1.1k likes | 2.32k Views
ธ ร ณี ก า ล ( Gealogic Time). กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. ครูวิชัย เจริญศรี. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. ธรณีกาล. คนแรกที่เสนอการจัดแบ่งอายุของโลก เมื่อพ . ศ . ๒๔๕๖ โดย ใช้หลักฐานอายุของหินและซากดึกดำบรรพ์จากการวัดด้วย กัมมันตภาพรังสีในหิน. อาร์ เธอร์ โฮล์มส์ (Arthur Holms).
E N D
ธรณีกาล(Gealogic Time) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูวิชัย เจริญศรี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
ธรณีกาล คนแรกที่เสนอการจัดแบ่งอายุของโลก เมื่อพ . ศ . ๒๔๕๖ โดยใช้หลักฐานอายุของหินและซากดึกดำบรรพ์จากการวัดด้วยกัมมันตภาพรังสีในหิน อาร์เธอร์ โฮล์มส์ (Arthur Holms) นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ
นักธรณีวิทยากำหนดยุคทางธรณีวิทยาของโลกตามห้วงเวลาที่พบซากดึกดำบรรพ์เป็นจำนวนมากนักธรณีวิทยากำหนดยุคทางธรณีวิทยาของโลกตามห้วงเวลาที่พบซากดึกดำบรรพ์เป็นจำนวนมาก
คาดว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เกิดขึ้น และสันนิษฐานว่าการสูญพันธุ์อาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีอุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งเข้าชนโลก หรือการเกิดภูเขาไฟระเบิด
โลกมีอายุประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านปี ธรณีกาลตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) ช่วงอายุ (Age) และรุ่น (Chron)
บรมยุค (Eon) เป็นช่วงเวลาอันยาวนานไม่อาจกำหนดได้ในทางธรณีกาล หมายรวมมหายุคต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 บรมยุค คือ
บรมยุคคริปโทโซอิก (Cryptozoic eon) เป็นบรมยุคที่เก่าที่สุดของช่วงเวลาทางธรณีกาล มีช่วงอายุมากกว่า 2,500 ล้านปี (มีความหมาย เหมือนกับArchaeozoic Eon)
บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic eon) หมายถึง บรมยุคปลายช่วงเวลา ก่อนยุคแคมเบรียน มีช่วงเวลาตั้งแต่ 2,500 - 570 ล้านปีมาแล้ว
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon ) เป็นบรมยุคสุดท้ายของการแบ่งมาตราทางธรณีกาล นับตั้งแต่ 570 ล้านปีมาจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 3 มหายุค คือ มหายุค พาลีโอโซอิก(Paleozoic) มหายุค มีโซโซอิก (Mesozoic) มหายุค ชีโนโซอิก (Cenozoic)
แม้นักธรณีวิทยาจะแบ่งเวลาในอดีตของโลกออกเป็น 3 บรมยุค แต่ในบรมยุคอาร์คีโอโซอิกและโพรเทอโรโซอิก มีแต่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำขนาดเล็ก และไม่มีหลักฐานฟอสซิลปรากฏมากนัก เนื่องจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (Plate Tectonics) ทำให้เกิดวัฏจักรการสร้างและทำลายแผ่นเปลือกโลก หินบนโลกส่วนใหญ่จึงมีอายุไม่เกิน 500 ล้านปี นักธรณีวิทยาจึงเรียกช่วงเวลาของสองบรมยุคนี้ว่า พรีแคมเบียน (Precambian period) ซึ่งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนที่จะถึงยุคแคมเบียน (Cambian) และแบ่งช่วงเวลาของบรมยุคฟาเนอโรโซอิกออกเป็น 3 มหายุค ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 11 ยุค
มหายุค (Era) หมายถึงช่วงเวลาอันยาวนานทางธรณีกาล ซึ่งประกอบด้วย 4 มหายุคคือ มหายุคพรีแคมเบรียน(Precambrain era) มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era ) มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era)
มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นมหายุคแรกของธรณีกาล มีอายุก่อนยุคแคมเบรียน ในมหายุคพาลีโอโซอิก เริ่มตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึง 570 ล้านปีมาแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิต ชั้นต่ำเริ่มเกิดขึ้นในตอนปลายของมหายุคนี้ แต่ส่วนมากไม่ทิ้งร่องรอยหรือหลักฐานที่ชัดเจนเหมือนซากดึกดำบรรพ์ในยุคแคมเบรียน
มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era) พาลีโอโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยโบราณ” เป็นมหายุคที่อยู่ระหว่างมหายุคพรีแคมเบรียนกับมหายุคมีโซโซอิก มีอายุตั้งแต่ 570-245 ล้านปีมาแล้ว เป็นมหายุคที่พืชและสัตว์เริ่มมีวิวัฒนาการสูง สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในยุคนี้จะอยู่ในทะเล โดยมีสัตว์ที่ไม่กระดูกสันหลังอยู่มากเป็นพิเศษรวมทั้งปลายุคดึกดำบรรพ์ ชีวิตของพืชบนบกเริ่มขึ้นในตอนปลายยุคนี้ ในตอนปลายของยุค แผ่นดินส่วนใหญ่รวมกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ เรียกว่า แพนเจีย สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน แมลงและสัตว์อื่น ๆ ครองแผ่นดินอยู่ และกินพืชที่มีวิวัฒนาการขึ้นมาเป็นอาหาร เช่น ไลโคพอด คลับมอส ต้นหางม้าและเฟิร์น สัตว์หลายชนิด ได้สูญพันธ์เป็นจำนวนมาก
มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) มีโซโซอิก หมายถึง “ชีวิตในตอนกลาง” เป็นมหายุคที่อยู่ระหว่างมหายุคพาลีโอโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 245 ถึง 66.4 ล้านปีมาแล้ว เป็นมหายุคที่สัตว์เลื้อยคลานเจริญมาก บนดินมีไดโนเสาร์ บนฟ้ามีเทอโรซอร์ และในทะเลมีอิกทิโอซอร์ว่ายน้ำอยู่กับพวกเบเลมไนต์และแอมโมไนต์ ทวีปแพนเจียเริ่มแยกออก
มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ซีโนโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยก่อน” อยู่ถัดขึ้นมาจากมหายุคมีโซโซอิก มีอายุตั้งแต่ 66 ล้านปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน โลกค่อย ๆเปลี่ยนรูปทรงไปในยุคนี้ ทวีปอินเดียเคลื่อนที่ไปทางเหนือ ชนกับเอเชียเกิดเป็นเทือกเขาหิมาลัย
เป็นมหายุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอกเจริญมากเป็นมหายุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอกเจริญมาก
ในทะเลมีพวกปลาก้างและเม่นทะเลอยู่มาก มนุษย์เกิดขึ้นในสมัยไพลสโตซีนในยุคนี้
ยุค (Period) เป็นหน่วยย่อยของมหายุค มีช่วงเวลาค่อนข้างยาวนานพอที่จะเชื่อถือได้ทั่วโลก
ยุคพรีแคมเบียน (Precambrian) เป็นช่วงเวลานับตั้งแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมาจน ถึง 545ล้านปีก่อนในบรมยุคอาร์คีโอโซอิกและโพรเทอโรโซอิกซึ่งปรากฏฟอสซิลให้เห็นน้อยมาก หินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดพบที่กรีนแลนด์มีอายุ 3,800 ล้านปี ฟอสซิลที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดคือ แบคทีเรียโบราณอายุ 3.5 พันล้านปี
ยุคแคมเบรียน (Cambrian period) • ยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 570-505 ล้านปี มาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มพบซากสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปะการัง หอย ฟองน้ำ ไทรโลไบต์ (trilobite)
ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) • เป็นยุคที่ 2 ของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่างยุคแคมเบรียนกับยุคไซลูเรียน มีช่วงอายุตั้งแต่ 505 ถึง 438 ล้านปี มาแล้ว ยุคนี้มีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังอยู่มาก เกิดประการังไบรโอซัวและปลาหมึกสัตว์ทะเลแพร่พันธุ์ขึ้นสู่บริเวณน้ำตื้น เกิดสัตว์มีกระดูกสันหลังขึ้นเป็นครั้งแรกคือปลาไม่มีขากรรไกร
ไบรโอซัว สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในยุคออร์โดวิเชียน
ปลาไม่มีขากรรไกรในยุคออร์โดวิเชียนปลาไม่มีขากรรไกรในยุคออร์โดวิเชียน
ยุคไซลูเรียน (Silurian Period) • ยุคที่ 3 ของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่างยุคออร์โดวิเชียนกับยุคดิโวเนียน มีช่วงอายุตั้งแต่ 438 ถึง 408 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคแรกเริ่มของพืชบก เกิดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกซึ่งใช้พลังงานเคมีจากภูเขาไฟใต้ทะเล (Hydrothermal) เป็นธาตุอาหารเกิดปลามีขากรรไกรและสัตว์บกขึ้นเป็นครั้งแรกบนบกมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์
ยุคดิโวเนียน (Devonian Period) ยุคที่ 4 ของ มหายุคพาลีโอโซอิก ระหว่างยุคไซลูเรียน กับ ยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส มีช่วงอายุตั้งแต่ 408 ถึง 360 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้มีปลาจำพวกต่าง ๆ เจริญมาก บางทีเรียกว่า ยุคของปลาอิกไทโอสเตกาเป็นบรรพบุรุษของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกพันธ์แรกสุดมีปอดสำหรับหายใจ มีหางเป็นครีบแบบเดียวกับปลา เฟิร์นที่พบในยุคนี้จัดเป็นเฟิร์นเก่าแก่ที่สุด เป็นยุคของปลาดึกดำบรรพ์ปลามีเหงือกแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก เกิดปลามีกระดอง ปลาฉลาม หอยฝาเดียว (Ammonite) และแมลงขึ้นเป็นครั้งแรกบนบกเริ่มมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและมีป่าเกิดขึ้น
สิ่งมีชีวิตในยุคดีโวเนียนสิ่งมีชีวิตในยุคดีโวเนียน
อยู่ในช่วง 354 – 295 ล้านปีก่อนเป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ ปกคลุมห้วยหนองคลองบึงซึ่งกลาย เป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน
มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์ เลื้อยคลาน
ยุคเพอร์เมียน (Permian) • เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาเลโอโซอิกในช่วง 295 – 248 ล้านปีก่อนเปลือกโลกทวีปรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ชื่อ "พันเจีย" (Pangaea) ในทะเลมีแนวประการังและไบโอซัวร์บนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปลายยุคเพอร์เมียนได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ (Mass extinction) สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์นับเป็นการปิดมหายุคพาเลโอโซอิก
สัตว์เลื้อยคลานในยุคเปอร์เมียนสัตว์เลื้อยคลานในยุคเปอร์เมียน
ยุคไทรแอสสิก (Triassic) • เป็นยุคแรกของมหายุคเมโสโซอิกในช่วง 248 – 205 ล้านปีก่อน เป็นการเริ่มต้นของสัตว์พวกใหม่ๆ สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถูกแทนที่ด้วยสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลไดโนเสาร์ผืนแผ่นดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตของพืชพืชพรรณส่วนใหญ่จึงเต็มไปด้วยสน ปรง และเฟิร์น
ไดโนเสาร์ยุคแรก สัตว์เลื้อยคลานชนิด Icthyosaurs