390 likes | 627 Views
พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ (วิถีเพศ)ของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัส อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้นำเสนอ สุวิมล ควงสมัย โรงพยาบาลวังสะพุง. สถิติโรคเอดส์ในประเทศไทย ณ ธันวาคม 2547.
E N D
พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ (วิถีเพศ)ของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัส อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้นำเสนอ สุวิมล ควงสมัย โรงพยาบาลวังสะพุง
สถิติโรคเอดส์ในประเทศไทย ณ ธันวาคม 2547 • ผู้ติดเชื้อสะสม 1,074,155 คน • ผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ 572,484 คน • ผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตสะสม 501,671 คน • ผู้ติดเชื้อใหม่ ปี 2547 19,471 คน • ผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ ปี 2547 49,452 คน
นโยบายการรักษาด้วย HAART • ปี 2547 จำนวน 50,000 ราย • ปี 2548 จำนวน 80,000 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดเลย อัตราป่วยสะสม/แสนประชากร จังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง
จำนวนผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์อำเภอวังสะพุงจำนวนผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์อำเภอวังสะพุง ราย ปี พ.ศ.
ข้อสังเกต • ผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัส มีการปฏิบัติตัวด้านเพศสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปจากก่อนรับยาต้านไวรัส ซึ่งหากปฏิบัติไม่เหมาะสมจะนำไปสู่การแพร่เชื้อ หรือการข้ามสายพันธ์ของเชื้อโรคเอดส์ ทำให้เกิดการดื้อยา
ความมุ่งหมายของการวิจัยความมุ่งหมายของการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัสไม่มีเพศสัมพันธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการแพร่เชื้อดื้อยา • ศึกษาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยา ต้านไวรัส • อธิบายการรับรู้เรื่องเพศของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัส • ค้นหาแนวทางการปรับเปลี่ยนการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัสให้เหมาะสมและไม่แพร่เชื้อดื้อยา
คำถามการวิจัย 1.พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัสเป็นอย่างไร 2. การรับรู้เรื่องเพศของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัสเป็นอย่างไร 3. วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัสให้เหมาะสมควรเป็นอย่างไร
คำจำกัดความในการวิจัยคำจำกัดความในการวิจัย พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ หมายถึง การปฏิบัติของผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัสที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม ผู้ป่วยเอดส์ หมายถึง ผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ที่มีอาการบ่งชี้ว่ามีภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อม มีผล CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร และรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในโครงการ NAPHA โครงการ NAPHA (National Access to Antiretroviral Program for PHA) หมายถึงโครงการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ในประเทศไทยด้วยสูตรการรักษาแบบใช้ยาสามชนิดพร้อมกัน (Triple Therapy)
การรับรู้เกี่ยวกับโรคการรับรู้เกี่ยวกับโรค ( การติดต่อ,การป้องกัน, การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และการเข้าถึงแหล่งข้อมูล) กรอบมโนทัศน์ ประเพณีความเชื่อวัฒนธรรมของท้องถิ่น พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ สุขภาวะ (ด้านร่างกาย,จิตใจ,สังคมและจิตวิญญาณ) ฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ
การดำเนินการวิจัย (วิจัยเชิงคุณภาพ : RAP)
ประเด็นการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มประเด็นการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม สุขภาวะของผู้ป่วยเอดส์ทั้งก่อนและขณะรับยาต้านไวรัส การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ การติดต่อ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ประเพณีความเชื่อ วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ
การรวบรวมข้อมูล • เลือกแบบเจาะจงในกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับยาต้านไวรัสโครงการ NAPHA การวิเคราะห์ข้อมูล • จัดเรียงข้อมูลโดยใช้ Excel • ยืนยันความน่าเชื่อถือโดยหลักการ triangulation • วิเคราะห์เนื้อหาเชิงลึก (Content analysis)
ข้อค้นพบ สุขภาวะด้านร่างกาย ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองสุขภาพแข็งแรงขึ้นเมื่อรับยาต้านไวรัส หญิง“ป่วยบ่อย ไอเรื้อรังจนเยี่ยวเล็ด ถึงกับนั่งรถเข็น มีตุ่ม หนองฝีตามตัว” ชาย“ตอนป่วยเป็นสีเหลืองขุ่นๆ ไม่เยอะ (น้ำเชื้อ) ร่างกายฟื้นมา ปกติ น้ำเชื้อขาวปกติเยอะๆ เหมือนไม่เป็นอะไรเลย”
ข้อค้นพบ สุขภาวะด้านจิตใจ ผู้ป่วยสับสนท้อแท้สิ้นหวังคิดฆ่าตัวตายแต่เมื่อรับยาต้านไวรัส ทำให้มีความหวัง ชาย“ร้องไห้ รับไม่ได้..... ตกใจไม่คาดคิดว่าจะเป็นไม่เชื่อ..คิดว่าหมดสิ้นทุกสิ่ง ทุกอย่าง เรารับไม่ได้ สิ้นหวังอยากตายให้พ้นๆไปเลยไม่น่ามาเจอกับเรา...... คิดฆ่าตัวตายจะขับรถลงสะพานพระปิ่นเกล้า...” หญิง“ตั้งแต่รับยาต้านรู้สึกชีวิตมีทางออก ชีวิตยังอีกยาวไกลและมีความหวัง คิดว่าจะกินยาคู่ไปกับตัวเองอย่างนี้จนถึงที่สุด เหมือนกับว่ายากับเราต้องคู่กันไป”
ข้อค้นพบ สุขภาวะด้านสังคม การเปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อต่อครอบครัวทำให้ครอบครัว ปฏิบัติต่อผู้ป่วยเปลี่ยนไป หญิง“...คนในครอบครัวไม่อยากให้ทำอะไรเลย ไม่อยากให้ทำงานหนักเพราะกลัวเป็นอะไรไป...เขาคิดว่าเราติดเชื้อไม่ต้องทำอะไร ลูกก็จะเลี้ยงให้”
ข้อค้นพบ สุขภาวะด้านสังคม การยอมรับของบุคคลในครอบครัวมีผลต่อการตัดสินใจของ ผู้ป่วยในการแพร่กระจายเชื้อ หญิง “...บางครอบครัวแม่รังเกียจลูก ไม่ยอมรับ ทำให้เขาแสดงออก แก้แค้น.... ถ้าเราโดนแบบเขาเราอาจคิดทำก็ได้” “ไม่อยากให้คนอื่นเป็นเหมือนเรา ให้เขาดีๆไว้บ้าง ไม่อยากแพร่เชื้อให้ใครอีก”
ข้อค้นพบ สุขภาวะด้านจิตวิญญาณ ผู้ป่วยเชื่อว่าการติดเชื้อของตนเองเป็นเพราะเวรกรรมและ การทำให้ผู้อื่นติดเชื้อเป็นบาป หญิง“...มันคงเป็นเพราะเวรกรรม หนูทำไม่ดีมามากมันเลยมาตกที่หนู” ชาย“...กลัว หวาดระแวงจะทำให้ติดคนอื่น เท่ากับฆ่าคนอื่น... ผมกลัวกฎแห่งกรรม....แต่ก่อนเห็นสวยๆไม่ได้ตอนนี้กลัวแพร่เชื้อจะเป็นบาปติดตัว”
ข้อค้นพบ การรับรู้เกี่ยวกับการติดต่อโรคเอดส์ ผลของการมาเข้าโครงการยาต้านไวรัสทำให้ผู้ป่วยเกิดการ แสวงหาความรู้ หญิง“แต่ก่อนคิดว่าจะตายภายใน 5 ปี จึงไม่รับรู้ข่าวสารอะไรเลย เดี๋ยวนี้พยายามหาความรู้โดยการปรึกษาเพื่อนในกลุ่มและหาแนวทางร่วมกัน” ชาย“แต่ก่อนไม่มีความรู้เรื่องเอดส์เลย มารู้ที่โรงบาล มารู้มากตอนจะกินยาต้านและมากลุ่ม”
ข้อค้นพบ การรับรู้เกี่ยวกับการติดต่อโรคเอดส์ ผู้ป่วย 1 รายเชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหน้าที่การงานดีไม่ ขายบริการจะไม่ติดเอดส์ ชาย“ผมไม่ได้มีผู้หญิงคนเดียว ผมชอบเที่ยว แต่ไม่ใช่เที่ยวหญิงบริการนะ เป็นผู้หญิงตามคาราโอเกะ เป็นคนมาเที่ยวเหมือนกัน ไม่ใช่ผู้หญิงขายบริการ หน้าที่การงานเขาดี เจอกัน รู้จักกัน จีบกัน กินข้าว มีเพศสัมพันธ์ บางคนจีบเป็นเดือนถึงมีเพศสัมพันธ์ เดาไม่ออกเหมือนกันว่าติดมาจากไหน”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมการรับบริการด้านสุขภาพ ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญในการมารับยาและรับประทาน ยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพราะกลัวการเกิดเชื้อดื้อยา หญิง“มารับยาตลอด ไม่ลืม ยาคือชีวิต จะลืมได้ยังไง” ชาย“....ผมกลัวเขาลืมกินยาก็ตกลงกันว่าผมจะส่งซิกเบอร์ให้ไม่ต้องรับโทรศัพท์ สะดวกที่ว่า.....จัดเวลากินยา 1 โมงและ 1 ทุ่ม.....รอบ 2 โมงเช้ากับ 2 ทุ่ม...”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมการรับบริการด้านสุขภาพ ผู้ป่วยมองว่าตนเองมีคุณค่าเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับยาต้านไวรัส ชาย“ก่อนหน้าจะเข้าโครงการฯ (ยาต้าน) ผมไม่คิดเก็บเงินเลยเพราะไม่รู้จะเก็บไปทำไม....แต่ตอนมาเข้าโครงการแล้วผมมาคิดใหม่เพราะมัน ไม่ตายง่ายๆ....พ่อแม่พี่น้องยอมรับเรามากขึ้น...ปัจจุบันกลายเป็นว่าเขาพึ่งเรา...ถ้าเทียบกับคนอื่นเดี๋ยวนี้เราดีกว่าด้วยซ้ำ” ชาย“ตอนนี้แข็งแรงเต็มที่แล้ว ไม่ต่างกับคนอื่นเพราะกินยาเหมือนกัน คนอื่นเขาป่วยร่างกายแย่กว่าเราอีก อย่างคนที่เป็นโรคความดันก็รับยาเหมือนกับเรา”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้ป่วยกลับมาสนใจดูแลสุขภาพของตนเองในด้านต่าง ๆ หลังรับยาต้านไวรัส หญิง “ไม่ ไม่ออก (กำลังกาย) ก่อนกินยาไม่ทำเลย มีคนบอกให้ทำแต่ไม่ทำ คิดว่าเดี๋ยวตนเองก็ตายแล้ว” “เดี๋ยวนี้ได้ยินเพลงอะไรก็เต้นไปหมด (ออกกำลังกาย)” ชาย“ แต่ก่อนสูบบุหรี่จัด กินเหล้าจัด เดี๋ยวนี้เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ อบายมุขเลิกหมด”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เดิมผู้ป่วยไม่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อรับรู้ว่าติดเชื้อจะใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้นเพราะ กลัวแฟนติดเชื้อ กลัวถุงยางแตกแล้วเชื้อกลายพันธ์ แต่บางคู่ยังมองว่าการใช้ ถุงยางอนามัยมีผลต่อความรู้สึก ความสัมพันธ์ในฐานะสามีภรรยา ชาย“ใส่ถุงยาง 2 ชั้น กลัวแฟนติด กลัวแตกแล้วเชื้อผสมกันเกิดกลายพันธ์ ไม่ใส่เขาไม่ให้นอนด้วย” “ ใส่ 2-3 ชั้นทุกครั้ง เคยใส่ชั้นเดียวแล้วมันแตก” หญิง“แฟนบอกว่าเหมือนนอนกับหญิงที่ให้บริการเพราะต้องใส่ถุงยาง....ยังไงก็ต้องใส่ ถ้ารักเมีย รักตัวเองต้องใส่ ”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ผู้ป่วยมีการใช้ถุงยางอนามัยมากขึ้นเมื่อมารับบริการในสถาน บริการ ชาย “เป็นวัยรุ่นไม่อยากใช้ถุงยาง...อายเพราะไม่มีถุงยาง ไม่กล้าไปซื้อ....มารับยาก็ได้ถุงยางไปด้วย....พอ” หญิง “ต้องระวัง...กลัวเชื้อบวกกัน กลัวยาไม่ได้ผล กลัวเชื้อดื้อยา”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ผู้ป่วยชายโสดเมื่อมีความต้องการทางเพศจะเที่ยวหญิง บริการและมี 1ราย ที่งดการมีเพศสัมพันธ์ ชาย “...มีอารมณ์ก็เลยไปเที่ยว ไปกับเพื่อน..ที่เที่ยวเขาเตรียมให้ ใส่ถุงยางตลอด...” ชาย“.....เกือบ 3 ปีที่รู้ตัว ไม่เคย ไม่คิดผมบอกตรง ๆ ผมไม่เล่น (เพศสัมพันธ์)”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยชายจะกลับมามีความต้องการทางเพศทันทีหลังกินยาและสามารถ รับประทานอาหารได้ ส่วนผู้ป่วยหญิงจะมีความต้องการทางเพศหลังจาก ร่างกายแข็งแรงโดยทั่วไปพบว่า 1 ปีหลังกินยาต้านไวรัส ชาย “ความรู้สึกทางเพศกลับมาตอนกินยา กินข้าวได้ ร่างกายแข็งแรง” “.......กินยาปุ๊บ ร่างกายแข็งแรงขึ้นเลยช่วงแรกๆ ทานข้าวได้ความรู้สึกมาเลยภายในเดือน ร่างกายก็ดีเลย” หญิง “...มาคิดตอนกินยาแล้วแข็งแรงขึ้น...กินยาได้ประมาณ 1 ปี......ร่างกายปกติแล้วก็เลยอยากมีเพศสัมพันธ์”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ สังคมมองว่าการแต่งงานใหม่จะทำให้เสียชีวิต แต่ผู้ป่วย มองว่าสามารถแต่งงานได้ หญิง“มีคนเคยบอกเหมือนกันว่าอย่าแต่งงานใหม่นะ แต่งแล้วจะตาย เพราะแต่งงานใหม่ตายหลายคนแล้ว....... คิดว่าชาวบ้านเขามี (สามี) ได้เราก็น่าจะมีได้คือกัน บางทีก็คิดเขาคือมีผัวแล้วเราละ...”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ การมีคู่ใหม่ของผู้ป่วยเอดส์จะหาจากในกลุ่มผู้ติดเชื้อด้วยกัน และมี 4 รายที่มีคู่จากนอกกลุ่มและไม่ติดเชื้อ หญิง “มีเพื่อนในกลุ่มมาจีบ...ก็มีโจทย์อยู่เนื่องจากคนติดเชื้อมาชอบกันก็เปรียบเหมือนโลงผุกับผีเน่า แต่ถ้าชอบกับคนที่ไม่ติดเชื้อก็เหมือนตราบาปของเราที่อาจแพร่เชื้อให้กับคนอื่น” ชาย “เขา (ผู้หญิง) มาชอบผม มาขอกับพ่อแม่ว่าชีวิตของลูกพ่อกับแม่ หนูขอซื้อได้มั๊ย”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ เหตุผลที่ผู้ป่วยต้องการมีครอบครัวใหม่หลังจากสภาพร่างกายดีขึ้น เพราะต้องการเพื่อน ความอบอุ่นและไม่ต้องการเป็นภาระทางบ้าน หญิง“เริ่มรับยาต้านแล้วมันนอนไม่หลับ อยากมีเพื่อนคุย อยากมีคนเป็นเพื่อน เพราะอยู่กับลูก ค่ำมากลัว รู้สึกหว้าเหว่..อยากให้หมดภาระของพ่อแม่ ของพี่ทางบ้าน ไม่อยากพึ่งพิงผู้อื่น....”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ เหตุผลของการแต่งงานของผู้ป่วยถึงรู้ว่าติดเชื้อเพราะอยาก มีลูก ชาย“ผมรู้ว่าผมติดเชื้อมาก่อน.....กะลุ้นเอาว่าผมอยากมีลูกก่อนที่ผมจะเป็นอะไรไป ถ้าชาตินี้ก่อนผมตายผมไม่มีลูกมันคงแย่น่าดู ผมเลยตัดสินใจมีเสี่ยงเอา ลองเสี่ยงดูถ้าเกิดบุญมีโชคช่วย คลอดแล้วกินนมผงคงไม่ติด ผมลุ้นตรงนี้ครับ”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ เหตุผลของการที่ผู้ป่วยมีครอบครัวใหม่เพราะอยากมี รายได้เพิ่ม หญิง“...มีคนพาทำมาหากิน ทำงานมีรายได้เพิ่มขึ้น เคยไปตัดอ้อย ขุดมัน สองคนได้เงินเยอะ... ทำงานได้เหมือนคนปกติไม่เหนื่อยไม่ล้า....”
ข้อค้นพบ พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยเชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์บ่อยจะทำให้ร่างกายทรุด โทรมจึงกำหนดการมีเพศสัมพันธ์ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หญิง“มันเหนื่อยล้า ฟังจากหลายๆ คนเล่า เป็นคล้ายๆ กัน เหนื่อยง่าย รู้สึกโทรมๆ ..ดูจากเราเองเวลาแฟนยุ่งร่างกายจะผิดปกติ มีไอ เยี่ยวเล็ด...มีไม่บ่อย (เพศสัมพันธ์) อาทิตย์ละ 2 ครั้ง” ชาย“.....เขาบอกว่าเลือดขาว1 หยดเท่ากับเลือดแดง 100 หยด เลือดขาวที่เราพ่นลงไปทำให้เราเหนื่อย เสียกำลังเยอะ มันก็จะเหนื่อย ร่างกายทรุดลง”
ข้อค้นพบ มาตรการนโยบาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความร่วมมือในการดำเนินงานกับทุกกลุ่ม และเน้นวิธีการทำงานเชิงรุก จนท. “มีที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน มูลนิธิรักษ์ไทยมาร่วมดำเนินงานและสนับสนุนงบประมาณ กิจกรรมประสบความสำเร็จพอสมควรเพราะเราสามารถดึงงบประมาณมาช่วยได้หลาย ๆทาง” จนท. “...ทำเป็นเชิงรุก เน้นเพื่อให้ความรู้เรื่องการใช้ถุงยางอนามัย 100%.....ทำทุกกลุ่ม...ส่วนมากเราเน้นกันที่โรงเรียนเพราะตอนนี้ปัญหาที่โรงเรียนมากขึ้น”
ข้อค้นพบ ปัญหาระบบบริการ ผู้ป่วยกลัวลูกติด TB เมื่อมานอน รพ. เพราะนอนห้องเดียวกับผู้ป่วยวัณโรค เจ้าหน้าที่บ่นเมื่อผู้ป่วยที่มารับบริการไม่มีญาติเฝ้า และการให้บริการช้า สถานที่พบกลุ่มเปิดเผย ผู้ป่วย “คนที่ติดเชื้อมานอนโรงพยาบาลบ่อยมาก ไม่มีญาติเฝ้าเจ้าหน้าที่ก็บ่น คนส่งข้าวก็บ่น และลูกเคยมาป่วยแต่ให้อยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วยวัณโรค เราก็ไม่อยากให้อยู่เพราะกลัวติดวัณโรค แต่พยาบาลก็บอกว่าให้ยัดมันเข้าไปเลย เราเลยถามว่าถ้าลูกฉันเป็นทีบีคุณจะรับผิดชอบมั้ย” ผู้ป่วย “คนไข้มารับยาเยอะ หมอมาช้า สถานที่พบกลุ่มเปิดเผย จริงๆผมอยากมาพบกลุ่มนะ แต่แม่ไม่อยากให้มากลัวชาวบ้านรู้จัก.....จริงๆอยากมาเจอ สถานที่น่าแยกเป็นสัดส่วน อยากให้จ่ายยาที่นี่เลยจะได้รวดเร็ว”
ข้อค้นพบ ปัญหาระบบบริการ เจ้าหน้าที่มองว่าการให้บริการมีปัญหาในเรื่องความเหมาะสมของสถานที่ เวลาใน การให้บริการ ระบบ และขั้นตอนของการบริการ จนท. “สถานที่คับแคบอากาศถ่ายเทไม่ดี บุคลากรมีโอกาสสัมผัสเชื้อ เราไม่รู้ว่าผู้ป่วยมีโรคอื่นแฝงอยู่หรือไม่ เช่น Toxo, TB การให้บริการช้า วันนัด ARV อยากให้หมอตรวจ ARV อย่างเดียวจะได้มีเวลากับผู้ป่วยมากขึ้น การทำ One-stop service จะดีง่ายขึ้น” จนท. “...ควรมีแผนรองรับใน 3-5 ปี.... คนไข้มากกว่าโรงพยาบาลจังหวัดด้วยซ้ำ เราขาดนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์.......ทุกอย่างอยู่ในตัวพยาบาลคนเดียว”
ข้อค้นพบ ปัญหาระบบบริการ ผู้ให้บริการในระดับบริหารให้บริการ Counseling ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และไม่กระจายงานลงสู่ระดับปฏิบัติ จนท. “....ส่วนมากจะไม่ได้รับจากหัวหน้าตึกเลย (ความรู้) เพราะหัวหน้าทำCounseling ไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ บางทีเราคิดว่าเราอยากทำเองเพราะจะได้ลงรายละเอียดกว่าหัวหน้าตึก หัวหน้าตึกเองก็ไม่คิดถึงจิตใจผู้ป่วย หัวหน้าไม่กระจายเรื่องที่รับมา บางทีทำให้หลุด (เรื่องนโยบายและการปฏิบัติ) จนท. “...ผู้รับผิดชอบงานเอดส์ (ในตึกผู้ป่วย) อยากมีความรู้ข้อมูลข่าวสารการดูแล การให้คำแนะนำต่างๆ.....หัวหน้าไม่ให้ความสำคัญคือไม่ได้เข้าร่วมประชุม ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ARV กินเท่าไหร่ อย่างไร คนไข้คลอดยังไม่รู้เลยว่าเป็นอย่างไร ต้องให้การดูแลอย่างไร...เราอยากรู้แต่หัวหน้าไม่ส่งชื่อไป (ประชุม) เราจะไปขอก็จะถูกตำหนิ...”
ขอขอบพระคุณ ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ อาจารย์ที่ปรึกษา พ.อ.น.พ.ทวีศักดิ์ นพเกษร รศ.ดร. สมจิต แดนสีแก้ว และ ผศ.ดร. ภัทระ แสนไชยสุริยา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวังสะพุง แหล่งข้อมูล