430 likes | 751 Views
การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า และคดีการแข่งขันที่น่าสนใจ. โดย. นายมนัส สร้อยพลอย. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรการทางการค้า. กรมการค้าภายใน. พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542. เจตนารมณ์ของกฎหมาย. 1) ปกป้องการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม 2) ปกป้องประโยชน์ของผู้บริโภค. มาตรา 4.
E N D
การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า และคดีการแข่งขันที่น่าสนใจ โดย นายมนัส สร้อยพลอย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรการทางการค้า กรมการค้าภายใน
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
เจตนารมณ์ของกฎหมาย 1) ปกป้องการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม 2) ปกป้องประโยชน์ของผู้บริโภค
มาตรา 4 ข้อยกเว้น 1) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น 2) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ 3) กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์หรือชุมนุมสหกรณ์ 4) ธุรกิจตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำของ
คณะกรรมการ การแข่งขันทางการค้า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะอนุกรรมการ เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง คณะอนุกรรมการ สอบสวน - สำนักงานคณะกรรมการ การแข่งขันทางการค้า (กรมการค้าภายใน) โครงสร้างคณะกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้า
องค์ประกอบคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า องค์ประกอบคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ภาครัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ รองประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายใน เลขานุการและกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ - นิติศาสตร์- เศรษฐศาสตร์ - การบริหารธุรกิจ หรือ - การบริหาร ราชการแผ่นดิน กรรมการ 4 คน เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง กรรมการ 12 คน แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ภาคเอกชน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ม. 3 ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด 1) กำหนดเกณฑ์ 2) พิจารณาเรื่องร้องเรียน 3) สั่งการตามมาตรา 30 และ 31 4) สอดส่องและเร่งรัดการสอบสวนของคณะอนุกรรมการสอบสวน 5) พิจารณาดำเนินคดีอาญาตามที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ตามมาตรา 55 ม.26 การรวมธุรกิจที่ต้องขออนุญาต ม.35 กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต ม.30 - สั่งให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาด ที่มี ส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าร้อยละ75 - ระงับ หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการ มีส่วนแบ่งตลาด ม.31 - สั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืน มาตรา 25 - 29 ระงับ หยุด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง การกระทำ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับคำสั่งมีสิทธิ อุทธรณ์ได้ตามมาตรา 46
มาตรา 18 อำนาจหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า 1. ติดตามความเคลื่อนไหว และสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ 2. รับเรื่องร้องเรียนกรณีมีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้และพิจารณากลั่นกรองเพื่อเสนอคณะกรรมการ 3. เสนอแนะแนวทางและให้ความเห็นในการป้องกันการใช้อำนาจเหนือตลาด การรวมธุรกิจ การลดและการจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจ
มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาด กระทำการต่อไปนี้ • 1. กำหนดหรือรักษาระดับราคาซื้อ – ขายอย่างไม่เป็นธรรม • บังคับให้ลูกค้าของตนต้องจำกัด การบริการ การผลิต การซื้อ • การจำหน่ายอย่างไม่เป็นธรรม • 3. ระงับ ลด หรือจำกัด การบริการ การผลิต การซื้อ การจำหน่าย • การส่งมอบ การนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่มีเหตุผลสมควร • ทำลายหรือทำให้เสียหาย เพื่อลดปริมาณสินค้าให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด • 4. แทรกแซงการประกอบธุรกิจผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลสมควร
เกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาดของประเทศไทยเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาดของประเทศไทย หลักการ กำหนดเป็นเกณฑ์เดียวที่ใช้กับทุกธุรกิจ เกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาด 1. กรณีรายเดียว 1) ส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป 2) ยอดเงินขาย 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 2. กรณีสามรายแรก ในหนึ่งตลาดสินค้าหรือบริการ 1) ส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมา รวมกันตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป 2) ยอดเงินขายในปีที่ผ่านมา 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ยกเว้น ผู้ประกอบธุรกิจรายที่มีส่วนแบ่งตลาด ในปีที่ผ่านมา ต่ำกว่าร้อยละ 10 หรือผู้ประกอบธุรกิจรายที่มียอดขาย ในปีที่ผ่านมา ต่ำกว่า1,000ล้านบาท กำหนดเป็นเกณฑ์ เดียวที่ใช้กับทุกธุรกิจ
Business Domination ข้อมูล: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผู้ประกอบการ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเข้าเกณฑ์การเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด 2549 จำนวน 98 ราย ใน 42 ธุรกิจสินค้า/บริการ
มาตรา 25(1) 1. การกำหนดหรือรักษาราคาอย่างไม่เป็นธรรม - กำหนดหรือรักษาระดับราคาสูงอย่างไม่เป็นธรรม(Unreasonably High Price) โดยไม่มีเหตุผลสมควร เช่น การจำหน่ายวัตถุดิบในราคาที่สูงเพื่อทำให้ต้นทุนของคู่แข่งสูงขึ้น อันเป็นการสร้างอุปสรรคให้แก่คู่แข่งในตลาดสินค้า - กำหนดหรือรักษาระดับราคาอย่างไม่เป็นธรรม(Predatory Pricing) เช่น กรณีการขายต่ำกว่าทุน เพื่อกีดกันคู่แข่งรายใหม่หรือรายเล็กให้ออกจากตลาด - กำหนดราคาที่แตกต่างกันกับลูกค้า(Price discrimination ) สำหรับสินค้าที่มี คุณภาพปริมาณ และต้นทุนไม่แตกต่าง
มาตรา 25(2) 2. กำหนดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมกับคู่ค้า ซึ่งเป็นการจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ หรือจำหน่าย หรือจำกัดโอกาสการเลือกซื้อ / ขาย การรับ / ให้บริการ หรือการจัดกาสินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจอื่น การทำข้อตกลงจำกัดสิทธิเฉพาะ • สิทธิเฉพาะด้านข้อตกลง (Exclusivity dealing)เช่น ข้อตกลงที่ห้าม มิให้จำหน่ายสินค้าของคู่แข่ง การทำข้อตกลงจำกัดสิทธิ ที่บังคับให้คู่สัญญาที่อ่อนแอกว่าต้องยอมรับเงื่อนไขที่จะไม่ทำธุรกรรมกับแข่ง • สิทธิเฉพาะด้านอาณาเขต (Exclusivity Territories)เช่น การจำกัดพื้นที่ขาย ของตัวแทนจำหน่าย เพื่อรักษาระดับราคาของสินค้าของ • ผู้ผลิตนั้น
มาตรา 25(2)ต่อ บังคับซื้อพ่วงสินค้า (Tie – in sale)เป็นการวางเงื่อนไขบังคับว่า หากซื้อสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องการ จะต้องซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งด้วย เพื่อการกีดกันคู่แข่ง โดยจำกัดจำนวนผู้ซื้อที่คู่แข่งจะสามารถหาได้ เพิ่มต้นทุนของคู่แข่ง ลักษณะสินค้าที่มีการขายพ่วงมี 2 แบบ คือ - สินค้าที่ต้องใช้ประกอบกัน เช่น เบาะกับยางที่มากับรถยนต์ และรองเท้ากับเชือกผูกรองเท้า เป็นต้น - สินค้าที่ไม่ต้องใช้ประกอบกัน เช่น เหล้ากับเบียร์ ลูกไก่ กับอาหารไก่
มาตรา 25(2)ต่อ มาตรา 25(3) ปฏิเสธไม่ทำธุรกิจด้วย (Refusal to Deal)เป็นการปฏิเสธที่จะไม่ขายสินค้าให้ หรือไม่ติดต่อธุรกิจด้วย • ผู้ประกอบการในตลาด upstream ปฏิเสธที่จะขายสินค้าให้กับคู่แข่งในตลาด • downstream กำหนดราคาขายต่อ (Resale Price Maintenance) คือการกำหนดราคาขาย ให้ผู้จำหน่ายสินค้าของตน ขายสินค้าไม่ต่ำกว่าราคาที่กำหนด ระงับ ลด หรือจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ การจำหน่าย การส่งมอบ การนำเข้ามา ในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ทำลายหรือทำให้เสียหายซึ่งสินค้าเพื่อลดปริมาณสินค้าให้ต่ำกว่า ความต้องการของตลาดที่มีอยู่ตามปกติ
มาตรา 25(4) การแทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น - ด้านราคา - ปริมาณ หรือ - คุณภาพของสินค้า - การแทรกแซงหรือสร้างความปั่นป่วนภายในบริษัทคู่แข่ง เช่น บังคับให้ลูกค้าผิดสัญญากับคู่แข่งขัน สร้างความปั่นป่วนโดยการข่มขู่กรรมการของบริษัทคู่แข่ง มิให้กระทำการขัดผลประโยชน์ของตน การเข้าไปมีอำนาจควบคุมการบริหารในบริษัทอื่นโดยมีวัตถุประสงค์ จำกัด ลดการแข่งขัน หรือทำลายบริษัทอื่น การพิจารณามีผลทำให้ราคา ปริมาณ หรือคุณภาพ ที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นธรรมผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือการเข้าสู่ตลาดของรายใหม่
มาตรา 26 ข้อป้องกันเพื่อมิให้เกิดสภาพการผูกขาด หรือไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิดการผูกขาด หรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
มาตรา 27 ห้ามมิให้ร่วมกันกระทำการใดๆ อันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขัน 1. กำหนดราคาขาย รวมทั้งการจำกัดปริมาณการขาย 2. กำหนดราคาซื้อ รวมทั้งการจำกัดปริมาณซื้อ 3. ครอบครองตลาด หรือควบคุมตลาด 4. สมคบกันประมูล
มาตรา 27 ห้ามมิให้ร่วมกันกระทำการใดๆ อันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขัน(ต่อ) โดยห้ามตกลงร่วมกันกระทำการต่อไปนี้ 5. แบ่งท้องที่ขาย และ/หรือกำหนดกลุ่มลูกค้าขาย 6. แบ่งเขตท้องที่ซื้อ และ/หรือกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ซื้อ 7. จำกัดปริมาณให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด 8. ลดคุณภาพโดยจำหน่ายราคาเดิมหรือสูงขึ้น 9. แต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลใดแต่ผู้เดียวเป็นผู้จำหน่าย 10.กำหนดเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อการจำหน่าย แบบเดียวกัน หรือตามที่ตกลงกัน
มาตรา 28 การห้ามมิให้กระทำการตกลงกับต่างประเทศ ที่เป็นผลให้ผู้บริโภคถูกจำกัดการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะเป็นโดยทางสัญญา นโยบายความเป็นหุ้นส่วน การถือหุ้นหรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะอันใด ทำนองเดียวกัน ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้บุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรที่ ประสงค์จะซื้อสินค้าหรือบริการมาใช้เอง ต้องถูกจำกัดโอกาสในการเลือก ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรโดยตรง
มาตรา 29 ข้อห้ามมิให้กระทำการใดอันมิใช่ การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการใดๆ อันมิใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่น ต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ
แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้า ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง กับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย (1) การกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรม (2) การเรียกรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม (3) การคืนสินค้าโดยไม่เป็นธรรม (4) การใช้สัญญาการฝากขายที่ไม่เป็นธรรม (5) การบังคับให้ซื้อหรือให้จ่ายค่าบริการอย่างไม่เป็นธรรม (6) การใช้พนักงานของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายอย่างไม่เป็นธรรม (7) การปฏิเสธการรับสินค้าที่สั่งซื้อหรือผลิตพิเศษ เป็นตราเฉพาะของผู้สั่งผลิต หรือเป็นตราเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งอย่างไม่เป็นธรรม (8) การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมอื่นๆ
ห้ามกระทำการผูกขาด ลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขัน ป้องกันมิให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดบิดเบือนตลาดให้เสียหาย มาตรา 25 ป้องกันการรวมธุรกิจที่ก่อเกิดการผูกขาด หรือการแข่งขัน ที่ไม่เป็นธรรม มาตรา 26 ห้ามมิให้ร่วมกันผูกขาด ลด หรือ จำกัดการแข่งขัน มาตรา 27 ห้ามการตกลงร่วมกับต่างประเทศ จำกัดทางเลือกผู้บริโภค ในการซื้อสินค้า/บริการจากต่างประเทศ มาตรา 28 ห้ามกระทำการใดๆ อันมิใช่เป็นการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม มาตรา 29
การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า ผู้เสียหาย การร้องทุกข์ การสอบสวน
มาตรา 40 ให้บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการฝ่าฝืนมาตรา 25 – 29 มีอำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำการฝ่าฝืนนั้นได้ ในการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคได้ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย มาตรา 41 การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย ตามมาตรา 40 มีกำหนด 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายรู้
การดำเนินการ-เรื่องร้องเรียนการดำเนินการ-เรื่องร้องเรียน - จดหมาย- ด้วยตนเอง - โทรศัพท์- E-mail ร้องเรียน • ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับพฤติกรรม • สืบสวน หาข้อเท็จจริงพยาน หลักฐาน • ให้ความเห็นทางกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่องร้องเรียนไม่มีมูล แจ้งมติให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน15 วันทำการ นับแต่วันมีมติ เรื่องร้องเรียนมีมูล สรุปความเห็น หรือสำนวนสอบสวน คณะอนุกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือคณะอนุกรรมการสอบสวน สั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง อัยการ ศาล อัยการ
คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมาย กรณี ประเทศไทย ร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า สั่งฟ้อง ตำรวจ ไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่ง • สั่งเปลี่ยนแปลงการกระทำ • เปรียบเทียบปรับกรณีไม่ • ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการ อัยการ ศาลขั้นต้น จำเลย/โจทก์ ปฏิบัติตามคำสั่ง อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ยุติคดี ศาลฎีกา
อำนาจของคณะกรรมการการแข่งขันฯอำนาจของคณะกรรมการการแข่งขันฯ มาตรา 30 ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า ระงับ หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการมีส่วนแบ่งตลาด ในการนี้คณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
อำนาจของคณะกรรมการการ (ต่อ) มาตรา 31 ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนมาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 28 หรือมาตรา 29 • คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจระงับ หยุด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำ • ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับคำสั่งตามวรรคหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 46
มาตรา 53 ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการหรือการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจจะพึงสงวนไว้ ไม่ เปิดเผย ซึ่งตนได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัตินี้ - ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท หรือ - ทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการ ปฏิบัติราชการหรือเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน หรือการพิจารณาคดี มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 25 -29 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ต้องระวางโทษ - จำคุกไม่เกินสามปี หรือ - ปรับไม่เกินหกล้านบาท หรือ - ทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่กระทำความผิดซ้ำ ต้องระวังโทษทวีคูณ มาตรการลงโทษ
มาตรการลงโทษ (ต่อ) มาตรา 55 ความผิดตามมาตรา 51 และมาตรา 54 - ผู้เสียหายไม่มีสิทธิฟ้อง คดีอาญาด้วยตนเอง แต่ - มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ คณะกรรมการเพื่อพิจารณา ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 54 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล - ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการหรือ ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลในเรื่องนั้น - เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำ โดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมหรือตนได้จัดการ ตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้น แล้ว
มาตรการลงโทษ (ต่อ) มาตรา 56 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี - ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ในการใช้อำนาจ ดังกล่าว คณะกรรมการอาจ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำแทนได้ -เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กรณีศึกษา การแข่งขันที่ไม่เสรีและไม่เป็นธรรม
ยูบีซีมีพฤติกรรมขัดต่อกฎหมายยูบีซีมีพฤติกรรมขัดต่อกฎหมาย การแข่งขันทางการค้าหรือไม่ ประเด็นการพิจารณามี 2 ประเด็น • มาตรา 25(1) • กำหนดราคาจำหน่ายอย่างไม่เป็นธรรม(ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) • มาตรา 27(1) และ (8) • 27(1) กำหนดเป็นราคาเดียวกัน (รวมธุรกิจก่อน) • 27(8) ลดคุณภาพ (มีการจัดแบ่ง Package ใหม่) • ความเห็นคณะกรรมการแข่งขันฯ • ยังไม่มีพฤติกรรมเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันทางการค้าแต่ขอให้ติดตามกำกับดูแลพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด
TH Thailand 2002-2003 • Fact • ธุรกิจจักรยานยนต์ มีผู้ประกอบการน้อยราย เป็นตลาดลักษณะ Oligopoly • Authorized Dealer จะเป็นสัญญารายปี และจะต่อสัญญาอัตโนมัติ เมื่อไม่มีการบอกเลิกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง Motorcycle • Conducts • พฤติกรรมการเสนอเงื่อนไขพิเศษ โดยบังคับทางอ้อม • จำกัดโอกาสหรือทางเลือกในการประกอบธุรกิจ • สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด • ขาดอิสระในการประกอบธุรกิจ Thai FTC สำนักงาน อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ฝ่าฝืน มาตรา 29 โดยมีพฤติกรรม เห็นว่ามีความผิด เห็นว่าไม่มีความผิด • เป็นพฤติกรรมการค้าปกติ • ระยะที่จำกัดการขายตราอื่น เป็นเวลาสั้นๆ (1ปี) • ไม่ได้ห้ามญาติตัวแทนจำหน่ายตราอื่นๆโดยเด็ดขาด • ตัวแทนมีสิทธิเลือกในการขายตราอื่นๆ • ช่องทาง/ปริมาณการขายที่ลดลง เป็นความเสียหายปกติทางการค้า ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการยกเลิกการเป็นตัวแทน • เสนอเงื่อนไขพิเศษโดยบังคับทางอ้อม ให้เปลี่ยนมาขายเฉพาะตราของตนเอง • จำกัดโอกาส/ทางเลือกการประกอบธุรกิจ • สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด • ทำให้ขาดอิสระในการประกอบธุรกิจ ส่งให้สอบสวนใหม่
TH Thailand 2006-2007 Fact • เป็นตลาด Duopoly • ลูกค้าอยู่ในวงจำกัด • ผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ธุรกิจมีความเกี่ยวโยงกัน • ทั้ง 2 บริษัท มีการขาดทุนสะสมต่อเนื่องเนื่องจากการลงทุนเชื่อมโยงท่อไปยังสุวรรณภูมิ Pipeline Business JP1 30% 70% Conducts ใช้ท่อ FPT + ลงทุนเพิ่ม Thappline • Thappline เป็นผู้ให้บริการขส่งน้ำมันเป็นระยะเวลา 13 ปี (2537) • JP1 ลงทุนธุรกิจใหม่ให้บริการขนส่งน้ำมัน เพียง Jet fuel จากคลังช่องนนทรีไปสุวรรณภูมิ ลงทุนเพิ่ม ผู้ร้องเรียน ขอระงับ ข้อร้องเรียน TCC ไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่า บ. Thappline กำหนดค่าบริการขนส่งน้ำมันอากาศยานระบบท่อขนส่งไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในอัตราที่ทำให้รายได้ต่ำกว่าต้นทุน หรือ ทำให้ขาดทุน คณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญ เนื่องจากได้หารือร่วมกับ บมจ.ปตท. (ผู้ถือหุ้นหลัก ของผู้ถูกร้องเรียน) และได้บรรลุแนวทางแก้ไขปัญหา อันเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้ว ข้อร้องเรียน Thappline .ให้บริการธุรกิจขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานระบบท่อขนส่งต่ำกว่าทุน
ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ www.dit.go.th/otcc 0-2547-5428 ถึง 33 0-2507-5878 ถึง 85 1569