900 likes | 1.03k Views
ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา : การปฏิรูปอะไร ? และอย่างไร ?. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย. ทศวรรษที่หนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา (20 ส.ค. 42 – 19 ส.ค. 52) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
E N D
ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา : การปฏิรูปอะไร? และอย่างไร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ทศวรรษที่หนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา(20 ส.ค. 42 – 19 ส.ค. 52) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 วันที่ 19 สิงหาคม 2542
หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝัง จิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและ วัฒนธรรมของชาติ
รวมทั้งในการจัด การศึกษาของรัฐให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ตามที่กฎหมายบัญญัติและให้ความ คุ้มครองการจัดการศึกษาอบรมของ องค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐ ดังนั้น จึงสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติ เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและจัดการการศึกษา อบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ความเป็นมาโดยสรุป การศึกษาไทยในอดีต เน้นให้ความสำคัญกับการท่องจำ ไม่ได้ ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล การวัดและประเมินผลก็มุ่งเน้นตัว ความรู้ความจำมากกว่าความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ จึงทำให้ผู้เรียน ไม่ค่อยมีความสุข ค่อนข้างเครียด วิตกกังวลสูง ไม่มีทักษะในการประยุกต์ เอาความรู้ไปใช้แก้ปัญหา ตลอดจนไม่ค่อยมีเวลาคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย พบว่ามีคุณภาพด้อยกว่า เพื่อนบ้านมาก ในปี พ.ศ. 2517- 2519 วงการศึกษาไทยพยายามเรียกร้องให้ ปฏิรูปการศึกษา แต่ก็ต้องชะงักลงเมื่อเกิดความรุนแรงทางการเมือง เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
ในปี พ.ศ. 2540 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ฉบับ ปัจจุบัน) การพยายามปฏิรูปการศึกษาจึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งจากความร่วมมือ อย่างจริงจังระหว่างสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) กับสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) สายการศึกษาและครั้งนี้ถือว่าประสบความ สำเร็จอย่างดียิ่ง เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาไว้ หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 เรื่องที่สำคัญ ๆ คือ ความเสมอภาคใน การรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี (มาตรา 43) โดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่าย และการกำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติเพื่อปรับปรุง การศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม (มาตรา 81) อันเป็นที่มาของ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” นั่นเอง
เงื่อนไขการปฏิรูปการศึกษาเงื่อนไขการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา หมวด 3 ระบบการศึกษา หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการจัดการศึกษาของเอกชน หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพ หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา หมวดที่ 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 – 2559) วิเคราะห์สภาพสังคมไทย ระเบียบใหม่ของโลกได้สร้างความรุนแรงในการแข่งขันขึ้น ความจำเป็น ที่จะต้องเสริมสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็งให้กับประเทศเพื่อความสามารถในการ ปรับตัว รู้เท่าทันไม่ให้ตกอยู่ในฐานะผู้เสียเปรียบทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง นำไปสู่ความขัดแย้งในสังคม อย่างมากยิ่งขึ้น คุณภาพการศึกษาของประชากรไทยโดยเฉลี่ยต่ำลง และมีมาตรฐานค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในระดับเดียวกัน การศึกษาขาดเอกภาพด้านนโยบาย สังคมตกอยู่ในกระแสบริโภคนิยม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ศิลปะไทยที่ทรงคุณค่า สถาบันศาสนาซึ่งเคยเป็นพลังสำคัญและเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกอบรมของกุลบุตรกุลธิดาของศาสนิกชน ได้รับการยอมรับในฐานะที่พึ่งทางใจ น้อยลง การดำเนินกิจกรรมทางศาสนายังคงเน้นพิธีกรรมมากกว่าเน้นด้าน หลักธรรม
การพัฒนาสังคมไทยโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างมุ่งเน้นไปที่อัตราการเติบโตแต่เพียงอย่างเดียวบนฐานโครงสร้างทาง สังคมที่อ่อนแอ ไม่เป็นธรรม และต้องพึ่งพิงต่างประเทศเป็นหลัก ได้แสดงผลให้ประจักษ์ชัดเจนแล้วว่าเป็นทิศทางที่ผิดพลาด จำเป็นต้อง มีการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา ยุทธศาสตร์ และแนวนโยบายใหม่ ภายใต้กรอบทิศทางที่ให้ความสำคัญอย่างทัดเทียมกัน ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ และทุนธรรมชาติ โดยยึดมั่นในวัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบไทยที่มีศาสนธรรมเป็นหลักประจำใจ ให้คงเอกลักษณ์มั่นคงไว้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ของสังคมโลก
สังคมทุกวันนี้และในอนาคตเป็นสังคมฐานความรู้ที่การเรียนรู้ ความรู้ และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา จึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์ เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และขีดความสามารถของคนส่วนใหญ่ ในประเทศที่ยึดทางสายกลางบนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักประมาณ อย่างมีเหตุผล รอบรู้เท่าทันโลก แนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อมุ่งให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของของคนไทย”ยึด “คน”เป็น ศูนย์กลางการพัฒนา
พระบรมราโชวาท “การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติดีและคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษา ที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนล้วนพอเหมาะกันทุกๆ ด้าน สังคมและ บ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญ มั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้โดยตลอด” (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะครู และนักเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลฯ วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2524)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและ มาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกำกับและประสาน ให้สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทาง การศึกษา ให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่ และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง รัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และ ผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของ สภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตาม มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทาง การศึกษาอื่น ทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตาม ที่กฎหมายกำหนด
มาตรา 56 การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนา มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษาระดับปริญญาที่เป็น นิติบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 32 *การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กร หลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา หรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสี่องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการ อาชีวศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็น หรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตาม ที่กฎหมายกำหนด *มาตรา 32 ความเดิมถูกยกเลิกโดยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน
การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษา ในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสม และ ความต้องการภายในท้องถิ่น การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความ เป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ
วิกฤติ และโอกาส ในการรวมพลัง ร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ในอนาคต ผลการปฏิรูปทศวรรษที่หนึ่ง
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ 1) วิกฤติคุณภาพการศึกษา (นักเรียน) 1.1 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดูจากผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และ A-NET ปี พ.ศ.2551 จำนวน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (สถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ 2551) ปรากฏผลดังนี้ กลุ่มสาระ คะแนนเฉลี่ย O-NET คะแนนเฉลี่ย A-NET 1. ภาษาไทย 50.70 50.26 2. สังคมศึกษา 37.76 35.48 3. วิทยาศาสตร์ 34.62 33.94 4. คณิตศาสตร์ 32.49 21.96 5. ภาษาอังกฤษ 30.93 32.52
1.2 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดูจากผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (National Test = NT) ประจำปีการศึกษา 2549 จำนวน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (สมเกียรติ ชอบผล คมชัดลึก 25 เม.ย. 51) ปรากฏผลดังนี้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระ คะแนน NT (เต็ม 40 คะแนน) คะแนน NT (เต็ม 40 คะแนน) 1. ภาษาไทย 17.58 (43.95%)17.10 (42.74%) 2. สังคมศึกษา 16.67 (41.67%) - 3. วิทยาศาสตร์ 15.75 (39.37%)17.27 (43.17%) 4. คณิตศาสตร์ 12.46 (31.15%) 15.55 (38.86%) 5. ภาษาอังกฤษ 12.34 (30.85%) 13.81 (34.51%)
ตาราง จำนวนประชากรจำแนกตามวัยและดัชนีผู้สูงอายุของประเทศไทย ที่มา : ปัทมา ว่าพัฒนาวงศ์ และปราโมทย์ ประสาทกุล “ประชากรไทยในอนาคต”
ตาราง ประชากรวัยเรียนในอนาคต พ.ศ. 2548 - 2583 (ล้านคน) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล Institute for Population and Social Research, Mahidol University
ตารางแสดงจำนวนและร้อยละผลการประเมินโรงเรียนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานของ สมศ. ปีการศึกษา 2549 2) วิกฤติคุณภาพสถานศึกษา
2. ผลการประเมิน สมศ. รอบแรก (พ.ศ. 2544 – 2548) มาตรฐานที่ต้องพัฒนาเร่งด่วน มาตรฐานด้านผู้เรียนได้แก่ 1. ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ 2. ความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 3. ทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง 4. รักการทำงานและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มาตรฐานด้านครู ได้แก่ 1. ความเพียงพอของครู 2. ความสามารถของครูในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานด้านผู้บริหาร ได้แก่ 1. การบริหารวิชาการโดยเฉพาะการมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน และท้องถิ่น 2. มีสื่อการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3. การส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. ผลสัมฤทธิ์ระดับนานาชาติ International Institute for Management Development (IMD) จัดอันดับการศึกษาของไทย พ.ศ.2549 ประเมินความสามารถในการแข่งขัน อยู่อันดับที่ 48 จาก 61 ประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคเดียวกันเหนือกว่า เพียงอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และฟิลิปปินส์ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2549)
ตาราง 1 คะแนนเฉลี่ยวิทยาศาสตร์และตำแหน่งของประเทศใน PISA 2006 (ที่มา : OECD 2006 database)
ตาราง 2 คะแนนเฉลี่ยการอ่านและตำแหน่งของประเทศใน PISA 2006 (ที่มา : OECD 2006 database)
ตาราง 3 คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์และตำแหน่งของประเทศใน PISA 2006 (ที่มา : OECD 2006 database)
4. วิกฤติครู เชิงปริมาณ & เชิงคุณภาพ วิกฤติ หมายถึง อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย วิกฤติครู ที่อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย มี 2 ด้าน 1. วิกฤติด้านปริมาณ 2. วิกฤติด้านคุณภาพ
รายงานจำนวนครูและพนักงานราชการรายงานจำนวนครูและพนักงานราชการ จำแนกตามระดับการศึกษา รวมโรงเรียนทุกประเภท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วิกฤติด้านปริมาณ ตารางเปรียบเทียบการขาดอัตรากำลังจากโครงการเออร์ลี่รีไทร์ และการเกษียณอายุราชการ
จำนวนข้าราชการครูกับช่วงอายุตามปฏิทินจำนวนข้าราชการครูกับช่วงอายุตามปฏิทิน ที่มา จาก น.ส.พ.ไทยรัฐ ฉบับวันอังคารที่ 9 ตุลาคม 2550
ครูและพนักงานราชการที่ไม่ได้สอน และหรือสอนไม่ตรงวิชาเอก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551) มีดังนี้ 5. วิกฤติด้านคุณภาพ (การสอน)
6. วิกฤติการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน 1. เด็กไทยเรียนหนักถึงหนักมาก โดยมีชั่วโมงการเรียนเฉลี่ย ต่อปี ระดับประถมศึกษา 800-1,000 ช.ม. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1,000-1,200 ช.ม. และมัธยมศึกษาตอนปลาย 1,122 ช.ม. ในขณะที่ เด็กฟินแลนด์, เกาหลี และญี่ปุ่น ที่ได้คะแนนการสอบระดับนานาชาติ PISA สูงกว่าเด็กไทยมาก มี ช.ม.เรียนเฉลี่ยต่อปี ระดับประถมศึกษา 680, 828 และ 648 ช.ม. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 595, 565 และ 534 ช.ม. และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 553, 550 และ 466 ช.ม. ตามลำดับ
2. ภาระงานของครู การวิจัยเรื่อง สภาพภาระงานครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่ง สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจากครูทั่วประเทศในช่วงปี 2548* และงานวิจัยอื่นๆ สะท้อนว่าครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภาระการสอนและการปฏิบัติงานธุรการค่อนข้างมาก ใน 1 วัน ครูปฏิบัติงานสอน เฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง และยังต้องปฏิบัติงานธุรการอีกเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง โดยเฉพาะครูระดับประถมศึกษามีชั่วโมงการทำงาน 900 ชั่วโมงต่อปี สูงกว่าครูประถมศึกษาของประเทศส่วนใหญ่ * รองศาสตราจารย์ ดร.อุทัย บุญประเสริฐ และดร.ดิเรก วรรณเศียร. รายงานการวิจัยเรื่องสภาพภาระงานครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2550
6. วิกฤติสถาบันผลิตครู สถาบันผลิตครู ระยะที่ 1 พ.ศ. 2435 – 2496 1. โรงเรียนฝึกหัดครูแบ่งเป็นระดับการศึกษา อาทิ โรงเรียน ฝึกหัดครูมัธยม (ป.ม.) โรงเรียนฝึกหัดครูประถม (ป.ป.) โรงเรียนฝึกหัด ครูมูล (ป.) โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) 2. โรงเรียนฝึกหัดครูกลุ่มอาชีพ อาทิ โรงเรียนฝึกหัดครูประถม กสิกรรม (ป.ป.ก.) โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา (ป.ป.พลศึกษา) โรงเรียน ฝึกหัดครูอาชีวศึกษา (ป.ป.ช., ป.ม.ช.) โรงเรียนฝึกหัดครูการเรือน (ป.ป.การเรือน)
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2497 – 2535 1. พัฒนาโรงเรียนฝึกหัดครูเดิม 2. จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูใหม่ 3. ยกฐานะโรงเรียนพลศึกษาและอาชีวศึกษา 4. จัดตั้งคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2536 – ปัจจุบัน 1. ยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูเดิมทุกแห่ง เป็นมหาวิทยาลัย หมายเหตุ ไม่มีโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นการเฉพาะเช่นในอดีตอีกต่อไป เหลือเพียงคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และ เอกชน ประมาณ 75 แห่ง
วิกฤติสถาบันผลิตครูปัจจุบัน วิกฤติสถาบันผลิตครูปัจจุบัน 1) ภายในปี 2554 คณาจารย์จะเกษียณอายุราชการ จำนวน 2,263 คน โดยคณาจารย์วุฒิการศึกษาปริญญาเอกจะเกษียณอายุราชการ มากที่สุด คือ ร้อยละ 63.5 (460 คน) และคณาจารย์วุฒิการศึกษาปริญญาโท จะเกษียณอายุราชการ ร้อยละ 53 (1,534 คน) เมื่อจำแนกตามตำแหน่งวิชาการ คณาจารย์ตำแหน่งศาสตราจารย์จะเกษียณอายุราชการร้อยละ 100 (15 คน) และคณาจารย์ตำแหน่งรองศาสตราจารย์จะเกษียณอายุราชการร้อยละ 79.3 (438 คน) (พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์และคณะ, 2545. หน้า 22, 28)
2) ผลจากการสำรวจข้อมูลของคณาจารย์เกี่ยวกับจำนวน ตำแหน่ง ทางวิชาการ วุฒิการศึกษาสาขาที่จบการศึกษา และอายุ จากคณาจารย์ใน สถาบันฝึกหัดครู จำนวน 26 แห่ง จำนวนคณาจารย์ทั้งหมด 673 คน ที่ได้มา โดยสุ่มปรากฏผลดังนี้ 1. ด้านจำนวนคณาจารย์ในแต่ละสาขา พบว่าสาขาการศึกษาปฐมวัย มีจำนวนคณาจารย์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 11.74 (79 คน) รองลงมาคือ สาขา บริหารการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 8.62 (58 คน) และสาขาหลักสูตรและการสอน คิดเป็นร้อยละ 8.02 (54 คน) 2. ด้านตำแหน่งทางวิชาการพบว่า คณาจารย์ที่ยังไม่มีตำแหน่งทาง วิชาการมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.67 (321 คน) รองลงมาคือ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ คิดเป็นร้อยละ 37 (249 คน)
3. ด้านวุฒิการศึกษาของคณาจารย์พบว่า คณาจารย์จบการศึกษา ระดับปริญญาโท มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.56 (448 คน) รองลงมาคือ คณาจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาเอก คิดเป็นร้อยละ 29.27 (197 คน) 4. ด้านอายุของคณาจารย์พบว่า คณาจารย์มีอายุ 55 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.22 (236 คน) รองลงมาคือ คณาจารย์ มีอายุในช่วง 50-54 ปี คิดเป็นร้อยละ 19.25 (129 คน)
7. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของคุณภาพการศึกษา Mckinsey & Company ได้ทำงานวิจัยระหว่างพฤษภาคม 2006 ถึงมีนาคม 2007 เพื่อค้นหาว่าเหตุใดบางระบบการศึกษาในโลกจึงประสบ ความสำเร็จอย่างอยู่เหนือระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ อย่างไม่อาจ เทียบกันได้ วราภรณ์ สามโกเศศ, มติชนรายวัน
งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญกว่าร้อยคน อีกทั้งไปเยี่ยมชมโรงเรียนต่างๆ จำนวนมากในทุกทวีป งานศึกษาพบว่ามีอยู่ 3 สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นระบบ การศึกษาชั้นยอด ซึ่งได้แก่ (ก) หาคนที่เหมาะสมมาเป็นครู(ข) พัฒนาครู เหล่านี้ให้เป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ (ค) สร้างระบบการศึกษาที่มั่นใจได้ว่า สามารถให้การสอนที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่เด็กทุกคน ผู้ศึกษาพบว่าทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นจริงสำหรับทุกวัฒนธรรม สามารถ ช่วยให้เกิดพัฒนาการให้ด้านคุณภาพอย่างเห็นผลในระยะเวลาสั้นและ สามารถช่วยแก้ไขระบบการศึกษาที่ล้มเหลวได้
ในประเด็นแรก คือหาคนที่เหมาะสมมาเป็นครูนั้น รายงานระบุว่า “คุณภาพของระบบการศึกษาหนึ่งจะไม่มีวันสูงไปกว่าคุณภาพของครูของระบบการศึกษานั้นไปได้”(The quality of an education system cannot exceed the quality of its teachers) “คุณภาพของครู” คือหัวใจของระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ถ้าครูไม่มีคุณภาพการศึกษาก็ไม่มีคุณภาพ
ประเด็นที่สอง “สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน” นั้นสำคัญที่สุดถ้าต้องการสร้างคุณภาพการศึกษา ถึงแม้จะได้คนที่เหมาะสมมาเป็นครูแล้วก็ต้องมีการฝึกฝนให้เป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพด้วย รายงานระบุว่า ไม่ว่าจะมีหลักสูตรที่เป็นเลิศ มีอาคารโรงเรียนหรือโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นเลิศ หรือมีนโยบายการศึกษาที่เป็นเลิศเพียงใดก็ตามที หากไม่มีครูที่ทุ่มเทให้การสอน ไม่เป็นครูที่มีความสามารถในการถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คุณภาพการศึกษาไม่มีวันดีขึ้นได้เลย ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายอยู่ทั่วโลก
ประเด็นที่สาม สร้างระบบการศึกษาที่แน่ใจได้ว่าสามารถให้การสอนที่ดีที่สุดแก่เด็กทุกคนอย่างเสมอหน้า “ความทั่วถึงของคุณภาพการศึกษาแก่เด็กทุกคน” เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของระบบการศึกษา
เมื่อเราพูดถึงปัญหาทางการเมือง แม้จะโยงมาตั้งแต่คุณภาพของ นักการเมือง การซื้อเสียง ความเข้าใจและสำนักในประชาธิปไตย แต่ใน ที่สุดแล้วจะมาสรุปที่ปัญหาการศึกษาไม่สามารถพัฒนาคนได้ เช่นเดียวกับปัญหาเศรษฐกิจ การหาเงิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง การหลง ในกระแสบริโภคนิยม ใช้จ่ายเงินเกินตัว ในที่สุดแล้วจะมาลงที่การศึกษาที่ไม่ สามารถสร้างค่านิยมที่ดีให้กับเด็กได้ ปัญหาสังคม ไม่ว่าจะเริ่มจากการมั่วสุม ยาเสพติด การตั้งแก๊งของ วัยรุ่นเลียนแบบมาเฟียที่สุดแล้วก็เข้ามาลงที่การศึกษาที่ไม่สามารถสร้าง วิธีคิดที่ดีให้กับเด็กได้
เหมือนกับว่าทุกเรื่องราวที่เกิดในประเทศนี้ ที่สุดแล้วจะต้องไป เริ่มต้นการพัฒนาคน ซึ่งจะย้อนไปถึงคุณภาพการจัดการศึกษา และแน่นอน จะลงไปที่คุณภาพครู ครูเป็นจำเลยของทุกปัญหา ถ้าไม่เชื่อข้อสรุปนี้ก็ลองรวมกลุ่มกัน แล้วหยิบยกปัญหาใดสัก ปัญหาหนึ่งขึ้นมาถกกันให้เห็นถึงต้นเหตุและการแก้ไข ถกกันให้ถึงที่สุดแล้ว จะลงมาที่คุณภาพครู ลองถกกันให้ที่สุดดูเถอะ ผลที่ออกมาก “ครูจะเป็นจำเลยของปัญหา” เกือบทุกครั้ง
แต่ถ้ามองถึงข้อสรุปนี้ในแง่บวก ก็จะบอกได้ว่า “ครูเป็นความหวัง ที่ทุกกลุ่มทุกคนฝากความหวังไว้” เพราะ“ครู”จึงเป็น“ความหวัง”และ “จำเลย”ของสังคม ถ้าจะถามว่าระหว่าง “จำเลย” และ “ความหวัง” ที่ว่าในสายตา ของคนทั่วไป “ครู” เป็นอย่างไหนมากกว่า เมื่อวันครู 16 มกราคมที่ผ่านมานี้เอง เอแบคโพลล์ได้สำรวจ ความเห็นของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับครู
ประชาชนร้อยละ 62.6 เห็นว่าครูที่เสียสละเพื่อศิษย์มีน้อย และ น้อยลง ร้อยละ 56.7 เห็นว่าครูที่ทุ่มเทเตรียมการสอนอย่างดีมีน้อย และ น้อยลง ร้อยละ 64.3 เห็นว่าจริยธรรมของครูปัจจุบันมีน้อย และน้อยลง ขณะที่ร้อยละ 68.5 เห็นว่าครูยุคปัจจุบันมุ่งแต่จะกอบโกยทาง ธุรกิจมากขึ้น ตัวเลขจากผลสำรวจนี้เป็นคำตอบได้อย่างดีว่าทำไมในที่สุดแล้ว การถกถียงหาต้นเหตุของทุกปัญหาจึงมาจบลงที่ครู เพราะครูเป็นอาชีพที่ผู้คนคาดหวังมาก เมื่อเกิดความรู้สึกว่าไม่ เป็นอย่างที่หวัง