1 / 57

บทที่ 2 เสียง และภาษาที่ใช้ในการเขียนบท

บทที่ 2 เสียง และภาษาที่ใช้ในการเขียนบท.

Download Presentation

บทที่ 2 เสียง และภาษาที่ใช้ในการเขียนบท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 เสียง และภาษาที่ใช้ในการเขียนบท

  2. การเขียนบทรายการ นอกจากผู้เขียนบทจะต้องทราบคุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์แล้วผู้เขียนบทยังจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการใช้เสียง รู้จักคุณสมบัติของเสียงแต่ละประเภท และการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับการเขียนบทรายการ ทำให้รายการนั้นมีความน่าสนใจ และน่าติดตามมากยิ่งขึ้น

  3. ลักษณะเสียงที่ใช้ในรายการวิทยุกระจายเสียงลักษณะเสียงที่ใช้ในรายการวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วยเสียงต่าง ๆ ดังนี้

  4. เสียงพูด (Sound) ถือเป็นเสียงหลักในการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียง เพราะเสียงพูดจะเป็นสื่อนำพาข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง (Main Content) ต่างๆ ของรายการส่งไปยังผู้ฟังรายการลักษณะเสียงพูดที่จะสามารถใช้สื่อสารผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงได้ดีนั้น จะต้องสามารถออกเสียงที่มีความชัดเจนในการออกเสียงอักขระ ควบกล้ำ ร หรือ ล ไม่ออกเสียงเพี้ยนวรรณยุกต์ หรือติดสำเนียงท้องถิ่น

  5. เสียงดนตรี (Music) เสียงดนตรีมีส่วนช่วยสร้างอารมณ์ในรายการ ผู้ฟังรายการสามารถรับรู้อารมณ์ของรายการ (Mood & Tone) ตั้งแต่เริ่มต้นได้ผ่านทางเสียงดนตรีเข้ารายการ และเสียงดนตรียังช่วยให้รายการวิทยุกระจายเสียงไม่น่าเบื่อจนเกินไป เสมือนเป็นการพักช่วงผ่อนคลายให้ผู้ฟังภายหลังจากที่รับรู้ข้อมูลหลักเช่น

  6. ดนตรีบรรเลงช้า เอื่อย เศร้าสร้อย แทนอารมณ์เศร้า เงียบเหงา เบื่อหน่าย หรือยามค่ำคืน ดนตรีบรรเลงช้า ทำนองสบายๆ สงบ แทนสันติสุข ความสบายใจ ดนตรีบรรเลงช้า ใช้เสียงอลังการ กระหึ่ม แทนการเริ่มต้น โอกาส หรือความหวัง

  7. ดนตรีบรรเลงเร็ว คึกคัก สนุกสนาน แทนอารมณ์ แจ่มใส เบิกบาน หรือยามเช้าตรู่ ดนตรีบรรเลงเร็ว เร่งเร้า กระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ แทนอารมณ์ตื่นเต้น กระชั้น จวนตัว เป็นต้น

  8. เสียงประกอบ (Sound Effect) เสียงประกอบมีส่วนช่วยสร้างความสมจริงให้เนื้อหารายการที่นำเสนอ เช่น รายการสารคดีทางวิทยุกระจายเสียงตอนตักบาตรพระขี่ม้า อาจใช้เสียงฝีเท้าม้ามาประกอบในรายการในช่วงตอนที่เหมาะสม แต่ไม่นิยมใช้เสียงประกอบในการนำเสนอรายการข่าว เพราะจะทำให้การนำเสนอรายการข่าวดูเกินจริง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการใช้เสียงประกอบเพื่อประโยชน์ในการนำเสนอรายการ ดังนี้

  9. ช่วยสร้างจินตนาการให้ผู้ฟังนึกคิด และรู้สึกไปในทิศทางเดียวกัน กับผู้ดำเนินรายการ และบทรายการ 2. ช่วยสร้างความสมจริง และเสมือนจริงให้กับการรับรู้ของผู้ฟังรายการวิทยุกระจายเสียง

  10. 3. ช่วยสร้างสีสันให้รูปแบบการนำเสนอรายการมีความหลากหลาย 4. ช่วยยกระดับการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงแบบดั้งเดิมให้เป็นการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงที่มีรสนิยมในการนำเสนอมากขึ้น

  11. เสียงเงียบ (Silence) เสียงเงียบเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอรายการวิทยุกระจายเสียง การใช้เสียงเงียบจะใช้เมื่อผู้เขียนบทต้องการสร้างความสนใจหรือเรียกความสนใจให้ผู้ฟัง สื่อความหมายให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรื่องที่นำเสนอ ฉุกคิด

  12. หลักการใช้ภาษาในการเขียนบทรายการหลักการใช้ภาษาในการเขียนบทรายการ

  13. 1. เขียนบทด้วยการใช้ภาษาพูด เพื่อการฟัง (Writing for the ears) มิใช่เขียนบทเป็นภาษาเขียนเพื่อการอ่าน กุญแจสำคัญของการเขียนบทคือ ความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา มีประเด็นสำคัญ และมุ่งไปที่ประเด็นสำคัญนั้น สามารถตอบ 5 W 1Hได้

  14. 2. ใช้คำธรรมดาๆ ในการสื่อความหมาย และเลือกใช้คำที่ตรงตามความหมาย ยกตัวอย่างคำว่า “เงียบ” และคำว่า “สงัด” มีความหมายต่างกัน คำว่า “เงียบ” หมายถึง เงียบเสียง ส่วนคำว่า “สงัด” หมายถึง เงียบสงบ ไม่มีผู้คน นอกจากนี้กริยาของลม คือการโกรก การพัด การกระโชก ส่วนกิริยาของฝน คือ การตก การโปรย การสาด การพรำ การเท การใช้คำว่า ฝนกระโชก หรือลมโปรย ถือว่าไม่ถูกต้อง

  15. 3. ไม่ใช้คำศัพท์ที่ผู้ฟังไม่คุ้นหู คำแสลง คำที่เป็นนามธรรม คำในภาษาต่างประเทศ คำในวิชาชีพเฉพาะ หากมีความจำเป็นต้องใช้ให้อธิบายด้วย ให้ง่ายต่อการเข้าใจก่อน 4. ใช้ประโยคที่กระชับ รัดกุม หนึ่งประโยคสอดแทรกความคิดเดียว ใช้ประโยคสั้นดีกว่าประโยคยาว ใช้ประโยคความเดียวดีกว่าประโยคความซ้อน เพราะคนฟังจะจับประเด็นที่ต้องการสื่อสารไม่ได้

  16. 5. พึงระวังการใช้คำผิดความหมาย ดังนี้ 5.1 การใช้ “การ” หรือ “ความ” อธิบายว่า กริยาทางกาย และกริยาทางวาจาใช้คำว่า “การ” นำ เช่น การก่อสร้าง การสนทนา การเทศน์ กริยาทางใจ คำวิเศษณ์ และกริยาวิเศษณ์ ใช้คำว่า “ความ” นำ เช่น ความทะเยอทะยาน ความมุมานะ ความสูง ความอ้วน ความยากลำบาก

  17. 5.2 การใช้คำว่า “อยาก” ถือว่าเป็นคำที่ใช้อย่างไม่เป็นทางการ ในการใช้ ให้ใช้ร่วมกับคำกริยา เช่น อยากกิน อยากเที่ยว ส่วนคำว่า “ต้องการ” “ประสงค์” และ “ปรารถนา” เป็นคำที่ใช้อย่างเป็นทางการ เช่น ต้องการให้ประเทศสงบสุข

  18. 5.3 การใช้คำเชื่อม “กับ” “แก่” “แด่” “ต่อ” อธิบายได้ว่า“กับ” อาจใช้ร่วมกับคำว่า “และ” ใช้เชื่อมคำนำหน้าคำที่บอกลักษณะ เป็นเครื่องมือ หรือมีอาการร่วมกัน หรือแสดงอาการต่าง ๆ “แก่” “แด่” “ต่อ” ใช้เชื่อมคำนำหน้า คำที่บอกความหมาย เป็นผู้รับ ดังนี้ “แก่” ใช้กับผู้ที่มีสถานภาพเท่ากัน หรือต่ำกว่า “แด่” ใช้กับผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่า “ต่อ” ใช้กับนามธรรม

  19. 5.4 การใช้คำราชาศัพท์แบ่งเป็น คำราชาศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเฉพาะเจ้านาย เช่น บรรทม ตรัส เสวย ผู้เขียนบทต้องรู้ความหมาย และใช้ให้ถูกต้องโดยไม่ต้องเติมคำว่า “ทรง” คำว่า “เสด็จ” ต่อท้ายด้วยคำราชาศัพท์เฉพาะ หรือคำสามัญเลยก็ได้ เช่น เสด็จออก เสด็จประทับ

  20. คำว่า “ทรง” ให้ต่อท้ายด้วยคำกริยาสามัญ เช่น ทรงขอบใจ ทรงวิ่ง ทรงกรุณา คำว่า “ทรง” ให้ต่อท้ายด้วยคำราชาศัพท์ ต้องใช้ “ทรงพระ” เช่น ทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร

  21. 6. ไม่นิยมย่อคำ เพราะผู้ประกาศ หรือผู้ดำเนินรายการจะได้อ่านอย่างถูกต้อง ทั้งนี้รวมถึง ยศ และตำแหน่งต่าง ๆ ด้วย ยกเว้นคำย่อที่ใช้กันจนแพร่หลาย เช่น ขสมก. ครม.

  22. 7. การเขียนตัวเลข มีหลักการดังนี้ 7.1 นิยมเขียนเป็นตัวหนังสือ เช่น 9 แสน 8 หมื่น 3 สามร้อยบาท ยกเว้น วัน เวลา ราคา น้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หุ้น ผลการแข่งขันกีฬา 7.2 เขียนเป็นค่าประมาณ เช่น จำนวน 57,396 คน เขียนเป็นประมาณ 6 หมื่น คน

  23. 7.2 ตัวเลขอุณหภูมิ อัตราแลกเปลี่ยน ตัวเลขเกี่ยวกับกฎหมาย ให้ใช้ตัวเลขจริง ไม่ใช้ค่าประมาณ 7.3 เลขโทรศัพท์ เขียน ศูนย์- แปด- สาม- สี่- สี่- สอง- ศูนย์- สอง- แปด- เจ็ด และเลขทะเบียนต่างๆ เขียน ศ.-น.-สาม- ห้า- หก- หก

  24. 8. ใช้ประโยคบอกเล่ามากกว่าปฏิเสธ 9. สามารถสอดแทรกคำที่ใช้ในภาษาพูด แต่ไม่ใช้ในภาษาเขียนได้ เพื่อให้ฟังลื่น หู เช่น ที่จริง...ทีนี้...นะครับ...อ้อ... 10. หลีกเลี่ยงคำซ้ำในประโยคเดียวกัน คำที่มีเสียงคล้ายกัน อักษรซ้ำกัน การเล่นคำ

  25. 11. มีตัวอย่างประกอบการคิดที่ชัดเจน 12. อย่ายัดเยียดความคิด ชี้นำ หรือก้าวล่วงการรับรู้ของผู้รับสาร มากเกินไป 13. ไม่อ้างถึงจำนวนมากเกินไป เช่น รายการสิ่งของ 1…2…3…4 14. ไม่จำเป็นต้องพูดให้ถูกหลักไวยากรณ์ แต่ควรพูดตามความนิยม ในภาษาพูด

  26. 15. ใช้อุปมาอุปมัยให้เกิดภาพพจน์ได้ 16. ใช้สรรพนามให้ถูกต้อง แต่ไม่ควรใช้บ่อย ควรอ่านชื่อ หรือ ตำแหน่งซ้ำบ่อยๆ จะดีกว่า 17. ถ้าชื่อใดไม่ใช่จุดสำคัญของเรื่องไม่จำเป็นต้องนำมากล่าว 18. จัดวรรคตอนให้ดี ขีดเส้นใต้ประโยคถ้าต้องการเน้นหนัก ย่อหน้าบ่อยๆ

  27. นอกเหนือจากการใช้ภาษาในบทรายการ ลีลาการพูดก็ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ ที่จะเป็นส่วนสนับสนุนส่งเสริมให้รายการเป็นที่น่าสนใจ และใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจผู้ฟังในเบื้องต้นด้วย

  28. คำศัพท์เทคนิคที่ใช้ประกอบการเขียนคำศัพท์เทคนิคที่ใช้ประกอบการเขียน บทรายการวิทยุกระจายเสียง

  29. Cart หรือ ReelมาจากCartridge หมายถึง เทป บันทึกเสียงที่ใช้ เปิดประกอบการนำเสนอข่าวอาจเป็นเสียงสัมภาษณ์ หรือเสียงผู้สื่อข่าวรายงานจากสถานที่เกิดเหตุ Fade inหมายถึง การนำเสียงออกอากาศ Fade outหมายถึง การค่อย ๆลดระดับเสียงที่ออกอากาศอยู่ แล้ว ค่อยๆ จางหายไป จนหมดเสียง Fade under หมายถึง การนำเสียงเข้ามาในระดับเสียงที่คลออยู่ เบาๆ ณ ระดับหนึ่ง

  30. Fade down หมายถึง การค่อย ๆลดระดับเสียงที่ออกอากาศอยู่ แล้ว ให้มีระดับเสียงลดลงจากเดิม แต่ยังคงมีเสียงนั้น อยู่เบา ๆ Fade upหมายถึง การเพิ่มความดังของเสียงที่ออกอากาศอยู่ แล้วให้ดังเพิ่มขึ้น IN CUEหมายถึง คำพูด หรือข้อความเริ่มต้นของเสียงในเทป บันทึกเสียงที่จะนำมาออกอากาศ

  31. OUT CUE หมายถึง คำพูด หรือข้อความท้ายสุดของเสียงในเทป บันทึกเสียงที่จะนำมาออกอากาศ SFX มาจาก Sound Effect หมายถึง เสียงประกอบที่เลียนแบบ ตามเสียงธรรมชาติ หรือเป็นเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้นจาก เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นเสียงจากเครื่องดนตรี อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์

  32. Vox popมาจาก Voice of the People หมายถึงการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชาชน เป็นการ สัมภาษณ์นอกสถานที่ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยไม่ควรกำหนดประเด็นสัมภาษณ์มาก เพราะจะทำให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลาย จนไม่สามารถนำเสนอได้ครบภายในระยะเวลา 20 -30 วินาที จำนวนของประชาชนที่สำรวจความคิดเห็นไม่เควรเกิน 5 คน เสียงสัมภาษณ์ดังกล่าวจะถูกนำมาตัดต่อเสียง เฉพาะข้อความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ตั้งไว้

  33. Phone - inหมายถึงการโทรศัพท์เข้ามาร่วมในรายการเพื่อแสดง ความคิดเห็น ตอบคำถาม เล่นเกม หรือขอเพลง ออกอากาศผ่านรายการวิทยุ Dubหรือ dubbing หมายถึงการถ่ายเทป หรือการบันทึกเสียงจากเทป ม้วนหนึ่ง ลงเทปอีกม้วนหนึ่ง โดยบันทึกทั้งหมดหรือ บางส่วนก็ได้

  34. Cut หรือ Editing หมายถึงการตัดต่อเทป การตัดข้อความออก จากบท การตัดเนื้อ เทปที่ไม่ต้องการออกอากาศ การ หยุด เสียงที่พูดขณะบันทึก หรือ ออกอากาศ หรือ หยุดออกอากาศทันที

  35. คำศัพท์เทคนิคที่ใช้ประกอบการเขียนบทรายการวิทยุโทรทัศน์คำศัพท์เทคนิคที่ใช้ประกอบการเขียนบทรายการวิทยุโทรทัศน์

  36. VTRหรือ VRC มาจากคำว่า Videotape หรือ Video cassette recorder หมายถึง เทปบันทึกภาพ และเสียงที่ใช้เปิด ประกอบการนำเสนอข่าว หรือรายการอาจเป็นเสียงสัมภาษณ์ หรือเสียงผู้สื่อข่าวรายงานจากสถานที่เกิดเหตุ

  37. PKG มาจาก Package หมายถึง เทปบันทึกภาพ และเสียงที่ใช้เปิดประกอบการนำเสนอข่าว หรือรายการ อาจเป็นเสียงสัมภาษณ์ หรือเสียงผู้สื่อข่าวรายงานจากสถานที่เกิดเหตุเป็นเทปที่พร้อมออกอากาศได้ทันทีเพราะผ่านการตัดต่อรายการ ลงเสียง และคำนวณเวลาเรียบร้อยแล้ว

  38. VOมาจาก Voice over หมายถึง การนำเฉพาะเสียงของผู้ประกาศ หรือผู้สื่อข่าวนำเสนอข่าว ขณะที่เทปภาพกำลังนำเสนอภาพข่าวนั้น ๆ ลักษณะ VO แบ่งเป็น

  39. VO/ NS มาจาก Voice over /Natural sound หมายถึง การนำเสียงของผู้ประกาศข่าวออกอากาศขณะที่ภาพ และเสียงของข่าวนั้น ๆออกอากาศ โดยให้เสียงของผู้ประกาศดังกว่าเสียงจากเทปภาพข่าว VO/ SILมาจาก Voice Over /Silent หมายถึง การนำเสียงของผู้ประกาศข่าวออกอากาศโดยที่ไม่เอาเสียงของข่าวนั้น ๆ ออกอากาศเลย

  40. SOTมาจาก Sound on tape หมายถึง เสียงที่มาจากการ บันทึกภาพเหตุการณ์ ณ ที่เกิดเหตุมักเป็นเสียงสัมภาษณ์ SB มาจาก Sound Bite หรือ NS มาจาก Natural sound หมายถึง เสียงที่มาจากการบันทึกภาพเหตุการณ์ ณ ที่เกิดเหตุ มักเป็นเสียงเหตุการณ์ เช่น เสียงระเบิด เสียงภูเขาน้ำแข็งกำลังถล่ม

  41. OC มาจาก Out cue หมายถึง หมายถึง คำที่ใช้บอกให้ผู้เกี่ยวข้องดูแลว่าภาพ และเสียงจากเทปจบลงที่ใด เพื่อนำเสนอข่าวสารอื่นต่อไป OG มาจาก Character Generator หรือ Super หมายถึง การใช้ตัวอักษรแทรกบนภาพโดยมากมักเป็นชื่อนามสกุล และตำแหน่งของบุคคลในภาพ อาจเป็นชื่อสถานที่ การรายงานอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา พยากรณ์อากาศก็ได้

  42. ON CAMมาจาก On camera หมายถึง การให้นำภาพผู้ประกาศออกอากาศ Split Screen หมายถึง การแบ่งจอภาพออกเป็นสองส่วน เพื่อรายงานโต้ตอบระหว่างผู้ประกาศในสถานี กับผู้สื่อข่าว ณ ท้องที่เกิดเหตุการณ์

  43. Boxหมายถึง การทำภาพแทรกเป็นกรอบเล็กๆ บนฉากหลัง ทาง ด้านข้าง ค่อนไปทางด้านบนของผู้ประกาศ เพื่อ รายงานภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวของข่าวสารที่ กำลังนำเสนอ Graphicหมายถึง ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือภาพแสดงผัง บนฉากหลัง เหนือไหล่ผู้ประกาศ เพื่อสื่อสารสิ่งที่ผู้ประกาศกำลังรายงาน

  44. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับขนาดภาพทางวิทยุโทรทัศน์คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับขนาดภาพทางวิทยุโทรทัศน์ (Size of Shot)

  45. ELS มาจาก Extreme long shot หมายถึงขนาดภาพระยะไกลมาก เป็นภาพเพื่อใช้ยืนยัน หรือ ภาพเปิดเรื่องราว ณ สถานที่ต่าง ๆ เช่น ภาพวัด ภาพโรงเรียน ภาพบ้านเป็นภาพที่ใช้ในอันดับแรกก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาเรื่องราว LSมาจาก Long shot หมายถึง ขนาดภาพระยะไกล เป็นขนาดภาพเต็มตัวของผู้ประกาศหรือผู้สื่อข่าว สามารถเห็นภาพโดยรวมของสถานที่ได้เล็กน้อย

  46. MSมาจาก Medium shot หมายถึงขนาดภาพปานกลาง เป็นขนาดภาพครึ่งตัวตั้งแต่ศีรษะถึงเอวของผู้ประกาศ หรือผู้สื่อข่าว CUมาจาก Close up หมายถึงขนาดภาพระยะใกล้ เป็นขนาดภาพเต็มหน้าตั้งแต่ศีรษะถึงอกของผู้ประกาศ หรือผู้สื่อข่าว ECU มาจาก EXtreme Close up หมายถึงขนาดภาพใกล้มาก เป็นขนาดภาพเฉพาะ ที่มีจุดประสงค์พิเศษที่จะชี้นำให้ผู้ชมเห็นเฉพาะจุด เช่น ปาก มือ หรือดวงตา

  47. สำหรับการสร้างความต่อเนื่องในภาพเพื่อเชื่อมโยงความต่อเนื่องของช่วงเวลา หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ สำหรับสื่อวิทยุโทรทัศน์ รวบรวมและสรุปได้ดังนี้

  48. CUT หมายถึงการตัดจากภาพหนึ่งไปอีกภาพหนึ่ง โดยมากจะเลือกตัดภาพจากขนาดหนึ่งไปยังอีกขนาดหนึ่ง มากกว่าการตัดภาพจากขนาดภาพเท่าๆ กัน เป็นการตัดภาพในช่วงเวลา หรือเหตุการณ์เดียวกัน สื่อความหมายด้านเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง CUT แบ่งเป็น

  49. CUT IN เป็นการตัดภาพระหว่างภาพที่มีขนาดภาพต่างกัน เป็นการนำไปสู่รายละเอียดของเหตุการณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเพื่อเป็นการเพิ่มรายละเอียดและสร้างความชัดเจนของสิ่งนั้น ๆ เช่น แจกัน ดอกไม้ และ CUT IN ไปสู้ภาพดอกไม้บนแจกัน

  50. CUT AWAY เป็นการตัดภาพอื่นแทรกเข้ามาในเหตุการณ์หลักของเรื่องที่กำลังดำเนินอยู่ CUT AWAY เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจผู้ชมให้ออกจากเรื่องหลักที่ดำเนินอยู่ เช่น ภาพการแข่งขันกีฬา CUT AWAY ภาพผู้ชมแทรก และตัดกลับเข้าสู่การแข่งขันต่อ เป็นต้น

More Related