1.49k likes | 3.66k Views
น.ต.พรพิชิต สุวรรณศิริ. กศ.บ. (พยาบาลศึกษา) กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา). Paramedic Nurse Training Course Pre – Hospital Nurse Course Tactical Combat Casualty Care Instructor. การยกและการเคลื่อนย้าย. จุดประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถ
E N D
น.ต.พรพิชิต สุวรรณศิริ • กศ.บ. (พยาบาลศึกษา) • กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา) • Paramedic Nurse Training Course • Pre – Hospital Nurse Course • Tactical Combat Casualty Care Instructor
การยกและการเคลื่อนย้ายการยกและการเคลื่อนย้าย
จุดประสงค์ : • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถ • เข้าใจหลักการทั่วไปการยกและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บและป่วยฉุกเฉิน • ปฏิบัติการยกเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินใช้อุปกรณ์และไม่ใช้อุปกรณ์ได้
เนื้อหาในการเรียนรู้ การยกและเคลื่อนย้าย • กลไกของร่างกายในการยกและเคลื่อนย้าย (Body Mechanic) • แนวทางในการยกและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉิน (Guidelines for Lifting and Moving)
หลักการสำคัญในการยกและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินหลักการสำคัญในการยกและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน • จับยึดอุปกรณ์ในการยก/เคลื่อนย้ายให้แน่น • ขณะยก ไม่บิดตัวหรือเอี้ยวตัวอย่างเด็ดขาด • ยืนเต็มเท้า ระยะห่างของเท้า=ช่วงไหล่ • ปลายเท้าด้านหนึ่งเหลื่อมไปข้างหน้าเล็กน้อย
ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการยก ไม่ใช้กล้ามเนื้อหลัง • ให้น้ำหนักอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด • ขณะยกควรทำหลังตรง เกร็งแขน และกล้ามเนื้อหน้าท้อง โยกตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ให้เข่าช่วยรับน้ำหนัก • ไม่แอ่นตัวรับน้ำหนัก หรือบิดตัว • หากต้องก้มให้งอสะโพก ไม่งอเอวหรือหลัง
บทบาทของ จนท.เวชกิจฉุกเฉิน ในการยกและเคลื่อนย้าย • วางแผนการยกและเคลื่อนย้ายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ • นำผู้บาดเจ็บ และผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน จากสถานการณ์ เพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม • ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่จากการยกและเคลื่อนย้าย • บำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการยกเคลื่อนย้ายให้พร้อมใช้เสมอ
“ความสำคัญของการเคลื่อนย้าย“ความสำคัญของการเคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน” • อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเกิดอันตรายเพิ่มหากไม่ทำการเคลื่อนย้าย • มีภาวะคุกคามต่อชีวิตที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน • เพื่อนำส่งหรือรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับโรค หรือภาวะที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
ข้อควรคำนึงก่อนการเคลื่อนย้ายข้อควรคำนึงก่อนการเคลื่อนย้าย • ผู้ช่วยเหลือต้องไม่เกิดอันตราย • ผู้ป่วยต้องไม่เกิดอันตรายเพิ่มขึ้น (Do no further harm) • ควรให้การดูแลก่อนการเคลื่อนย้ายตามความเหมาะสม • พิจารณาความสมเหตุสมผลในการดูแลเต็มที่ หรือการรีบนำส่งอย่างรอบคอบ
ระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายผู้ที่บาดเจ็บบริเวณระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายผู้ที่บาดเจ็บบริเวณ • เหนือกระดูกไหปลาร้า หรือมี • บาดแผลที่ใบหน้า • การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร • ผู้ที่หมดสติ ซึ่งอาจได้รับบาดเจ็บของไขสันหลัง • ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บก่อนการเคลื่อนย้ายเสมอ
หลักการสำคัญในการยกและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินหลักการสำคัญในการยกและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน • ให้การดูแลเบื้องต้นก่อนการเคลื่อนย้าย • ต้องทราบว่าผู้บาดเจ็บได้รับบาดเจ็บหรือมีรอยโรคบริเวณใด • พิจารณาการเคลื่อนย้าย วิธีการ ผู้ช่วยเหลือ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม • เคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี รวดเร็ว • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบไปทั้งตัวเหมือนท่อนไม้กลิ้ง (Log roll)
ยึดตรึงผู้ป่วยเพื่อลดการเคลื่อนไหวและการบาดเจ็บเสมอ • เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ดีกว่าเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยโดยตรง • ยกอุปกรณ์ดีกว่ายกผู้ป่วย • ให้นำอุปกรณ์ไปหาผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ
การเอื้อม ผลัก ดึง ที่ต่ำกว่าเอวให้ย่อเข่าลงหรือคุกเข่า • ไม่ยก เอื้อม ผลัก ดึงที่สูงเกินศีรษะ หากเกิน ควรหาที่รองเหยียบขึ้นไป • ไม่ควรเกร็งกล้ามเนื้อนานเกิน 1 นาที เพราะจะเมื่อยล้า เคล็ด • การยกและเคลื่อนย้ายหลายคน จะต้องชี้แจงก่อนการปฏิบัติและมีหัวหน้าทีมอยู่ด้านศีรษะทำการสั่งการ ให้จังหวะ
ผู้ยกควรมีส่วนสูง และความแข็งแรงใกล้เคียงกัน • ควรแบ่งน้ำหนักในการยกเท่าๆ กันกับผู้ยกทุกคน • ต้องทราบข้อจำกัดของตนเอง อย่าฝืนยก • ทราบว่าอุปกรณ์ยกรับน้ำหนักได้เพียงใด ซึ่งควรศึกษาจากคู่มือก่อนการใช้งาน • ควรสวมรองเท้าหุ้มข้อ พื้นไม่ลื่น ไม่สูง และเหมาะกับสภาพอากาศ
ต้องฝึกท่าทางการยกและเคลื่อนย้ายที่ถูกต้อง และการนับเป็นจังหวะ จนเป็นนิสัย • แจ้งให้ผู้ถูกยกทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อความร่วมมือและขออนุญาต • ผู้ยกต้องหันหน้าเข้าหากัน เพื่อสังเกตอาการผู้ป่วยเสมอ • ไม่เอื้อมห่างตัวเกิน 15 – 20 นิ้ว • หากทำได้ใช้ผลักแทนการลากหรือดึง
อันตรายที่เกิดจากการยกและเคลื่อนย้ายอันตรายที่เกิดจากการยกและเคลื่อนย้าย
อันตรายที่เกิดจากการยกและเคลื่อนย้ายอันตรายที่เกิดจากการยกและเคลื่อนย้าย ต่อผู้ยก • ปวดหลัง เอว เข่า • กล้ามเนื้ออักเสบ • เอ็นอักเสบ • เข่าเสื่อม • หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือแตก
ต่อผู้ป่วย • หากกระดูกส่วนคอหัก อาจกดทับเส้นประสาทที่ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจได้ • กรณีหมดสติ ลิ้นอาจอุดทางเดินหายใจได้ • เจ็บปวดมากขึ้น อาจปวดจนเกิดภาวะช็อกได้ • กระดูกสันหลังที่หัก กดทับเส้นประสาทไขสันหลัง จนเป็นอัมพาตถาวร • การยกที่ผิดวิธี กระดูกที่หักจะทิ่มแทงเส้นเลือด ทำให้เลือดออกมาก ทิ่มแทงเส้นประสาท ทำให้เจ็บปวด หรือเกิดภาวะช็อกได้
หลักการยกและเคลื่อนย้ายหลักการยกและเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยที่ควรสงสัยว่ามีการบาดเจ็บของไขสันหลัง • การช่วยเหลือต้องให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด • หากสวมหมวกนิรภัยต้องถอดอย่างระมัดระวัง • ยึดตรึงให้คอ หลัง อยู่ในแนวตรงด้วยอุปกรณ์ยึดตรึงก่อนเคลื่อนย้าย เช่น • ใช้เฝือกดามคอชนิดแข็ง (Hard collar) ร่วมกับอุปกรณ์ดามตัว (KED) • และใช้ Long spinal board ในการเคลื่อนย้าย ทุกรายตามข้อบ่งชี้ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รับบาดเจ็บ
ใช้กระดานรองหลังชนิดยาวเสมอ ไม่ควรใช้ scoop ในการเคลื่อนย้าย • ถ้าต้องพลิกตัวต้องไปแบบท่อนซุง (log roll) • ยึดตรึงตัวกับ long SB. ด้วยเข็มขัด ผ่านซอกรักแร้ สะโพก เหนือเข่า เพื่อไม่ให้เลื่อนหลุดระหว่างเคลื่อนย้าย • ไม่เคลื่อนย้ายในท่านั่งเมื่อใส่ Hard collar ต้องให้ผู้ป่วยนอนลงเสมอ
ใช้เมื่อจำเป็น ก่อให้เกิดอันตรายต่อกระดูกสันหลังได้ง่าย ประเภทของการเคลื่อนย้าย 1. แบบฉุกเฉิน (Emergency Moves) • เป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเร่งด่วนเมื่ออาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย • เพื่อแลกกับโอกาสการมีชีวิตรอด • มีเปลวไฟ • กำลังจะเกิดระเบิด • มีสารพิษ • เหตุการณ์รุนแรง • ผู้ป่วยมีภาวะคุกคามต่อชีวิต • ไม่สะดวกในการให้การช่วยเหลือ • อาจไม่สามารถนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือได้ทัน • ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ยึดตรึงได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่
2. แบบเร่งด่วน (Urgent Moves) • เป็นการเคลื่อนย้ายที่รวดเร็วกว่าปกติ • เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่อาจมีภาวะคุกคามต่อชีวิตในระยะต่อมาได้ • ติดในซากรถ • มีบาดแผลกระดูกหักแต่รู้สึกตัว • ผู้ที่อยู่ในภาวะช็อก • มีลมในปอด • บาดเจ็บที่ศีรษะต้องรีบผ่าตัดสมอง • ฯลฯ
2. แบบเร่งด่วน (Urgent Moves) • สามารถให้การดูแลรักษา ณ จุดเกิดเหตุ ก่อนทำการเคลื่อนย้าย • สามารถให้ O2 • ห้ามเลือด • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ • ดามกระดูก • ใช้อุปกรณ์ยึดตรึงได้ ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายออกมาจากที่เกิดเหตุ
3. แบบไม่เร่งด่วน (Non urgent Moves) • ช่วยเหลือผู้ที่มีอาการไม่ฉุกเฉิน • ไม่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต • รู้สึกตัวดี • รอเวลาในการรักษาได้ • สภาพแวดล้อมปลอดภัย • เช่น fx. กระดูกท่อนล่าง ปวดศีรษะ ถ้าเลือกได้ควรเลือกรูปแบบนี้ • สามารถเตรียมคน อุปกรณ์ เหมาะสม • ให้การช่วยเหลือก่อนที่จะนำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุอย่างไม่เร่งรีบ
การใช้อุปกรณ์ยก เคลื่อนย้ายและยึดตรึง Cervical hard Collar, C-Collar เฝือกดามคอ ชนิดแข็ง คุณสมบัติ -ใช้ support c-s pine -X-Ray ผ่าน -มีหลายขนาด ตามความยาวคอ Pt
Head immobilizers พร้อม Long Spinal Board และ Belt คุณสมบัติ - ใช้ในPt ที่สงสัย spinal injury - X-ray ผ่าน - ลอยน้ำได้ - น้ำหนัก 5-15 กก. - รับน้ำหนักได้ 130-200 กก.
คุณสมบัติ - ใช้ใน Pt ที่กระดูกแขน ขา สะโพกหัก และผู้ป่วย Non Trauma - X-ray ไม่ผ่าน - น้ำหนัก 5-15 กก. - รับน้ำหนักได้ 130-200 กก. Scoop
Wheeled Stretcher คุณสมบัติ - ใช้ในการเคลื่อนย้าย Pt ขึ้นรถพยาบาล - รับน้ำหนักได้ถึง 300 กก. - ปรับ Position ผู้ป่วยได้หลายท่า
Stair chair หรือ เก้าอี้แบบไม่พับ คุณสมบัติ - ใช้ในPt ที่ไม่มี spinal injury - ใช้เคลื่อนย้าย Pt ขึ้น ลงบันได - ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี หายใจไม่ดี - รับน้ำหนักได้ 130-200 กก.
Kendrick Extrication Device (KED) คุณสมบัติ - ใช้ในการนำ Pt ออกจากซากรถ - X-ray ผ่าน - ใช้ร่วมกับ spinal board - ใช้กลับหัวดามในรายที่กระดูกต้นขาหรือกระดูกสะโพกแตกได้
Vacuum splint คุณสมบัติ - ใช้ดาม Pt ที่มีกระดูกหัก - X-ray ผ่าน - ใช้ห้ามเลือดได้ - ใช้ง่าย ตามได้ตาม position ที่ หัก - มีหลายขนาดให้เลือก
การใช้ Wheeled Stretcher เปลนอนรถพยาบาล Ambulance wheeled stretcher การย่อเปลลงเพื่อรับผู้ป่วย แล้วยกขึ้นตรงๆ (2 คน) จนขาเปลตึง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
การเข็นเปลในระยะไกล ควรให้ด้านเท้าไปก่อน เพื่อป้องกันอาการเวียนศีรษะให้ผู้ป่วยมองเห็นทางขณะเคลื่อนย้าย การเข็นเปลขึ้นรถพยาบาลให้เอาด้านศีรษะเข้าก่อน
ใช้ในกรณีสงสัย C – spine injury ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่เคลื่อนย้ายในท่านั่งเมื่อใส่ collar เพราะจะกดเส้นเลือดข้างคอ การเก็บควรคลายปุ่มล็อกเสมอ มีทั้งชนิดปรับความยาวคอได้และปรับไม่ได้ เมื่อใส่ collar แล้วต้องยึดตรึงศีรษะไว้เสมอ จนกว่าจะใส่ Head Immobilizer แล้วจึงปล่อยมือได้ การใช้ Hard Collar
การวัดขนาดของ Hard collar • ท่านั่ง วัดจากแนวขนานปลายคางถึงความยาวช่วงคอ • ท่านอน วัดจากปุ่มขากรรไกรล่างถึงความยาวช่วงคอ • ขณะวัดให้ผู้ป่วยมองตรงๆ เลือกขนาดใกล้เคียงมากที่สุด • โดยเทียบกับ sizing line หรือ Marker (ปุ่มดำ /แนวเส้นตรง ไม่นับส่วนโฟม) • ขณะสอด collar สามารถยกศีรษะผู้ป่วยขึ้นไม่เกิน 8 cm. หรือแนวกระดูกสันหลังต้องไม่งอหรือเหยียด
การนำผู้ป่วยลงบันได โดยใช้ stair chairโดยต้องมีผู้นำทาง (spotter) คอยนำทาง
การใช้ Scoop (Orthopedic Stretcher) • เหมาะกับผู้ป่วย none trauma ทุกชนิด , #pelvic • เพราะใช้งานง่าย ไม่ต้องพลิกตัวมาก • ปรับความยาวตามความสูงผู้ป่วยได้ • ข้อเสีย มีขอบทำให้กระดูกสันหลังไม่เป็นแนวตรง
การใช้ Long spinal board • ใช้ร่วมกับ • Hard collar • Head immobilizer • Belt เสมอ
เหมาะกับผู้ป่วย trauma ที่สงสัย c-spine injury • โดยมีผู้ช่วยเหลืออย่างน้อย 2 คน • คนที่ 1 ประคับประคองศีรษะและคอไว้ตลอด • คนที่ 2 ใส่ Hard collar แล้วพลิกตัวขึ้น board • และใส่ Head immobilizer รัด Belt ที่หน้าอก, สะโพก/ต้นขา, เหนือเข่า