220 likes | 433 Views
คำขวัญอำเภอเต่างอย พระธาตุเต่างอยคู่บ้าน พญาเต่างอยคู่เมือง ลือเลื่องศรัทธาไกล ต้นยางใหญ่หลายร้อยปี โบราณคดีบึงสา ใบเสมานาตาล แหล่งเชี่ยวชาญด้านไม้กวาด อุทยานแห่งชาติภูผายล ถิ่นรวมพลเสรีไทย ไหลเรือไฟลำน้ำพุง".
E N D
คำขวัญอำเภอเต่างอย พระธาตุเต่างอยคู่บ้าน พญาเต่างอยคู่เมือง ลือเลื่องศรัทธาไกล ต้นยางใหญ่หลายร้อยปี โบราณคดีบึงสา ใบเสมานาตาล แหล่งเชี่ยวชาญด้านไม้กวาด อุทยานแห่งชาติภูผายล ถิ่นรวมพลเสรีไทย ไหลเรือไฟลำน้ำพุง"
CQI เรื่องการป้องกันการชักในหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
สมาชิกห้องคลอดโรงพยาบาลเต่างอยสมาชิกห้องคลอดโรงพยาบาลเต่างอย นางสาวจันทิวา หาลินใสล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ผู้จัดทำ นางธัชวรรณ ดลรุ่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการนางปองรัก ฒุณฑวุฒิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการนางสาวพัชรินทร์ สุภัณวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการนางสาวกานต์ธีรา เนียมหัตถี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ปัญหาสาเหตุ • ความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยในระยะตั้งครรภ์และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตหากไม่ได้รับการแก้ไขหรือให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วอาจจะทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ปัญหาสาเหตุ • โรงพยาบาลเต่างอยเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงมีหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์ตั้งแต่ปี 2558-2562ดังนี้ 8,3,1,0,2 ราย ตามลำดับ จากการทบทวนการให้บริการในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงพบว่าโรงพยาบาลเต่างอยมีกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงต่อปีน้อย ทำให้พบปัญหาในการให้บริการคือ เจ้าหน้าที่มีสมรรถนะไม่เพียงพอในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษมีความยุ่งยากซับซ้อนทั้งการให้ยา ใช้ทักษะความรู้ความสามารถทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการทำงาน เกิดความล่าช้าในการดูแลมารดาและการส่งต่อ และในการให้บริการยังต้องใช้อัตรากำลังจากจุดอื่นมาทำงานร่วมด้วยคือจากจุด OPD ER และIPD
ปัญหาสาเหตุ • หน่วยงานห้องคลอดและทีม MCH จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้ เพื่อป้องกันการชักในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษจึงได้มีการ • จัดทำCPG,flow chart แนวทางปฏิบัติในการดูแลมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ • มีการปรับปรุงCPG และจัดทำ flow chart • แนวทางปฏิบัติที่สำคัญเช่นการประเมินความเสี่ยงแรกรับโดยการตรวจโปรตีนในปัสสาวะการบริหารยาMgSO4 และ การเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการบริหารยา ให้ปฏิบัติเป็นไปทางเดียวกันและเป็นระบบมากขึ้น
เป้าหมาย - เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และทักษะในการดูแล หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามflow chart ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ100% • หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษไม่เกิดภาวะชัก เท่ากับ 0
กิจกรรมการพัฒนา • ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการ • คณะกรรมการ ทบทวนอุบัติการณ์ทบทวนตัวชี้วัด วิเคราะห์สาเหตุ สภาพปัญหาในการดูแลผู้คลอดในโรงพยาบาลเต่างอย กลุ่ม MCH อำเภอเต่างอย
กิจกรรมการพัฒนา • ระยะที่2 ดำเนินการ • จัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมศึกษาดูระบบบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ • ปรับปรุงแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษโดยการปรับปรุงการใช้CPG และflow chart แนวทางปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษตามระดับความเสี่ยงที่ประเมินได้ตั้งแต่แรกรับจนสิ้นสุดการคลอด • จัดทำแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษwarning sing ที่ต้องรายงานแพทย์
กิจกรรมการพัฒนา • การบริหารจัดการเครื่องมือ และอุปกรณ์ รวมทั้งยาให้พร้อมใช้งาน • พัฒนาบุคลากรโดยการส่งเจ้าหน้าที่รับการอบรมวิชาการที่โรงพยาบาลศูนย์สกลนครและพัฒนาศักยภาพในหน่วยงานโดยการซ้อมวิกฤติในห้องคลอด อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ • ทำสัญลักษณ์หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงให้ทราบอย่างตรงกัน จากคลินิกANC เพื่อคัดกรองครรภ์เสี่ยงและวางแผนการคลอดที่เหมาะสม
กิจกรรมการพัฒนา • พัฒนาระบบการสื่อสารทาง line Telephoneเพื่อปรึกษาสูติแพทย์ในโรงพยาบาลแม่ข่าย ในกรณีที่มีปัญหาในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ • พัฒนาระบบการสื่อสารทาง line Telephoneในกลุ่ม MCHอำเภอเต่างอยเพื่อเกิดการเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงที่มีมารับบริการ • วางระบบการรับใหม่หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่แรกรับโดยมีแพทย์และพยาบาลประเมินร่วมกันทุกราย เมื่อมีอาการผิดปกติรายงานสูติแพทย์ เพื่อส่งต่อทันที • พัฒนาระบบการให้ยา เตรียมเวชภัณฑ์ยา นวัตกรรม PIH box ในหน่วยงาน เพื่อความรวดเร็วในการให้
กิจกรรมการพัฒนา • ระยะที่3 ประเมินผล -บุคลากรมีความรู้และทักษะในการดูแล หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามflow chart ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ100% - หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษไม่เกิดภาวะชัก
บทเรียนที่ได้รับ • ต่อผู้ป่วย : ผู้คลอดได้รับการประเมินความเสี่ยง การดูแลป้องกันความเสี่ยงจากภาวะครรภ์เป็นพิษ อย่างใกล้ชิด เมื่อเกิดปัญหาได้รับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มารดาและทารกปลอดภัย • ต่อโรงพยาบาล: มีแนวทางในการดูแลผู้คลอดเป็นแนวทางเดียวกัน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความมั่นใจ ดูแลผู้ป่วยได้รวดเร็วและลดความผิดพลาดในการดูแลผู้ป่วย รวมถึงในขณะที่ขาดบุคลากรหรือมีความจำเป็นที่ต้องใช้บุคลกรจากจุดอื่นบุคลากรที่มาจากจุดอื่นจะรับทราบแนวทางปฏิบัติได้ทันที
การนำไปใช้ประโยชน์ • จากการปรับปรุงระบบงานทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้ในเชิงระบบการทบทวนด้วยทีมสหวิชาชีพทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการบริหาร การบริการและด้านวิชาการส่งผลให้ระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์และคลอดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โอกาสพัฒนา - สำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้จัดทำขึ้น โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง- พัฒนากระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ อย่างมี ประสิทธิภาพ ทุก 3 เดือน- ทำการซ้อมภาวะวิกฤต เคสหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ- นำกระบวนการ ไปใช้กับโรคอื่นๆได้ เช่น Preterm labor, CPD
ซ้อมวิกฤต การดูแลผู้ป่วยPIH กระบวนการดำเนินงาน และพัฒนางาน กล่องนวัตกรรม PIH box กระบวนการส่งต่อ รพ แม่ข่าย
กระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษโรงพยาบาลเต่างอยกระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษโรงพยาบาลเต่างอย