390 likes | 776 Views
กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ. หน้าที่รับผิดชอบ. ให้การสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ทุกชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็งทุกชนิด เป็นต้น จัดระบบและสนับสนุนการให้บริการหน่วยกู้ชีพในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน งานวิจัยและพัฒนา
E N D
กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ
หน้าที่รับผิดชอบ • ให้การสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ทุกชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็งทุกชนิด เป็นต้น • จัดระบบและสนับสนุนการให้บริการหน่วยกู้ชีพในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน • งานวิจัยและพัฒนา • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เช่น KM
การควบคมและป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูก • ส่งเสริมสุขภาพและค้นหาสตรีที่ปากมดลูกมีความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งและรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ นโยบาย
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งในสตรีกลุ่มเสี่ยงและส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยรักษา • เพื่อลดอัตราป่วยและความรุนแรงด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก • เพื่อลดอัตราตายของสตรีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก
ตัวชี้วัด Pap - Smear • ร้อยละ 60 ของสตรีกลุ่มอายุ 35, 40, 45, 50, 55, 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap - Smear • สตรีที่พบความผิดปกติทุกคนต้องได้รับการส่งต่อ และดูแลรักษาตามแนวทางที่กำหนด
ตัวชี้วัด VIA • ร้อยละ 10 ของสตรีกลุ่มอายุ 30 - 34, 36 - 39, 41 - 44 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลุกด้วยวิธี VIA • สตรีที่พบความผิดปกติทุกคนต้องได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางที่กำหนด
แนวทางดำเนินการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 2. จัดทำแผนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (โซน) 3. ในรายที่ผิดปกติส่งต่อเพื่อพบแพทย์ โดย - Pap - Smear ส่งพบแพทย์ทุกวันพฤหัสบดี - VIA ส่งพบแพทย์ทุกวันศุกร์ 4. ส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยป้ายและหน่วยอ่าน 5. Key ข้อมูลลงโปรแกรม เพื่อเบิกจ่ายเงิน
นโยบาย การควบคมและป้องกัน โรคมะเร็งเต้านม นโยบาย • เสริมสร้างศักยภาพของสตรีในการส่งเสริมสุขภาพตนเองโดยเฉพาะการดูแลและตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้สตรีได้เรียนรู้และตรวจเต้านมตนเองอย่างถูกต้อง สามารถค้นหาความผิดปกติ ได้รับการตรวจคัดกรองและรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์
วัตถุประสงค์ • เพื่อพัฒนาศักยภาพสตรีกลุ่มเป้าหมาย (อายุ 35ปีขึ้นไป) ให้มีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติ • เพื่อลดอัตราป่วยและความรุนแรงด้วยโรคมะเร็งเต้านม • เพื่อลดอัตราตายของสตรีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคมะเร็งเต้านม
ตัวชี้วัด • ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความรู้ และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และสามารถตรวจได้อย่างถูกต้องเป็นประจำทุกเดือน • ร้อยละ 40 ของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปจะต้องผ่านการประเมินความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องโดย จนท. สาธารณสุข • สตรีทุกคนที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย รักษาตามแนวทางที่กำหนด
แนวทางดำเนินการ • จัดอบรม อสม. (เพิ่มเติม) และสตรีแกนนำให้มีความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สามารถถ่ายทอดความรู้ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง • จัดทำแผนการประเมินความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย จนท.สาธารณสุข • จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจเต้านมด้วยตนเอง มะเร็งไม่ถามหา 25 - 30 พ.ย. 50 • ในรายที่ตรวจพบสิ่งปกติส่งต่อพบแพทย์ศัลยกรรม
การป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังการป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรัง • โรคเบาหวาน • โรคความดันโลหิตสูง • โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)
นโยบาย “ลดโรค และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง” วัตถุประสงค์ - ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง - ลดอุบัติการณ์การเกิดโรค - ลดการ Readmit และ Complication
ตัวชี้วัด งานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง • ร้อยละ 65 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับบริการตรวจ คัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง • ประชากรที่พบความผิดปกติทุกคนได้รับส่งต่อเพื่อวินิจฉัย และรักษาตามแนวทางที่กำหนด
แนวทางดำเนินการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ 2. จัดทำแผนการคัดกรองและดำเนินการคัดกรอง 3. ลงทะเบียนผลการดำเนินการเป็นรายบุคคล 4. ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติทุกรายส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรักษา 5. จัดกิจกรรมรณรงค์วันเบาหวานโลก (14 พ.ย.ของทุกปี) 6. จัดกิจกรรมรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก (14 พ.ค. ของทุกปี)
ตัวชี้วัด งานป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ - อัมพาต) • ร้อยละ 40 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง
แนวทางดำเนินการ 1. สำรวจกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ 2. คัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงตามแบบฟอร์ม 3. ส่งต่อพบแพทย์กรณีที่มีความเสี่ยงมากกว่า 5 ข้อ 4. จัดกิจกรรมรณรงค์วันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก (24 พ.ค.ของทุกปี)
งานพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินงานพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
นโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุขในการจัดระบบ EMS 1. ผนวกงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินเข้าในกระบวนการรักษาพยาบาลผู้ป่วย 2. เร่งรัดให้มี พรบ. ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน 3. เร่งรัดให้มีการจัดตั้งสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติทำหน้าที่องค์กรหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย
4. ผลักดันให้มีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเบอร์เดียว 5. วางแผนในการพัฒนาระบบสื่อสาร สั่งการ ของทั้งในส่วนกลางและของเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งประเทศ สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในยามปกติและในสถานการณ์ฉุกเฉิน 6. มีแผนหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรมืออาชีพ 7. เร่งรัดการพัฒนาระบบประกันคุณภาพและการติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัด • เวลาปฏิบัติการตั้งแต่รับแจ้งเหตุถึงที่เกิดเหตุ ไม่เกิน 10 นาที (ค่าเฉลี่ยของจังหวัด) ร้อยละ 85 • ร้อยละ 50 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นที่ • ร้อยละ 80 ของห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในโรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพยกระดับขึ้น 1 ขั้น
แนวทางดำเนินการ 1. ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วม อปท. 2. พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2.1 การบริหารจัดการ เช่น การสนับสนุนวัสดุ ครุภัณฑ์ การนิเทศติดตาม การรายงาน ฯลฯ 2.2 การพัฒนาบุคลากร 2.3 การพัฒนาคุณภาพ ER 2.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยกู้ชีพ