530 likes | 1.49k Views
พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510. ให้แยกกฏหมายเกี่ยวกับภาษีป้ายออกจากประมวลรัษฎากร ในหมวดที่ 5 ภาษีป้าย ลักษณะ 2. 1. ป้ายที่ต้องเสียภาษี. - ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการ ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหา รายได้ - หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้
E N D
พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ให้แยกกฏหมายเกี่ยวกับภาษีป้ายออกจากประมวลรัษฎากร ในหมวดที่ 5 ภาษีป้าย ลักษณะ 2
1. ป้ายที่ต้องเสียภาษี - ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการ ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหา รายได้ - หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ - แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ดัวยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำ ให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น - ไม่เป็นป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย
2. ป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี 1) ป้าย ณ บริเวณโรงมหรสพ 2) ป้ายที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า 3) ป้ายในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว 4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนและสัตว์ 5) ป้ายภายในอาคารประกอบกิจการค้า (พ.ท. ไม่เกิน 3 ตร.ม.) 6) ป้ายของทางราชการ 7) ป้ายขององค์การที่ตั้งตามกฎหมายนั้นๆ และนำรายได้ส่งรัฐ 8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธกส. ธอส. และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 9) ป้ายโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ต่อ 10) ป้ายผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน 11) ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินการกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนา หรือ การกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ 12) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ 13) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) (1) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ (2) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน (3) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือ (1) และ (2) โดยมี พ.ท. ไม่เกิน 500 ตร.ซม.
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย 1. เจ้าของป้าย 2. กรณีไม่มีผู้ยื่นแบบ / หาตัวเจ้าของป้ายไม่ได้ - ผู้ครอบครองป้ายเป็นผู้มีหน้าที่เสีย - ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ เจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคาร/ที่ดินที่ป้าย ติดตั้งอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามลำดับ
คำถามที่ 1 บ. ซัพพลาย จำกัด ได้ก่อสร้างโครงป้ายเหล็กขึ้น นายศิริชัยจึงขอเช่าโครงป้ายดังกล่าว เพื่อแสดงป้ายโฆษณายี่ห้อโทรศัพท์ของตน ถามว่าใครเป็นเจ้าของป้ายตามความหมายของ พ.ร.บ. ภาษีป้ายฯ
กรณีตามคำถามที่ 1 บ. ซัพพลาย จำกัด ถ้าเป็นเจ้าของโครงป้ายเหล็กขนาดใหญ่ ก็จะต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำถามที่ 3 นาย Aเป็นเจ้าของอาคารได้ทำสัญญาให้นาย Bเช่าอาคาร นาย B จึงให้นาย Cเช่าพื้นที่บนอาคาร และนาย C ได้สร้างโครงป้ายเหล็ก ขึ้นเพื่อให้นาย Dเช่าโครงป้ายเพื่อโฆษณาการค้าของตน ขอให้เรียงลำดับผู้มีหน้าที่เสียภาษี?
4. ระยะเวลาการยื่นแบบฯ 1. เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในเดือน มีนาคมชองทุกปี 2. ติดตั้งป้ายหลังมีนาคม / ติดตั้งป้ายใหม่แทน ป้ายเดิม / เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเป็นเหตุให้ ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบฯภายใน 15 วัน
5. คำนวณพื้นที่ อัตรา และภาษีป้าย 1. การคำนวณพื้นที่ป้าย ให้คำนวณเป็น ตร.ซม. 2. อัตราภาษี แบ่งเป็น 3 อัตรา 1) อักษรไทยล้วน 3 บาท/500 ตร.ซม. 2) อักษรไทยปนต่างประเทศ/ภาพและ/เครื่องหมาย อัตรา 20บาท/500 ตร.ซม. 3) ป้ายต่อไปนี้อัตรา 40 บาท/500 ตร.ซม. ก. ไม่มีอักษรไทย ข. อักษรไทยบางส่วน/ทั้งหมดอยู่ใต้/ต่ำกว่า อักษรต่างประเทศ
ต่อ 4) เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมาย บางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้วเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษี ป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม 1) 2)หรือ 3) แล้วแต่กรณี และ ให้เสียเฉพาะจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น 5) ป้ายตาม 1) 2)หรือ 3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามี อัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียป้ายละ 200 บาท การคำนวณค่าภาษีให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษีมีพื้นที่ 10,000 ตร.ซม. เป็นป้ายประเภทที่ 2 ป้ายนี้เสียภาษีดังนี้ 10,000 / 500 X 20 = 400 บาท
ตัวอย่างการคำนวณค่าภาษีป้ายตัวอย่างการคำนวณค่าภาษีป้าย การคำนวณค่าภาษี ให้คำนวณโดยนำพื้นทีป้ายคูณด้วยอัตรา ภาษีป้าย เช่น ป้ายกว้าง 3 เมตร = 3 x 100 = 300 ซม. ป้ายยาว 5 เมตร = 5 x 100 = 500 ซม. ดังนั้น พื้นที่ป้าย = 300 x 500 = 150,000 ตร.ซม. ***ถ้ามีเศษเกินกึ่งหนึ่งของห้าร้อยตารางเซนติเมตร ให้นับเป็นห้าร้อยตารางเซนติเมตร ถ้าไม่เกินกึ่งหนึ่งให้ปัดทิ้ง 150,000 = 300 X 40 = 12,000บาท 500
วิธีการปัดเศษของพื้นที่ป้ายวิธีการปัดเศษของพื้นที่ป้าย = 2 พื้นที่ป้าย 1250 ตร.ซม. = 1,250 = 2.5 500 พื้นที่ป้าย 1251 ตร.ซม. = 1,251= 2.502 500 = 3 = 4 พื้นที่ป้าย 1800 ตร.ซม. = 1,800 = 3.6 500
การคิดคำนวณค่าภาษี ป้ายที่ติดตั้งในปีแรก มกราคม - มีนาคม = 100 % เมษายน - มิถุนายน = 75 % กรกฎาคม - กันยายน = 50 % ตุลาคม - ธันวาคม = 25 %
ตัวอย่างคิดอัตราภาษีประเภท ? ฉลองเปิดสาขาใหม่ www.Thaicarcare.com ล้าง อัด ฉีด ราคาพิเศษ 90 บาท
ตัวอย่างประเภทที่ 2 ฉลองเปิดสาขาใหม่ ล้าง อัด ฉีด ราคาพิเศษ 90 บาท www.Thaicarcare.com
1. ตัวเลข คิดเป็นอัตราภาษีประเภทที่เท่าไร คำถาม 084-3160342
สนใจโฆษณาติดต่อ TEL 084 - 3160342
ลักษณะของป้ายที่แม้จะอยู่ในโครงเดียวกันลักษณะของป้ายที่แม้จะอยู่ในโครงเดียวกัน แต่สามารถแยกส่วนของป้ายออกจากกันได้
2. แถบสี ต้องคำนวณเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับตัวอักษรหรือไม่
3. แถบสี เป็นตัวแบ่งขอบเขตของป้ายหรือไม่
4. ป้ายไตรวิชั่น คิดเป็นกี่ป้าย และเป็นป้ายประเภทที่เท่าไร
5. ป้ายที่อยู่ในโครงเดียวกัน แต่มองเห็นได้หลายด้านคิดเป็นกี่ป้าย คำพิพากษาฎีกาที่ 1265/2519
ป้ายที่อยู่ใต้กันสาดถือเป็นป้ายภายในอาคารหรือไม่ป้ายที่อยู่ใต้กันสาดถือเป็นป้ายภายในอาคารหรือไม่ ป้ายที่อยู่ใต้หลังคาบ้านเป็นป้ายภายในอาคารหรือไม่
ข้อสังเกต 1. ไม่มีบัญญัติว่า ป้ายต้องมีลักษณะที่ยึดติดกับพื้นดินเท่านั้น 2. ไม่มีบัญญัติว่า ภาษีป้ายคิดตามระยะเวลาที่ติดตั้งป้าย 3. ไม่มีบัญญัติ เรื่องการลดหย่อนภาษีป้าย หรืองดภาษีป้าย 4. ภาษีป้ายเป็นภาษีที่จัดเก็บล่วงหน้า
6. เงินเพิ่ม ผู้เสียภาษีป้ายต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังนี้ 1) ไม่ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดให้เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี เว้นแต่ก่อนที่ พนง.จนท. แจ้ง ให้เสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษีป้าย 2) ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง ทำให้เสียลดลง ให้เสียเงินเพิ่ม 10% ของ ภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่ได้มาแก้ไขแบบฯให้ถูกต้องก่อน พนง.จนท.แจ้งการประเมิน 3) ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของ ค่าภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นเดือน ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม 1) และ 2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย
7. บทกำหนดโทษ 1) ผู้ใดแจ้งข้อความ ถ้อยคำ ตอบคำถามอันเป็นเท็จ /นำพยาน หลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง/พยายามหลีกเลี่ยงการเสีย ภาษีป้าย โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี/ปรับไม่เกิน 5,000 ถึง 50,000 บาท/ทั้งจำทั้งปรับ 2) ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบฯ โทษปรับ 5,000 ถึง 50,000 บาท 3) ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย/ไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ที่ เปิดเผยในที่ประกอบการ โทษปรับ 1,000 ถึง 10,000 บาท 4) ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติ/ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งสั่งมาให้ถ้อยคำ /ให้ส่งบัญชี/เอกสารมาตรวจสอบภายในกำหนดอันสมควร โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน/ปรับ 1,000 ถึง 20,000 บาท/ทั้งจำ ทั้งปรับ
7. บทกำหนดโทษ กระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่ง ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมาย มีอำนาจการเปรียบเทียบได้สถานเดียว ถ้าชำระเงินค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายใน 30 วัน คดีเลิกกันตาม ป.วิ อาญา ถ้าไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือไม่ชำระเงิน ค่าปรับตามกำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
8. การอุทธรณ์การประเมินภาษี • เมื่อได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) แล้ว เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับแจ้งการประเมิน • ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้บริหารท้องถิ่นต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับแจ้ง
9. การขอคืนเงินภาษีป้าย • ผู้ที่เสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย / • เสียเกินที่ควรจะต้องเสีย • มีสิทธิขอคืนเงิน • ยื่นคำร้องขอคืนใน 1 ปี นับแต่วันที่เสีย