360 likes | 433 Views
เมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญา. เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว คู่สัญญามีหน้าที่ต้องทำตามสัญญา ถ้าไม่ทำตามสัญญาก็จะเรียกว่ามีการผิดสัญญา หรือ ผิดนัด การผิดนัด คือ การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้(นัด) ซึ่งต้องพิจารณาว่ากำหนดเวลาชำระหนี้เป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้
E N D
เมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญาเมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญา • เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว คู่สัญญามีหน้าที่ต้องทำตามสัญญา ถ้าไม่ทำตามสัญญาก็จะเรียกว่ามีการผิดสัญญา หรือ ผิดนัด • การผิดนัด คือ การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้(นัด) • ซึ่งต้องพิจารณาว่ากำหนดเวลาชำระหนี้เป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้ • แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ • กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน • กรณีผิดนัดโดยเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน
ตัวบท มาตรา ๒๐๔ ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว 2 1
กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนกรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน • ได้แก่ กรณีที่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระก็จะถือว่าลูกหนี้ผิดสัญญาหรือผิดนัดทันที โดยที่เจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน หรือบอกกล่าวให้ชำระหนี้อีก เพราะถือว่าลูกหนี้ทราบแล้วถึงกำหนดชำระหนี้ • กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน แบ่งได้ ๒ กรณี • ๑.๑ กรณีหนี้มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน หรือ • ๑.๒ กรณีต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทิน
๑.๑ กรณีหนี้มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน • ได้แก่ กรณีที่คู่สัญญากำหนดให้ชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน • ดำ ยืมเงินแดง โดยมีกำหนดเวลาใช้คืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ • แดง เช่าบ้านขาว โดยมีกำหนดเวลาทำชำระค่าเช่า ทุกๆสิ้นเดือน • ขาว ซื้อเครื่องปรับอากาศจากเขียว ๒๐ เครื่องกำหนดส่งมอบ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ • เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระก็จะถือว่าลูกหนี้ผิดสัญญา โดยจะถือว่าตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นถัดวันครบกำหนด
ดำ ยืมเงินแดง โดยมีกำหนดเวลาใช้คืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ 31 ต.ค. 57 31 1 ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดทันที กำหนดเวลาชำระหนี้
๑.๒ กรณีต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทิน • ได้แก่ กรณีที่คู่สัญญากำหนดว่า การชำระหนี้ให้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อน โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าสามารถนับได้โดยปฏิทิน • เช่น แดงยืมเงินดำ โดยตกลงกันว่า ถ้าดำจะเอาเงินคืนเมื่อให้บอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย ๓๐ วัน เพื่อแดงจะได้หาเงินมาคืนดำทัน • ดังนั้น ถ้าครบ ๓๐ วันแล้ว แดงยังไม่ชำระ ถือว่าแดงผิดนัด
-แดงยืมเงินดำ โดยตกลงว่าถ้า ดำจะเอาเงินคืนเมื่อให้บอกกล่าว ล่วงหน้าอย่างน้อย ๓๐ วัน ต่อมา วันที่ ๓๐ กันยายน ดำได้เรียกให้ แดงคืนเงิน โดยขอให้แดงคืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม บอกกล่าวให้ชำระหนี้ หนี้ถึงกำหนด ๓๐ ๑ ๓๑ ๑ ๓๐ ๓๐ วัน แดงเป็นผู้ผิดนัด
กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อนกรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน • ได้แก่ กรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกรณีอื่นที่ไม่ใช่ปีปฏิทิน หรือไม่อาจคำนวณนับได้ตามปีปฎิทิน • เช่น ดำซื้อม้าจากแดง โดยทั้งสองตกลงกันว่าดำจะสร้างคอกม้าก่อน ถ้าสร้างเสร็จเมื่อไหร่ ก็ให้แดงส่งมอบลูกม้า เช่นนี้ กำหนดชำระหนี้หนี้ของแดง ไม่ใช่กำหนดชำระตามปีปฎิทิน กล่าวคือ ไม่รู้ว่าดำจะสร้างคอกม้าเสร็จเมื่อใด เช่นนี้
ดำเตือนแดงว่าสร้างคอกม้าดำเตือนแดงว่าสร้างคอกม้า เสร็จแล้ว ให้ส่งมาให้ภายใน ๑๕ วัน วันที่ ๑๖แดง ได้ชื่อว่าผิดนัด ดำสร้างคอกม้าเสร็จ ๑ ๑๕
ประเด็นอื่นที่ต้องพิจารณาร่วมกับการผิดนัดประเด็นอื่นที่ต้องพิจารณาร่วมกับการผิดนัด • การพิจารณาว่ามีการผิดนัด หรือผิดสัญญาหรือไม่ นอกจากจะต้องพิจารณาเรื่องกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ยังจะต้องพิจารณาประเด็นอื่นๆ ประกอบอีกด้วย ดังนี้ • สถานที่ชำระหนี้ • ทรัพย์ที่ชำระหนี้ • บุคคลผู้ชำระหนี้ และรับชำระหนี้ • กล่าวคือ แม้ลูกหนี้จะชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลา แต่ถ้าการชำระหนี้นั้นไม่ถูกต้องทั้ง ๓ เรื่อง ก็ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด หรือผิดสัญญาเช่นเดียวกัน • เช่น ดำ ยืมเงินแดง โดยมีกำหนดเวลาใช้คืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ถ้าวันดังกล่าวดำนำเงินมาคืนดำจริง แต่จำนวนไม่ครบตามที่สัญญา ก็ถือว่าดำผิดนัด หรือผิดสัญญาเช่นเดียวกัน
สถานที่ชำระหนี้ • คู่สัญญาต้องชำระหนี้ให้ตรงสถานที่อันเป็นสถานที่ชำระหนี้ ถ้าชำระหนี้ผิดสถานที่ เรียกว่าผิดสัญญาเช่นเดียวกัน • สถานที่ชำระหนี้ใดแก่ที่ใด • กรณีที่สัญญากำหนดสถานที่ชำระหนี้ได้แก่ ที่ใดได้แก่ สถานที่นั้น • กรณีที่สัญญาไม่ได้กำหนดสถานที่ สถานที่ชำระหนี้ได้แก่ • ถ้าสิ่งที่ชำระเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง(รู้ว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใด ตั้งแต่ขณะทำสัญญา) สถานที่ส่งมอบได้แก่ สถานที่ที่ทรัพย์ได้ อยู่ ในขณะที่ก่อหนี้ • ถ้าสิ่งที่ชำระเป็นอย่างอื่น(เช่น เงิน หรือยังไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใดในขณะทำสัญญา) สถานที่ชำระหนี้ได้แก่ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้
ทรัพย์ที่ชำระหนี้ • สัญญาบางประเภทการชำระหนี้ได้แก่ การส่งมอบตัวทรัพย์ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ • ดังนั้นการชำระหนี้ก็จะต้องชำระหนี้ด้วยทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา • บุคคลผู้ชำระหนี้ และรับชำระหนี้ • บุคคลผู้ชำระหนี้ • ถ้าเป็นหนี้ที่คู่สัญญาต้องทำเองเฉพาะตัว จะให้คนอื่นชำระไม่ได้ เช่น จ้างมาร้องเพลง ผู้ชำระหนี้ต้องเป็นตัวลูกหนี้ • ถ้าเป็นหนี้ที่คู่สัญญาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้กระทำเอง เช่น สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ชำระหนี้จะเป็นผู้อื่นก็ได้ • ผู้รับชำระหนี้ • ต้องเป็นคู่สัญญา หรือผู้รับมอบอำนาจแทนคู่สัญญา เช่น การชำระหนี้เงินกู้ยืม ก็ต้องชำระแก่ธนาคาร หรือพนักงานธนาคาร
ความระงับแห่งสัญญา -คู่สัญญาตาย -วัตถุแห่งหนี้สูญหาย/ถูกทำลาย ทั้งหมด นิติเหตุ เหตุที่ ทำให้ สัญญา ระงับ การแสดงเจตนา ฝ่ายเดียว(บอกเลิกสัญญา) นิติกรรม (การแสดงเจตนา) การแสดงเจตนา 2 ฝ่าย(ตกลงเลิกสัญญา)
เหตุเพราะความผิด โดยข้อสัญญา เหตุที่ไม่ใช่ความผิด โดยการบอกเลิกสัญญา เหตุเพราะความผิด โดยข้อกฎหมาย เหตุที่ไม่ใช่ความผิด โดยการตกลงเลิกสัญญา
เหตุทีทำสัญญาระงับ แบ่งได้ ๒ เหตุ • ระงับโดยนิติเหตุ • ระงับโดยนิติกรรม • ระงับโดยนิติเหตุ • ได้แก่ ระงับด้วยเหตุต่างๆ อันมิใช่โดยนิติกรรม หรือ ระงับด้วยเหตุต่างๆที่กฎหมายกำหนด
นิติเหตุที่ทำให้สัญญาระงับ เช่น • ความมรณะของคู่สัญญา • เฉพาะสัญญาที่ให้ความสำคัญกับลักษณะของคู่สัญญา เช่น ลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน หรือ ผู้เช่าในสัญญาเช่าถึงแก่ความตาย • ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหาย หรือถูกทำลาย • สัญญาที่มีวัตถุประสงค์โอนการครอบครอง เช่น สัญญาเช่าถ้าทรัพย์สินที่เช่าสูญหาย หรือบุบสลายทั้งหมด
ระงับโดยนิติกรรม • ได้แก่ ระงับได้ด้วยการแสดงเจตนาของคู่สัญญา (นิติกรรมระงับสิทธิ) • ระงับด้วยการแสดงเจตนาสองฝ่าย (ตกลงเลิกสัญญา) • ระงับด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว (บอกเลิกสัญญา)
ระงับด้วยการแสดงเจตนาสองฝ่ายระงับด้วยการแสดงเจตนาสองฝ่าย • การแสดงเจตนาสองฝ่าย ได้แก่ การตกลงเลิกสัญญา • การตกลงเลิกสัญญาอาจทำได้ตั้งแต่ขณะเข้าทำสัญญาได้ เช่น • นาย ก. เช่าบ้าน นาย ข. มีกำหนดเวลา ๑ ปี เช่นนี้ ถือว่า นาย ก. และ นาย ข. ได้ตกลงว่าเมื่อครบ ๑ ปี สัญญาระหว่างเขาทั้งสองจะสิ้นสุดลง • การตกลงเลิกสัญญาอาจทำได้ภายหลังจากทำสัญญาก็ได้ • นาย ก. เช่าบ้าน นาย ข. มีกำหนดเวลา ๑๐ ปี ต่อมาหลักจากเช่าได้ ๓ ปี นาย ก. ได้ขอเลิกสัญญา ด้วยเหตุผลว่าที่ทำงานได้ให้นาย ก. ไปทำงานที่ต่างประเทศ ข. เข้าใจว่านาย ก. มีความจำเป็น จึงตกลงเลิกสัญญาเช่ากับนาย ก.
ระงับด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวระงับด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว • การแสดงเจตนาฝ่ายเดียว ได้แก่ การแสดงเจตนาโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ต้องการให้สัญญาระงับลง หรือที่เรียกว่า การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว หรือ การขอเลิกสัญญา • การบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะกระทำได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ เท่านั้น • มีข้อสัญญาให้บอกเลิกโดยฝ่ายเดียวได้ • มีข้อกฎหมายให้บอกเลิกโดยฝ่ายเดียวได้ • ถ้าไม่มีข้อสัญญา หรือข้อกฎหมาย ระบุให้บอกเลิกสัญญาโดยฝ่ายเดียวได้ ก็ไม่สามารถจะเลิกสัญญาโดยการแสดงเจตนาโดยคู่สัญญาฝ่ายเดียวเพียงลำพังได้
เหตุในการบอกเลิกสัญญาเพราะคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ใช่ สาระสำคัญของสัญญา ม.387 คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ไม่ชำระหนี้ กำหนดเวลาชำระหนี้เป็น สาระสำคัญของสัญญา ม.388
กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา ม.387 มาตรา 387 “ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้”
วิธีการบอกเลิกสัญญา • เจ้าหนี้ต้องแสดงเจตนาโดยการบอกกล่าวไปยัง ลูกหนี้ก่อน โดยให้ระยะเวลาอันสมควร ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ • ถ้าเจ้าหนี้ไม่บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน หรือกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่เพียงพอ(สมควร) จะถือว่าการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้สัญญาเลิกโดยการบอกเลิกโดยฝ่ายเดียว แต่สัญญาอาจเลิกโดยการตกลงของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย (สมัครใจเลิกสัญญา)
บอกกล่าว บอกเลิกสัญญา ผิดนัด เพื่อให้โอกาสใน การหนี้มาชำระ
ตัวอย่าง • ดำทำสัญญาซื้อรถแดง ๑ แสนบาท ผ่อนชำระราคางวดละ ๑ หมื่นบาท ชำระทุกสิ้นเดือน จนกว่าจะหมด เช่นนี้ ถ้าดำผิดสัญญาไม่ชำระงวดเดือนตุลาคม • ถ้าแดงจะบอกเลิกสัญญากับดำ แดงจะต้องเดือนให้ดำชำระงวดเดือนตุลาคม โดยให้เวลาพอสมควร ถ้าครบกำหนดแล้ว ดำยังไม่ชำระอีก แดงจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ๕ พ.ย. บอกกล่าวให้ชำระ ค่างวดภายในวันที่ ๑๐ พ.ย ๓๑ ต.ค. หนี้ถึงกำหนด ๑๐ พ.ย. ถ้ายังไม่ชำระ ตั้งแต่ ๑๑ พ.ย. บอกเลิกสัญญาได้
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญของสัญญา ม.388 มาตรา 388 “ ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดก็ดี หรือภายในระยะเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ก็ดีและกำหนดเวลาหรือระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ มิพักต้องบอกกล่าวดั่งว่าไว้ในมาตราก่อนนั้นเลย”
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ อาจเกิดจาก • 1. วัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญา จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนด • แดงเช่าชุดครุยจากร้านให้เช่าชุดครุย โดยแดงมีกำหนดใช้ชุดครุย วันที่ ๒๐ มกราคม เช่นนี้ แดงควรจะได้ชุดครุยอย่างช้า วันที่ ๑๙ มกราคม ดังนั้น ถ้าวันที่ ๑๙ มกราคม แดงยังไม่ได้ชุดครุย แดงสามารถบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องเตือนให้ร้านให้เช่าชุด ส่งมอบชุดครุยให้ตนอีก • 2. สภาพแห่งสัญญา จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนด • การโดยสารเครื่องบิน รถบัส รถไฟ เป็นต้น • 3. เจตนาของคู่สัญญาจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนด
วิธีการบอกเลิกสัญญาตาม ม.388 • ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ (ผิดนัด) เจ้าหนี้สามารถบอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ได้โดยทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อน ถึงกำหนดชำระหนี้ บอกเลิกสัญญา
ผลของการเลิกสัญญา เลิกฝ่ายเดียว(บอก เลิกสัญญา) ผลของการเลิกสัญญาฝ่ายเดียว เลิกสัญญาทั้งสองฝ่าย (ตกลงเลิกสัญญา) ผลของการเลิกสัญญา 2 ฝ่าย
ผลของการบอกเลิกสัญญา ม.391 • เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ตามข้อสัญญา หรือข้อกฎหมาย จะมีผลดังต่อไปนี้ • 1. คู่สัญญาแต่ละฝ่าย ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่สถานะเดิมก่อนเข้าทำสัญญา ตาม ม.391 ว.1 • สิ่งใดซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับไว้ เพราะคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ให้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องคืนให้จงสิ้น • ถ้าสิงที่จะต้องคืนเป็นเงิน ให้บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วย ตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
ถ้าสิ่งที่ต้องคืนเป็นการงานอันได้กระทำ ให้คืนด้วยการใช้เงิน ตามควรค่าแห่งการนั้นๆ • ถ้าสิงที่ต้องคืนเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ ให้คืนด้วยการใช้เงิน ตามควรค่าแห่งการนั้นๆ • 2. การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไม่กระทบถึง สิทธิในการเรียกค่าเสียหาย ริบมัดจำ เรียกเอาเบี้ยปรับ
ตัวอย่างที่ 1. • ก. ทำสัญญาขายที่ดินให้แก่ ข. จำนวน 3 แสนบาท ซึ่ง ข. ได้ชำระราคาให้แก่ ก. ในวันทำสัญญา 1 แสนบาทโดย ก. จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ข. ภายใน 15 วัน หากผิดนัด จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ข. วันละ 1,000 บาท จนกว่าจะทำการโอน ครั้นถึงกำหนด ข. พร้อมจะชำระราคาให้แก่ ก. แต่ ก. ผิดนัด เช่นนี้ ถ้า ข. บอกเลิกสัญญากับ ก. จะมีผลอย่างไร • ข. จะเรียกราคาคืนจาก ก. ได้หรือไม่ เท่าใด • ข. จะเรียกเบี้ยปรับจาก ก. ได้หรือไม่
ตัวอย่างที่ 2. • ก. ทำสัญญาขายที่ดินให้แก่ ข. จำนวน 3 แสนบาท โดย ข. ตกลงวางมัดจำให้แก่ ก. ในวันทำสัญญาจำนวน 50,000 บาท โดย ข. แบ่งชำระราคาออกเป็นงวดๆ งวดละ 1 แสนบาท โดยมีข้อตกลงให้นำมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน และ ก. จะจัดการโอนที่ดินให้แก่ ข. ภายใน 15 วันนับแต่ได้ราคาครบถ้วน ซึ่ง ข. ได้ส่งมอบมัดจำให้แก่ ก. ในวันทำสัญญาจำนวน -30,000 บาท • ภายหลังจากทำสัญญา ข. ได้ชำระราคาให้แก่ ก. งวดแรก จำนวน 1.2 แสนบาท (ราคาที่ดิน 1 แสนบาท และ มัดจำส่วนที่เหลือจำนวน 2 หมื่นบาท) ส่วนงวดที่ 2 และ 3 ข. ผิดนัด ก. จึงบอกเลิกสัญญากับ ข. เช่นนี้ • ก. มีสิทธิอย่างไร บ้าง ?
ตัวอย่าง 3. • ก. ทำสัญญาขายรถยนต์คันหนึ่งให้แก่ ข. ราคา 2 แสนบาท โดย ข. ชำระราคาให้แก่ ก. จนเสร็จสิ้นแล้ว และ ก. ได้ส่งมอบรถให้แก่ ข. แล้วเช่นกัน โดยตกลงจะไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองรถ อีก 10 วันถัดไป ครั้นถึงกำหนด ก. บ่ายเบี่ยงที่จะไปดำเนินการให้ ข. จึงบอกเลิกสัญญากับ ก. เช่นนี้ จะเกิดผลในทางกฎหมายอย่างไร
ตัวอย่างที่ 4. • ก. ตกลงรับจ้างสร้างบ้านให้แก่ ข. มูลค่า 7 แสนบาท โดยมีกำหนดเวลาก่อนสร้าง 5 เดือน โดยผู้รับจ้างจะเป็นผู้จัดหาสัมภาระทั้งหมด ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ก. ก่อสร้างได้เพียง 30 % คิดทั้งสัมภาระ และค่าแรงเป็นเงิน 2 แสนบาท ข. จึงบอกเลิกสัญญากับ ก. เช่นนี้ • ก. และ ข. จะมีสิทธิหน้าที่ต่อกันอย่างไรบ้าง
ผลของการตกลงเลิกสัญญาทั้งสองฝ่ายผลของการตกลงเลิกสัญญาทั้งสองฝ่าย • การตกลงเลิกสัญญา เกิดจากการแสดงเจตนาทั้งสองฝ่าย มีลักษณะเป็นการทำนิติกรรมระงับซึ่งสิทธิ ตาม ป.พ.พ. ม. 149 • การตกลงเลิกสัญญาจะมีผลทำให้สิทธิหน้าที่ ความรับผิดอันเกิดจากสัญญาระงับสิ้นลง อาทิเช่น สิทธิในการเรียกค่าเสียหาย สิทธิในการริบมัดจำ เบี้ยปรับ • ยกเว้นแต่ จะมีการตกลง หรือสงวนสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย มัดจำ เบี้ยปรับ ไว้ขณะที่มีการตกลงเลิกสัญญา • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนเข้าทำสัญญา • สิ่งใดซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับไว้ เพราะคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ให้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องคืนให้จงสิ้น
สรุป • การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ หรือผิดสัญญา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิ ดังต่อไปนี้ • เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ • เรียกค่าเสียหาย • ริบมัดจำ • ริบเบี้ยปรับ • บอกเลิกสัญญา End