230 likes | 350 Views
แผนกล ยุทธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ศูนย์สุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2556. ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์สุพรรณบุรี (ตุลาคม 2552 ). ปรัชญา.
E N D
แผนกลยุทธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ศูนย์สุพรรณบุรีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2556 ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์สุพรรณบุรี (ตุลาคม 2552)
ปรัชญา • ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านระบบคอมพิวเตอร์ในการดำเนินธุรกิจ สู่สังคมอย่างมีคุณค่าด้วยปัญญา จริยธรรม และก้าวล้ำนำสมัย
วิสัยทัศน์ • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่มีความต่างเป็นจุดเด่น มีความเป็นส่วนรวม ภายใต้การบริหารจัดการ ที่มีลักษณะพลวัตเป็นที่ยอมรับของชุมชน และสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญและยั่ง
พันธกิจ • ผลิตบัณฑิตที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบ ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและที่ต้องการของสังคม โดยมีจุดเด่นด้านบุคลิกภาพเฉพาะตามวัฒนธรรมสวนดุสิต • สร้างและพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตพัฒนาความเข้มแข็ง ชุมชน สังคม และประเทศในลักษณะการให้บริการวิชาชีพ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม • ส่งเสริมการจัดการสภาวะแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืนเผยแพร่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองโครงการตามพระราชดำริ โดยยึดหลักการบริหารจัดการ ที่คำนึงถึงการปรับตัวล่วงหน้า เพื่อพร้อมรับแนวโน้มบริบทที่จะเปลี่ยน สามารถร่วมมือพร้อมที่อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ 3. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความภูมิใจในคุณค่าวัฒนธรรมองค์กร 4. การพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม และการนำไปใช้ประโยชน์ 5. การบริหารจัดการแบบพลวัต
เป้าประสงค์ 1. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิต ตามศักยภาพ 2. บัณฑิตในสาขาวิชาเป็นผู้ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและต้องการของชุมชน สังคม 3. นักศึกษาและประชาชนตระหนักเช่นคุณค่าวัฒนธรรมไทย 4. มหาวิทยาลัย ชุมชนและสังคมได้ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่สร้างขึ้น 5. หลักสูตรสามารถสร้างความสำเร็จในการอยู่รอดได้
กลยุทธ์ 1. การบริการวิชาการเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. หลักสูตรมีความแตกต่าง และความโดดเด่นของตนเอง 3. สร้างคุณค่าวัฒนธรรมไทย 4. การสร้างและการนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 5. การบริการจัดการเชิงพลวัต
นโยบายการดำเนินงาน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้กำหนดนโยบายและแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา ไว้ทั้งหมด 10 ด้าน ดังนี้
1) ด้านการเรียนการสอน • การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง โดยหลักสูตรมีการกำหนดนโยบายด้านการเรียนการสอนดังนี้ 1. มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่ทุกวิชาต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ โดยทุกปีต้องมีจำนวนวิชาที่ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการพัฒนาทางวิชาการไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 2. มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่จริงในหน่วยงานต่าง ๆ 3. มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีจากการได้ปฏิบัติจริง โดยบัณฑิตทุกคนต้องมีเวลาสะสมในการเรียนภาคปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 200 ชั่วโมงตลอดหลักสูตร
1) ด้านการเรียนการสอน (ต่อ) 4. มุ่งเน้นด้านการให้บริการทางการศึกษาโดยให้นักศึกษาเป็นสำคัญมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นคนดีคนเก่ง มีความสุข ประกอบกับเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามโดยการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มุ่งพัฒนารูปแบบกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษามีโลกทัศน์ที่กว้างไกล เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ใฝ่คิดและมีคุณธรรมจริยธรรมโดยรายวิชาต่างๆ ต้องกำหนดให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติกิจกรรมบริการวิชาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5. จัดให้มีผู้ประสานงานและผู้รับผิดชอบในแต่ละรายวิชา 6. จัดประชุมเพื่อพิจารณาแนวการเรียนการสอนและมีการจัดทำ/ ปรับปรุงแนวการสอนในแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง 7. จัดทำรายงานสรุปผลด้านการเรียนการสอนเมื่อสิ้นภาคการศึกษา
2) ด้านกิจการนักศึกษา • การดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษาของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนการสอนภายในห้องเรียนตามหลักสูตร ซึ่งนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ตรงในการดำเนินชีวิตประจำวัน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกหลักสูตร เพื่อพัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังรวมไปถึงการพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาอีกด้วย ซึ่งหลักสูตรได้มีการกำหนดนโยบายด้านกิจการนักศึกษาไว้ดังนี้ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์นิเทศก์ โดยจัดตารางเวลาการให้คำปรึกษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง 2. จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงให้คำปรึกษาและการบริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและศิษย์เก่า
2) ด้านกิจการนักศึกษา (ต่อ) 3. จัดกิจกรรมให้กับนักศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมกีฬาสีกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาบุคลิกภาพที่ดี ส่งเสริมความเป็นผู้นำ เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะให้กับนักศึกษา โดยนักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมกับหลักสูตรอย่างน้อย 8 ครั้งต่อหนึ่งภาคการศึกษา 4. จัดทำรายงานสรุปผลการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมของนักศึกษาต่อไป
3) ด้านการวิจัย • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ในหลักสูตรให้มีบทบาทในเวทีวิชาการ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้คณาจารย์มีโลกทัศน์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และสามารถกำหนดทิศทางของงานวิจัยที่เหมาะสมต่อยุคโลกาภิวัฒน์ที่จะนำผลงานไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อีกทั้งยังมีการบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน สามารถจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรที่มีคุณภาพให้กับนักศึกษาได้ โดยหลักสูตรได้กำหนดนโยบายด้านการวิจัยไว้ดังนี้ 1. คณาจารย์ในหลักสูตรสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในลักษณะที่สามารถบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน โดยอาจารย์ทุกคนต้องมีงานวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อย 1 เรื่องต่อปีการศึกษา 2. อาจารย์และบุคลากรของหลักสูตรที่มีอายุงานตามเกณฑ์การขอผลงานทางวิชาการ ต้องผลิตงานวิจัยเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 3. คณาจารย์ของหลักสูตรสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการทำวิจัยและสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถทางด้านการวิจัย และเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
4) ด้านบริการวิชาการ • การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นภารกิจหลักของสถาบันการศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจจึงมุ่งเน้นให้คณาจารย์ร่วมกับนักศึกษาได้มีการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม ประเทศชาติในหลายรูปแบบ ตามที่คณาจารย์ของหลักสูตรมีความถนัด และเชี่ยวชาญ โดยหลักสูตรได้กำหนดนโยบายด้านบริการวิชาการไว้ดังนี้ 1. จัดโครงการ/ กิจกรรม ที่เน้นการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ในลักษณะต่าง ๆ เช่นการจัดประชุมสัมมนา การฝึกอบรมระยะสั้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของชุมชนและประเทศชาติในด้านต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจด้านวิชาการ อย่างน้อย 15 โครงการต่อปีการศึกษา 2. จัดโครงการ/ กิจกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ร่วมกับหลักสูตรหรือคณะอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยรูปแบบต่าง ๆ ของโครงการต้องเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจแก่ชุมชนและสังคม 3. หลักสูตรสนับสนุนให้คณาจารย์ของหลักสูตรให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกโดยเป็นที่ปรึกษา หรือกรรมการวิชาการ หรือกรรมการวิชาชีพ อย่างใดอย่างหนึ่งแก่หน่วยงานภายนอก
5) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม • หลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยกำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม/โครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และสามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีให้เป็นรากฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมไทย ตลอดจนให้บุคลากรและนักศึกษาของหลักสูตรเกิดการตระหนักและภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของไทย เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตใจของตนเองให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม อันดีงาม ซึ่งหลักสูตรได้กำหนดนโยบายด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไว้ดังนี้ 1. จัดโครงการและกิจกรรมที่เสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ให้แก่บุคลากรและนักศึกษา เช่น กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม เป็นต้น 2. อาจารย์ทุกคนในหลักสูตรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีของความเป็นไทย ความมีคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา
5) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) 3. เสริมสร้างสำนึกที่ดีของความเป็นไทย ความมีคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษา โดยสนับสนุนวัฒนธรรมการไหว้ที่ถูกต้อง การแต่งกายที่ถูกระเบียบของมหาวิทยาลัยโดยให้อาจารย์ทุกคนเคร่งครัดในเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา 4. การจัดทำฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ 5. กำหนดให้รายวิชาต่าง ๆ มีการทำกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม หรือการนำเสนอโครงการ/กิจกรรมด้านวิชาชีพที่สอดคล้องกับคุณธรรม จริยธรรมที่พึงระลึกและปฏิบัติ
6) ด้านการพัฒนาบุคลากร • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้มุ่งเน้นการจัดโครงการ และกิจกรรมที่มีการนำแผนพัฒนาบุคลากรไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้การกำกับติดตามของหัวหน้าหน่วยงานในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถวัด และประเมินผลการพัฒนาศักยภาพ ทักษะ ความรู้ความสามารถของบุคลากรหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อีกทั้งยังมีประธานกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้นำกระบวนการส่งเสริม และสนับสนุนให้บุคลากรนำผลจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาตนและพัฒนางาน ทั้งนี้ได้สนับสนุนให้เกิดแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล(Individual Development Plan: IDP) เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงความรู้ แหล่งเรียนรู้ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ ก่อให้เกิดสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพตามศักยภาพที่ควรจะเป็นหลักสูตรได้กำหนดนโยบายด้านพัฒนาบุคลากรไว้ดังนี้ 1. จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของหลักสูตร และจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลประจำปีงบประมาณ 2554 2. จัดหาแหล่งข้อมูลและส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรสมรรถนะ ตามศักยภาพ และลักษณะงาน 3. จัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรในหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ในหนึ่งรอบปีการศึกษา 4. มีระบบและกลไกกำกับติดตามการพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะ 1 ระบบ
7) ด้านการเงินและงบประมาณ • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ให้ความสำคัญของการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหลักสูตรได้กำหนดนโยบายด้านการเงินและงบประมาณดังนี้ 1. จัดทำแผนการเงิน และการจัดสรรงบประมาณประจำปีของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ งานวิชาการ งานวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการสู่สังคม และสอดคล้องกับภาระหน้าที่ของหลักสูตรทั้งแผนระยะสั้น (1 ปี)และแผนระยะยาว (4 ปี) 2. หาแหล่งรายได้อื่นนอกเหนือจากเงินงบประมาณแผ่นดินอย่างมีระบบ ตรวจสอบได้เนื่องจากหลักสูตรได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2554 จำนวน 40,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมทั้งปีงบประมาณ 3. มีการใช้จ่ายงบประมาณของหลักสูตรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด ในลักษณะประหยัดสุด อีกทั้งการจัดซื้อจัดจ้างมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนสามารถตรวจสอบได้ 4. มีการประเมินผลการใช้จ่ายและสรุปผลการทำแผนและการจัดสรรงบประจำปีของหลักสูตร
8) ด้านการควบคุมภายใน • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ให้ความสำคัญของการควบคุมภายใน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการประเมินคุณภาพของหลักสูตร จึงได้มีการกำหนดนโยบายด้านการควบคุมภายในไว้ดังนี้ 1. มีการประเมินความเสี่ยง ด้วยการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย (ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน) หรือความล้มเหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติการเพื่อระบุความเสี่ยง 2. นำความเสี่ยงที่ระบุได้แล้วว่าจะเกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อเป้าหมายของหลักสูตร มาทำการวิเคราะห์เพื่อประเมินถึงโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบที่จะได้รับ 3. การจัดลำดับความเสี่ยง โดยการนำความเสี่ยงที่ได้ทำการวิเคราะห์ แล้วมาจัดทำลำดับความสำคัญตามลำดับความสำคัญ
8) ด้านการควบคุมภายใน (ต่อ) 4. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ วางแผนโดยกำหนดกลยุทธ์ เพื่อควบคุมผลกระทบของความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่หน่วยงานยอมรับได้เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายหรือใกล้เคียงกับเป้าหมายที่หน่วยงานกำหนด และในแผนงานดังกล่าว ต้องมีการกำหนดมาตรการหรือแผนปฏิบัติการในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับบุคลากรทุกระดับของหลักสูตรในด้านการบริหารความเสี่ยง และการดำเนินการแก้ไข ลด หรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 5. แผนบริหารความเสี่ยงต้องกำหนดกิจกรรมหรือแผนปฏิบัติการที่จะแก้ไข ลด หรือป้องกันความเสี่ยงได้ครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินการด้านการเงิน และด้านนโยบาย กฎ ระเบียบ 6. ติดตามให้มีการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงให้ครบถ้วนทุกกิจกรรม รวมทั้งพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรค (ถ้ามี) ในระหว่างการดำเนินงาน 7. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงและมีการกำหนดแนวทาง/ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงของหลักสูตรเพื่อใช้ในปีต่อไป
9) ด้านกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ให้ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการหลักสูตร จึงได้มีการกำหนดนโยบายด้านกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ดังนี้ 1. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรเพื่อประสานกับฝ่ายประกันคุณภาพระดับคณะ 2. ฝ่ายประกันคุณภาพของหลักสูตรจัดให้มีโครงการและกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องให้กับบุคลากรของหลักสูตร 3. สนับสนุนให้บุคลากรของหลักสูตรอบรมเป็นผู้ประเมินระบบประกันคุณภาพการศึกษา 4. มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ตามเกณฑ์ของสมศ. สกอ. และกพร. เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง และนำมาปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสอบจากองค์กรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย 5. แจ้งผลการประเมินระดับหลักสูตรแก่ผู้บริหารของหลักสูตรและนำผลที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานภายในหลักสูตร
10) ด้านการบริหารและการจัดการ • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ให้ความสำคัญของการบริหารและการจัดการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนหลักสูตรไปสู่เป้าหมายในการเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐาน จึงได้มีการกำหนดนโยบายด้านการบริหารและการจัดการไว้ดังนี้ 1. มีการจัดระบบการบริหารจัดการที่ดีด้วยหลักความรับผิดชอบ หลักความเสมอภาคหลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักความโปร่งใส และหลักนิติธรรม 2. มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน 3. มีการจัดโครงสร้างการบริหารงานของหลักสูตร กำหนดแผนงาน นโยบาย และวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ให้ครอบคลุมภารกิจทุกด้านและสอดคล้องกับนโยบายของคณะวิทยาการจัดการ และมหาวิทยาลัย
10) ด้านการบริหารและการจัดการ (ต่อ) 4. สนับสนุนให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของหลักสูตร โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในระดับหลักสูตรและศูนย์การศึกษา 5. จัดให้มีการประชุมหลักสูตรอย่างน้อยสองเดือน 1 ครั้ง เพื่อให้บุคลากรภายในหลักสูตรรับรู้การดำเนินงานและความเป็นไปของมหาวิทยาลัย ศูนย์การศึกษา และหลักสูตรอย่างต่อเนื่องและเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น 6. มีการจัดการเกี่ยวกับครุภัณฑ์ของหลักสูตรอย่างเหมาะสม ทั้งในด้านของการใช้ประโยชน์และการดูแลรักษา โดยจัดให้มีการตรวจสภาพการใช้งานอย่างมีระบบและต่อเนื่อง มีการจัดทำคู่มือการใช้งานของครุภัณฑ์ที่สำคัญและจำเป็น 7. จัดให้มีการประเมินและสรุปผลการดำเนินงานประจำภาคการศึกษาเพื่อเสนอต่อศูนย์การศึกษา