170 likes | 306 Views
ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5. Crime Investigation Center Provincial Police Region 5. วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์). กรมตำรวจ สหพันธรัฐออสเตรเลีย สถานทูตออสเตรเลีย ประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดย เจ้าหน้าที่ David B.Stewart.
E N D
ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 Crime Investigation Center Provincial Police Region 5 วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) กรมตำรวจ สหพันธรัฐออสเตรเลีย สถานทูตออสเตรเลีย ประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดย เจ้าหน้าที่ David B.Stewart ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 311 ถ.มหิดล ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ 053-275356 โทรสาร 053-275356 www.police5ic.com ,www.p5.police.go.th/inv email: p5cic@hotmail.com
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) คำนำ หลักฐานที่เป็นข้อมูลดิจิตอลหลากหลายรูปแบบ อาจพบได้ในสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรม ดังนั้น การรวบรวมพยานหลักฐานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้ และการปฏิบัติอย่างถูกวิธี หลักฐานที่มักพบได้ในสถานที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งมีรูปภาพแสดงไว้ในคู่มือเล่มนี้ ทว่ารูปภาพในคู่มือนี้ มิได้รวบรวมอุปกรณ์ทุกชิ้นที่อาจเป็นวัตถุพยานสำคัญได้ทั้งหมด ยังมีอุปกรณ์และเครื่องมืออื่น ๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอีกหลายชนิด รูปภาพในคู่มือเล่มนี้ จึงเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ควรทำการตรวจค้นตรวจยึด
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) สิ่งที่ต้องปฏิบัติในทันที ณ สถานที่เกิดเหตุ • คุ้มครองเฝ้าระวังสถานที่เกิดเหตุ • หากเครื่องปริ้นเตอร์กำลังทำงานอยู่ ปล่อยให้เครื่องปริ้นเตอร์ทำงานให้เสร็จ • ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการใด ๆ ต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง • อย่าสนใจคำทัดทาน หรือคำชี้แนะของเจ้าของหรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ • หากเครื่องคอมพิวเตอร์ปิดอยู่ ห้ามเปิดเครื่อง กรณีจำเป็น หากต้องการความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ นิติวิทยาศาสตร์ ผู้ชำนาญการ แม้จะเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์ ก็ต้องทำ ยกเว้น กรณีที่ผู้ทำการตรวจค้นเป็นผู้ชำนาญการด้านคอมพิวเตอร์ กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ปิดสวิทซ์ไว้ • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องปิดแล้ว หากไม่แน่ใจให้ปฏิบัติเหมือนดังเช่นกรณีเครื่องเปิดอยู่ • เครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือโน้ตบุ๊ค บางรุ่นบางยี่ห้อจะเปิดเครื่องเองโดยอัตโนมัติ เมื่อทำการเปิดฝาหน้า • ให้บันทึกภาพอุปกรณ์ทุกชิ้น รวมถึงการติดตั้งระบบ และตรวจดูว่าจุดใดเชื่อมต่อกับจุดใด • ให้บันทึกภาพหน้าจอและจดบันทึกโปรแกรมทั้งหมดในตัวเครื่อง เท่าที่สามารถมองเห็นได้ • กรณีที่เป็นเครื่อง Laptop หรือโน้ตบุ๊ค ให้ถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวเครื่อง
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • ให้ถอดปลั๊กออกจากอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยให้ถอดที่ตัวคอมพิวเตอร์ มิใช่ถอดจากรูปลั๊กผนังห้อง • ทำเครื่องหมายที่ตัว connector ทุกชิ้น ให้รู้ว่าจุดใดเป็นตัวเชื่อมกับจุดใด เพื่อสามารถประกอบภายหลังได้ กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดสวิทซ์ไว้ • ตัดการเชื่อมโยงระบบทางไกลต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และโมเด็ม • แยกตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกจากกล้อง Digital Movie (ดังภาพตัวอย่าง) • หากน่าเชื่อว่า คอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเครือข่าย (Network) ก่อนจะลงมือตรวจสอบตรวจยึด ให้ขอคำชี้แนะจากผู้ชำนาญการก่อน • หากมีโปรแกรมทำลายข้อมูลทำงานอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นการทำลายหลักฐานสำคัญ เช่น โปรแกรม Format, Wipe หรือโปรแกรมทำลายหลักฐานอื่น ๆ ให้ดึงปลั๊กออกจากตัวเครื่องทันที
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • บันทึกข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอ ด้วยการถ่ายภาพ หรือจดบันทึกลงบนสมุด • หากหน้าจอแสดง screensaver หรือ ว่างเปล่า ให้ขยับเม้าส์ หรือกดปุ่ม up หรือปุ่มdown หน้าจอจะกลับมาสู่หน้าปกติที่กำลังทำงานอยู่ • เมื่อ เม้าท์ และคีย์บอร์ดทำงานได้แล้ว ให้จดบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งระบุ วัน และเวลา คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเป็นระบบ Network ได้แก่ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป • อย่าดำเนินการใด ๆ /ให้ติดต่อขอรับการคำชี้แนะจากผู้ชำนาญการเท่านั้น • ถ้าหากทำการดึงปลั๊กออก หรือทำการใด ๆ โดยไม่ระวัง อาจส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อข้อมูลของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และเราอาจต้องชดใช้ความเสียหายแก่เจ้าของระบบ • ให้เฝ้าระวังสถานที่เกิดเหตุเอาไว้จนกว่า จะได้รับคำแนะนำอย่างถูกวิธีจากผู้ชำนาญการ
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) ระบบ Laptop • หากไม่สามารถถอดแบตเตอร์รี่ออกจากเครื่องได้ ให้กดปุ่ม powerค้างไว้ 30 วินาที (จนกระทั่งหน้าจอมืด) เครื่องจะปิดเอง ระบบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) • ก่อนที่จะทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นกำลังทำงานด้วยระบบใด หรือใช้โปรแกรมใดอยู่ เนื่องจากแต่ละโปรแกรมต้องใช้วิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน เมื่อเราทราบแน่ชัดว่า คอมพิวเตอร์นั้น เป็นระบบหรือโปรแกรมใดแล้ว จึงจะสามารถลงมือปฏิบัติการได้อย่างถูกวิธี • เราจะทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยโปรแกรมใด โดยสังเกตได้จากตัวScreenshot ต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ • Windows Vistaให้สังเกตสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ - Recycle bin - My Computer - Start Button
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • Apple Macintosh: ให้สังเกตสัญลักษณ์Apple LHS • Linux GUI โดยทั่วไป โปรแกรมนี้จะดูคล้ายกับWondowsแต่ว่าLinuxหรือ Unix GUI แต่เดิม จะไม่มีปุ่ม “Start” หรือ My computer หรือ Recycle binแต่ว่าก็ไม่เสมอไป หากเกิดความสงสัยให้ปรึกษาผู้ชำนาญการ • Dos Command Line ให้สังเกต (C:\>) • Linux / Unix Command Line ให้สังเกตสัญลักษณ์ - #, @ หรือ #@
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) วิธีการ Shut Down เมื่อเราทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบหรือโปรแกรมใดแล้ว ให้ทำการปิดเครื่องโดยวิธีต่อไปนี้ “ ดึงปลั๊กออก ” หมายความว่า ดึงปลั๊กออกจากด้านหลังของตัวเครื่อง ไม่ใช่ดึงจากรูปลั๊กที่ฝาผนัง “ Shut Down ” หมายความว่า ปิดเครื่องตามวิธีการธรรมดา
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • หากไม่ทราบวิธีการ Shut Down และไม่มีผู้ชำนาญการ สามารถให้คำชี้แนะได้ ให้ดึงปลั๊กออกและให้จดบันทึก วัน เวลา ที่ปฏิบัติการ พร้อมทั้งเหตุผลที่กระทำการเช่นนั้น ผู้ชำนาญการ อาจแนะนำให้ใช้วิธีดึงปลั๊กออกก็ได้ แม้ว่าบางระบบหรือบางโปรแกรมจะระบุว่าให้ Shut Down ก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ชำนาญการ รูปที่ 1 ดึงปลั๊กออก รูปที่ 2 ปิดตัวเครื่อง Power Supply ด้วยเทป - เมื่อ Shut Down แล้ว ให้บันทึกเป็นหลักฐาน โดยใช้วิธีถ่ายรูป, ถ่ายวีดีโอ และสเก็ตซ์ภาพ หรือทุกวิธีรวมกันก็ได้ • - ในการแยกส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากกัน ให้ปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง โดยให้ทำเครื่องหมายประจำที่อุปกรณ์ทุกชิ้นให้ชัดเจน โดยทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีหมายเลขประจำเครื่อง แต่คีย์บอร์ด จอภาพ และเม้าท์ จะใช้หมายเลขประจำเครื่องเหมือนกันแต่จะมีหมายเลขประจำชิ้นส่วนแตกต่างกัน
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ได้ทำการตรวจยึดวัตถุพยานครบถ้วนทุกชิ้น พร้อมทั้งทำเครื่องหมายประจำวัตถุพยานทุกชิ้นให้ชัดเจนด้วย หากเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาภายหลังได้ โปรดอย่าลืม ! • -Search ดูข้อมูลของเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งสมุดบันทึกไดอารี่ • - สอบถามหา User ID และ Passwordและจดบันทึกไว้ • - ทำบันทึกการตรวจค้นตรวจยึด • - ตรวจอุปกรณ์ทุกชิ้นให้ครบถ้วน ไม่ให้หลงลืมหรือละเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัว power supply ของlaptop • - ทำการสเก็ตซ์ภาพอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ทำการตรวจยึด • - ถ่ายภาพบริเวณที่ทำการตรวจยึดและบริเวณใกล้เคียงให้ละเอียด • - จดบันทึกวัน เวลา ที่ได้ทำการปิดเครื่องอุปกรณ์ทุกชนิด • - ใช้เทปปิดช่อง power input • - ปิดถุงที่ใช้บรรจุวัตถุพยานให้เรียบร้อยและทำการจัดเก็บในหีบห่อ เพื่อทำการ ขนย้ายด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระแทก หรือบุบสลาย
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) อุปกรณ์ PDA (Personal Digital Assistant) และอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกัน • ข้อควรระวัง • - ข้อมูลที่เก็บไว้ใน Memory ของ PDA อาจสูญหายได้ หากปล่อยให้เครื่องขาดกระแสไฟ (แบตเตอรี่หมด) • - หากเครื่องปิดอยู่ ห้ามเปิดเครื่อง • เก็บเครื่อง PDA ใส่ไว้ในซองที่ปิดผนึกไว้ ก่อนที่จะนำไปเก็บไว้ในถุงรวมกับวัตถุพยานอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเปิดเครื่อง หากเป็นไปได้ให้เตรียม adaptor และฐานรอง พร้อมแท่นชาร์ท ติดตั้งกับเครื่อง PDA ให้เรียบร้อย โดยเก็บสายชาร์ทไฟไว้แยกต่างหากจากถุงบรรจุวัตถุพยาน เพื่อพร้อมที่จะทำการชาร์ทไฟได้ตลอดเวลา และให้ทำการชาร์ทไฟทันทีที่นำเครื่อง PDA มาถึงที่ทำการ หรือห้องทดลอง หากเครื่องเปิดอยู่ • ให้ทำการปิดเครื่องอย่างถูกวิธี โดยกดสวิตซ์ ON/OFF จากนั้นให้ทำการบรรจุหีบห่อดังได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น • หากไม่แน่ใจให้ปรึกษาผู้ชำนาญการ • - ให้นำเครื่อง PDA พร้อมทั้งอุปกรณ์ส่วนควบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งยังผู้ชำนาญการ เพื่อทำการตรวจสอบโดยไม่ชักช้า • - ต้องทำการตรวจสอบแบตเตอรี่และหมั่นชาร์จไฟอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • ควรตรวจยึดอะไรบ้าง? ตัวอย่างของรูปภาพต่อไปนี้ แสดงให้เห็นอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ทำควรทำการตรวจยึด • - คอมพิวเตอร์ Sever Tower Mini Tower Desktop
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • เครื่อง PDA(พร้อมฐานรอง และแท่นชาร์ท) • Diskette Hard Disks (PC and Laptop) Floppy Disks Zip Disk
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • Tape Backups มีประเภทดังนี้ DLT Travan AIT DDS 3/4 • อุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ เช่น USB memory drive หรือ memory card • อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น นาฬิกาบันทึกข้อมูล หรือ นาฬิกาติดกล้องถ่ายภาพ
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ควรตรวจยึดยังมีอีกเช่น • อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมโยงกับภายนอกได้ทุกชนิด เช่น Hard disk เป็นต้น • CD และ DVD (ข้อมูลบางอย่างอาจถูกซ่อนไว้ใน CD เพลง หรือ DVD ภาพยนตร์) • กุญแจประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ • ฐานรอง • Dongle (อุปกรณ์ป้องกันซอฟท์แวร์) • Manual • Modem • กระดาษจดบันทึกต่างๆ แม้กระทั่งบันทึกเศษกระดาษที่พบในบริเวณใกล้เคียง • Power supply • อุปกรณ์ Wireless
วิธีการตรวจยึด และจัดการวัตถุพยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) • นอกจากนี้ ควรตรวจยึดอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย • เครื่อง Answering machine • Desktop phone • Dictating machine • ระบบ Email ที่ เชื่อมต่อโดยตรงกับโทรศัพท์ • เครื่อง Fax • โทรศัพท์มือถือ • Pager • อุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถเก็บข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ • ควรหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ • Key เครื่องคอมพิวเตอร์บางรุ่นมีกุญแจล็อค • Password ของเครื่องคอมพิวเตอร์ • Pin Number ของโทรศัพท์มือถือ • Email address และPassword • เจ้าหน้าที่ควรเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง ในการทำการตรวจยึด • Anti static band (แผ่นป้องกันไฟฟ้าสถิต) • สมุดโน้ตและปากกา • กล้องถ่ายรูปและฟิล์ม • คีมและไขควงชนิดต่างๆ • ถุงสำหรับใส่วัตถุพยาน • สติ๊กเกอร์ • ฉลากสำหรับทำเครื่องหมายวัตถุพยาน • เทปกาว • ถุงมือ • ไฟฉาย • ปากกาเคมีกันน้ำ
กรณีต้องการคำแนะนำจากผู้ชำนาญการกรณีต้องการคำแนะนำจากผู้ชำนาญการ โปรดติดต่อ กรมตำรวจ สหพันธรัฐออสเตรเลีย สถานทูตออสเตรเลีย ประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โทรศัพท์ +63 9178867672, +63 9178056406, +63 9175775884 www.afp.gov.au ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 Crime Investigation Center Provincial Police Region 5 ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 311 ถ.มหิดล ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ 053-275356 โทรสาร 053-275356 www.police5ic.com ,www.p5.police.go.th/inv email: p5cic@hotmail.com