1 / 96

FOUNDATIONS OF EDUCATIONAL PARADIGM

วิชา 0500702. พื้นฐานกระบวนทัศน์ทางการศึกษา. FOUNDATIONS OF EDUCATIONAL PARADIGM. ผศ.เสริมเกียรติ พรหมผุย.

chandler
Download Presentation

FOUNDATIONS OF EDUCATIONAL PARADIGM

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา 0500702 พื้นฐานกระบวนทัศน์ทางการศึกษา FOUNDATIONS OF EDUCATIONAL PARADIGM ผศ.เสริมเกียรติ พรหมผุย

  2. 1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทย 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสังคมต่อการจัดการศึกษา 3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทโลกกับกระบวนทัศน์ทางการศึกษา วัตถุประสงค์ของรายวิชา

  3. 4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์รูปแบบ แนวคิด และกิจกรรมต่าง ๆ ทางการศึกษา โดยใช้พื้นฐานแนวคิดทางปรัชญา สังคมวิทยาและจิตวิทยา 5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ทางการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในแต่ละชุมชน

  4. คำอธิบายรายวิชา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับปรัชญา จิตวิทยาและกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา วิเคราะห์รูปแบบ แนวคิด และ

  5. กิจกรรมการศึกษาต่าง ๆ โดยใช้พื้นฐานแนวคิดทางปรัชญา สังคมวิทยา จิตวิทยา และเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น - แนวคิดซัมเมอร์ฮิลล์: Summer Hill - แนวคิดอัตถิภาวนิยม : Existentialism - แนวคิดมานุษยนิยมแนวใหม่ : Neo - humanism

  6. - แนวคิดการสร้างองค์ความรู้ : Constructivism - แนวคิดสังคมปราศจากโรงเรียน : Deschooling Society - การจัดการศึกษาทางอิเล็กทรอนิคส์ : E - learning - แนวคิดการเล่นปนเรียน : PLEARNและอื่น ๆ

  7. แผนการเรียนการสอน สัปดาห์ที่ / ครั้งที่ เนื้อหา / กิจกรรม ครั้งที่ 1 ( 8 คาบ) - การเปลี่ยนแปลงสังคมโลกและสังคมไทย - ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของ สังคมต่อการจัดการศึกษา - บริบทโลกกับกระบวนทัศน์ทางการศึกษา

  8. สัปดาห์ที่ / ครั้งที่ เนื้อหา / กิจกรรม ครั้งที่ 2 ( 8 คาบ) -การวิเคราะห์รูปแบบ แนวคิด ทฤษฎี และกิจกรรมต่าง ๆ ทางการศึกษาโดยใช้พื้นฐานแนว คิดทางปรัชญา สังคมวิทยา และจิตวิทยา เช่น แนวคิด Summer Hill แนวคิด Existentialism แนวคิด Neo - Humanism แนวคิด Constructivism แนวคิด Deschooling Society แนวคิด E - learning แนวคิด Charter School แนวคิด PLEARN

  9. สัปดาห์ที่ / ครั้งที่ เนื้อหา / กิจกรรม ครั้งที่ 3 ( 8 คาบ) -การวิเคราะห์ (ต่อ) ครั้งที่ 4 ( 8 คาบ) - การนำเสนอการออกรูปแบบการจัด การศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของ โรงเรียนในแต่ละชุมชน

  10. 1. การบรรยายของอาจารย์ประจำวิชา2. ศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสารประกอบการสอน3. การอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน4. การนำเสนอผลการออกแบบ รูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียน5. การสอบปลายภาค กิจกรรมการเรียนการสอน

  11. การประเมินผล 1. การเข้าร่วมกิจกรรม 45 % 2. การสอบปลายภาค 30 % 3. รายงานและการนำเสนอผลการ ออกแบบรูปแบบการจัดการศึกษา ของโรงเรียน 25 %**********************

  12. อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ต่อความคิดการศึกษาสังคมไทย นับตั้งแต่ประเทศไทยเปิดรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามา ทำให้ประเทศพัฒนาไปสู่สังคมที่เจริญขึ้นกว่าเดิม โดยขั้นตอนการพัฒนามีดังนี้

  13. 1. ยุคการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย(Modernization)เป็นยุคก่อนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ยังอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม

  14. 2. ยุคการพัฒนาประเทศ (Developmment) เป็นยุคที่เข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ราว ๆ ปี 2504 - 2513 แนวความคิดของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยได้กลายไปสู่สังคมที่มีระบบการเมืองแบบเผด็จการ การรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางของรัฐบาล ทหารมีอำนาจ

  15. แนวคิดนี้มุ่งที่จะมีแผนพัฒนาประเทศอย่างมีระเบียบตามแบบประเทศที่เจริญแล้ว นักการศึกษาส่วนใหญ่มักใช้แนวความคิดจากการที่ได้เรียนมาจากต่างประเทศ สังคมไทยยังได้รับอิทธิพลจากความคิดของตะวันตกที่ต้องให้สังคมไทยพัฒนาไปสู่สังคมอุตสาหกรรม

  16. 3. ยุคการพึ่งพาจากต่างประเทศ (Dependency) ราว ๆ ปี 2514 - 2519 เป็นยุคตื่นตัวของนักการศึกษาที่เริ่มตระหนักว่าแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศมิได้เป็นไปตามแบบอย่างที่นำมาจากตะวันตก

  17. เรามักจะไร้อิสระเสรีภาพต้องพึ่งพาประเทศที่เจริญแล้ว และยึดมั่นความรู้วิชาการของตะวันตกเป็นสรณะ ลองหันกลับมามองไทยด้วยสำนึกที่ว่า แนวความคิดในการพัฒนาประเทศไม่ได้เจริญเท่าที่ควรจะเป็น วัฒนธรรมไทยกับตะวันตกแตกต่างกัน

  18. 4. ยุคการพัฒนาความรู้จากสภาพท้องถิ่น (Indigenization) ตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา การศึกษาสังคมไทยจึงมีแนวโน้มที่จะหาความรู้จากสภาพท้องถิ่น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็จะต้องพัฒนาตามรูปแบบโครงสร้างวัฒนธรรมและสังคมไทย

  19. ยุคนี้เป็นยุคที่แสวงหาข้อเท็จจริงในสังคมไทยของตนเอง เพื่อที่จะหาคำตอบของสังคมไทย ว่าเป็นอย่างไร ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีอยู่จะแก้ไขได้อย่างไร อันจะนำประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

  20. 5. ยุคเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร : Information and Communication Technology (ICT) ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่ผสานความรู้เข้าหากัน เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ความรู้ต่างสาขาผ่านระบบคอมพิวเตอร์มีมากขึ้นทุกวัน หากต่างคนต่างอยู่บนพื้นฐานเดิม Paradigm เดิมคงไม่ได้

  21. จะต้องปรับตัวเองเข้าสู่การเป็น Knowledge - base Society ดังนั้น ICT จึงเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะต้องปรับตัวเองทั้งหมด ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ แล้วต่อเชื่อมรากไปยังชนบทเพื่อลดช่องว่างทุกด้าน

  22. สรุปยุคการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยสรุปยุคการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย 1. ยุคการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย (Modernization) 2. ยุคการพัฒนาประเทศ (Development) 3. ยุคการพึ่งพาอาศัยจากต่างประเทศ (Dependency) 4. ยุคการพัฒนาความรู้จากสภาพท้องถิ่น (Indigenization) 5. ยุคเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร (ICT)

  23. กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ในยุคโลกาภิวัตน์ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ โลกทั้งโลกได้เชื่อมโยงเป็นโลกใบเดียว ระบบต่างๆในสังคมไทยและสังคมโลก ได้ส่งผลกระทบถึงกันอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการเมือง

  24. โลกทวีความซับซ้อนและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโลกทวีความซับซ้อนและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระแสโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค ICTชิงความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ ในขณะที่สังคมไทยส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมบางส่วน

  25. ความสามารถในการสร้างศักยภาพการแข่งขัน เราจะต้องสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างความรู้เพื่อการพึ่งตนเอง ตลอดจนรู้จักนำคุณค่าของความเป็นไทย ความเป็นเอเซีย มาเจียระไนให้เป็นทุนสำคัญเพื่อการแข่งขันต่อไป

  26. การจัดการศึกษาของเยาวชนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างคนไทยให้สามารถแข่งขันบนกระแสโลกได้อย่างรู้เท่าทันและมีศักดิ์ศรี

  27. - ภาษาและวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือเริ่มต้นของการบูรณาการ - ส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการและแรงบันดาลใจ - กระบวนการเรียนรู้ (Learning process) ไม่ใช่กระบวนการสั่งสอน

  28. Learning Process เป็นกระบวนการทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนและของกลุ่มขึ้นมา คือ Learn how to learnไม่ใช่เรียนเพื่อจะสอบได้อย่างเดียว เหมือนเช่นแต่ก่อน

  29. ทักษะสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ทักษะสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ 1. Inquiry :ทักษะการสืบค้น2. Reflection :ทักษะการไตร่ตรอง

  30. Learning Society สังคมที่ไม่เรียนรู้เป็นสังคมที่ไม่ใช้ปัญญาปัจจุบัน ทุกฝ่ายเป็นห่วงในปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชน ไม่ว่าจะเป็น - การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย - บริโภควัตถุนิยม - ไร้แก่นสารสาระ แห่ตามกระแส - ไม่มีเป้าหมายในชีวิต

  31. ภาวการณ์นี้ เรียกได้ว่าเป็นภาวการณ์ขาดปัญญา ขาดรากเหง้าในเชิงคุณภาพจึงถูกกระแสโลกาภิวัตน์ลากไปตามยถากรรม เมื่อกระแสการไหลบ่าของโลกาภิวัตน์ทวีความชัดเจน วัฒนธรรมต่างชาติก็ไหลบ่าตามมาด้วย เยาวชนที่ขาดการบ่มเพาะในเชิงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงขาดรากเหง้าของตนเอง ถูกกระแสโลกาภิวัตน์พัดพาไปตามยถากรรม

  32. ในบริบทของสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเกิดจากโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคมไทย เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส ถึงเวลาที่จะต้องดำเนินชีวิตอย่างรู้เท่าทัน จะต้องเป็นฝ่ายกระทำ ไม่ใช่เป็นฝ่ายถูกกระทำ ดังนั้น ต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) มีการเรียนรู้ตลอดเวลา

  33. เด็กยุคปฏิรูปต้องมีหน้าตาอย่างไร1. มีสุขภาพดีทั้ง 3 มิติ - สุขภาพกาย - สุขภาพจิต - สุขภาวะทางสังคม2. มีความฉลาด ตื่นตัว ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน บริหารอารมณ์ได้ดี

  34. 3. รู้จักการคิด ใช้ปัญญา มีทักษะการสืบค้น (Inquiry) และไตร่ตรอง(Reflection) 4. เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง (Self learning) และการเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)

  35. 5. มีความคิดเป็นอิสระ มีจินตนาการและแรงบันดาลใจเป็นของตนเอง 6. มีคุณธรรม จริยธรรม และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี เป็นที่ต้องการของสังคม7. มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นได้

  36. 8. มีทักในการใช้ภาษาตนเองและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้ดี9. มีวิธีคิดและเข้าใจวัฒนธรรม ในบริบทของสากลและคุณค่าของความเป็นไทย

  37. ในยุคปฏิรูปการศึกษาต้องไม่พัฒนามนุษย์เป็นเครื่องจักรในยุคปฏิรูปการศึกษาต้องไม่พัฒนามนุษย์เป็นเครื่องจักร - เข้าใจกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ มนุษย์ให้ถ่องแท้ - เข้าใจมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ - ต้องไม่คิดกับมนุษย์แบบเครื่องจักร

  38. - การพัฒนามนุษย์จำเป็นต้องมีการจัดวางแบบแผนทางความคิด วิธีคิดและโครงสร้างระบบที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้มีแบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ดีสมบูรณ์ เต็มศักยภาพ เป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเอง ต่อสังคมและประเทศชาติสืบต่อไป

  39. - สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ - เป็นคนดี เป็นคนเก่ง - พึ่งตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ - สามารถใช้ปัญญาในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับโลกได้อย่างรู้เท่าทันและมีความสุข

  40. การเรียนในระบบใหม่ นักเรียนควรได้รับการจัดการเรียนรู้ที่สามารถดำรงตนอยู่ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและซับซ้อนได้ พันธกิจของโรงเรียนจะต้องสนับสนุนการเรียนรู้ระดับที่เหนือขึ้นไปถึงขั้นปัญญา (META LEARNING)

  41. META LEARNING 1. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ไม่เอนเอียงสุดขั้วด้านใดด้านหนึ่ง ระหว่างความตรงกันข้าม 2 ด้าน (Paradox) เช่น- สิ่งใหม่ กับ สิ่งเก่า - ความทันสมัย กับ การอนุรักษ์

  42. - เทคโนโลยี กับ ความเป็นธรรมชาติ - โลกาภิวัตน์ กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น - การพึ่งพาผู้อื่น (Dependency) กับ การพึ่งพาตนเอง (Independent) - Function กับ Feeling - Fact กับ Truth - ตรรก (logic) กับ อารมณ์ (Emotion)

  43. 2. สร้างพื้นฐานสำหรับการเป็นผู้นำสังคมในอนาคต โดย ต้องมีการจัดวางแบบแผนทางความคิด โครงสร้างระบบที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัย อันจะทำให้มีแบบแผนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ดี สมบูรณ์เต็มศักยภาพ เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเอง ต่อสังคมและประเทศชาติสืบต่อไป

  44. ปรัชญาของรูปแบบการคิดปรัชญาของรูปแบบการคิด ไทย ตะวันตก- คิดในลักษณะวงกลม - คิดในกรอบสี่เหลี่ยม- เป็นวงจรเชื่อมต่อ - เป็นระบบไม่เชื่อมต่อ- สมดุล - สุดโต่ง

  45. ไทย ตะวันตก- แสวงหาจากภายใน - แสวงหาจากภาย นอก- ความสมถะ - ความโลภ - เอื้อเฟื้อเกื้อกูล - แข่งขันชิงดีชิงเด่น- ซ่อนความรู้สึก - แสดงความรู้สึก

  46. Foundations of Educational Paradigm - Philosophy - Psychology - Sociology - Technology

  47. โรงเรียนเสรีภาพ Summer Hill Summer Hill ตั้งขึ้นเมื่อปี 1921 (พ.ศ.2464)ที่เมือง Leston ประเทศอังกฤษ ห่างจาก London ประมาณ 100 ไมล์

  48. รับนักเรียน อายุประมาณ 5 - 15 ปี แบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อายุ 5 - 7 ขวบ กลุ่มที่ 2 อายุ 8 - 10 ขวบ กลุ่มที่ 3 อายุ 11 - 15 ปี

  49. เด็กเหล่านี้จะอยู่บ้านแยกกันตามกลุ่มของตน- กลุ่มเด็กเล็กจะอยู่บ้านหนึ่งโดยมีแม่ บ้านคอยดูแล - กลุ่มที่สองจะอยู่ในอาคาร - กลุ่มที่สามกลุ่มเด็กโตจะอยู่ในกระท่อม* เด็กเล็กมีพี่เลี้ยง เด็กโตอยู่กับเพื่อน เด็กโตที่สุดมีห้องส่วนตัว ไม่มีใครมาตรวจตรา ไม่มีใครบอก

  50. การเรียนเป็นเรื่องของการเลือกไม่ใช่การบังคับการเรียนเป็นเรื่องของการเลือกไม่ใช่การบังคับ - การเรียนเป็นเรื่องความสนใจ ไม่บังคับ เข้าเรียนก็ได้ ไม่เข้าเรียนก็ได้ - เด็กนักเรียนจะเรียนชั้นใด ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ ความสนใจ และความต้องการของเขา - ทุกคนใน Summer Hill มีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครสั่งหรือบังคับ

More Related