290 likes | 521 Views
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพ ชีวิต. คุณภาพชีวิต คืออะไร ?. แนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิต เกิดขึ้น ค . ศ . 1970 ในประเทศ ตะวันตก เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาของประเทศ แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาทางสังคมแบบยั่งยืน.
E N D
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต
คุณภาพชีวิต คืออะไร ? • แนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิต เกิดขึ้น ค.ศ. 1970 ในประเทศตะวันตก • เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาของประเทศ แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาทางสังคมแบบยั่งยืน
ความหมายของคุณภาพชีวิตความหมายของคุณภาพชีวิต • การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพที่ไม่เป็นภาระ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม เป็นชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ มีความคิดความสามารถที่จะดำรงสถานภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และค่านิยมทางสังคม สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้ สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ภายหน้าได้อย่างถูกต้องและสามารถดำเนินวิธีการที่ชอบธรรมเพื่อให้ได้สิ่งที่พึงประสงค์ภายใต้เครื่องมือและทรัพยากรที่มีอยู่
จากความหมายแสดงว่าคุณภาพชีวิต สามารถจำแนกได้ 3 ด้าน คือ • 1. ทางด้านร่างกาย คือ บุคคลต้องมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเป็นผลจากการได้รับการสนองตอบทางด้านปัจจัยความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่พอเหมาะ ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”
2. ทางด้านจิตใจ คือ บุคคลจะต้องมีสภาพจิตใจที่สมบูรณ์ร่าเริงแจ่มใส ไม่วิตกกังวล มีความรู้สึกที่เป็นสุขและพึงพอใจในชีวิตของตนเอง ครอบครัว และสังคมในสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
3. ทางด้านสังคม คือ บุคคลที่สามารถดำรงชีวิตภายใต้บรรทัดฐาน และค่านิยมทางสังคมในฐานะเป็นสมาชิกของสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นต้น
ความสำคัญของคุณภาพชีวิตความสำคัญของคุณภาพชีวิต • คุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสิ่งสำคัญและเป็นจุดหมายปลายทางของบุคคล ชุมชนและประเทศชาติโดยส่วนรวม • หากประเทศใด ประชากรในชาติโดยส่วนรวมด้อยคุณภาพ แม้ว่าประเทศนั้นจะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เพียงใด ก็ไม่อาจทำให้ประเทศชาตินั้นเจริญและพัฒนาให้ทันหรือเท่าเทียมกับประเทศที่มีประชากรที่มีคุณภาพได้
คุณภาพของประชากรจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญและชี้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเจริญก้าวหน้า • ตัวอย่าง การพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศญี่ปุ่น หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
ดังนั้น จะเห็นว่าคุณภาพชีวิตมีความสำคัญต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ทุกคนจึงควรรู้จักและเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตให้ถูกต้องและช่วยกันพัฒนาปรับปรุงตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพที่ดีร่วมกันได้ในที่สุด • บุคคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี จะทำให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ก่อปัญหาทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น ทั้งยังส่งเสริมให้สังคมสงบสุขด้วย
คุณลักษณะของบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีคุณลักษณะของบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี • มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ต่อสังคม ประเทศชาติและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน • มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น • มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ • มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และขั้นตอนที่เหมาะสม
องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตองค์ประกอบของคุณภาพชีวิต • 2. ส่วนที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต • ส่วนที่จำเป็นระดับ พื้นฐาน
ส่วนที่จำเป็นระดับ พื้นฐาน • ส่วนที่จำเป็นในการยังชีพเบื้องต้น คือ ปัจจัย 4
สุขภาพ อนามัยที่สมบูรณ์ ไม่พิการ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
มีอิสระเสรีตามสิทธิมนุษยชนมีอิสระเสรีตามสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษาศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพรวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้
เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) และมีมติประกาศให้วันที่_________________ ของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนสากล (Human Rights Day)
2. ส่วนที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต …เป็นเพิ่มหรือยกระดับคุณภาพชีวิต • สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งทางกายภาพและทางสังคม • คุณสมบัติส่วนบุคคลที่เหมาะสม • คุณสมบัติที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งทางกายภาพและทางสังคม • มีมลภาวะน้อย อยู่ใกล้ธรรมชาติ • สงบ สะดวก ยุติธรรม • เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเอง
คุณสมบัติส่วนบุคคลที่เหมาะสมคุณสมบัติส่วนบุคคลที่เหมาะสม • มีจุดมุ่งหมายในชีวิต • มีความสามารถในการตัดสินใจ • เข้าใจตนเอง ผู้อื่นและสังคม • มีความอุตสาหะ พยายาม อดทน
คุณสมบัติที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขคุณสมบัติที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข • มีความมักน้อยประหยัด • รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา • มีระเบียบวินัย โดยเฉพาะวินัยในตนเอง • มีจิตสาธารณะ • จริยธรรมอื่นๆ
วินัยในตนเอง • บุคคลที่มีระเบียบวินัยในตนเอง จะสามารถเคารพและปฏิบัติต่อภาระหน้าที่ต่าง ๆที่มีอยู่ให้อยู่ในกรอบของข้อบังคับของกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดขึ้น ไม่ประพฤติตนออกนอกลู่นอกทางการมีวินัยที่ดีนั้น ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2524ไว้ว่า “คนที่มีระเบียบวินัยนั้นเป็นผู้ที่เข้มแข็ง เป็นผู้ที่หวังดีต่อตัวเอง เป็นผู้จะมีความสำเร็จในอนาคต”
จิตสาธารณะ • การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ