220 likes | 464 Views
การ จัดทำแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล เสนอ อาจารย์ จงใจ วิ โย จัดทำโดย น.ส. ขวัญฤทัย บัวเขียว น.ส. กรกนก เมืองขวา น.ส. นฤ มล ชนะเคน น.ส. กมลชนก เขตขงขวาง
E N D
การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เสนอ อาจารย์ จงใจ วิโย จัดทำโดย น.ส. ขวัญฤทัย บัวเขียว น.ส. กรกนก เมืองขวา น.ส. นฤมล ชนะเคน น.ส. กมลชนก เขตขงขวาง น.ส.ชนากานต์ นิวงษา น.ส. ทัศน์วรรณ มัยวงศ์ น.ส. ปาริฉัตร มีทองแสน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 1
การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล • การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หมายถึง แผนซึ่งกำหยดแนวทางการจักการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลพิการแต่ละบุคคล ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้เป็นเฉพาะบุคคล
วัตถุประสงค์ในการใช้ IEP • 1. IEPเป็นแผนที่เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ IEPหรือที่ประชุมเด็กเฉพาะกรณีใน IEPจะมีข้อมูลในการจักเด็กเข้ารับบริการการศึกษาและบริการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ2. IEPเป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนทั้งหมด ฉะนั้น IEPในแง่ที่เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินผลและวิธีการสอน
การจัดทำ IEP 1. การศึกษาที่จักให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความบกพร่องแต่ละคนนั้นเหมาะสมกับความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ของเด็ก2. เมื่อมีการกำหนดการให้บริการทางการศึกษาพิเศษใน IEP แล้วนั้น ได้มีการให้บริการดังกล่าวจริง3. มีการกำหนดการควบคุมติดตามผลการให้บริการขั้นตอนของกระบวนการตรวจสอบและการสอนตาม IEPแผนการจักการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP ) กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนตาม IEP
กระบวนการสอนตาม IEP แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้ 1. ขั้นส่งต่อแบ่งออกเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้ขั้นที่ 1 กิจกรรมก่อนการส่งต่อกิจกรรมก่อนการส่งต่อ คือ มาตรการการให้ความช่วยเหลือในระยะเริ่มต้นของปัญหาที่ครูปกติใช้ เมื่อพบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาหรือความบกพร่องอยู่ในชั้นเรียนของตน โดยครูใช้วิธีการง่ายๆที่ใช้อยู่ในชั้นเรียนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักเรียน และด้วยความช่วยเหลือจากบุคคลเหล่านี้ ได้แก่ ครูการศึกษาพิเศษ ศึกษานิเทศก์ หรือผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ ครูจะทำการวิเคราะห์ปัญหาวิชาการและพฤติกรรมของนักเรียน และจะร่วมปรึกษาหาหรือในการช่วยเหลือนักเรียนด้วยวิธีต่าง ๆ
รูปแบบการให้ความช่วยเหลือในระยะเริ่มต้นของปัญหา 2 รูปแบบ • รูปแบบให้คำแนะนำในระบบโรงเรียน ครูผู้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำจะตอบสนองคำขอของครูปกติ โดยมีการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้ 1.ครูปกติผู้ที่จะส่งต่อนักเรียน ขอคำแนะนำเกี่ยวกับนักเรียน 2.ครูผู้ให้คำแนะนำหาวิธีการให้ความช่วยเหลือนักเรียนนักเรียนที่เป็นไปได้โดยร่วมมือกับครูปกติ 3.ครูปกติผู้ที่จะส่งต่อนักเรียน นำข้อเสนอไปใช้ปฏิบัติในชั้นเรียน และประเมินผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ 4.หากจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเพิ่มเติม ครูผู้ให้คำแนะนำสังเกตนักเรียนในชั้นเรียนแล้วจึงประชุมหาหรือกับครูปกติ 5.หากนักเรียนยังคงมีปัญหาอยู่ จะมีการส่งต่อนักเรียนอย่างเป็นทางการเพื่อนประเมินว่านักเรียนมีความต้องการการศึกษาพิเศษหรือไม่
รูปแบบการให้คณะครูช่วย เป็นรูปที่ให้ครูปกติในโรงเรียน 2-3 คนกับครูปกติผู้ที่จะส่งต่อนักเรียน ประชุมร่วมกันเพื่อระดมสมองและช่วยครูผู้ที่จะส่งต่อนักเรียนจัดทำแผนเพื่อช่วยปรับปรุงการปฏิบัติงานของนักเรียนในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบนี้จะช่วยลดจำนวนนักเรียนที่มีความบกพร่องหรือพิการที่จำเป็นต้องส่งต่อลงไปมาก และนอกจากนี้ ประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มเติม คือ ครูร่วมมือทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของชั้นเรียน
ขั้นที่ 2 การส่งต่อและการวางแผนในระยะเริ่มต้น(Referral and Initial Planning) • การส่งต้องนักเรียนในระยะเริ่มต้นเพื่อไปรับการประเมิน อาจผ่านมาได้จากหลายทาง ได้แก่จากพ่อแม่ ครู นักอาชีพอื่นๆ ผู้ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับนักเรียน หรือนักเรียนอาจส่งต่อตนเองก็ได้ บุคคลกรของโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่ติดตามการส่งต่อนั้น ต้องมีการแจ้งให้พ่อแม่ทราบว่าทางโรงเรียนค้นพบ อะไรเกี่ยวกับนักเรียน และทางโรงเรียนจะต้องวางแผนให้มีการประเมินนักเรียน และนอกจากนี้ จะต้องมีการตักสินใจว่าต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีก และใครจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้
ขั้นตรวจสอบ • ขั้นตรวจสอบนี้เป็นส่วนสำคัญยิ่งของกระบวนการสอนตาม IEP ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจักทำและการเรียน IEP
ขั้นที่ 3 การประเมินโดยคณะสหวิทยาการ (Multidisciplinary Assessment) การทดสอบต้องกระทำโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ คณะผู้ตรวจสอบจะต้องรวมเอาครูการศึกษาพิเศษเป็นหนึ่งในคณะผู้ตรวจสอบด้วย หากนักเรียนใช้ภาษาพูดเป็นภาษาถิ่น การทดสอบก็ควรจะดำเนินการโดยใช้ภาษาถิ่นที่นักเรียนใช้ แบบทดสอบและสื่อที่ใช้ในการทดสอบต้องเที่ยงตรง มีค่าความเชื่อมั่นในระดับสูง และนอกจากนี้ยังทดสอบความต้องการทางการศึกษาของเด็กเฉพาะเรื่องได้ โดยไม่มีแต่ตัวเลขแสดงระดับเชาว์ปัญญา (IQ) เท่านั้น หากแบบทดสอบนั้นๆ ใช้เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทางการเห็น หรือที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับการใช้มือหรือทักษะทางการพูด ผลที่ได้จากการทดสอบจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถจริงหรือระดับผลสัมฤทธิ์ของเด็กจริง ๆ ที่แบบทดสอบนั้นประเมิน
ขั้นที่ 4 การประชุมเด็กเฉพาะกรณี หรือการประชุมเพื่อเขียน IEP(Case Conference or IEP Meeting the IEP) • หลังจากที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลโดยคณะสหวิทยาการแล้ว จะมีการติดต่อพ่อแม่เพื่อประชุมร่วมกัน และที่ประชุมจะร่วมกันเขียน IEP โดยที่ประชุมจะต้องประกอบไปด้วยบุคคลเหล่านี้อย่างน้อย • ผู้แทนจากโรงเรียนปกติ ซึ่งไม่ใช่ครูของนักเรียน และ เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิและมีความรู้ ความสามารถในสาขาความบกพร่องที่ตรงกับความบกพร่องของนักเรียน โดยทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศหรือให้บริการศึกษาพิเศษ • ครูของนักเรียน จะพิจารณาว่าเป็นใครนั้น อาจพิจารณาได้หลายประเด็น เช่น การที่นักเรียนได้รับการศึกษาพิเศษจาก “ครู” ครูคนนี้ก็อาจเป็น “ครูการศึกษาพิเศษ” หรือ หากนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการพูด “ครู” ของนักเรียนก็อาจเป็นครูปกติ หรือครูการศึกษาพิเศษที่ให้บริการสอนเสริมหรือตัวแทนครูปกติหลายๆ คนที่สอนเด็กคนเดียวกัน
ตัวนักเรียนเอง ในหลายกรณีเด็กนักเรียนเองสามารถเข้าร่วมประชุม IEP และออก ความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาที่เขาต้องการ ฉะนั้นอาจให้นักเรียนเข้าร่วมประชุมด้วยหากเป็นไปได้ • พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วม เพราะพ่อแม่เป็นศูนย์กลางในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาของลูกของเขาต้องมีการเชิญให้พ่อแม่มาร่วมประชุมหากพ่อแม่ไม่สามารถมาได้ทั้งสองคน ก็ควรจะมีคนใดคนหนึ่งมาร่วมประชุม และหากไม่สามารถมาได้เลยทั้งสองคน ทางโรงเรียนจะต้องมีวิธีให้พ่อแม่มีส่วนร่วมโดยอาจเชิญพ่อแม่มาพบเป็นเฉพาะบุคคล หรืออาจใช้การปรึกษาหารือทางโทรศัพท์หรือจดหมาย นอกจากนี้จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจตั้งแต่ในขั้นตอนการส่งต่อ
เนื้อหาสาระของ IEP ควรประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระดังนี้ 1.ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับนักเรียน ได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ ประเภทของความบกพร่อง เป็นต้น 2. ผู้ร่วมชุมเขียน IEPระยะเวลาซึ่งระบุวัน เดือน ปีที่ประชุม IEP วันเริ่มต้นให้บริการและวันสิ้นสุดการให้บริการ 3. ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานในปัจจุบันในด้านต่างๆ เช่น ด้านการพูด และภาษา คณิตศาสตร์ การเขียน การสังคม ทักษะการเคลื่อนไหว พฤติกรรมการรับรู้ การช่วยเหลือตนเอง 4. เป้าหมายระยะยาวหนึ่งปี โดยทั่วไปจะต้องกำหนดไว้ว่า เมื่อครบหนึ่งปีแล้วนักเรียนจะเรียนรู้หรือแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมทางสังคม อารมณ์ เป็นต้น
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์ระยะสั้น เป็นสิ่งที่ครูนำไปใช้กำหนดเขียนแผนการสอนเฉพาะบุคคล ซึ่งสามารถจัดทำแผนประจำหรือประจำสัปดาห์ก็ได้ โดยมีเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับวิธีสอน สื่อ การประเมินจุดประสงค์ 6.กระบวนการประเมิน จะต้องมีการกำหนดให้มีการประเมินเป้าหมายระยะยาวหนึ่งปีว่าจะกระทำเมื่อใด คือต้องระบุว่าอย่างน้อยจะประเมินปีละครั้ง 7.บริการเกี่ยวข้องอื่นๆ จะระบุบริการเกี่ยวข้องที่นักเรียนที่มีความบกพร่องจำเป็นต้องได้รับ เช่น การสอนเสริมทักษะ การทำความรู้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว 8. ความเห็นชอบจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง เมื่อเขียน IEP เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะส่งนักเรียนเข้ารับบริการและการบริการจะเริ่มได้นั้นพ่อแม่จะต้องเห็นด้วยกับ IEP นี้เป็นรายลักษณ์อักษร • แผนการจัดการศึกษา/การฝึกอาชีพ จะระบุบริการศึกษาที่จำเป็นต้องจัดให้กับนักเรียน โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องจะเข้าร่วมในโรงเรียนหรือชั้นเรียนปกติเป็นเวลานานเท่าไรในแต่ละวันและแต่ละสัปดาห์
ขั้นเรียนการสอน จะเกิดขึ้นหลังจากได้เขียน IEP เสร็จสมบูรณ์แล้ว ในขั้นนี้จะประกอบด้วยการสอนและการติดตามความก้าวหน้าของเด็ก ดังนี้ ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามแผนการสอน (Implementation of the Teaching Plan) • ในขั้นนี้ นักเรียนจะได้รับการจัดให้เข้าเรียนตามที่ตกลงกันไว้ IEP และจะได้รับการสอนตามแผนการสอนเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นแผนการสอนที่จัดขึ้นเฉพาะเจาะจงสำหรับนักเรียนคนนั้น
ขั้นที่ 6 การติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน(Monitoring the Studnts Progress) • ในหลักการ ได้มีการกำหนดให้มีการทบทวน IEP อย่างน้อยปีละครั้ง ในปัจจุบันได้มีการเสนอแนะให้ทบทวนอย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง และมีการประเมินแผนในลักษณะคิดตามความก้าวหน้าของนักเรียนใน IEP เป็นระยะๆ
ประโยชน์ของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลประโยชน์ของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 1. ครู ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้บุคคลที่มีความบกพร่องตระหนักและมีความรับผิดชอบ ต่อผลของการจัดการศึกษาที่มีต่อบุคคลเหล่านี้ 2. ครู ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและทราบว่าบุคคลที่มีความบกพร่องต้องการ การศึกษาเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการพอเศษ ครูจึงมีหน้าที่ ที่จะต้องเตรียมพร้อมที่จะสอน
3.พ่อแม่ มีส่วนร่วมในการสอน IEP สำหรับลูกของเราและได้รับทราบโดยตลอดตั้งแต่ต้นว่าทางโรงเรียนจะจัดการศึกษา และบริการที่เกี่ยวข้องให้กับลูกของตนอย่าไร และ แค่ไหน และทางพ่อแม่จะรับรู้ถึงสิทธิที่จะขอรับทราบข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับลูกของตนทุกระยะ นอกจากนี้พ่อแม่ยังสามารถให้การสนับสนุนให้กับทางโรงเรียนในการช่วยให้ทางโรงเรียนบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ 4.IEP รับประกันการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพให้กับนักเรียน ไม่ใช่จัดให้นักเรียนเข้าเรียนโดยทางครูและโรงเรียนไม่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบในการติดตามความก้าวหน้า และนอกจากนี้จะต้องนำเสนอผลการประเมินต่อ พ่อ แม่ด้วย 5.IEP ช่วยให้ทางโรงเรียนจัดหารหรือจัดบริการเสริมที่นักเรียนจำเป็นต้องได้รับ เพื่อช่วยให้การฟื้นฟูสมรรถภาพในการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง หรือมีความต้องการพิเศษ หรือ ประสิทธิภาพ มีผลต่อการพัฒนาทุกด้านของนักเรียน
สรุป • ในการจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลนั้น โดยทั่วไปจะจัดให้กับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปเด็กเหล่านี้จะเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษา อย่างไรก็ตาม นักการศึกษายังมีความเห็นว่า สำหรับการจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลให้กับเด็กอายุ 0-2 ปี ควรจะจัดทำแผนเฉพาะครอบครัว โดยให้ความสำคัญต่อสิทธิของครอบครัวที่จะต้องได้รับความคุ้มครอง ช่วยเหลือตามกระบวนการทางกฎหมาย กล่าวคือ
1.มีสิทธิต่อข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กทั้งหมดที่หน่วยงานจัดหาและเก็บรวบรวมได้ซึ่ง จะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการประเมินเพื่อบุ่งชี้ความบกพร่อง หรือความต้องการพิเศษของเด็ก การประเมินผลและการติดตามความก้าวหน้าของพัฒนาการของเด็กและจัดการให้เด็กเข้ารับบริการเพิ่มเติมและบริการทางการศึกษา 2.ได้รับการแจ้งล่วงหน้า อาจจะมีการริเริ่มหรือการเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่เกี่ยวกับการประเมินเพื่อรับบริการการเข้าเรียน ในการแจ้งล่วงหน้านี้ต้องมีคำอธิบายทางเลือกอื่นๆที่ทางโรงเรียนไม่ได้เลือกใช้กับเด็ก และจะต้องอธิบายถึกการใช้ข้อมูลจัดการประเมิน สิ่งที่สำคัญยิ่งคือ คำอธิบายต่างๆเหล่านี้ต้องจัดทำให้พ่อแม่เกิดความเข้าใจ เช่น อาจจำเป็นต้องมีการอธิบายเป็นภาษาท้องถิ่นในการสื่อความเข้าใจกับพ่อแม่
3.ได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ก่อนที่จะประเมินเด็กเพื่อจัดเข้ารับบริการ หรือเข้ารับการศึกษาพิเศษ 4.จัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็น หมายถึง การประชุมเพื่อทำความตกลงในข้อที่ขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องของความประเมินเพื่อบ่งชี้ การประเมินติดตามความก้าวหน้า การจัดให้เข้ารับการบริการ หรือ เข้าเรียนทางการศึกษา 5.หากพ่อแม่ไม่พอใจกับผลประเมิน โดยหน่อยงานของรัฐหรือโรงเรียน และต้องการให้มีการประเมินใหม่ ก็อาจขอร้องให้มีการประเมินจากองค์การ หรือ หน่วยงานอิสระได้ รัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย นอกจากสิทธิของพ่อแม่ตามกระบวนการตามกฎหมายแล้ว IFSP ยังให้ความสำคัญต่อการรักษาข้อมูลของเด็กและครอบครัวเป็นความลับ และอาจจะมีการให้ข้อมูลแก่บุคคลอื่นหรือหน่วยงานใด จะต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่เสียก่อน รวมทั้งต้องมีการระบุใน IFSP เกี่ยวกับการจัดให้เด็กเข้ารับบริการในหน่วยงานใดและสิ่งแวดล้อมของสถานะนั้นๆ