30 likes | 129 Views
การตรวจสอบการบริหารงานพัสดุ. ความหมายที่พึงรู้. การซื้อ คือ การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง.
E N D
การตรวจสอบการบริหารงานพัสดุการตรวจสอบการบริหารงานพัสดุ ความหมายที่พึงรู้ การซื้อคือ การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง การจ้างคือ การจ้างทำของ การรับขน และการจ้างเหมาบริการ (ไม่รวม การจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ การรับขนในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงานและการจ้างแรงงาน)
การตรวจสอบการบริหารงานพัสดุการตรวจสอบการบริหารงานพัสดุ ความหมายที่พึงรู้ (ต่อ) พัสดุคือ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายของสำนักงบประมาณ หรือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ วัสดุคือ สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลืองหมดไป หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท (รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น) ครุภัณฑ์คือ สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกินกว่า 5,000 บาท (รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น) ที่ดิน สิ่งก่อสร้างคือ ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ซึ่งติดตรึงกับที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง (เช่น อาคาร บ้านพัก สนามเด็กเล่น สนามกีฬา สนามบิน สระว่ายน้ำ สะพาน ถนน รั้ว บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน เป็นต้น) ทรัพย์คือ วัตถุมีรูปร่าง มีราคา มีมูลค่า และถือเอาได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137) ทรัพย์สินคือ ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138)กรมบัญชีกลางกำหนดให้บันทึกครุภัณฑ์และวัตถุที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี ซึ่งมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาทในทะเบียนทรัพย์สิน และให้ยกเลิกทะเบียนครุภัณฑ์ (20 ตุลาคม 2549)
การตรวจสอบการบริหารงานพัสดุการตรวจสอบการบริหารงานพัสดุ ความหมายที่พึงรู้ (ต่อ) บัญชีคู่มือผู้ซื้อคือ รายชื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศกำหนดรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน รายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียน และรายชื่อผู้ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ราคามาตรฐานคือ ราคาครุภัณฑ์ที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติในการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่มี Spec. ตามที่กำหนดในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ราคากลางคือ ราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางที่ส่วนราชการแต่งตั้งขึ้น ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2544 เป็นผู้กำหนดขึ้นจากรูปแบบรายการก่อสร้างที่ได้คิดคำนวณถอดแบบรูปรายการก่อสร้าง หรือซ่อมแซม ปรับปรุง และให้กำหนดไว้ในเงื่อนไขประกวดราคาเพื่อเปิดเผยต่อผู้เสนอราคาให้ได้รับทราบทั่วกันทุกราย และใช้เฉพาะกับงานจ้างก่อสร้างที่มีวงเงินค่าก่อสร้างเกิน 100,000 บาทขึ้นไปเท่านั้น หลักประกันสัญญาคือ หลักประกันที่ผู้ขายได้ยื่นต่อส่วนราชการ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ขาย / ผู้รับจ้างจะปฏิบัติตามสัญญามีมูลค่าในอัตราร้อยละ 5 ของวงเงิน กรณีมีความสำคัญเป็นพิเศษสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 หลักประกันซองคือ หลักประกันที่ผู้เสนอราคาได้ยื่นต่อส่วนราชการ เพื่อเป็นหลักประกันในการเสนอราคา (ใช้ในวิธีประกวดราคา)