1 / 11

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลพบุรี จัดทำโดย ด.ญ.ณัฐชามา อาริยะ ม.1/1 เลขที่ 29 ด.ญ.พีรญา รุจิรกาล ม.1/1 เลขที่ 41 เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ.

Download Presentation

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลพบุรี จัดทำโดย ด.ญ.ณัฐชามา อาริยะ ม.1/1 เลขที่ 29 ด.ญ.พีรญา รุจิรกาล ม.1/1 เลขที่ 41 เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ

  2. บ้านวิชาเยนทร์บ้านวิชาเยนทร์ หรือ บ้านหลวงรับราชทูต (Offical residence for Ambassadors of Wichayen house) ตั้งอยู่ทางเหนือของวังนารายณ์ราชนิเวศน์และวัดเสาธงทอง ทางตะวันตกใกล้กับวัดปืนที่มีกรุพระหูยาน และทางตะวันออกใกล้กับเทวสถานปรางค์แขก สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในบริเวณแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยมีประตูทางเข้ารวม 3 ประตู- ด้านทิศตะวันตก เป็ส่วนที่พักของออกญาวิชากรีกเดิม คือ คอนสแตนดิน ฟอลคอน เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ได้รับความดีความชอบและความไว้วางพระราชหฤทัยในดำแหน่งสมุหนายกระหว่างปี 2228-2231 มีภริยาชื่อ มารี เดอร์กีมาร์ หรือคนไทยรู้จักกันในชื่อ ท้าวทองกีบม้า กับดำนานขนมทองหยิบ ทองหยอดฝอยทอง- ส่วนกลาง เป็น โบสถ์ในศาสนาคริสต์- ด้านทิศตะวันออก เป็นส่วนที่พักของคณะทูต และในปี 2228 ทูตจากฝรั่งเศส เชอวาเลีย เดอโชมองต์ และคณะที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ได้เข้าพักที่ส่วนรับรองคณะทูตนี้ด้วย กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2479.

  3. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะพบศาลาเปลื้องเครื่องเป็นอันดับแรก ศาลาเปลื้องเครื่องนี้ใช้เป็นที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลื้องเครื่องทรงก่อนที่จะเข้าพิธีทางศาสนาในพระวิหารหรือพระอุโบสถ ปัจจุบันศาลาเปลื้องเครื่องคงเหลือเพียงเสาเอนอยู่เท่านั้น ส่วนอื่นปรักหักพังไปหมดแล้ว ถัดจากศาลาเปลื้องเครื่องเป็นวิหารหลวง ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก ประตูทำเป็นเหลี่ยมแบบไทย หน้าต่างเจาะช่องแบบโกธิคของฝรั่งเศส ภายในสร้างฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป ทางทิศใต้ของวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถขนาดย่อม ประตูหน้าต่างเป็นแบบฝรั่งเศสทั้งหมด ห่างไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวงเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ที่สูงที่สุดในลพบุรี สร้างเป็นพุทธเจดีย์ องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูน มีเครื่องประดับลวดลายเป็นพระพุทธรูปและพุทธประวัติ ที่ลายปูนปั้นหน้าบันพระปรางค์แสดงถึงอิทธิพลของพุทธศาสนา นิกายมหายาน และซุ้มโคปุระของปรางค์องค์ใหญ่เป็นศิลปะละโว้ มีลายปูนปั้นที่ถือว่างามมาก เดิมคงจะสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจ

  4. เขาวงพระจันทร์ เขาวงพระจันทร์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ห่างจากตัวเมืองลพบุรีไปทางทิศเหนือประมาณ 28 กิโลเมตร การเดินทางท่านสามารถใช้เส้นทางหลัก คือ ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 178 เมื่อท่านเดินทางมาจากตัวจังหวัดลพบุรี มาตามถนนพหลโยธินจะมีป้ายบอกทางให้เลี้ยวขวาเข้าวัดเขาวงพระจันทร์ประมาณ 5 กิโลเมตรจะพบกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรีตั้งอยู่ทางด้านขวามือก่อนถึงเขาวงพระจันทร์และเมื่อเลยแนวเขตรั้วโรงเรียนไปจะพบกับศาลเจ้าพ่อขุนด่านตั้งอยู่บริเวณทางด้านขวามือเลยแนวเขตของรั้วโรงเรียน ลักษณะทั่วไปของเขาเมื่อมองมองจากที่สูงจะมีรูปร่างเป็นวงคล้ายรูปพระจันทร์ เขาวงพระจันทร์มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร และมีบันทึกขึ้นไปสู่ยอดเขามีบันใดทั้งหมด 3,799 ขั้น ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว 1,680 เมตร ด้านบนเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และนับว่าเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดลพบุรี

  5. ศาลหลักเมือง (ศาลลูกศร) ศาลลูกศรตามตำนานว่าไว้ว่าเมื่อพระรามรบชนะทศกัณฑ์ได้ปูนบำเหน็จความชอบแด่ขุนทหารโดยทั่วกัน และได้รับสั่งว่าให้หนุมานทหารเอกได้ครองกรุงอโยธยาร่วมกัน แต่หนุมานขอให้พระรามพระราชทานพื้นที่สร้างเมืองโดยให้พระรามแผลงศรออกไป เมื่อลูกศรไปตกณ.ที่ใดก็ให้หนุมานสร้างเมือง ณ ที่แห่งนั้น ตามตำนานว่าไว้ว่าเมื่อลูกศรตกลงมาถูกพื้นดินก็ได้เกิดไฟเผาผลาญพื้นดินนั้นจนสุกขาวเป็นที่มาของดินสอพอง และลูกหลานของหนุมานนั้นก็คือลิงที่อาศัยอยู่ที่ศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอด ลูกศรของพระรามนั้นเชื่อว่ายังมีฤทธิ์อยู่เมื่อใดที่ผู้ดูแลศาลปล่อยให้น้ำที่แช่อยู่แห้งลงไปจะเกิดไฟไหม้เมืองลพบุรี

  6. เทวสถานปรางค์แขก เทวสถานปรางค์แขก หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า "ปรางค์แขก" อยู่ใกล้ตลาดสด เขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สร้างแบบศิลปะเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นปราสาทแบบ 3 หลัง ไม่มีทางเชื่อมเหมือนกันกับพระปรางค์สามยอด และเก่าแก่กว่าพระปรางค์สามยอด ข้อมูลจากการขุดตรวจล่าสุด เดือนเมษายน พ.ศ. 2548 แต่เดิมก่อด้วยอิฐไม่สอปูน ประกอบพิธีทั้งสองหลัง คาดว่าคงพังทลายลง และมีการสร้างใหม่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (อยุธยาตอนปลาย) โดยเป็นแบบศิลปะไทยผสมยุโรป ต่อมาเมื่อชำรุดทรุดโทรมลง กรมศิลปากรได้เข้าไปทำการบูรณะเพิ่มเติมและเทคอนกรีตเสริมฐานรากด้วย

More Related