180 likes | 312 Views
สมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) สาขาวิชา เครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ ใน เขตพื้นที่ภาคตะวันออก ACTUAL COMPETENCIES OF THE DIPLOMA GRADUATES IN AUTO – MECHANIC TECHNOLOGY AS PERCEIVED
E N D
สมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ACTUAL COMPETENCIES OF THE DIPLOMA GRADUATES IN AUTO – MECHANIC TECHNOLOGY AS PERCEIVED BY AUTOMOBILE CENTERS IN THE EASTERN REGION ผู้วิจัย : นายณัฐกานต์ เนตรเหมือนทิพย์
ปัญหาการวิจัย ปัจจุบันสถานประกอบการศูนย์บริการรถยนต์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้รถยนต์ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เผยยอดขายรวมตลาดรถยนต์ปี 2550 รวม 631,250 คัน ซึ่งระบบการทำงานของรถยนต์มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเกือบทุกส่วนของระบบกลไกต่างๆส่งผลให้สมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษาตามความต้องการของศูนย์บริการรถยนต์เปลี่ยนไป ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาแห่งประเทศไทย พบว่า การผลิตกำลังคนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาช่างอุตสาหกรรม แม้ว่าภาพรวมจะมีปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงาน แต่ก็ยังมีปัญหาการขาดแคลนช่างเทคนิคสาขาช่างอุตสาหกรรมเฉพาะที่มีฝีมือ ประสบการณ์และคุณภาพตามที่ต้องการด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้มีผลกระทบต่อหลักสูตร อุปกรณ์ เครื่องมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับความต้องการในด้านคุณภาพ
ปัญหาการวิจัย จากการศึกษาของคณะกรรมการดำเนินการวิจัยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 (อาชีวศึกษาจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี: 2548) พบว่า แนวโน้มความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีความต้องการกำลังคนเพิ่มมากขึ้น โดยภาพรวมแล้วสถานประกอบการในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีความต้องการกำลังคนที่จบการศึกษาในระดับ ปวส. มากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนสาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานประกอบการในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จำแนกตามสาขางาน พบว่า จำนวนคนที่ต้องการในสาขางานช่างยนต์จากปีพ.ศ. 2547 มีร้อยละ 10.68 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.09 ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI :2547) พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวส. มีความพร้อมที่จะเข้าทำงานสูงสุด ในการพัฒนากำลังคนให้สามารถทำงานได้จึงเป็นหน้าที่ของการจัดการศึกษาของชาติ
ปัญหาการวิจัย จากสภาพและปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จึงสนใจที่จะศึกษาสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้สามารถผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสถานประกอบการต่อไป
วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ใน 3 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ (2) ด้านทักษะ และ (3) ด้านคุณลักษณะ • 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาค • ตะวันออกต่อสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางาน • เทคนิคยานยนต์จำแนกตามขนาดของศูนย์บริการรถยนต์
กรอบแนวคิดในการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้กรอบความคิดของ Scott B. Parry (อ้างใน สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ 2004 : 5) ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูต ระดับ ปวส. พ.ศ. 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการที่ระบุไว้ว่า ผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยาน ยนต์ ต้องเป็นผู้มีสมรรถนะใน 3 ด้าน 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทักษะ 3. ด้านคุณลักษณะ
วิธีการวิจัย • ประชากรได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายบริการหรือหัวหน้าฝ่ายบริการของศูนย์บริการ โตโยต้าอีซูซุนิสสัน มิตซูบิชิ ฮอนด้าเบนซ์ บี.เอ็ม.ดับเบิ้ลยู เชฟโรเล็ตฟอร์ดมาสด้าวอลโว่ และรถยนต์ในเครือยนตรกิจ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 101 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวม 101 คน • กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายบริการหรือหัวหน้าฝ่ายบริการที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามในนามของ ศูนย์บริการ โตโยต้าอีซูซุนิสสัน มิตซูบิชิ ฮอนด้าเบนซ์ บี.เอ็ม.ดับเบิ้ลยู เชฟโรเล็ตฟอร์ดมาสด้าวอลโว่ และรถยนต์ในเครือยนตรกิจ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน80 แห่งๆละ1 คนกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan (1970 : 608) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
วิธีการวิจัย ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ ขนาดของศูนย์บริการรถยนต์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้ 1. ศูนย์บริการรถยนต์ขนาดเล็ก 2. ศูนย์บริการรถยนต์ขนาดกลาง 3. ศูนย์บริการรถยนต์ขนาดใหญ่ ตัวแปรตาม คือ สมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษา ใน 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทักษะ 3. ด้านคุณลักษณะ
วิธีการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 สอบถาม ข้อมูลทั่วไปของศูนย์บริการรถยนต์และผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ(Checklist) ประกอบด้วยคำถามจำนวน 7 ข้อ ตอนที่ 2 สอบถามระดับสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ในศูนย์บริการรถยนต์ เป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 70 ข้อ คุณภาพของเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ที่ 0.89 ตอนที่3 ถามข้อเสนอแนะของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
วิธีการวิจัย การนำแบบสอบถามไปทดลองและการรวบรวมข้อมูล โดยนำไปทดลองใช้ (try-out) กับศูนย์บริการรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 แห่ง 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีของCronbach. (1984 : 161) ที่เรียกว่า สัมประสิทธิ์อัลฟา(alpha-coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้ เท่ากับ 0.95 ด้านทักษะ เท่ากับ 0.95 ด้านคุณลักษณะ เท่ากับ 0.94 และโดยรวมเท่ากับ 0.87 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจัดส่งแบบสอบถามให้กับสถานประกอบการในเขตภาคตะวันออกด้วยตนเองและทางไปรษณีย์ และผู้วิจัยดำเนินการติดตามและขอรับแบบสอบถามกลับด้วยตนเอง
วิธีการวิจัย สถิติในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของศูนย์บริการรถยนต์และผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในภาคตะวันออก วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย(x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) โดยทำเป็นรายข้อ รายด้าน และรวมทุกด้าน เปรียบเทียบความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกต่อสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ตามขนาดของศูนย์บริการรถยนต์ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิด โดยใช้ค่าความถี่
ตารางแสดงผล ตาราง แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ และอันดับของสมรรถนะที่เป็นจริงของ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกในภาพรวมและรายด้าน
ตารางแสดงผล (ต่อ) ตารางแสดง การเปรียบเทียบความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ต่อสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชา เครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ในภาพรวมและรายด้านจำแนกตามขนาดของศูนย์บริการรถยนต์
สรุปผลการวิจัย ข้อที่1 ศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกมีความคิดเห็นว่าระดับสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ในศูนย์บริการรถยนต์ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.39)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือข้อ 3 ด้านคุณลักษณะ อยู่ในระดับมาก (= 3.57) อันดับ 2 คือ ข้อ 1 ด้านความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.35) และ อันดับสุดท้าย คือ ข้อ 2 ด้านทักษะ อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.25) ตามลำดับ ข้อที่ 2 ศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ในภาพรวมแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่เป็นจริง ด้านความรู้ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้โดยด้านทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ ด้านคุณลักษณะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้
อภิปรายผล วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ใน 3 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ (2) ด้านทักษะ และ (3) ด้านคุณลักษณะ ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ตามความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการทำงานในศูนย์บริการนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดพนักงานต้องมีเป็นอันดับแรกคือ ความซื่อสัตย์ เพราะเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบในเรื่องของการซ่อมบำรุงและ การเปลี่ยนชิ้นส่วนของรถยนต์ และต้องมีความสุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตนและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพเพราะศูนย์บริการรถยนต์เป็นงานบริการที่ต้องติดต่อกับลูกค้าที่มารับบริการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะ ส่วนความรู้ ความสามารถด้านทักษะมีความสำคัญเช่นกันแต่อยู่ในลำดับรองลงมา เพราะสามารถศึกษา ค้นคว้า ฝึกอบรมเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา
อภิปรายผล วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกต่อสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์จำแนกตามขนาดของศูนย์บริการรถยนต์ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์บริการรถยนต์ที่มีขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ในด้านความรู้ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าในสมรรถนะความรู้สามารถที่จะศึกษาเพิ่มเติมได้ในอนาคตทั้งจากตัวศูนย์บริการเองและจากสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ทั่วไป เช่นในเรื่องของ มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนรายงานและโครงการปฏิบัติงาน มีความรู้ เกี่ยวกับระบบโครงสร้าง ส่วนประกอบ และหลักการทำงานของระบบฉีดเชื้อเพลิงเครื่องยนต์แก๊สโซลีนเป็นอย่างดี มีความรู้เกี่ยวกับการวางแผน การมอบหมายงาน การจัดสถานที่และการควบคุมงานซ่อมรถยนต์ มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ และการทำงานของน้ำยาสารทำความเย็นของระบบปรับอากาศรถยนต์อย่างดี มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานโครงสร้างส่วนประกอบของเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร เครื่องหมายจราจร และวิธีขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัยบนท้อง มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องมือในงานซ่อมรถยนต์เป็นอย่างดี ส่วนด้านทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ 1. ผู้บริหารสถานศึกษา ประเภทอาชีวศึกษา ควรนำข้อมูลที่เป็นผลจากการวิจัย เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ในส่วนที่สถานประกอบการมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่อยู่ในระดับปานกลางให้มากยิ่งขึ้น 2. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามารถนำผลจากการวิจัย ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส) สาขาวิชาเครื่องกลสาขางานยานยนต์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยและตรงกับสมรรถนะและตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ 3. สถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษาสามารถนำผลของการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะการบริการรถยนต์ในสาขาเครื่องกลให้มากขึ้น โดยจัดให้มีการปฏิบัติงานจริงและจัดชั่วโมงการฝึกงานมากขึ้นเพื่อผู้จบการศึกษาจะได้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น
จบการนำเสนอ ผลงานวิจัยในชั้นเรียน ขอบคุณครับ