200 likes | 395 Views
การนำเสนอการวิจัย. เรื่อง พฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบต่างๆ ของสตรีช่วงอายุ 15-4 4 ปี ที่เข้ามารับการรักษาที่ OPD นรีเวชกรรม. ทบทวนวรรณกรรม.
E N D
การนำเสนอการวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบต่างๆ ของสตรีช่วงอายุ 15-44 ปี ที่เข้ามารับการรักษาที่ OPD นรีเวชกรรม
ทบทวนวรรณกรรม พบว่า 80% ของผู้หญิงอเมริกัน นิยมใช้ OCP ในลักษณะเป็นครั้งคราว จากการสำรวจของ 1995 National Survey of Family Growth โดยสำรวจจากช่วงอายุ 15-44 ปี พบว่า ทำหมันหญิง 28% ทำหมันชาย 11% ใช้ยาคุมกำเนิด 27% ใช้ถุงยางอนามัย(ผู้ชาย) ประมาณ 20% น้อยกว่า 5% เลือกใช้วิธีอื่นๆ เช่น ห่วงอนามัย ฉีดยาคุม ฝังยาคุม โดย Ann J.Davis,MD:Advance in contraception
ในวรรณกรรมนี้ได้กล่าวถึงการคุมกำเนิดในวัยรุ่นอเมริกา โดยพบว่า วัยรุ่นมีการคุมกำเนิดมากขึ้น (ส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัย) ซึ่งผลที่ได้คือการลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คิดเป็น 80% ของอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ลดลง โดยการใช้ถุงยางอนามัย และ ยาคุมกำเนิด เป็นการคุมกำเนิดที่วัยรุ่นเลือกใช้มากที่สุด ส่วนการคุมกำเนิดในวิธีอื่นๆ ไม่นิยมใช้ โดยการคุมกำเนิดแต่ละวิธีมีข้อดี และข้อเสียต่างกันไป เช่น ในถุงยางมีข้อดีคือสามารถป้องกัน STD ได้ด้วย และคาดว่าแนวโน้มการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกัน STD น่าจะมีมากขึ้นจากการให้การศึกษาเรื่อง AIDS ในยาคุมกำเนิดผลข้างเคียงที่วัยรุ่นกังวลคือ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อีกปัญหาคือการลืมกินยา โดย Ann J. Davis,MD: Adolescent contraception and the clinician: An emphasis on counseling and communication.
คำถามการวิจัย พฤติกรรมการใช้ วิธีการคุมกำเนิดแบบต่างๆ เป็นอย่างไร ในแต่ละช่วงอายุ
คำถามรอง • ในแต่ละช่วงอายุผู้มารับการบริการมีเหตุผลในการเลือกวิธีการคุมกำเนิดแต่ละชนิดอย่างไร • ผู้มารับบริการมีความเข้าใจในวิธีคุมกำเนิดที่เลือกใช้อย่างไร • มีเหตุผลอย่างไรในการเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด • ความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขต่างๆ เช่นสภาวะเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา และช่วงอายุ กับการเลือกวิธีคุมกำเนิด • ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ และปัญหาของหญิงวัยเจริญพันธุ์เกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิด
วัตถุประสงค์ • เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของการเลือกวิธีคุมกำเนิด กับระดับการศึกษา อายุ และรายได้ • ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดที่เลือกใช้ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เข้ามารับการบริการที่ OPD นรีเวชกรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการให้ความรู้เรื่องคุมกำเนิด และการวางแผนครอบครัว
ระยะเวลาการวิจัย 2 สัปดาห์ รูปแบบการวิจัย Qualitative study เกณฑ์การคัดเลือก หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุระหว่าง 15-44 ปี ที่มาเข้ารับบริการที่ OPD นรีเวชกรรม โดยใช้วิธีการสุ่มเลือกในแต่ละช่วงอายุ
อคติในการวิจัย (Bias) • การวิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มารับการบริการที่ OPD นรีเวชกรรมทำให้มีโอกาสที่จะสุ่มพบความเข้าใจผิดในการเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดเพราะว่ากลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มว่าจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิด และผลข้างเคียงจากบุคลากรทางการแพทย์แล้วเนื่องจากผู้ป่วยที่มารับการตรวจที่ OPD นรีเวชกรรม ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติเล็กๆน้อยๆ ซึ่งควรที่จะมาพบ
ชนิดการคุมกำเนิด • นับระยะปลอดภัย • ยาคุมกำเนิด • ยาฉีด • ห่วงอนามัย • ถุงยางอนามัย • ยาฝังคุมกำเนิด ไม่เคยมีบุตร มีบุตรแล้ว วัยใกล้หมดประจำเดือน การคุมกำเนิดในอดีต ปัจจุบันและอนาคต • ปัจจัยอื่น • อายุ • ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ • ระดับการศึกษา • เศรษฐานะ
คำนิยามเชิงปฏิบัติการคำนิยามเชิงปฏิบัติการ • OCP (Oral contraceptive pill) หมายถึง ยาเม็ดคุมกำเนิด • STD (Sexual transmitted disease)หมายถึง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ • ยาฉีดคุมกำเนิด (Injectable contraception)หมายถึง การฉีด Long- acting progestogen ที่มีกลไกยับยั้งการตกไข่ และทำให้ปากมดลูกข้นเหนียว • ยาฝังคุมกำเนิด (Norplant)หมายถึง ยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิวหนัง • Postcoital pillหมายถึง ยาคุมกำเนิดชนิดป้องกันที่ต้องรับประทานภายใน 72 ชม.หลังมีเพศสัมพันธ์ • การทำหมันหญิง (Female Sterilization)หมายถึง เป็นการที่ทำให้ท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง
ห่วงอนามัย (Intrauterine device) หมายถึง เป็นวัสดุที่ทำให้ภาวะการฝังตัวของตัวอ่อนไม่เหมาะสม • Postcoital pillหมายถึง ยาคุมกำเนิดชนิดป้องกันที่ต้องรับประทานภายใน 72 ชม.หลังมีเพศสัมพันธ์ • การทำหมันหญิง (Female Sterilization)หมายถึง เป็นการที่ทำให้ท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง • ถุงยางอนามัย (condom) หมายถึง เครื่องกีดขวางป้องกันไม่ให้อสุจิผ่านเข้าไปผสมกับไข่
วิธีการดำเนินการวิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นการศึกษาทางคุณภาพ (Qualitative study)
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรเป้าหมาย(Target Population) หมายถึง สตรีอายุ 15-44 ปี ที่เข้ารับการบริการที่ OPD นรีเวชกรรม Inclusion Criteria สตรีที่มี active sexual intercourse และต้องใช้การคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 วิธี Exclusion Criteria สตรีที่ inactive sexual intercourse ,menopause และหญิงตั้งครรภ์
ขนาดตัวอย่าง (Sample size) แบ่งตัวอย่างเป็นช่วงอายุเป็น 3 กลุ่มช่วงอายุดังต่อไปนี้ 15-24 ปี, 25-34 ปี, 35- 44 ปี โดยสุ่มตัวอย่างมาช่วงละ 5 คน ทำการเก็บ ข้อมูลแบบ Focus group discussion และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) โดยการนำตัวอย่างที่น่าสนใจจากแต่ละช่วงอายุมาช่วงอายุละ 1 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Instrument) ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่ม ประเด็นสนทนากลุ่ม Focus group discussion และแบบสัมภาษณ์ In depth Interview
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • เข้าหากลุ่มตัวอย่างที่มารับการบริการที่ OPD นรีเวชกรรมโดยเข้าไปขอความสมัครใจ ให้สัมภาษณ์ ระยะเวลาการสัมภาษณ์ 30 นาทีโดยรูปแบบการสัมภาษณ์เป็นลักษณะ ผู้ถูกสัมภาษณ์ 5 คนต่อผู้สัมภาษณ์ 1 คนในแต่ละกลุ่มซึ่งเป็นตามช่วงอายุได้ 3 กลุ่มดังที่กล่าวข้างต้น เมื่อสัมภาษณ์ครบ ผู้สัมภาษณ์จะเลือกผู้ที่มีปัญหาที่น่าสนใจมากที่สุดในแต่ละกลุ่ม เช่น ไม่สามารถรับประทานยาฮอร์โมนได้เนื่องจากมีข้อบ่งห้าม เป็นต้น มาสัมภาษณ์เชิงลึกและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
จริยธรรมการวิจัย มีเรื่องที่ต้องตระหนักในการทำวิจัยชิ้นนี้คือ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม ซึ่งทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลเป็นความลับได้ และการคิดคำถามที่นำมาใช้ในการสนทนาบางอย่าง เช่นประวัติการมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เสียความรู้สึกได้ และไม่ให้ความร่วมมือ
เอกสารอ้างอิง • ธีรพร วุฒยวนิช. วิจัยทางการแพทย์ Medical research. เชียงใหม่:โครงการตำราคณะแพทยศาสคร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542:หน้า 1-24 • ธีระ ทองสง. นรีเวชวิทยา ฉบับสอบบอร์ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ,พี บีฟอเรน บุ๊คเซ็นเตอร์. 2539,หน้า 519,553,579 • Ponzias S. Alan. Obstetrics and gynecology clinics of North America. Advance in contraception, USA.:W.B.Saunders company, 2000:p.597-611
Hatcher A. Robert. The essential of contraceptive Technology,Baltimore:The Johns Hopkins School of Public Health,1997 • Ann J. Davis,MD. Adolescent contraception and the clinician. Clinical Obstetrics and Gynecology. 2001 ;114- 119 • Ann J. Davis,MD.Advance in contraception . Clinics in perinatology. 2000 ;598-599 • www.engenderhealth.org