550 likes | 771 Views
ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการป้องกันการติดเชื้อใน ผู้ป่วย ไต วายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง อำเภอ อาจสามารถ จังหวัด ร้อยเอ็ด. รัชนีกร ไข่หิน พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลอาจสามารถ. สถานการณ์.
E N D
ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วย ไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด รัชนีกร ไข่หิน พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลอาจสามารถ
สถานการณ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา: ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 : ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 437,000 ราย (US Renal Data system, 2010) ประเทศเคนยา : ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 35,100 ราย : ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องร้อยละ 0.3 (Naicker,S., 2009) ประเทศไทย : ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 19,000ราย : ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 48.8 (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2556) จังหวัดร้อยเอ็ด: ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 1,788ราย : ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องร้อยละ 33.4 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด, 2555)
สถานการณ์ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2554 • ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 132 ราย • ผู้ป่วยได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 12 ราย HD 3 ราย • ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว • ผู้ป่วยติดเชื้อ 5 ราย เสียชีวิต 1 ราย
สถานการณ์ ปี พ.ศ. 2555 • ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 139ราย • ผู้ป่วยได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 25ราย HD 4 ราย • ผู้ป่วยติดเชื้อ 8 ราย และเสียชีวิต 2 ราย (โรงพยาบาลอาจสามารถ, 2555) **การล้างไตมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อจากการสอดใส่ท่ออุปกรณ์ (สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ, 2551)
ผลกระทบ ผู้ป่วย • ทำให้ต้องรับการรักษาและนอนโรงพยาบาลนานขึ้น • ไม่ได้อยู่กับครอบครัว อาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพจิต • เสียชีวิต • สูญเสียค่าใช้จ่าย โรงพยาบาล • สูญเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อยาปฏิชีวนะเพื่อใช้ในการรักษา (Hool, Onnium, Goh, Wong, Tan, Ahmad & Morad, 2005; Trodle, Brenna, Kliger, & Finkeistein, 2003; US Renal Data system, 2007)
กิจกรรมการส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์กิจกรรมการส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ • ใช้หลายวิธีประกอบกันโดยเน้น แนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม (self care)
การดูแล ตนเอง R R R ปัจจัยเงื่อนไขพื้นฐาน ความต้องการ ดูแลตนเองทั้งหมด ความสามารถ ในการดูแลตนเอง ปัจจัยเงื่อนไขพื้นฐาน < แบบจำลองแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ของโอเร็ม ความบกพร่อง R R ความสามารถ ทางการพยาบาล ปัจจัยเงื่อนไข พื้นฐาน R = ความสัมพันธ์
กิจกรรมส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์กิจกรรมส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 4.ให้การพยาบาลโดยประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง 1. การให้ความรู้ แนวคิดการดูแลตนเอง 2.กระตุ้นให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ 3.ให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม
แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ • ทำให้บุคคลเกิดการรับรู้พลังอำนาจในตนเอง • มีความเข้าใจและยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นภายในบริบทของตัวบุคคล ครอบครัว หรือชุมชน • ช่วยเหลือและสนับสนุนให้บุคคลรู้จักความต้องการของตนเอง • สามารถแก้ปัญหา • รู้จักใช้แหล่งประโยชน์ที่จำเป็น • ช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของตนเองได้ (Gibson, 1991)
สรุปการทบทวนวรรณกรรม • นำมาใช้ในการดูแล ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว (กษิตา พานทอง, 2552; บุษกร อ่อนโนน, 2547; พนารัตน์ เจนจบ, 2542; เมธินีจันติยะ, 2547; ศรีรัตน์ ตุ้มสิน, 2546) ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การค้นพบสภาพการณ์จริง ขั้นตอนที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขั้นตอนที่ 3 การตัดสินใจลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ (Gibson, 1993) ป้องกันการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง อย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์การวิจัย • เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง • เพื่อเปรียบเทียบการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องระหว่างก่อนและหลังได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ
สมมติฐานการวิจัย • การติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจน้อยกว่าก่อนได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ
ขอบเขตการวิจัย • การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) • แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest – Posttest design) • เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการป้องกันการ ติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด • โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด • ระยะเวลาการศึกษา 6เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2556
วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ศึกษา • ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ที่อาศัยอยู่ในอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ทุกคน จำนวน 25 ราย
เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าร่วมในการวิจัยเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าร่วมในการวิจัย • เป็นผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอื่นที่ส่งเสริมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง • เป็นผู้ที่สามารถสื่อสารได้โดยใช้ภาษาไทย • ยินดีเข้าร่วมการวิจัย
เกณฑ์ในการคัดออกจากการวิจัย • ในระหว่างดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยสาเหตุใดก็ตาม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล • เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 2 ชุด ได้แก่ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว ระยะเวลาในการป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะเวลาที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตัวเอง การมีห้องที่ใช้สำหรับล้างไตโดยเฉพาะ การทำความสะอาดห้องหรือบริเวณที่ล้างไต การสวมผ้าปิดปากและจมูกเมื่อทำการล้างไต การล้างมือครบตามจำนวนครั้งที่กำหนดในการล้างไต การเก็บน้ำยาสำหรับล้างไตแยกออกจากห้องที่ทำการล้างไต การดื่มน้ำต้ม/น้ำกรอง การอาบน้ำที่ผ่านจากก๊อกเปิดใหม่ การเคยติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง และการมีปัญหาในการล้างไตทางช่องท้อง 2. แบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ แผนการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบรายกรณี ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การค้นพบสภาพการณ์จริง : สร้างสัมพันธภาพ : ค้นหาปัญหา : ให้ความรู้ ขั้นตอนที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ : ทบทวนความรู้ : เล่ากรณีตัวอย่าง : ผู้ป่วยบอกสิ่งที่ควรปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 การตัดสินใจลงมือปฏิบัติ : ลงมือปฏิบัติและกำหนดเป้าหมาย ขั้นตอนที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ : PDCA : พันธะสัญญาใจ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) • แผนการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบรายกรณี : ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน การหาความเชื่อมั่น (reliability) • แผนการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบรายกรณี : นำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องจำนวน 5คน เพื่อทดสอบความ เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เป็นการประเมินความเข้าใจขั้นตอนต่างๆ และ กิจกรรมก่อนนำไปใช้จริง
การพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่างการพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง • การวิจัยดำเนินการภายหลังได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย โรงพยาบาล • ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนของการศึกษา • ขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการทดลอง • ผู้ร่วมวิจัยยินยอมเข้าร่วมการวิจัยจึงให้ลงลายมือชื่อในเอกสารแสดงความยินยอมเข้าร่วมในโครงการวิจัย • การศึกษาครั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ สามารถออกจากการศึกษาได้ทุกเวลา • การปฏิเสธการเข้าร่วมวิจัยไม่มีผลต่อบริการที่ได้รับ • ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพบริการ
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นเตรียมการรวบรวมข้อมูล • คัดเลือกผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ • นัดหมายวันเวลาในการดำเนินกิจกรรม • ผู้วิจัยแนะนำตัวเอง ชี้แจงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของโครงการ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยลงลายมือชื่อกรณียินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นดำเนินการรวบรวมข้อมูล • ผู้วิจัยพบผู้ป่วย แนะนำตัว และให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ผู้วิจัยเก็บข้อมูลประวัติการติดเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ประเมินการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องโดยใช้แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อ • ดำเนินการเสริมสร้างพลังอำนาจ
กิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครั้งที่ 1 ขั้นตอนที่ 1-3 (สัปดาห์ที่ 1) ขั้นตอนที่ 1 การค้นพบสภาพการณ์จริง สร้างสัมพันธภาพ
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ แผ่นพับ
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ การใช้ภาพพลิก
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ใช้โปสเตอร์ความรู้และส่งเสริมความรู้
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ
กิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครั้งที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทบทวนความรู้ เล่ากรณีตัวอย่าง ให้ผู้ป่วยบอกสิ่งที่ควรปฏิบัติ
กิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครั้งที่ 1 ขั้นตอนที่ 3 การตัดสินใจลงมือปฏิบัติ - ตัดสินใจแก้ปัญหา+เลือกวิธีปฏิบัติ+กำหนดเป้าหมาย - สนับสนุนผ้าปิดปาก-จมูก และแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ - ให้คำปรึกษารายบุคคลทางโทรศัพท์ - ให้ข้อมูลเสริมแรงเชิงบวก คำชม - โทรศัพท์ติดตามการปฏิบัติสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
กระตุ้นการปฏิบัติผู้ป่วย/ผู้ดูแลกระตุ้นการปฏิบัติผู้ป่วย/ผู้ดูแล การทำความสะอาดมือ **โทรศัพท์ติดตามกระตุ้นการปฏิบัติสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
สนับสนุนแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือและผ้าปิดปาก-จมูกสนับสนุนแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือและผ้าปิดปาก-จมูก
การจัดสิ่งแวดล้อม ห้องน้ำ สถานที่เก็บน้ำยา
การจัดสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บผ้าเช็ดมือ
การจัดสิ่งแวดล้อม โต๊ะและอุปกรณ์ การจัดเก็บขยะ
กิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครั้งที่ 2 ขั้นตอนที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ (สัปดาห์ที่ 5) สรุปการปฏิบัติของผู้ป่วย รายที่มีปัญหาในการปฏิบัติทำ PDCA
กิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครั้งที่ 3 ขั้นตอนยุติการเสริมสร้างพลังอำนาจ (สัปดาห์ที่ 9) ทบทวนสิ่งที่ควรปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย ความประทับใจและประโยชน์ที่ได้รับ
ประเมินผลหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจ สัปดาห์ที่ 12 • เก็บรวบรวมข้อมูลการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องโดยใช้แบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล • ข้อมูลทั่วไป: แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน • ข้อมูลการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง ก่อนและหลังการทดลอง - Fisher Exact test
ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ส่วนที่ 2 เปรียบเทียบการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลส่วนบุคคล (N=25)
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลส่วนบุคคล (N=25)(ต่อ)
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลส่วนบุคคล (N=25)(ต่อ)
ตารางที่ 2จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (N=25)
ตารางที่ 2จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (N=25) (ต่อ)
ตารางที่ 2จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (N=25)(ต่อ)