560 likes | 1.03k Views
ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรม โมฆะ และโมฆียกรรม. ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์. ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรม อาจหมายถึง - นิติกรรมไม่เกิดขึ้น - นิติกรรมเกิดขึ้นแต่ตกเป็นโมฆะ - นิติกรรมเกิดขึ้นแต่ตกเป็นโมฆียะ. 1. 3. 2. โมฆะ. สมบูรณ์. โมฆียะ อยู่จุดไหน ?. ความหมายของโมฆะ.
E N D
ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมโมฆะ และโมฆียกรรม ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์
ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรม อาจหมายถึง - นิติกรรมไม่เกิดขึ้น - นิติกรรมเกิดขึ้นแต่ตกเป็นโมฆะ - นิติกรรมเกิดขึ้นแต่ตกเป็นโมฆียะ
1. 3. 2. โมฆะ สมบูรณ์ โมฆียะ อยู่จุดไหน ?
ความหมายของโมฆะ โมฆะ คือความเสียเปล่า ไม่ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิ
ความหมายของโมฆียะ โมฆียะ คือสมบูรณ์ ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง
1. 3. 2. สมบูรณ์ = ใช้ได้ มีผลตามกฎหมายโดยเด็ดขาด ไม่มีใครสามารถมาทำให้มันใช้ไม่ได้ โมฆะ= เสียเปล่า ใช้ไม่ได้ ไม่มีใครสามารถมาทำให้มันใช้ได้ (ม. 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันได้
โมฆียะ โมฆะ สมบูรณ์ โมฆียะ = สมบูรณ์ ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง (โดยตัวมันเองจึงอยู่ข้างสมบูรณ์ แต่เป็นการสมบูรณ์ที่ไม่เด็ดขาด)
โมฆะ สมบูรณ์ โมฆียะ บอกล้าง ถ้าถูกบอกล้าง โมฆียะกรรมนั้นก็จะตกเป็นโมฆะ (ม. 176 โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก)
โมฆะ สมบูรณ์ โมฆียะ สัตยาบัน ถ้าถูกให้สัตยาบัน โมฆียะกรรมนั้นก็จะสมบูรณ์โดยเด็ดขาด (ม. 177 ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้าง.. ได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ให้ถือว่าการนั้นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก..)
เหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะเหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ • วัตถุประสงค์ของนิติกรรม (ม.150-151) • แบบของนิติกรรม (ม.152) • เจตนาซ่อมเร้น (ม.154) • เจตนาลวง (ม.155 วรรคแรก) • เจตนาอำพราง (ม.155 วรรคสอง) • สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม (ม.156)
เหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะเหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ 7. เงื่อนไข (ม.187 – 190) 8. เมื่อบอกล้างโมฆียกรรม (ม.176) 9. โมฆะตามกฎหมายลักษณะอื่น (เช่น ม.922 วรรคสอง)
เหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะเหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ • ความสามารถ (ม.153) • การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ (ม.157) • การแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อแล (ม. 159) • การแสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่ (ม. 164) • โมฆียะ ตามกฎหมายลักษณะอื่นหรือกฎหมายอื่น
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 1. โมฆะกรรมไม่สามารถให้สัตยาบันได้ (ม. 172 วรรคแรก) 2. โมฆะกรรม ผู้มีส่วนได้เสียยกขึ้นกล่าวอ้างได้ (ม. 172 วรรคแรก) 3. โมฆะกรรม การคืนทรัพย์ตามหลักลาภมิควรได้ (ม. 172 วรรคสอง) 4. นิติกรรมที่เป็นโมฆะแต่เพียงบางส่วน อาจแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกได้ หากพึง สันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าคู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ (ม. 173)
ผลของนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 5. โมฆะกรรมตามนิติกรรมชนิดหนึ่งแต่อาจสมบูรณ์เป็นนิติกรรมอื่น หากพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ (ม. 174) 6. โมฆะกรรม ไม่มีบททั่วไปคุ้มครองบุคคลภายนอก มีแต่บทเฉพาะ (ต่างจากโมฆียกรรมที่มีบททั่วไปคุ้มครองบุคคลภายนอก มาตรา 1329)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 1.โมฆะกรรมไม่สามารถให้สัตยาบันได้ ตายแล้วไม่สามารถฟื้นได้
อยากฟื้น ก็ต้องเกิดใหม่ คำสนอง คำเสนอ
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 2.โมฆะกรรม ผู้มีส่วนได้เสียยกขึ้นกล่าวอ้างได้ ผู้มีส่วนได้เสียคือคนที่จะได้หรือจะเสียถ้านิติกรรมตกเป็นโมฆะ ก็กล่าวอ้างได้ อาทิ คู่สัญญา หรือบุคคลภายนอก ยกเว้น มีกฎหมายห้ามกล่าวอ้าง เช่น บุคคลที่แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (ม. 158)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 3.โมฆะกรรม การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามหลักลาภมิควรได้ (ม. 172 วรรคสอง) ลาภมิควรได้ คือการได้ทรัพย์มาโดยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ (ม. 406) ลาภลอย ?? ลาภมิควรได้ วิชาในชั้นปีที่ 2 (ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) หลัก ลาภมิควรได้ โดยสรุป ให้คืนทรัพย์แก่กัน แต่บางกรณีก็คืนได้ บางกรณีก็คืนไม่ได้ กรณีคืนไม่ได้ อาทิ -โมฆะ เพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อศีลธรรม ส่งมอบทรัพย์แล้ว ไม่ต้องคืนให้แก่กัน
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) กรณีโมฆียกรรม ที่ถูกบอกล้างทำให้ตกเป็นโมฆะ กฎหมาย มาตรา 176 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า “.. ให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน”
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) ทำไม ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะแต่แรก กับนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ แต่ถูกบอกล้างทำให้ตกเป็นโมฆะ จึงแตกต่างกัน โมฆะ vs โมฆียะ ถูกบอกล้าง = ตกเป็นโมฆะ
โมฆะ = เสียเปล่า ใช้ไม่ได้ ไม่มีใครสามารถมาทำให้มันใช้ได้ (ม. 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันได้ สมบูรณ์ = ใช้ได้ มีผลตามกฎหมายโดยเด็ดขาด ไม่มีใครสามารถมาทำให้มันใช้ไม่ได้
โมฆียะ โมฆะ สมบูรณ์ โมฆียะ = สมบูรณ์ ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง (โดยตัวมันเองจึงอยู่ข้างสมบูรณ์ แต่เป็นการสมบูรณ์ที่ไม่เด็ดขาด)
โมฆะ สมบูรณ์ โมฆียะ บอกล้าง ถ้าถูกบอกล้าง โมฆียะกรรมนั้นก็จะตกเป็นโมฆะ (ม. 176 โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 4.นิติกรรมที่เป็นโมฆะแต่เพียงบางส่วน อาจแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกได้ หากพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าคู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ (ม. 173) ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 4338/2531 (ให้นักศึกษา ฝึกฝนเปิดหาคำพิพากษาศาลฎีกา และหาอ่านดูเป็นการบ้าน)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 5.โมฆะกรรมตามนิติกรรมชนิดหนึ่งแต่อาจสมบูรณ์เป็นนิติกรรมอื่น หากพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ (ม. 174) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง --- พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (โปรด อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2499)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (ม. 172-173-174) 6. โมฆะกรรม ไม่มีบททั่วไปคุ้มครองบุคคลภายนอก (ต่างจากโมฆียกรรมที่มีบททั่วไปคุ้มครองบุคคลภายนอก) โมฆียกรรม – ม. 1329 โมฆะกรรม - ไม่มี
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181), 1. บอกล้างหรือให้สัตยาบันได้ (ม. 175, 177) 2. ใครเป็นผู้มีสิทธิบอกล้างหรือให้สัตยาบัน (ม. 175) 3. บอกล้างหรือให้สัตยาบันขณะใด (ม.175, 179) 4. วิธีการบอกล้างหรือให้สัตยาบัน (ม. 178) 5. ผลของการบอกล้าง ตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและกลับคืนสู่ฐานะเดิม (ม. 176)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 6. การให้สัตยาบันโดยปริยาย (ม. 180) 7. ระยะเวลาในการบอกล้าง (ม. 181) 8. โมฆียกรรม มีบททั่วไปคุ้มครองบุคคลภายนอก (ม. 1329)
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 1. บอกล้างหรือให้สัตยาบันได้ (ม. 175, 177) โมฆะ เสียเปล่าแต่เริ่มแรก บอกล้าง บอกล้าง คือ การแสดงเจตนาทำลายโมฆียกรรมให้ตกเป็นโมฆะ (ม. 176 วรรคแรก)
สมบูรณ์โดยเด็ดขาด สัตยาบัน สัตยาบันคือการแสดงเจนารับรองให้โมฆียกรรมสมบูรณ์โดยเด็ดขาด หรือการแสดงเจนาสละสิทธิที่จะบอกล้างโมฆียะกรรม มีผลทำให้นิติกรรมสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก (ม. 177)
การบอกล้าง/การให้สัตยาบัน เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ไม่มีแบบด้วย บอกล้าง สัตยาบัน
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 2.ใครเป็นผู้มีสิทธิบอกล้างหรือให้สัตยาบัน (ม. 175) 1. ผู้หย่อนความสามารถ (ผู้เยาว์, คนไร้ความสามารถ, คนวิกลจริต,คนเสมือนไร้ความสามารถ) 2. ผู้ปกป้องดูแลผู้หย่อนความสามารถ (ผู้แทนโดยชอบธรรม, ผู้อนุบาล, ผู้พิทักษ์) 3. ผู้แสดงเจตนาโดยบกพร่องทั้งหลาย (สำคัญผิด, กลฉ้อฉล, ข่มขู่) 4. ทายาทของบุคคลตาม 1 และ 3
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 3.บอกล้างหรือให้สัตยาบันขณะใด (ม.175, 179) 1. ผู้หย่อนความสามารถ (ผู้เยาว์, คนไร้ความสามารถ, คนวิกลจริต,คนเสมือนไร้ความสามารถ) ผู้หย่อนความสามารถ – สามารถบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้เมื่อพ้นจากสภาพหรือเหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะและได้รู้เรื่องโมฆียกรรมแล้ว หรือเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ปกป้องดูแล
2. ผู้ปกป้องดูแลผู้หย่อนความสามารถ (ผู้แทนโดยชอบธรรม, ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์) ผู้ปกป้องดูแลผู้หย่อนความสามารถ –สามารถบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้เมื่อรู้เรื่องโมฆียกรรมแล้ว
3. ผู้แสดงเจตนาโดยบกพร่องทั้งหลาย (สำคัญผิด, กลฉ้อฉล, ข่มขู่) ผู้แสดงเจตนาโดยบกพร่องทั้งหลาย –สามารถบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้เมื่อพ้นจากสภาพหรือเหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะและได้รู้เรื่องโมฆียกรรมแล้ว
4. ทายาทของบุคคลตาม 1 และ 3 ทายาทของบุคคลตาม 1 และ 3 –สามารถบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้เมื่อผู้ทำโมฆียกรรมได้ถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการบอกล้างหรือให้สัตยาบัน
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 4.วิธีการบอกล้างหรือให้สัตยาบัน (ม. 178) การบอกล้างหรือการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม –เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่ต้องมีผู้รับซึ่งการแสดงเจตนา
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 5.โมฆียะกรรมเมื่อถูกบอกล้าง จะตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน (ม. 176) เหตุใด โมฆะที่มาจากการบอกล้างโมฆียะกรรม จึงมีการกลับคืนสู่ฐานะเดิม ไม่เหมือนโมฆะกรรมมาแต่เริ่มแรก
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 6.การให้สัตยาบันโดยปริยาย (ม. 180) 1. ได้มีการชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน 2. ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้น 3. ได้มีการแปลงหนี้ใหม่ 4. ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น 5. ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน 6. ได้มีกากระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน
ทำไม ไม่มีการบอกล้างโดยปริยาย ?
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 7.ระยะเวลาในการบอกล้าง (ม. 181) โมฆียกรรมจะบอกล้างมิได้ เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำโมฆียกรรมนั้น ทำไมไม่มีบัญญัติเวลาในการให้สัตยาบัน ?
ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ (ม. 175-181) 8. โมฆียกรรม มีบททั่วไปคุ้มครองบุคคลภายนอก (ม. 1329) ความหมายของสุจริต ความหมายของเสียค่าตอบแทน