460 likes | 1.97k Views
ไข้เลือดออก. พญ . รัตนา กาสุริย์ 10 สิงหาคม 2555. ไข้เดงกี. “ Probable case” คือผู้ป่วยที่มีอาการไข้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันร่วมกับอาการอย่างน้อย2 ข้อ ในกลุ่มอาการต่อไปนี้ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ/ปวดกระดูก ผื่น
E N D
ไข้เลือดออก พญ. รัตนา กาสุริย์ 10 สิงหาคม 2555
ไข้เดงกี “Probable case”คือผู้ป่วยที่มีอาการไข้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันร่วมกับอาการอย่างน้อย2 ข้อ ในกลุ่มอาการต่อไปนี้ • ปวดศีรษะ • ปวดกระบอกตา • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ • ปวดข้อ/ปวดกระดูก • ผื่น • อาการเลือดออก (ที่พบบ่อย คือ positive touniquet test,มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง • petechiae,เลือดกำเดา) • ตรวจ CBC พบเม็ดเลือดขาวต่ำ
และมี HI antibody 1,280 หรือ positive IgM / IgG ELISA test ใน convalescent serum • หรือ พบในพื้นที่และเวลาเดียวกับผู้ป่วยที่มีการตรวจยืนยันการติดเชื้อเดงกี “Confirmed case”คือ ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจแยกเชื้อไวรัสและ/หรือ การตรวจหาแอนติบอดียืนยันการติดเชื้อเดงกี
ไข้เลือดออกเดงกี (DHF) ผู้ป่วยที่มีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิกข้อ 1 และ 2 ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการตามเกณฑ์การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทั้ง 2 ข้อ คือ 1.ไข้เกิดแบบเฉียบพลันรุนแรงและสูงลอย 2-7 วัน 2. อาการเลือดออก อย่างน้อยมี positive touniquet test ร่วมกับอาการเลือดออกอื่นๆ 3. เกล็ดเลือด100,000เซล/ลบ.มม. หรือ platelet smear < 3 /oil field)
4. เลือดข้นขึ้น ดูจากมีการเพิ่มขึ้นของ Hct เท่ากับหรือมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับ Hct เดิม หรือมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา เช่น มี pleural effusion และ ascites หรือมีระดับโปรตีน / อัลบูมินในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบันทึกผลการตรวจ touniquet test และการตรวจร่างกายว่ามี pleural effusion/ascites เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องร้อยละ 96
ไข้เลือดออกเดงกีช็อก(dengue shock syndrome - DSS) ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี (มีอาการทางคลินิกร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้น) ที่มีอาการช็อก คือมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอย่างดังต่อไปนี้ • มีชีพจรเบาเร็ว • มีการเปลี่ยนแปลงในระดับความดันโลหิต โดยตรวจพบมี pulse pressureแคบ20 มม.ปรอท (โดยไม่มี hypotention) เช่น 100/80,90/70 มม.ปรอท หรือมีhypotention (ตามเกณฑ์อายุ) • poor capillary refill> 2วินาที • มือ/เท้าเย็นชื้น กระสับกระส่าย
ความรุนแรงของไข้เลือดออกเดงกีความรุนแรงของไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 4 ระดับ (grade) คือ • Grade I ผู้ป่วยไม่ช็อก มีแต่ positive touniquettest และหรือ easy bruising • Grade II ผู้ป่วยไม่ช็อก แต่มีเลือดออก เช่น มีจุดเลือดออกตามตัว มีเลือดกำเดา หรืออาเจียน • Grade III ผู้ป่วยช็อก โดยมีชีพจรเบาเร็ว pulse pressure แคบ หรือความดันโลหิตต่ำ หรือมีตัวเย็น เหงื่อออก กระสับกระส่าย • Grade IV ผู้ป่วยที่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิต และ/หรือจับ ชีพจรไม่ได้
การทำ touniquettest การทำ touniquettest จะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกเดงกีในระยะแรกเป็นอย่างดี ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยการติดเชื้อเดงกี วิธีทำคือวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดโดยใช้ขนาด cuff พอเหมาะกับขนาดต้นแขนส่วนบนของผู้ป่วย ครอบคลุมประมาณ 2ใน3 ของต้นแขน บีบความดันไว้ที่กึ่งกลางระหว่าง systolic และ diastolic pressureรัดค้างไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นคลายความดัน รอ 1 นาทีหลังคลายความดันจึงอ่านผลการทดสอบ
การทำ touniquettest ถ้าตรวจพบจุดเลือดออกเท่ากับหรือมากกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้ว ถือว่าให้ผลบวก ให้บันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว ในรายที่เป็นผลบวกจะช่วยในการวินิจฉัยแยกการติดเชื้อเดงกีจากการติดเชื้ออื่นๆ กรณีตรวจพบน้อยกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้ว ให้ถือว่าเป็นผลลบแต่ควรบันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว เพื่อประโยชน์ในการติดตามผลกรณีตรวจซ้ำในวันต่อมา
คำแนะนำอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายแก่ผู้ปกครองคำแนะนำอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายแก่ผู้ปกครอง • ระยะวิกฤติ/ช็อกของไข้เลือดออกจะตรงกับวันที่ไข้ลง หรือไข้ต่ำลงกว่าเดิม และระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการช็อก จะมีความรู้สึกสติดี สามารถพูดจาโต้ตอบได้ จะดูเหมือนผู้ป่วยที่มีแต่ความอ่อนเพลียเท่านั้น ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีเมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ • มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง • เลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด เลือดออกตามไรฟัน ฯ • อาเจียนมาก/ปวดท้องมาก • กระหายน้ำตลอดเวลา
คำแนะนำอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายแก่ผู้ปกครองคำแนะนำอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายแก่ผู้ปกครอง • ซึม ไม่ดื่มน้ำ • มีอาการช็อก คือ • มือเท้าเย็น • กระสับกระส่ายร้องกวนมากในเด็กเล็ก • ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย • ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะ 4-6 ชม. • ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ เอะอะโวยวาย
. ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล • อ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ หรืออาเจียนมาก • มีเลือดออก • มี WBC ≤ 5,000 เซล/ลบ.มม + มี lymphocytosis + มี platelet≤ 100,000 เซล/ลบ.มม. และผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ มีอาเจียนมาก (ผู้ป่วยบางรายที่มี WBC มากกว่า 5,000 เล็กน้อย และมี Platelet สูงกว่า 100,000เล็กน้อย ควรได้รับการพิจารณารับไว้สังเกตอาการเช่นกัน) • มี platelet≤ 100,000 เซล/ลบ.มม. และ/หรือ Hct เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 – 20% • ไข้ลงและอาการเลวลง หรืออาการไม่ดีขึ้น • อาเจียนมาก หรือปวดท้องมาก • มีอาการช็อกหรือ impending shock
ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล • ไข้ลงและชีพจรเร็วผิดปกติ • capillary refill > 2 วินาที • ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก ตัวลาย กระสับกระส่าย • pulse pressure ≤ 20 mmHg. โดยไม่มี hypotension เช่น 100/80, 90/70 มม.ปรอท • hypotension • ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน 4-6 ชม. • มีอาการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติเช่น ซึม หรือเอะอะโวยวายหรือพูดจาหยาบคาย (ต้องนึกถึงผู้ป่วยน่าจะมีอาการทางสมองร่วมด้วย) • ผู้ปกครองกังวลมาก หรือไม่สามารถติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หรือบ้าน อยู่ไกล
หลักการสำคัญในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกหลักการสำคัญในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก • ผู้ป่วยอ้วนให้ใช้ ideal body weightในการคำนวณปริมาณน้ำ • สูตรคำนวณ อายุ < 7 ปี = 2y+8 อายุ > 7 ปี = 7y-5 หรือ 3y 2 ( y คือ อายุเป็นปี) • ผู้ป่วยผู้ใหญ่ (อายุ > 15 ปี) ให้คำนวณน้ำหนักที่ 50 ก.ก.ทุกราย
ค่าเฉลี่ย Hct ในคนไทย อายุ < 1 ปี = 30 -35% อายุ > 1-10 ปี = 35 -40% อายุ > 10 ปี = 40-45% • ค่าปกติ ของ vital sign ในแต่ละอายุ PR RR • อายุ < 2 เดือน <160 <60 • 2 เดือน-2 ปี <140 <50 • > 2 ปี <120 <40
การพยาบาลผู้ป่วยไข้เดงกี/ไข้เลือดออกเดงกีการพยาบาลผู้ป่วยไข้เดงกี/ไข้เลือดออกเดงกี • การบันทึกสัญญาณชีพ intake/output ต้องถูกต้องสม่ำเสมอตามความจำเป็น ในระยะต่างๆของโรค • การรายงานแพทย์ในกรณีเร่งด่วน (ทันที) และในกรณีปกติ (ภายใน 1-8 ชม.) • การให้ IV fluid ตามชนิด อัตรา และปริมาณในแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด • การประสานงานในการขอเลือด/ส่วนประกอบของเลือด การส่งต่อผู้ป่วย • การเตรียมยา อุปกรณ์ที่จำเป็นในกรณีฉุกเฉิน หรือมีภาวะแทรกซ้อน • การสื่อสารระหว่างผู้ป่วย/ญาติ กับทีมแพทย์ผู้รักษา • การให้การรักษาประคับประคองด้านจิตใจ และให้ความรู้สึกมั่นใจแก่ผู้ป่วย/ญาติ
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ต้องให้การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษและต้องรายงานแพทย์ทันทีที่รับไว้ในโรงพยาบาล • ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกนาน (วัดความดันและ/หรือจับชีพจรไม่ได้) • ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี • ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน • ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมาก่อน เช่น ธาลัสซีเมีย โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ • ผู้ป่วยที่มีเลือดออก • ผู้ป่วยที่รับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น
การพยาบาลในระยะของโรคการพยาบาลในระยะของโรค 1. ระยะไข้ • อาการในระยะไข้ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยชักมาก่อน 2. ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้เลย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อ้วนๆ 3. ผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ เป็นต้น 4. ผู้ป่วยที่แสดงอาการบ่งบอกถึงความไม่สุขสบาย หรือญาติมีความวิตกกังวลมาก
2. ระยะวิกฤติ/ช็อก • ในระยะวิกฤติ โดยทั่วไปจะต้องติดตามตัวชี้วัดดังต่อไปนี้ ตลอด 24-48 ชั่วโมง 1. อาการทางคลินิก 2. สัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ ชีพจร หายใจและความดันโลหิต 3. hematocrit 4. urine out put
**ในระยะวิกฤติต้องติดตามดูแลประเด็นต่อไปนี้อย่างใกล้ชิด**ในระยะวิกฤติต้องติดตามดูแลประเด็นต่อไปนี้อย่างใกล้ชิด • เฝ้าระวังการนำของช็อกอย่างใกล้ชิด และรายงานแพทย์ทราบทันที • วัดสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง หรือถี่กว่านั้นถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่คงที่ • ตรวจเช็คให้มีการเจาะ Hct ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือถี่กว่านั้นตามแผนการรักษา • ตรวจสอบชนิด อัตราความเร็ว และปริมาณของสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับให้เป็นไปตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด • บันทึกปริมาณ intake/out put อย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง หรือถี่กว่านั้น ตามความจำเป็น • ประสานการจัดเตรียมเลือด และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย และให้การดูแลรักษาเป็นพิเศษในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือไม่รู้สึกตัว
3. ระยะฟื้นตัว • ข้อบ่งชี้ที่เข้าสู่ระยะนี้ มีดังนี้ • อาการทั่วไปดีขึ้น • สัญญาณชีพคงที่ ชีพจรเต้นช้า pulse pressure กว้าง • Hct. ลดลงจนปกติ • ปัสสาวะออกมากกว่า 1-2 มล/กก/ชม. • มี convalescence rash หรือ มีอาการคันบริเวณขา แขน โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ในระยะฟื้นตัวต้องดูประเด็นต่อไปนี้อย่างใกล้ชิด • อาการทางคลินิกหรือการเปลี่ยนแปลงที่แสดงว่าผู้ป่วยน่าจะสู่ระยะฟื้นตัว • การ off IV Fluid ทันทีที่มั่นใจว่าผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤติแล้ว • การเฝ้าระวังของภาวะน้ำเกิน เพื่อรายงานแพทย์เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
ข้อแนะนำก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้านข้อแนะนำก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน • หลีกลี่ยงการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงเป็นเวลา 3-5 วัน หลังจากออกจากโรงพยาบาลเนื่องจากผู้ป่วยบางรายยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ • ถ้าผู้ป่วยมีอาการปกติ ให้ไปโรงเรียนได้เนื่องจากพ้นระยะติดต่อแล้ว • ถ้ามีคนในบ้านมีไข้สูง ให้พามาตรวจอาการเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัสเดงกีเช่นเดียวกับผู้ป่วย • แนะนำให้กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน และที่ชุมชน
. แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้เลือดออกเดงกีที่โรงพยาบาลชุมชน ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีลักษณะดังต่อไปนี้ควรจะส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า 1. ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 1 ปี 2. ผู้ป่วยที่มี underlying disease เช่น G-6-PD deficiency, Thalassemia, heart disease 3. ผู้ป่วย grade IV ที่ทีภาวะช็อกรุนแรง วัดความดัน/จับชีพจรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งการรักษายุ่งยาก และกว่าอาการของภาวะแทรกซ้อนจะปรากฏให้เห็นมักเป็นเวลา 6-12 ชม.ต่อมา โดยในระยะแรกจะดูผู้ป่วยมีอาการดี การส่งต่อผู้ป่วยในขณะที่มีอาการเลวลงอย่างชัดเจนจะทำให้การรักษายุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นทำให้พยากรณ์โรคของผู้ป่วยไม่ดี โดยทั่วไปโรงพยาบาลชุมชนไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่พร้อม และ/หรือไม่มีกำลังเจ้าหน้าที่เพียงพอในการให้การรักษาผู้ป่วยหนัก
4.มีอาการเลือดออกมาก หรือคาดว่าอาจจะต้องการเลือดทดแทน (ไม่มี blood bank) 5. ผู้ป่วยที่มีอาการแสดงที่ผิดปกติ (unusual manifestation) เช่น มีอาการชัก มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติ เอะอะโวยวาย สับสน ใช้คำพูดไม่สุภาพ ซึมมาก หรือไม่รู้สึกตัว 6. ผู้ป่วยช็อกgrade IIIที่ 6.1 แก้ไขด้วย 5% D/NSS(หรือ 5%DLRหรือ 5%DAR) ปริมาณ 10-20 ซีซี/กก./ชม. เป็นเวลา 1- 2 ชม.ดูดีขึ้น แต่ไม่สามารถ rateให้ต่ำกว่า 7-10 ซีซี/ กก./ชม. ได้ในระยะ 3-4 ชม. ต่อมา (กรณีไม่มี colloidal solution)
6.2 แก้ไขด้วย 5% D/NSS(หรือ 5%DLRหรือ 5%DAR) ปริมาณ 10-20 ซีซี/กก./ชม. เป็นเวลา 1-2 ชม. แล้วยังไม่ดีขึ้น Hctยังสูงขึ้นกว่าเดิมอีก และให้ colloidal solutionเช่น dextran-40หรือ พลาสมา ปริมาณ 10 ซีซี/กก./ชม.ไปแล้ว แต่ยังไม่ดีขึ้นชัดเจน หรือดีขึ้นแล้วแต่กลับมีอาการช็อกใหม่อีกครั้ง 6.3 ผู้ป่วยที่มีอาการบวม แน่นท้อง แน่นหน้าอก (เนื่องจากมี massive ascitesและ pleural effusion) หอบ หายใจเร็วและหายใจไม่สะดวก (อาจฟังได้rhonchi/wheezing/crepitationที่ปอด) 7. เมื่อให้การรักษาได้ไม่สะดวก/ญาติมีความกังวลใจ/เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
**หมายเหตุ • การ refer ทุกครั้งควรมีการติดต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าก่อน เช่น โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อปรึกษาแผนการรักษา/ส่งต่อ • การเขียนใบ refer ต้องมีประวัติผู้ป่วย เวลาที่ admit, เวลาที่ช็อก, แผ่นบันทึก Vital signs, serial Hct และปริมาณ intake/output ของผู้ป่วย • ก่อนการ refer ผู้ป่วยควรมี stable vital signs และ rate ของ IV fluid ระหว่างเดินทาง ไม่ควรเกิน 5 ซีซี/กก/ชม. • case refer ทุก case ให้เจาะ Dengue serotype titer ก่อนทุกครั้ง
การรักษาเบื้องต้นที่สถานีอนามัยการรักษาเบื้องต้นที่สถานีอนามัย 1. เช็ดตัวอย่างนุ่มนวล ด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ถ้ามีไข้สูงเกิน 38.5 C 2. ให้ยาลดไข้พาราเซตตามอล เฉพาะเมื่อไข้สูงเกิน 39 C 2.1 อายุต่ำกว่า 6 เดือนให้ 1 ซีซี อายุมากกว่า 6 เดือน – 1 ปี ให้ ½ ช้อนชา 2.2 อายุมากกว่า 1 – 5 ปี ให้ 1 ช้อนชา 2.3 อายุมากกว่า 5 ปี ให้ 1 ½ - 2 ช้อนชา หรือครึ่งเม็ด 2.4 ถ้าไข้ไม่ลงหลังให้ยาดลดไข้ ให้เช็ดตัว ห้ามให้ยาลดไข้ถี่กว่า 4 ชั่วโมง ห้ามให้ยาลดไข้ชนิดอื่น เช่น แอสไพริน ยาซอง ไพรานา โนวันยิล หรือ NSAID โดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้มีเลือดออกมาก , มีอาการทางสมองหรือตับวายได้
3. ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ และแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำดื่ม สีดำ แดง น้ำตาล 4. แนะนำผู้ปกครองและเน้นว่าวันวิกฤติ/วันอันตรายของโรค คือวันที่ไข้ลง หรือ ไข้ต่ำลงและให้สังเกตุว่าถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล - ปวดท้องมาก - อาเจียนมาก - กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย - ซึมมาก - ไม่รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ หรือบางรายกระหายน้ำมาก - เลือดออก - อาการเลวลง เมื่อไข้ลง - ผิวหนังเย็นชื้น เหงื่อออก - ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะ 4 – 6 ชั่วโมง
5. ถ้ามีภาวะช็อกให้สารน้ำ 5% D/NSS หรือ 5% DAR หรือ 5% DLR iv 60ซีซี/ชม.หรือ 15 หยดใหญ่/นาที ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และ rate 120 ซีซี/ชม. (30 หยดใหญ่/นาที) ในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี แล้วรีบส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที 6. ถ้ามีภาวะช็อกรุนแรง คือวัดความดันโลหิต หรือจับชีพจรไม่ได้ ให้สารน้ำ 0.9% NSSrate free flow เป็นเวลา 5 – 15 นาที จนสารมารถวัดความดันหรือจับชีพจรได้ แล้วจึงลด rate ลงตามที่กล่าวข้างต้น แล้วรีบส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที 7. ควรเจาะ Hct ถ้าสามารถทำได้ก่อนให้ IV fluid และก่อนส่งต่อผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลให้กับโรงพยาบาลที่ส่งต่อไป
แนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก • ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความสำคัญ โดยมีเป้าหมายลดอัตราป่วยไม่เกิน 50รายต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.13 ของผู้ป่วย • เนื่องจากอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสัมพันธ์กับฤดูกาลดังนั้นจึงได้มีการปรับยุทธศาสตร์ให้สัมพันธ์กับอัตราป่วยโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 พฤศจิกายน-ธันวาคมเน้นลดอัตราให้ถึงBase Line ระยะที่ 2 มกราคม-เมษายนเน้นการป้องกันโรค ระยะที่ 3 พฤษภาคม-กันยายนเน้นควบคุมการระบาด
การควบคุมโรค เมื่อพบผู้ป่วยในพื้นที่ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.กรณีพบผู้ป่วย 1 รายในหมู่บ้าน 1.1.พ่นสารเคมีกำจัดยุงในหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยและบ้านเรือนใกล้เคียงรัศมี 100 เมตร 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ 1.2.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วยวิธีทางกายภาพชีวภาพและใส่ทรายเคลือบทีมีฟอสทั้งหมู่บ้าน 1.3.รณรงค์ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน 1.4.สำรวจค่า BI ในหมู่บ้านทุกสัปดาห์โดยดำเนินการให้เป็นศูนย์ภายใน 4 สัปดาห์
2.กรณีพบผู้ป่วย 2 รายใน 1 สัปดาห์ในหมู่บ้านเดียวกัน 2.1.พ่นเคมีกำจัดยุงในบ้านที่พบผู้ป่วยและทั้งหมู่บ้าน 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ 2.2.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วยวิธีทางกายภาพชีวภาพและใส่ทรายเคลือบทีมีฟอสทั้งหมู่บ้าน 2.3.รณรงค์ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน 2.4.สำรวจค่า BI ในหมู่บ้านทุกสัปดาห์โดยดำเนินการให้เป็นศูนย์ภายใน 4 สัปดาห์