570 likes | 1.66k Views
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์. ประวัติจังหวัดบุรีรัมย์.
E N D
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์
ประวัติจังหวัดบุรีรัมย์ประวัติจังหวัดบุรีรัมย์ บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยสำหรับคนในท้องถิ่น และเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วยปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึง ความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการ อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์สมัยทวาราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจาย อยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ หลักฐาน ทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐและ ปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้ง ได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะ ดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่า "เครื่องถ้วย เขมร" ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 15-18 อยู่ทั่วไป
หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีก ครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่งจนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัด ระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ มาจนถึงปัจจุบันนี้
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์
อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้งอุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทหินที่งดงามมากแห่งหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายสีชมพู และศิลาแลงอย่างยิ่งใหญ่อลังการมีการออกแบบผังปราสาทตามแนวความเชื่อที่สอดคล้องกับภูมิประเทศศาสนสถานแต่ละส่วนประดับด้วยลวดลายวิจิตรงามตาโดยเฉพาะหน้าบันศิวนาฎราชและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีความงดงามละเอียดอ่อนช้อย นับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าที่ไม่ควรพลาดชมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ (ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค.) ของทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อชมปรากฎการณ์ธรรมชาติอันน่ามหรรศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงตรงเป็นลำทะลุช่องประตูปราสาททั้ง ๑๕ บานราวปาฏิหารย์และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบปีเท่านั้นที่ตั้ง :อยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๒๒๒๑ บ้านตาเป็ก ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ปราสาทเมืองต่ำ เมืองโบราณร่วมสมัยกับปราสาทเขาพนมรุ้งปราสาทเมืองต่ำเป็นปราสาทหินของโบราณที่มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตัวปราสาทออกแบบได้อย่างงดงาม มีโครงสร้างที่ได้สัดส่วนบริเวณโดยรอบปราสาท เป็นชุมชนโบราณสมัยขอม ที่มีประวัติเกี่ยวเนี่ยงกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำจึงมีความสำคัญทางโบราณคดี นอกเหนือจากเป็นมรดกทางศิลปกรรมที่งดงาม ปราสาทแห่งนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2540ที่ตั้ง :บ้านโคกเมือง ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย ห่างจากปราสาทเขาพนมรุ้ง 8 กิโลเมตร สามารถเที่ยวต่อกันได้สะดวก
ปราสาทหนองหงส์ แหล่งโบราณสถานประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ศิลปกรรมส่วนใหญ่เป็นศิลปะเขมรแบบบาปวนสร้างด้วยก่ออิฐตั้งบนฐานก่อด้วยศิลาแลง มีประตูเข้า-ออกทางด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน สร้างไว้เป็นประตูหลอกให้มีความแปลกตา รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง องค์กลางขนาดใหญ่กว่าสององค์ที่ขนาบข้าง แต่เดิมเคยมีทับหลังประดับจำหลักลายสวยงาม นั่นคือองค์ทิศเหนือสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งมือยึดท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา นอกจากนั้นยังมีอีก 2 องค์ลักษณะต่างกันตรงภาพกลาง องค์กลางสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ รูปพระอิศวรทรงโค ด้านหน้าของปรางค์องค์กลาง มีบันไดทางด้านหน้าและด้านข้างทั้งสองด้าน นอกจากนี้ยังมีวิหารหรือบรรณาลัยอีก 1 หลัง สร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบและมีซุ้มประตูคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ที่ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อนลำนางรอง ห่างจากตัวเขื่อนประมาณ 500 เมตร อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์
ปรางค์กู่สวนแตง ปรางค์กู่สวนแตงเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่ถูกวางระเบิดจนองค์ปรางค์พังทลายลงมาเพื่อโจรกรรม ชิ้นส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์ และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 ที่ตั้ง ด้านหลังโรงเรียนกู่สวนแตงวิทยาคม บ้านดอนหวาย ต.หนองแวง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ ริมทางหลวงหมายเลข 2061
วัดเขาพระอังคาร วัดเขาพระอังคารเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วยบริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก
เขาอังคารเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้ง ถึงบ้านตาเป็กแล้วเลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตรพบโบราณสถานเก่าแก่ และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีสำคัญหลายชิ้น ที่ตั้ง บ้านเจริญสุข ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
วนอุทยานเขากระโดง นมัสการพระพุทธรูปใหญ่ ชมวิวบนปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดงเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ปากปล่องปะทุเห็นได้ชัดเจน รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กโดยเฉพาะนกนานาชนิดบนเขากระโดง ยังมีโบราณสถานสมัยขอม รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นที่เคารพสักการะ ของคนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปชมทิวทัศน์ของตัวเมืองบุรีรัมย์ และไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคลที่ตั้ง :บ้านน้ำซับ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๖ กิโลเมตร
แหล่งเตาเผาโบราณ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ สถานที่ตั้งบ้านถนนน้อย ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ (ห่างจากตัวอำเภอ 5 กม.)
แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่างๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพรมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ที่ตั้ง อำเภอบ้านกรวดจังหวัดบุรีรัมย์
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งเก็บรวบรวม และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ศูนย์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2536 นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวันในเวลาราชการ ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมนาโพธิ์ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมนาโพธิ์ บุรีรัมย์เป็นจังหวัดในภาคอีสานที่มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าไหมมาเป็นเวลาช้านานแล้ว มีการทอทั่วทุกอำเภอ แหล่งทอผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดของจังหวัดบุรีรัมย์อยู่ที่อำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์ โดยเฉพาะที่อำเภอนาโพธิ์จะได้รับการสนับสนุนจากโครงการศิลปาชีพพิเศษ ด้านการออกแบบลวดลาย และการจัดจำหน่ายผ้าไหมของอำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์ มักได้รับรางวัลจากการประกวดในที่ต่างๆ เป็นประจำผ้าไหมที่อำเภอนาโพธิ์จะมีทั้งผ้าไหมพื้นไหมหางกระรอก ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า และผ้ามัดหมี่ การทอผ้ามัดหมี่จะมีลายพื้นเมืองดั้งเดิม และลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลักษณะเด่นของผ้าไหมบุรีรัมย์ คือเนื้อจะแน่น เส้นไหมละเอียด ถ้าเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นแบบพื้นเมืองดั้งเดิมจะนิยมใช้สีขรึมๆ ไม่ฉูดฉาด ที่ตั้งอยู่ในบริเวณตลาด อ.นาโพธิ์ ในซอยหลังศูนย์สงเคราะห์ราษฎรบ้านนาโพธิ์
อนุสาวรีย์เราสู้ จังหวัดบุรีรัมย์ อนุสาวรีย์เราสู้ อยู่ริมทางหลวงในเขต ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน ตำรวจ และทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับผู้ก่อ การร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งขัดขวางการก่อสร้าง ถนนสายละหานทราย - ตาพระยา ที่ตั้งอำเภอโนนดินแดงจังหวัดบุรีรัมย์
ช่องโอบก ชมทิวทัศน์ฝั่งเขมรและสมรภูมิรบในอดีตช่องโอบกเป็นช่องเขาทิวเขาพนมดงรักซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นช่องเขาที่มีความลาดชันไม่มากนัก ในอดีตคนไทยและเขมรใช้ช่องเขานี้เป็นทางเดินไปมาหาสู่และค้าขายกัน บริเวณช่องโอบกเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่งดงาม ด้วยภูมิประเทศบริเวณชายแดนไทย สูงกว่าแผ่นดินของประเทศกัมพูชามาก เมื่อยืนอยู่ที่ช่องโอบกจึงมองเห็นทิวทัศน์ด้านกัมพูชาได้กว้างไกลที่ตั้ง :อ.บ้านกรวด บริเวณทิวเขาพนมดงรักติดชายแดนประเทศกัมพูชา
เขื่อนลำนางรอง เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่่ากัน ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่นสีสันแบ่งกันเป็นชั้นสวยงาม ซึ่งได้นำไปกองกั้นน้ำเซาะสันเขื่อน ที่ตั้ง ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 107 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2.5 กิโลเมตร
อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ เป็นแหล่งดูนกน้ำแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ 4,434 ไร่ ซึ่งมีนกกระสาปากเหลือง เป็นนกที่มีค่าหายากอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังพบนกกระสาดำ นกกาบบัว นกอ้ายงั่ว เป็ดเทา และนกน้ำต่างๆ อีกมากมาย เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสามารถปั่นจักรยานชมทัศนีย์ภาพรอบอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดได้ที่ตั้ง :ต.สะแกซำ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
เขื่อนห้วยเมฆา จังหวัดบุรีรัมย์ เขื่อนห้วยเมฆาอยู่ในอำเภอบ้านกรวด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 100 กม. เป็นเขื่อนที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ทุนสร้างเพื่อแผ่นดินอีสานตอนใต้ เป็นแอ่งน้ำในหุบเขาที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถชมความงามของประตูเปิดปิดน้ำ ปล่อยน้ำลงลำนางรองรับส่งต่อสู่แผ่นดินเพื่อการเกษตรกรรม บริเวณนี้จะพบหินทรายก้อนใหญ่ สันนิษฐานว่าจะถูกนำไปสร้างปราสาทในเขตอีสานใต้ ในบริเวณนี้ยังมีสวนป่าห้วยเมฆาและสวนป่ายูคาลิปตัสด้วย ที่ตั้ง อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติตาพระยา เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ประชาชนสนใจไปพักผ่อนเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปีที่ตั้ง :อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์
อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืด สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บ้านบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีไม้พื้นเมืองยืนต้นร่มรื่น มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนกและพักผ่อน ที่ตั้ง ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จ.บุรีรัมย์ ห่างจากตัวอำเภอเมืองบุรรัมย์ประมาณ 10-13 กิโลเมตร
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน มีพื้นที่ประมาณ 3,568 ไร่ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เป็นที่จอดเครื่องบินเพื่อส่งเสบียงอาหาร และเมื่อสงครามยุติทางราชการจึงให้พื้นที่นี้เป็นสาธารณะประโยชน์ และที่พักผ่อนของชาวอำเภอประโคนชัย เป็นจุดที่เหมาะแก่การดูนกน้ำ นกที่พบได้แก่ เป็ดหงส์ เป็ดเทา นกช้อนหอย เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ตามทางไปประโคนชัย 41 กิโลเมตร ริมทางหลวงหมายเลข 219 ก่อนถึงอำเภอประโคนชัย 4 กิโลเมตร เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ จะอยู่ด้านซ้ายมือ ที่ตั้ง ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย บุรีรัมย์
มหกรรมว่าวอีสานจังหวัดบุรีรัมย์มหกรรมว่าวอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ มหกรรมว่าวอีสานเป็นงานสำคัญประจำปีของจังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี ในงานมีการแข่งว่าวประเภทต่างๆ เช่น ว่าวแอกโบราณ ว่าวแอกพัฒนา ว่าวสวยงาม ว่าวนานาชาติ งานแสดงหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และมหรสพ ที่ตั้งสนามกีฬาอำเภอห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
งานประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดบุรีรัมย์งานประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดบุรีรัมย์ งานประเพณีแข่งเรือยาว ลำน้ำมูลบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสตึก จัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นการแข่งเรือหลายประเภทชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการแข่งขันช้างว่ายน้ำ แข่งช้างแฟนซี ช้างพาเหรด ซึ่งหาดูได้ยาก ที่ตั้ง ลำน้ำมูล บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
สนามนิวไอ-โมบาย สเตเดี้ยม • เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวใจประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) สามารถจัดเกมการแข่งขันระดับชาติได้ เป็นสนามที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
อ้างอิง -http://www.buriram.go.th/bru/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=16 • -http://thai.tourismthailand.org • -www.buriram.go.th/general/history.php • -th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดบุรีรัมย์ • -www.baanmaha.com
จัดทำโดย นายเฉลิมวุฒิ ดีใจ รหัสนิสิต 56670054 กลุ่ม 3305 คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา