290 likes | 685 Views
สุนัขบางแก้วดุจริงหรือ. กัลยา บุญญานุวัตร นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์. ประวัติสุนัขพันธุ์บางแก้ว.
E N D
สุนัขบางแก้วดุจริงหรือ กัลยา บุญญานุวัตร นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
ประวัติสุนัขพันธุ์บางแก้วประวัติสุนัขพันธุ์บางแก้ว ประวัติความเป็นมา ของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จากข้อมูล ที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ต.บางแก้ว บ้านชุมแสงสงคราม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว นั้นอยู่ที่ วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็น ป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
ประวัติสุนัขพันธุ์บางแก้ว (ต่อ) • สันนิษฐานกันว่าหมาบางแก้วมาจากการผสมข้าวพันธุ์ระหว่างสุนักพันธ์ไทย • โบราณเพศเมียกับหมาจิ้งจอกและหมาไน เนื่องจากลักษณะเด่นที่หมาบางแก้ว • ได้รับการถ่ายทอดจะมาจาก 3 สายพันธุ์นี้เป็นหลัก กล่าวคือ • หมาจิ้งจอก (Canis Auresus) • หมาไน (Asiam Wild Dog) • หมาไทยพื้นบ้าน
หมาจิ้งจอก • หมาจิ้งจอก (Canis auresus) มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด • 1. หมาจิ้งจอกทองหรือหมาทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus มีลักษณะคล้ายหมาป่าวูล์ฟ ขนาดเล็ก มีอยู่อย่างกระจัดกระจายตั้งแต่อัฟริกาใต้ไปจนถึงอัฟริกาเหนือ มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ส่วนหลังและหางจะแซมด้วยขนสีดำ • 2. หมาจิ้งจอกหลังดำ (Black-backed) หรือหลังอาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า • Canis mesomlas พบในอัฟริกาตอนกลาง อัฟริกาใต้ ที่หลังมีขนยาวสีดำปนขาวแผ่กระจายเต็มหลังไปจนถึงบริเวณหางคล้ายกับอานม้าและใบหูใหญ่
หมาจิ้งจอก (ต่อ) • 3. หมาจิ้งจอกข้างลาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis adustus หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้มีขนสีเทาและมีขนสีดำพาดเป็นทางด้านข้างของลำตัว ที่ปลายหางจะมีสีขาว พบในอัฟริกาเขตร้อน • 4. หมาจิ้งจอกไซเมี่ยน แจ็คกัลป์ (Simian Jackal) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า • Canis simensis พบในเขตที่ราบสูงเอธิโอเปีย มีรูปร่างและขนาดอยู่ระหว่างหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) และหมาป่าวูล์ฟ (Wolf) แต่ดูแล้วจะเหมือนหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) มากกว่า
หมาจิ้งจอก (ต่อ) • ลักษณะที่เด่น ๆ คือ หูตั้ง ใบหูใหญ่ ปลายหูแหลม ลำตัวค่อนข้างยาว ขนตามลำตัวสีแดง ส่วนขนที่ใต้คอสีขาว และมีแนวขนสีแดงแก่พาดรอบคอ ขายาว บนที่บริเวณปลายขาจะมีสีขาว หางเป็นพวง โคนหางขาวปลายโคนหางประมาณ 100 เซนติเมตร (40 นิ้ว) หรือ 1 เมตร หางยาว 30 เซนติเมตร (10 นิ้ว) น้ำหนัก 10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) ตามธรรมชาติจะชอบอยู่เป็นคู่หรืออยู่ลำพังตัวเดียว หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้นับว่าเป็นหมาที่มีขนาดใหญ่
หมาจิ้งจอก (ต่อ) • แต่ชนิดที่มีอยู่ในแถบเอเชียและที่พบในประเทศไทยนั้นเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus indicusขนของหมาจิ้งจอกจะมีสีน้ำตาลปนเทา มีลายกระดำกระด่างเปรอะ ๆ ไม่มีสีพื้นแดงสนิมเหมือนอย่างขนของหมาไน นอกจากนั้นแล้วยังมีขนยาวปกคลุมรอบคอเป็นแผงใหญ่ ขนในบริเวณนี้ปลายขนจะมี สีดำ ขนตามลำตัวจะมีลักษณะเป็นขนสองชั้น แผ่นชี้ปกคลุมตั้งแต่ท้ายทอยลงมาถึงกลางหลังเรื่อยลงไปจนถึงโคนหาง มีลักษณะคล้ายกับอานม้ามากกว่าขนที่กลางหลังของหมาไทยพันธ์หลังอานเสียอีก เพราะขนที่หลังของหมาหลังอานเป็นขนชนิดที่ย้อนกลับคล้าย ๆ กับขวัญ
หมาจิ้งจอก (ต่อ) • หางของหมาจิ้งจอกจะสั้นกว่าหางของ หมาไนและขนที่หางจะมีสีดำเพียง 1 ใน 3 ส่วนหมาไนนั้นขนที่หางจะมีสีดำ • ความสูงประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 7-14 กิโลกรัม (15-31 ปอนด์) ความยาวของลำตัววัดจากหัวถึงโคนหางประมาณ 60-70 เซนติเมตร (24-30 นิ้ว) ความยาวของหางวัดจากโคนหางถึงปลายหางประมาณ 23-25 เซนติเมตร (9.2-14 นิ้ว) สำหรบขาขอหมาจิ้งจอกจะเล็กและยาวเรียวเวลาก้าวย่างเดินจะโหย่งเท้า
หมาจิ้งจอก (ต่อ) • กะโหลกศีรษะอยู่ในจำนวนพวกสกุลคานิส ลักษณะของจมูกจะยาว แต่จมูกไม่ดำ ลำตัวกลมและแข็งแรง สันกลางต่ำ โค้งกว้างแตกต่างกับหมาไน ซึ่งมีจมูกสั้นและจมูกสีดำ หน้าผากของหมาจิ้งจอกค่อนข้างจะแบนเล็กน้อย หน้าแหลม หูตั้งป้องไปด้านหน้า
หมาไน • หมาไน (Asiam Wild Dog) • มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon alpinusชื่อเมือนหรือชื่อพ้องคือ Canis javanicus • หรือ Canis rutiland บางครั้งก็เรียกหมาในว่า "หมาแดง" (Red dog) มีลักษณะ • แตกต่างกว่าหมาจิ้งจอก คือ มีสีแดงสนิม (Rush red) ตลอดทั้งตัว ไม่มีแผงคอ • เหมือนหมาจิ้งจอก หางมีสีดำ ความยาวของหาง 40-50 เซนติเมตร (16-20 นิ้ว) • ความยาวของลำตัววัดจากหัวถึงโคนหาง 88-113 เซนติเมตร (35-45 นิ้ว) • น้ำหนักตัว 14-21 กิโลกรัม จึงมีลักตัวยาวเพรียวกว่าหมาจิ้งจอกและท้อง • ไม่คอดกิ้วเช่นหมาไทยพื้นบ้าน
หมาใน (ต่อ) • หมาไนตัวใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก มีสีเดียวกันตลอดทั้งตัว (มากกว่าหมาจิ้งจอก) • หางยาวและสีเข้มกว่า จมูกเข้มกว่า และสั้นกว่า ภายในหูมีขนขาวละเอียดอ่อน • ปกคลุม ปลายหูกลมมน ไม่แหลมเหมือนหมาจิ้งจอก มีขนตามลำตัวสีแดงสนิม • ขนยาวกว่าหมาจิ้งจอก ขนที่แผงคอไม่มี (หมาจิ้งจอกมี) เท้าและขนที่หางมีสีดำ • ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีดำคล้ำ เมื่อโตขึ้นสีจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงสนิม
หมาใน (ต่อ) • กะโหลกศีรษะคล้ายกับของหมาจิ้งจอก แต่ใหญ่กว่า จมูกกว้างและส่วนหน้าแบน • กว่า เบ้าตาต่ำกว่า รูปร่างฐานเบ้าตาสั้นกว่าและทื่อค่อนไปทางข้างหน้า ลักษณะฟัน • ไม่เหมือนกัน ไม่มีกรามที่สามด้านล่าง กรามล่างอันแรกมีเพียงเขี้ยวเดียว • (แต่ในหมาจิ้งจอกมี 2 เขี้ยว) ปากอมสีน้ำตาลเข้มหรืออาจมีสีขาวปน หางเป็นพวก • ห้อยลงดิน ส่วนมากจะหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ร่มหรือโพรงดินตื้น ๆ เห่าเสียง • ธรรมดาถี่ ๆ แต่เมื่อตกใจจะร้องเสียงแหลม หมาไนสามารถกระโดดได้ไกล • 3-3.5 เมตร เวลาวิ่งกระโดดไกล 5-6 เมตร และสูง 3-3.5 เมตร เวลาล่าเหยื่อที่ • เป็นสัตว์ใหญ่กว่าจะรวมตัวกันเป็นฝูง 6-8 ตัว จนถึง 20 ตัว หาเหยื่อได้โดย • การดมกลิ่น และสะกดรอยไปจนเห็นเหยื่อ จากนั้นจะไล่เหยื่อไปจนเหนื่อยอ่อน • และจนมุม
หมาไทยพื้นบ้าน • หมาไทยพื้นบ้าน • ขนตามลำตัวสั้นเกรียน ละเอียดเป็นเงา หูตั้ง ปลายหูแหลม แข้งขาเล็กเรียว • คล้ายขาเก้ง อุ้งเท้าเล็ก ลำตัวค่อนข้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หางมีหลายรูปแบบ • คือหางกระรอก หางงอม้วนเป็นก้นหอยหรือขนมกง
การรวมพันธุกรรม • จากหมาจิ้งจอก ลักษณะต่าง ๆ ทางพันธุกรรมที่หมาบ้างแก้วได้รับจากหมาจิ้งจอกที่เห็นได้ชัดคือ • ข้อเท้า เอนเข้าหาตัวเพียงเล็กน้อย • เขี้ยว ที่เล็กและแหลมคม • สีขน มีลักษณะจุดประหรือแต้มด่าง ซึ่งในหมาไทยทั่วไปไม่มี • เส้นขน หยาบเป็นมันส่องประกายแวววาว ส่วนมากจะเหยียดตรงหรือหยิกฟูนุ่มมือน้อยกว่าหมาไทยลูกผสมอื่นๆ ลูกหมาบางแก้วอายุ 1-2 เดือน ขนจะหยาบกระด้างกว่าขนของหมาจู
การรวมพันธุกรรม (ต่อ) • ขน เป็นขนยาวสองชั้น โดยขนชั้นในสั้นเป็นปุยและละเอียดอ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย ขนชั้นนอกยาวฟู บริเวณกกหู คอ ใต้คาง และแผงอกแผ่กระจายดูคล้ายคอสิงห์โต ขนที่สีข้างจะค่อนข้างยาว • หู คล้ายหมาจิ้งจอก มีขนปุกปุยในรูหูและโคนกกหูด้านนอก
การรวมพันธุกรรม(ต่อ) • จากหมาไน พันธุกรรมที่หมาไนถ่ายทอดมาสู่หมาบางแก้วที่สังเกตได้คือ • ขน หมาบางแก้วบางตัวมีขนสีน้ำตาลแดงหรือสีสนิมแต้มอยู่บริเวณแก้ว ลำตัว อุ้งเท้า ถ้าเป็นเพศเมียจะมีบริเวณอวัยวะเพศอย่างเห็นได้ชัด • หู เล็กสั้นและตั้ง • ลำตัว ลำตัวจะยาวและท้องไม่กิ่วเหมือนหมาไทยพื้นบ้าน • หาง อาจมีขนสีดำที่โคนและปลายหาง • ขา ใหญ่กว่าหมาไทยทั่วไป • ปาก บางตัวปากมอม ซึ่งในหมาจิ้งจอกจะไม่มีปากมอม
การรวมพันธุกรรม(ต่อ) • จากหมาไทยพื้นบ้าน พันธุกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา หมาบ้างแก้วได้รับการถ่ายทอดจากหมาไทยพื้นบ้าน โดยเฉพาะหางที่โค้งงอขึ้นบน
มาตรฐานพันธุ์บางแก้ว มาตรฐานพันธุ์สุนัขไทยบางแก้วที่กำหนดขึ้นโดยชมรมผู้อนุรักษ์และพัฒนาสุนัขไทยบางแก้วพิษณุโลกแห่งประเทศไทยมีดังนี้คือลักษณะทั่วไปสุนัขบางแก้วมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวคือมีขนปุยยาวมีความสง่างามว่องไวและแข็งแรง
มาตรฐานพันธุ์บางแก้ว(ต่อ)มาตรฐานพันธุ์บางแก้ว(ต่อ) เวลายืนมักเชิดหน้าและโก่งคล้ายม้าเป็นสุนัขขนาดกลางรูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสอกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอกไหล่กว้างท้องไม่คอดกิ่วหน้าแหลมหูเล็กหางพวงขนมีสองชั้นนิสัยรักเจ้าของฉลาดปราดเปรียวกล้าหาญค่อนข้างดุสามารถฝึกหัดได้ชอบเล่นน้ำมาก
มาตรฐานพันธุ์บางแก้ว(ต่อ)มาตรฐานพันธุ์บางแก้ว(ต่อ) ขนาดขนาดเท่ากับสุนัขไทยหรือเล็กกว่าเล็กน้อยไม่อ้วนความสูงวัดที่ไหล่ตัวผู้สูง 42-53 เซนติเมตรตัวเมียสูง 38-48 เซนติเมตรน้ำหนักตัวผู้ 14-16 กิโลกรัมตัวเมีย 13-15 กิโลกรัมลำตัวช่วงหัวตอนหน้าใหญ่ช่วงตัวตอนท้ายค่อนข้างเล็กลำตัวหนาปานกลางอกลึกปานกลางยืดอกเวลายืนส่วนเอวจะคอดกว่าสุนัขไทยท้ายลาดสง่าเหมือนสุนัขจิ้งจอก
ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้วลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว • ลักษณะหน้าเสือ ใบหน้าดูคล้ายเสือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าผากกว้าง โคนหูตั้งอยู่ห่างกัน หูเล็กแบะออกเล็กน้อย แววตาเซื่องซึม พื้นสีตามักจะเป็นสีเหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีขนย้อยจากโคนหูด้านล่างเป็นแผงที่คอ เรียกว่า แผงคอ แต่ไม่รอบคอ ขนมีทั้งฟูและไม่ฟู มีหางเป็นพวง ทั้งหางงอ และหางม้วน แลดูดุร้าย เป็นลักษณะของสุนัขบางแก้วที่ใหญ่ที่สุด
ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ)ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ) 2. ลักษณะ หูเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยม ป้องไปข้างหน้ารับกับใบหน้าอย่างสวยงาม ปากไม่เรียวแหลมมาก ไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป มีขนยาวตั้งแต่โคนหูลงมาด้านล่าง และมีขนเป็นเคราจากใต้คางย้อยลงมาเหมือนคอพอกลงมาถึงคอด้านล่าง ยามปกติแววตาและท่าทางเซื่องซึม แต่เมื่อเป็นศัตรูหรือคนแปลกหน้า จะเปลี่ยนเป็นดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวทันที ลักษณะหน้าสิงโตเป็นลักษณะที่หายามาก นาน ๆ จึงจะพบเห็นสักตัวหนึ่ง
ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ)ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ) 3. ลักษณะหน้าจิ้งจอก มีใบหน้าแหลม หูใหญ่กว่าลักษณะหน้าเสือและหน้าสิงโต ใบหูไม่ตรงโย้ออกด้านข้าง มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลมเรียวและค่อนข้างยาว ขนอ่อนยาวเรียบ ขนหางเป็นพวง รูปร่างมีทั้งใหญ่ กลางและเล็ก อุปนิสัยไม่ค่อยดุร้ายเหมือนสองพวกแรก
ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ)ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ) เวลาดีใจเมื่อเดินหรือวิ่งจะแกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัย จะยกหางสูงขึ้นเลยระดับตัวเล็กน้อย นักเลี้ยงสุนัขบางแก้วบางคนจะพูดถึงกิริยาหางนี้ว่า "ขึ้นได้-ลงได้" ลักษณะเช่นนี้เหมือนหมาป่ามาก เรียกว่า หางจิ้งจอก สีของบางแก้วมีสีหลักคือ สีดำพื้น, สีน้ำตาลพื้น, สีน้ำตาลปรายย้อมดำ(เขียว), สีด่างน้ำตาลขาว
ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ)ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ) บางตัวนอกจากสีด่างดำขาว หรือสีน้ำตาลขาวยังแทรกจุดหย่อมเล็กกระจายมากน้อยทั่วทั้งตัวอีกด้วย ส่วนสีที่นิยมคือ ขาวปลอด ขาวน้ำตาล ขาวดำ เสียงเห่า เสียงเห่าแหลมเล็กกว่าสุนัขไทย การเดินวิ่ง เวลาเดินวิ่งจะเหยาะย่างสง่างามเหมือนม้าย่างเท้าสวนสนามปกติจะวิ่งซอยเท้าถี่
ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ)ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว(ต่อ) ข้อบกพร่อง ได้แก่ ใบหูพลิ้ว, ไม่มีขนแผงรอบคอ, ขาหน้าเล็ก, ไม่มีแข้งสิงห์, ไม่มีขนคลุมนิ้วเท้า, หูใหญ่, หางขอด, ขนหลุดร่วง, ฟันบนยื่นกว่าฟันล่าง, ปากใหญ่, ตาใหญ่, หูไม่ตั้ง, หางไม่เป็นพวง, ขนสั้น, อัณฑะเม็ดเดียว, ฟันขาด 3 ซี่ขึ้นไปโดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ, หางขาด, ฟันล่างยื่นกว่าฟันบน, ปากทู่, ตากลม, สันหลังแอ่น เป็นต้น
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ