับออกจากร่างกายทางมูล (feces) • ค่าการย่อยได้เป็นสิ่งสำคัญในการประเมินคุณค่าทางอาหารของวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด • ค่าที่ได้แตกต่างกันตามการทดลอง เช่นการใช้สัตว์ ชนิด เพศ อายุ สภาพร่างกาย
การย่อยได้ • หมายถึงโภชนะในอาหารที่ระบบทางเดินอาหารดูดซึมไปใช้ได้ • โดยส่วนที่ไม่ดูดซึม คือส่วนที่ย่อยไม่ได้จะถูกขับออกทางมูล • เมื่อวิเคราะห์โภชนะในอาหารและวิเคราะห์โภชนะในมูล สามารถคำนวณค่าการย่อยได้จากสูตร
การคำนวณค่าการย่อยได้การคำนวณค่าการย่อยได้ • % การย่อยได้ของอาหาร = (ปริมาณอาหารที่กิน – ปริมาณอาหารที่มีอยู่ในมูล) x 100 ปริมาณอาหารที่กิน หรือ % การย่อยได้ของโภชนะ = (ปริมาณโภชนะในอาหาร – ปริมาณโภชนะในมูล) x 100 ปริมาณโภชนะในอาหาร
การศึกษาการย่อยได้มี2 วิธี 1.การย่อยได้ของโภชนะในตัวสัตว์ (in vivo digestibility) 2.การย่อยได้ในหลอดทดลอง (in vitro digestibility) • การทดลองในตัวสัตว์ค่าที่ได้เป็นค่าการย่อยได้ปรากฏ (apparent digestibility) • เนื่องจากค่าโภชนะที่อยู่ในมูลมีค่าโภชนะที่ได้จากอาหารที่ไม่ถูกย่อยและส่วนของเนื้อเยื่อที่หลุดลอกออกมารวมอยู่ด้วย
การศึกษาในตัวสัตว์ 1.วิธีการชั่งน้ำหนักทั้งหมด (Total collection method) 2.วิธีการใช้สารชี้บ่ง (Indicator method) • วิธีที่ 1 นิยมใช้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก • วีที่ 2 นิยมใช้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่ เป็นวิธีการแก้ปัญหาในวิธีที่ 1
การศึกษาในตัวสัตว์ต้องเตรียมอะไรบ้างการศึกษาในตัวสัตว์ต้องเตรียมอะไรบ้าง • คัดเลือกสัตว์ทดลองที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ควรเป็นสัตว์ที่โตแล้ว • มีกรงทดลอง(Metabolic cage) ที่แยกเก็บมูลและปัสสาวะได้อิสระ • มีจำนวนสัตว์ที่ใช้ทดลองอย่างน้อย 4 ตัว • แผนการทดลองที่ใช้ เช่น แผนการทดลองแบบ Latin square , Completely randomized design • อาหารที่ใช้ทดลอง ต้องเตรียมไว้อย่างเพียงพอกับระยะทดลอง • ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
ระยะทดลอง • แบ่งเป็น 2 ระยะ • 1.ระยะก่อนการทดลอง (Preliminary period) เป็นระยะปรับตัว • 2.ระยะทดลองจริง (Experimental period) เป็นระยะเก็บข้อมูล เช่นปริมาณอาหารที่กิน ปริมาณมูลและปัสสาวะที่สัตว์ขับถ่าย และสุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์คุณค่าทางเคมีด้วย • ก่อนระยะการทดลองต้องมีระยะการปรับตัวก่อน 7 วัน • ในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะใช้ระยะก่อนการทดลองประมาณ 10 – 14 วัน
ขบวนการ isomerization • ถ้าใช้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนะเหมาะสมและเพียงพอต่อความ ต้องการของสัตว์ หรืออาหารที่มีคุณภาพใช้เลี้ยงอย่างเดียวโดยไม่ ต้องเสริมอาหาร ไม่ต้องทำBasal diets • ถ้าอาหารที่ใช้มีคุณค่าทางอาหารไม่สมดุล ( Unbalance composition of nutrient)เช่น ฟางข้าว อาหารข้น การศึกษาต้องใช้Basal diets ร่วมกับTest feed เรียกว่าวิธี By-difference
Calculation of dry matter digestibility by difference Digestibility%digested DM,g Basal diet 60 DM Experimental diet 100g 55 100x55/100=55 Consisting of 40% test feed (40g) x 40 x X/100=0.4x 60% basal diet(60g) 60 60x60/100=36 0.4x +36=55 x =(55-36)/0.4 digestibility by difference of the target feed (x) = 47.5
Total collection มีวิธีการคำนวณอย่างไร เมื่อได้ข้อมูลปริมาณการกินอาหาร มูลที่ขับถ่ายและผลวิเคราะห์ทางเคมีในอาหารและมูลสามารถคำนวณค่าการย่อยได้จากสูตร ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง= 100 - 100 xน้ำหนักของมูลในรูปวัตถุแห้ง น้ำหนักอาหารที่กินในรูปวัตถุแห้ง ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะ = 100 – 100 x น้ำหนักของโภชนะในรูปวัตถุแห้ง น้ำหนักโภชนะในอาหารในรูปวัตถุแห้ง
การย่อยได้ของโภชนะแบบ Total collection • เป็นค่าการค่าการย่อยได้ของโภชนะในทุกส่วนของทางเดินอาหารรวมกัน ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละส่วนย่อยได้ต่างกัน และโภชนะที่ถูกย่อยได้ก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่างกันด้วย • เช่น การย่อยได้ในลำไส้ใหญ่ต่างจากลำไส้เล็ก และการใช้ประโยชน์ของโภชนะก็ต่างกัน • การศึกษาการย่อยได้ในแต่ละส่วนของระบบทางเดินอาหารจึงทำให้การให้อาหารต่อสัตว์ตรงตามความต้องการจริง
วิธีการใช้สารชี้บ่งมีกี่วิธีวิธีการใช้สารชี้บ่งมีกี่วิธี 1.ใช้สารชี้บ่งภายใน (Internal indicator) เช่น ลิกนิน และ เถ้าที่ไม่ละลายในกรด 2.วิธีการใช้สารชี้บ่งภายนอก (External indicator) เช่น Cr2O3 , TiO การใช้สารชี้บ่งเพื่อศึกษาการย่อยได้ควรให้ความสำคัญในการเก็บตัวอย่างอาหารและมูลด้วย
คำนวณได้จากสูตร • สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง(%) =100 -100 x% สารชี้บ่งในมูล - % สารชี้บ่งในอาหาร % สารชี้บ่งในมูล • การย่อยได้ของโภชนะ (%) = 100 – 100 x% สารชี้บ่งในอาหารx % โภชนะในอาหาร %สารชี้บ่งในมูล % โภชนะในมูล • สารชี้บ่งภายนอกควรวิเคราะห์ได้ง่าย ราคาไม่แพง และไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร
เหตุใดจึงมีการศึกษาการย่อยได้ในหลอดทดลองเหตุใดจึงมีการศึกษาการย่อยได้ในหลอดทดลอง : ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงาน • การศึกษาในสัตว์เคี้ยวเอื้อง จำเป็นต้องใช้ : สัตว์ที่เจาะกระเพาะแล้ว เพื่อใช้ตัวอย่างของเหลวในกระเพาะรูเมนเป็นส่วนประกอบในการวิเคราะห์ • วิธีการที่นิยมใช้ มี 3 วิธี คือTwo stages in vitro method, Pepsin cellulase method และ Gasproduction method
วิธีการ : Two stages in vitro method โดยชั่งตัวอย่าง 0.25 – 0.5 กรัม ใส่หลอดทดลอง • เติม rumen fluid และ buffer เพื่อปรับ pH • บ่มที่ 39 ๐ซ นาน 48 ชั่วโมง ภายใต้สภาพไร้ออกซิเจน • นำหลอดทดลองออกมาเติมเอนไซม์เปปซิน บ่มอีก 48 ชม. • กรองสารละลาย ใส่กากใน crucible • อบที่ 105๐ซ นาน 1 คืน เผาในเตาเผา 550๐ซ • ชั่งน้ำหนักหลังจากเผา คำนวณการย่อยได้ วิธีการนี้อาจเรียกว่าวิธีของ Tilley and Terry
Pepsin cellulase method • ชั่งตัวอย่าง เติมเอนไซม์เปปซิน บ่มที่ 40๐ซ นาน 24 ชม. • เติมสารละลาย (cellulase – acetate – buffer) เพื่อย่อยผนังเซลล์ • บ่มหลอดทดลองที่ 40๐ซ นาน 24 ชม. • กรองสารละลาย นำส่วนที่เหลือไปอบเพื่อหาค่าวัตถุแห้ง • เผาในเตาเผาเพื่อหาค่าอินทรียวัตถุ และคำนวณค่าการย่อยได้
อุปกรณ์ที่ใช้ในวิธี pepsin cellulase
วิธี Gas production methodคืออะไร • เป็นวิธีการวิเคราะห์ค่าการย่อยได้ของโภชนะในกระเพาะรูเมน โดยวัดปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นแทนการวัดปริมาณโภชนะที่หายไป วิธีการ : ชั่งตัวอย่างใส่ในหลอดทดลอง (คล้ายกับเข็มฉีดยาตรงปลายมีสายยางสั้น ๆ) : ใส่ rumen fluid และ buffer : นำหลอดทดลองใส่ในตู้บ่มที่มีการหมุนเวียนของหลอดทดลองตลอดเวลา เป็นเวลา 8 และ 24 ชั่วโมง
วิธี Gas production method : อ่านค่าปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น เมื่อบ่มครบกำหนดเวลา : นำค่าที่ได้มาคำนวณค่าการย่อยได้ ของอินทรียวัตถุ (organic method digestibility) ,พลังงานใช้ ประโยชน์ (metaboligable energy, ME เป็น Mg/kg DM) โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์แบบ gas test
การศึกษาในหลอดทดลอง เป็นการสร้างหลอดทดลองที่เลียนแบบกระเพาะรูเมน ขั้นตอน : นำตัวอย่างอาหารที่ทราบน้ำหนักแน่นอน : ใส่ rumen fluid : ปรับสภาพในหลอดทดลองให้เหมาะสมเช่น - อุณหภูมิปรับที่ 39๐ซ - มีการเติมบัพเฟอร์ที่เป็นสารเคมี - ปรับสภาพให้เป็นสุญญากาศโดยใช้ CO2
การศึกษาในหลอดทดลองมีกี่ประเภทการศึกษาในหลอดทดลองมีกี่ประเภท • แบ่งออกเป็น 2 ประเภท • 1.แบบไม่ต่อเนื่อง(batch trials) ลักษณะแบบปิดคล้ายถังหมัก ใช้เวลาแช่บ่มอาหาร 24- 48 ชั่วโมง ลักษณะของตู้บ่ม โถหรือหลอดทดลอง
การศึกษาในหลอดทดลอง(ต่อ)การศึกษาในหลอดทดลอง(ต่อ) • 2.แบบต่อเนื่อง(continuous fermenter) เป็นเครื่องมือหรือหลอดทดลองที่ออกแบบให้มีสภาพใกล้เคียงกับกระเพาะรูเมนในสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยให้มีการไหลผ่านของอาหารเข้า-ออกในหลอดทดลองหรือถังหมัก ซึ่งเป็นข้อด้อยในการศึกษาการย่อยได้ในหลอดทดลองแบบไม่ต่อเนื่อง การศึกษาในหลอดทดลองแบบต่อเนื่อง
วิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไรวิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไร • ชั่งตัวอย่างอาหารใส่ถุงไนล่อน • นำถุงแช่ในกระเพาะรูเมนของ fistulated animal : ใช้เวลาต่างกัน เช่น 4, 8, 12, 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง (อาหารหยาบ) และที่ 2, 4, 8, 16, 24 ,36และ 48 ชั่วโมง สำหรับตัวอย่างอาหารข้น • ข้อจำกัดที่สำคัญของวิธีนี้ คือ ต้องมีความเข้าใจและมีความระมัดระวังในการเลือกใช้ถุง
วิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไร(ต่อ)วิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไร(ต่อ) • เมื่อครบกำหนดเวลานำถุงออกมาล้างให้สะอาด • นำถุงไนล่อนไปอบให้แห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 60๐ซ • นำตัวอย่างอาหารที่เหลือหลังจากการแช่บ่ม วิเคราะห์คุณค่าทาอาหารเช่น วัตถุแห้ง โปรตีน เพื่อคำนวณค่าการย่อยได้โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Neway
ปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยได้ของโภชนะปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยได้ของโภชนะ • ปริมาณอาหารที่กิน ถ้ากินมากย่อยได้น้อย • ปริมาณลิกนินและเยื่อใยในอาหาร • ชนิดของสัตว์ • ความน่ากินของอาหาร • การเตรียมตัวอย่างอาหาร เช่นการแปรรูปอาหาร การหั่น สับ • ผลของอาหารที่ให้ร่วมกัน • การปรับตัวของสัตว์
ตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหารตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร การทดลองให้อาหารในแกะที่มีระยะก่อนการทดลอง 7 วัน และระยะทดลอง 7 วัน อาหารคือหญ้าแห้งให้กินอาหารแห้ง 2% ของน้ำหนักตัวและแกะทดลองมีน้ำหนักเฉลี่ย 40 กก. เก็บมูลได้เฉลี่ยน้ำหนัก 0.6 กก.วัตถุแห้ง • ผลวิเคราะห์อาหารในห้องปกิบัติการปรากฏดังนี้
ตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหารตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร หาโภชนะที่กิน และโภชนะในมูล/ต่อวัน ย่อยได้ 0.27 - 0.019 0.16 0.10
ตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหารตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร • % DDM = I-F/I x100 = 0.8-0.53/0.8 x 100 = 33.75 % • % DCF= 0.4- 0.24 / 0.4 x 100 = 40.00 %
พลังงาน(energy) • โคมีความจำเป็นต้องได้โภชนะที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์จากอาหารเพื่อนำไปสร้างเป็นพลังงาน สำหรับเนื้อเยื่อหรือเซลล์ต่างๆในร่างกาย ทั้งในการใช้พลังงานเพื่อกิจกรรมพื้นฐานของร่างกาย (พลังงานเพื่อการดำรงชีพ) และการให้ผลผลิตในรูปแบบต่างๆ • โดยพลังงานในอาหารที่อยู่ในรูปของพลังงานเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงานกล และพลังงานความร้อน
พลังงานในวัตถุดิบอาหารสัตว์พลังงานในวัตถุดิบอาหารสัตว์ • วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการย่อยทำให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง จนสามารถดูดซึมผ่านผนังของเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารได้ จากนั้นจะเดินทางไปที่เซลล์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เป็นพลังงานในด้านต่างๆ เช่นสำหรับดำรงชีวิต และให้ผลผลิต โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดจะมีการกระจายของพลังงานที่ต่างกัน • แยกเป็นวัตถุดิบที่ให้พลังงาน, วัตถุดิบที่ให้โปรตีนฯลฯ
หน่วยของพลังงาน • Calorie = cal หรือ หรือ จูล joules = volt x amperes x second • 1 cal = 4.184 joule (j) = จำนวนความร้อนที่ต้องการเพิ่มขึ้นในการทำให้น้ำที่มีน้ำหนัก 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีก 1๐ซ ( 14.5 เป็น 15.5) • Kcal = 1 kilocalories = 1,000 cal., • 1cal = 4.184 J หรือ 1J = 0.239 cal • Mcal = 1,000 kcal.= 4.184 MJ (Mega joules) • หรือใช้หน่วย BTU = 252 cal (BTU= British Thermal Unit)
หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์ • พลังงานในอาหารสามารถตรวจวัดด้วยเครื่อง วิเคราะห์พลังงานคือ bomb calorimeter ค่าที่วิเคราะห์ได้ คือ 1.พลังงานรวมหรือพลังงานทั้งหมด (GE) 2.พลังงานที่สูญเสียออกทางมูล (FE) 3.พลังงานที่ย่อยได้(DE)
หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์ 4. พลังงานที่ใช้ประโยชน์(ME) 5.พลังงานสุทธิ (NE) • เพื่อการดำรงชีพ (NEm) • เพื่อให้ผลผลิต(NEg) , (NEl) ยอดโภชนะที่ย่อยได้ทั้งหมดTotal digestible nutrient (TDN)
การกระจายของพลังงานจากอาหารการกระจายของพลังงานจากอาหาร • Gross energy = GE = พลังงานในวัตถุดิบอาหารสัตว์หรือพลังงานที่ได้จากการนำอาหารไปเผาในเครื่อง bomb calorimeter เป็นค่าพลังงานโดยประมาณที่มีในวัตถุดิบนั้น • หญ้ามี GE = 4.42 Mcal /น้ำหนักแห้ง