220 likes | 401 Views
รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาว เกษฎาพร ศรีวิเศษ 483230007-8 2. นางสาว จารุวรรณ เคณาอุประ 483230015-9 3. นางสาว รุ่งรัตน์ ภาคำตา 483230097-1 รายงาน เรื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย. ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย.
E N D
รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1.นางสาว เกษฎาพร ศรีวิเศษ 483230007-8 2.นางสาว จารุวรรณ เคณาอุประ 483230015-9 3.นางสาว รุ่งรัตน์ ภาคำตา 483230097-1 รายงาน เรื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย
ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทยประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย • 2429 กิจการรถไฟได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กให้สร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯถึงสมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร หลังจากนั้น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้นสังกัดกระทรวงโยธาธิกาครั้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439พระองค์จึงเสด็จทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ - อยุธยาระยะทาง 71 กิโลเมตรซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟ
ต่อมาในปี 2504 ได้เริ่มโครงการ Dieselization โดยทยอยจัดหารถจักรดีเซลมาใช้แทนรถจักรไอน้ำซึ่งใช้เวลา14 ปี จึงแล้วเสร็จในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบภัยสงครามอย่างหนักทรัพย์สินทั้งทางอาคาร และรถจักรล้อเลื่อนได้รับความเสียหายมากจำต้องเร่งบูรณะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม โดยเร็วถ้าจะอาศัยเงินลงทุนจากงบประมาณของรัฐแหล่งเดียวจะไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงต้องขอกู้เงินจากธนาคารโลกมาสมทบในระหว่างการเจรจากู้เงินนั้นธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐปรับปรุงองค์กรของกรมรถไฟหลวงให้มีอิสระกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวใน การบริหารกิจการในเชิงธุรกิจกรมรถไฟหลวงจึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปการ ภายใต้ชื่อว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมา โดยดำเนินการอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ. 2494 ซึ่งในหลักการรัฐคุมการแต่งตั้งและปลดผู้บริหารคุมอัตราเงินเดือน
ปรับโครงสร้างการบริหาร รฟท. โดยการปรับโครงสร้างบริหารจากเดิมที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบทั้งงานด้านพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างขนส่งและงานบริการเดินรถขนส่งพร้อมกัน ให้เหมือนกับระบบขนส่งอื่น กล่าวคือจะแยกงานบริการเดินรถขนส่งออกจากงานด้านพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างขนส่ง โดยจะเป็นผู้รับภาระงานพัฒนาและบำรุงรักษารัฐบาลโครงสร้างขนส่งทั้งหมด ส่วนการรถไฟฯจะดำเนินการด้านงานบริการเดินรถขนส่งและการบริหารพัฒนาจัดการทรัพย์สิน และต้องชำระค่าใช้ทางให้แก่งานพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างขนส่ง ทั้งนี้การรถไฟฯจะต้องมีการปรับปรุงรูปแบบบัญชีใหม่ เพื่อให้มีระบบบัญชีรองรับในแต่ละด้าน ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังนำเสนอ ครม.เพื่อขอรับความเห็นชอบ และภายหลังการปรับโครงสร้างบริหารแล้วจะส่งผลให้การขนส่งทางรถไฟเป็นระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
โครงสร้างบริหารที่เสียเปรียบระบบขนส่งอื่นๆโครงสร้างบริหารที่เสียเปรียบระบบขนส่งอื่นๆ
การดำเนินงานภายใต้โครงการใหม่การดำเนินงานภายใต้โครงการใหม่
สรุปผลการดำเนินงานเรื่อง การปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย • คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 เห็นชอบในหลักการการปรับโครงสร้างของ รฟท. โดยให้เริ่มดำเนินงานตามโครงสร้างที่ปรับปรุงใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2543 โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งคือการจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษารายละเอียดการแยกบัญชีฯตามโครงสร้างใหม่บนหลักการพื้นฐานที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาให้ใช้เงินจากโครงการความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ตามโครงการ Structural Adjustment Loan (SAL)
ผลความคืบหน้าของการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้ผลความคืบหน้าของการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้ 1.การพิจารณาเรื่องการปรับโครงสร้างการรถไฟฯ 2การกำกับการดูแลการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้าง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 2.1โดยกระทรวงคมนาคม 2.2โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย 3. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการปรับโครงสร้าง 4. การจ้างที่ปรึกษาระยะสั้นด้านการเงิน 5. การจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การปรับโครงสร้าง 6. คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบในหลักการให้การรถไฟฯ
1. โครงการตามนโยบายด้านการคมนาคมและขนส่งแห่งชาติ 2. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟในกรุงเทพมหานครสายเหนือ 3. โครงการปรับปรุงทาง 4. โครงการเสริมความมั่นคงทางรถไฟ 5. โครงการจัดหารถลากจูงพร้อมเครน 2 คัน 6. โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนและระบบอาณัติสัญญาณ 7. โครงการจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ
8.โครงการบริหารงานในหน่วยงานสนับสนุน 9. โครงการศึกษาและวางระบบตัวชี้วัดตามผลงาน 10. แผนงานขนส่งผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 11. แผนงานขนส่งสินค้า 12. แผนงานเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า 13. แผนงานปรับเปลี่ยนบริหารงานภายในให้เป็นหน่วยธุรกิจ 14. แผนปรับเปลี่ยนทัศนคติ บุคลากร เพื่อรองรับการจัดโครงสร้าง 15. แผนฝึกอบรมทั่วไป
แผนแม่บทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟแผนแม่บทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เพื่อศึกษาจัดลำดับความสำคัญและช่วงเวลาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของการก่อสร้าง • ระบบทางคู่ การปรับปรุงทางรถไฟ และการพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณฯ ตามความจำเป็นเร่งด่วนแต่ละช่วง/ตอนและนำมาประกอบการพิจารณาลงทุนดำเนินการอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม การรถไฟฯได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟโดยดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 -พฤศจิกายน 2545
โครงการก่อสร้างเพื่อขยายขีดความสามารถของสถานี ICD ที่ลาดกระบัง(ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2548 งานแล้วเสร็จ 100% )
โครงการศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างขยายเครือข่ายทางรถไฟ(ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549)
โครงการศึกษาเส้นทางขนส่งมวลชนระบบรางสำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SBIA-RAP) • เนื่องจากการพัฒนาระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในแผนแม่บทระยะที่ 1ได้รับการจัดลำดับความสำคัญไว้ค่อนข้างสูงเพราะเป็นระบบที่จะนำผู้โดยสารจากชานเมืองเข้ามาป้อนให้กับระบบขนส่งมวลชนอื่นในเมืองซึ่งได้รับการออกแบบระบบให้เชื่อมโยงกันไว้บ้างแล้ว ประกอบกับรัฐบาลมีกำหนดจะเปิดใช้งานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี 2548 และท่าอากาศยานดังกล่าวอยู่ห่างจากเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงเพียง 5 กม.ดังนั้นหากเร่งรัดการพัฒนาระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในส่วนนี้ขึ้นให้ทันการเปิดใช้งานท่าอากาศยานใหม่ได้แล้ว ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางในกทม. และการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปพร้อมกันด้วย
ผลการดำเนินงานถึงปัจจุบันผลการดำเนินงานถึงปัจจุบัน • รฟท. เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานรฟท.ได้นำเสนอแผนการลงทุนเรื่องการสร้างทางรถไฟยกระดับซึ่งประกอบด้วยการสร้างทางรถไฟยกระดับจากสถานีบางซื่อถึงสถานีรังสิต ระยะทาง 23 กม. งบประมาณก่อสร้าง 23,000 ล้านบาท และการสร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ งบประมาณก่อสร้าง 35,035 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมฯมีความเห็นว่างบประมาณในการก่อสร้างตามที่ รฟท. เสนอสูงเกินไปประกอบกับงบประมาณของรัฐบาลมีอยู่ค่อนข้างจำกัดจึงให้ทบทวนรูปแบบและขนาดของโครงการเสียใหม่โดยให้พัฒนาสถานีรถไฟบางซื่อให้เป็นสถานีกลางเพื่อรองรับขบวนรถไฟระหว่างเมืองที่มาจากเส้นทางสายเหนือและสายใต้แทนการใช้สถานีกรุงเทพและให้พิจารณาก่อสร้างทางรถไฟบนระดับพื้นดินในสัดส่วนที่มากกว่าเดิมเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ต่อเนื่องจากความเห็นของที่ประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่าควรดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับสายเหนือช่วง บางซื่อ-รังสิตเป็นอันดับแรก (รายงานสำนักงานติดตามและประสานงานตามการสั่งการของนายกรัฐมนตรี พร้อมจัดทำเอกสารแล้วส่งมอบให้กระทรวงคมนาคม เพื่อมอบหมายผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้รับทราบนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในการมาตรวจงานที่การรถไฟฯเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2545 ว่าคงจะยังไม่จำเป็นต้องเร่งรัดการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้ทันกำหนดเปิดใช้งานในปี 2548 ท่าอากาศยานสามารถเปิดใช้งานไปก่อนได้โดยยังไม่มีระบบรถไฟเชื่อมโยง การสร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงยังไม่มีลำดับความสำคัญ ในการลงทุนและการจ้างบริษัทที่ปรึกษามาทำการสำรวจออกแบบตามที่ขอตั้งงบประมาณไว้ในปี 2546 จำนวน 140 ล้านบาทจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้
แผนงานปรับปรุงรถดีเซลรางและรถโดยสารใช้แล้ว จากบริษัท JR-WEST ประเทศญี่ปุ่น • การรถไฟฯได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารใช้แล้วจากบริษัท JR-West ประเทศญี่ปุ่น โดยไม่คิดมูลค่าจำนวน 54 คัน ประกอบด้วยรถโดยสารปรับอากาศ 28 คัน และรถดีเซลรางปรับอากาศ 26 คัน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 การรถไฟฯได้ทำการปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ แล้วนำออกให้บริการผู้โดยสาร โดยเดินเป็นขบวนรถชานเมือง และพ่วงเข้าขบวนรถโดยสาร เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการและความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร • ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2542 การรถไฟฯยังได้รับรถดีเซลรางปรับอากาศจากบริษัท JR-WEST เพิ่มอีก 20 คัน เป็นรถโดยสารปรับอากาศชั้นที่ 3 ขณะนี้อยู่ระหว่างการว่าจ้างซ่อมดัดแปลง
แผนงานซ่อมและปรับปรุงรถเสบียงแผนงานซ่อมและปรับปรุงรถเสบียง • ตามที่การรถไฟฯมีนโยบายในการปรับปรุงสภาพรถเสบียงให้ได้มาตรฐาน โดยดำเนินการซ่อมและปรับปรุง สภาพทั้งภายนอกและภายในใหม่ ก่อนที่จะส่งมอบรถเสบียงให้ผู้เช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถ นำไปให้บริการผู้โดยสารต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว การรถไฟฯได้จัดทำแผนงานซ่อมและปรับปรุงสภาพรถเสบียง จำนวน 33 คัน
แผนงานซ่อมดัดแปลงและปรับปรุงสภาพรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่2 เป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่2จำนวน20คันแผนงานซ่อมดัดแปลงและปรับปรุงสภาพรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่2 เป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่2จำนวน20คัน • ในจำนวนรถโดยสารที่การรถไฟฯมีใช้การอยู่ปัจจุบัน มีรถบางประเภทเป็นที่ได้รับความนิยมใช้บริการมาก ได้แก่รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 ทำให้รถที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการพิจารณาแล้วเห็นว่ารถนั่งและนอนชั้นที่ 2ที่มีอยู่ปัจจุบัน บางส่วนสามารถนำไปดัดแปลงติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และยังใช้การได้ดี ซึ่งจะทำให้การรถไฟฯประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหารถใหม่ได้ด้วยเหตุนี้การรถไฟฯเห็นสมควรนำรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 มาทำการดัดแปลง และปรับปรุงสภาพ เป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 เพิ่มอีกจำนวน 20 คัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร • การรถไฟฯ ตกลงว่าจ้างบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด เป็นผู้รับจ้างดำเนินการดัดแปลงและปรับปรุงสภาพโดยมีการลงนามในสัญญาเมื่อ 3 มิถุนายน 2546 ขณะนี้ดำเนินการดัดแปลงเสร็จ ส่งออกใช้งานแล้ว จำนวน 4 คัน
แผนงานการว่าจ้างเอกชนซ่อมบำรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน 60 คัน • การรถไฟฯประสบปัญหาอุปสรรคในเรื่องงบประมาณลงทุน การขาดแคลนแรงงาน และการจัดการที่เป็นระบบราชการ กอปรกับเป็นนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนการรถไฟฯได้ดำเนินการเปิดซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 แต่เนื่องจากผู้ยื่นราคาเสนอเอกสาร ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด จึงได้ยกเลิกการประกวดราคาในครั้งนั้นแล้วออกประกวดราคาใหม่ โดยเปิดซอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 ซึ่งในครั้งนี้การรถไฟฯ ไม่สามารถรับเงื่อนไขของบริษัทฯ ได้ ทั้งราคาที่เสนอยังสูงกว่าราคาประเมิน การรถไฟฯ จึง ยกเลิกการประกวดราคาอีกครั้ง
ได้มีการปรับปรุงราคาประเมินให้เหมาะสม แล้วออกประกวดราคาใหม่ การรถไฟฯ ได้ตกลงทำสัญญาว่าจ้าง บริษัท ไทยเอนยิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ร่วมกับบริษัท CPCSTRANSCONLIMITED เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 เพื่อทำการศึกษาความเหมาะสมในการว่าจ้างเอกชน ซ่อมบำรุง รถจักรดีเซลแบบ Full Service โดยให้ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ เสนอแนะแนวทาง รูปแบบ โครงสร้างองค์กร ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนขั้นตอนในการดำเนินการที่เหมาะสมในการจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯ และ ป้องกันการผูกขาดในด้านต่างฯ ด้วย โดยมีระยะเวลาดำเนินงานการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเวลา 4 เดือน
โครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ตามโครงการก่อสร้างทางคู่ 234 กม. • เป็นโครงการออกแบบจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณชนิดประแจกลไฟฟ้า บังคับการเตรียมทางสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ และสัญญาณไฟสีพร้อมระบบทางสะดวกชนิดสัมพันธ์กับสัญญาณประจำที่ โดยจัดให้มีระบบควบคุมอาณัติสัญญาณทางไกลจากศูนย์กลาง (Centralized Traffic Control System) ตลอดจนการติดตั้งระบบควบคู่ที่จำเป็นในระบบควบคุมการเดินรถและปรับปรุงระบบโทรคมนาคม