160 likes | 317 Views
โรคไข้หวัดในสัตว์. น.สพ.สัณห์ ภัทรพิพัฒน์โภค สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปราจีนบุรี. บทนำ. การติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza virus) ทำให้เกิดโรคของ ระบบทางเดินหายใจที่เรียกว่า โรคอินฟลูเอนซ่า หรือ “ฟลู” ซึ่งแพร่ระบาด ได้รวดเร็ว และมีความรุนแรงต่างๆ กัน พบทั้งในคนที่เรียก “ไข้หวัดใหญ่”
E N D
โรคไข้หวัดในสัตว์ น.สพ.สัณห์ ภัทรพิพัฒน์โภค สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปราจีนบุรี
บทนำ • การติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza virus) ทำให้เกิดโรคของ • ระบบทางเดินหายใจที่เรียกว่า โรคอินฟลูเอนซ่า หรือ “ฟลู” ซึ่งแพร่ระบาด ได้รวดเร็ว และมีความรุนแรงต่างๆ กัน พบทั้งในคนที่เรียก “ไข้หวัดใหญ่” (Influenza) และในสัตว์ ได้แก่ • อินฟลูเอนซ่าในสัตว์ปีก (Avian Influenza) • อินฟลูเอนซ่าในสุกร (Swine Influenza) • อินฟลูเอนซ่าในม้า (Equine Influenza)
โครงสร้างของเชื้อไวรัสไข้หวัดโครงสร้างของเชื้อไวรัสไข้หวัด
สาเหตุของโรค • เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) เป็นไวรัสชนิด RNA ที่มีเปลือกหุ้ม จัดอยู่ในตระกูล Orthomyxoviridae แบ่งได้ 3 types คือ A, B และ C Type A พบในคน และสัตว์ เฉพาะ type A เท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ สำหรับ Type B และ C ไม่มี subtypes พบเฉพาะในคน แต่เคยมีรายงานการแยกเชื้อ Type C ได้ในสุกรโดยสุกรไม่แสดงอาการป่วย นกน้ำ (water fowl) ติดเชื้อได้ทุก subtypes โดยไม่แสดงอาการ จึงทำหน้าที่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้กับสัตว์ชนิดอื่นๆ
เนื่องจาก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็น RNA virus และสารพันธุกรรมมีลักษณะเป็นชิ้นจำนวน 8 ชิ้น จึงมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อได้ค่อนข้างง่าย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอนติเจนที่เรียกว่า “ Antigenic drift และ Antigenic shift” Antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ Antigenic shift เป็นการเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งได้ H หรือ N subtype ใหม่ ที่ร่างกายไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงเป็นวงกว้าง
ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังและศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถเลือกเชื้อไวรัสที่เหมาะสมในการผลิตวัคซีนสำหรับคนหรือสัตว์ หรือใช้เป็นข้อมูลทางระบาดวิทยาในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค
โรคไข้หวัดในสุกร • โรคนี้ทำให้สุกรแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจคล้ายกับคนที่ไข้หวัด • สุกรจะมีไข้ (40.5 –41.7°C) ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบากอาจมีน้ำมูก • ไอและจาม ความรุนแรงของอาการป่วยขึ้นกับชนิดของเชื้อที่ได้รับ อายุ ภูมิคุ้มโรค สภาพการเลี้ยง
ความของสุกรเครียด และการติดเชื้อชนิดอื่นๆ แทรกซ้อน • อัตราการติดเชื้อในฝูงอาจสูงถึง 100 % แต่อัตราการตายต่ำ • สุกรจะหายป่วยเป็นปกติได้เร็ว โดยทั่วไปสุกรจะแสดงอาการป่วยนานประมาณ 5-7 วัน • หลังจากนั้นจะหายเป็นปกติสุกรอาจตายได้ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อน • สุกรที่มีภูมิคุ้มจากแม่หรือสุกรที่เคยได้รับเชื้อมาก่อนอาจป่วยเพียงเล็กน้อย • แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำให้สุกรตาย แต่การติดเชื้อมีผลต่อสุขภาพสุกร
สาเหตุของโรค • เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza type A • ที่พบมาก3 ชนิดได้แก่ชนิด classical H1N1, avianlike H1N1 และ humanlike H3N2 และอาจพบชนิด H1N2, H3-N1, H1N7 (Easterday & Reeth, 1999)
ความเกี่ยวข้องของการติดเชื้อในคนความเกี่ยวข้องของการติดเชื้อในคน • ความสงสัยว่าไข้หวัดใหญ่ในคนเกี่ยวข้องกับสุกร เริ่มในปี ค.ศ. 1918 ที่มีการระบาดครั้งรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก (Spanish Flu, H1N1) มีผู้เสียชีวิตถึง 21 ล้านคนนั้นอาจเกี่ยวข้องกับการที่สุกรใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮังการีและจีนป่วยด้วยอาการของระบบทางเดินหายใจในช่วงเวลาเดียวกัน
ค.ศ. 1976 จากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่ Ford Dix สหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถแยกเชื้อไวรัสH1N1 จากผู้เสียชีวิต 1 ราย และผู้ป่วย อีก 5 รายเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยเหมือนกับเชื้อไวรัส H1N1 ที่แยกได้จากสุกร การตรวจทางซีรั่มวิทยาก็บ่งชี้ว่ามีผู้ ติดเชื้ออีก 500 คน • นอกจากนั้นยังมีรายงานการตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสสุกร ชนิด H1 จากผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับสุกร • ในที่สุดก็สามารถยืนยันได้ว่า “เชื้อไวรัสInfluenza ของสุกรสามารถติดต่อสู่คนได้” จากการพบเชื้อไวรัสในสุกรและผู้เลี้ยงสุกรที่เป็นเชื้อชนิดเดียวกัน
สุกรสามารถติดเชื้อ ไข้หวัดในคน และทำให้ป่วยได้ (Brown et al.,1995; Katsuda et al., 1995) • และสามารถติดเชื้อไวรัส ไข้หวัดของสัตว์ปีก (AIV)ได้ เชื้อ AIV บางตัวอาจเพิ่มจำนวนได้โดยตรงบางตัวต้องมีการแลกเปลี่ยน สารพันธุ์กรรม กับเชื้อไวรัสไข้หวัดของสุกรก่อน
เนื่องจากสุกรมี receptor หรือตัวที่ไวรัสใช้ยิดเกาะในการเข้าเซลล์ ที่สามารถจับกับเชื้อไวรัส ไข้หวัดของคน (a2-6-alactosesialic acid) และของสัตว์ปีก (a2-3-galactose sialicacid) นอกจากนั้นสุกรยังเป็น “mixing vessel” ในการเกิด genetic reassortment ระหว่างเชื้อ influenzaของคนและสัตว์ปีก ทำให้เกิดเชื้อ influenza ลูกผสมสายพันธ์ใหม่ๆ ได้ง่าย (Ito et al.,1998)
ในชนบทพบว่า มีการเลี้ยงสุกร ร่วมกับสัตว์อื่นๆ จึงเชื้อว่าในการเลี้ยงสุกรที่ยาวนาน จึงมีโอกาสที่จะทำให้ เชื้อไวรัสไข้หวัดในสุกร มีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม กันไวรัสไข้หวัดในสัตว์ปีก และกับคนที่เลี้ยงได้ • และเชื้อก็จะเพิ่มการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม genome segment ของเชื้อแต่ละชนิด เช่นเชื้อ H3N2ที่เป็นลูกผสมระหว่างเชื้อไวรัสของสัตว์ปีก และของคนทำให้เด็กชาวดัทช์ 2 ราย ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ในปี 1993
เชื้อH1N2 ที่เป็นลูกผสมระหว่างเชื้อไวรัสของสัตว์ปีกและของคน (Brown et al.,1998) • และเชื้อ H1N7ที่แยกได้จากสุกรป่วยในอังกฤษเป็นลูกผสมระหว่าง เชื้อไวรัสของคนและของม้า • สุกรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบาดวิทยาและสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในคน เนื่องจากเชื้อ ไวรัสไข้หวัดในสุกร H1N1 เป็นเชื้อโรคสัตว์ติดคน และสามารถแพร่สู่คนได้โดยตรง และสุกรเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะกึ่งกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสในการแพร่กระจาย
มาตรการการป้องกัน • เช่นเดียวกับไข้หวัดนก • มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรงเรือน • เมื่อมีอาการป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจไปพบแพทย์ • แต่อย่าตื่นตระหนก เพราะว่าโรคนี้ยังไม่มาถึงประเทศไทย • ยาป้องกันไวรัส ทามิฟลู ป้องกันได้