490 likes | 811 Views
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดร. ชอบ ลีชอ ผู้อำนวยการสำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ. วิวัฒนาการของการบริหาร/จัดการคุณภาพ 1. คุณภาพตามยถากรรม 2. การตรวจสอบคุณภาพ ( Quality Inspection) 3. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
E N D
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร. ชอบ ลีชอ ผู้อำนวยการสำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ
วิวัฒนาการของการบริหาร/จัดการคุณภาพวิวัฒนาการของการบริหาร/จัดการคุณภาพ • 1. คุณภาพตามยถากรรม • 2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Inspection) • 3. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) • 4. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) • 5. การบริหารจัดการคุณภาพในองค์รวม (Total Quality Management)
การบริหารคุณภาพแบบ Retrospective หรือ Reactive เริ่มลงมือเมื่อปัญหาหรือความผิดพลาดได้เกิดขึ้นแล้ว 1. Quality Inspection 2. Quality Control
การบริหารคุณภาพแบบ Proactiveหรือ Preventive ยุทธศาสตร์เชิงรุก ป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิด 1. Quality Assurance (QA) 2. Total Quality Management (TQM)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้ ………………………….. “การรับรองมาตรฐาน” หมายความว่า การให้การรับรองการทำการประเมิน คุณภาพภายนอกของผู้ประเมินภายนอก ที่มีคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่สำนักงานกำหนด
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 มาตรา 8 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ … ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่หลัก ดังนี้ (1) พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก กำหนดกรอบ แนวทาง และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพ และ สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษาและหน่วยงาน ต้นสังกัด (2) ….. (3) ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอก
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
หลักการประกันคุณภาพการศึกษาหลักการประกันคุณภาพการศึกษา • 1) คุณภาพการศึกษาในบริบทของการประกันคุณภาพจะเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอก • คุณภาพภายใน หมายถึงความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะของ ผู้เรียนที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับช่วงต่อในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต หรือทุกระดับชั้นเรียน • คุณภาพภายนอก หมายถึงความพึงพอใจในเชิงเศรษฐกิจและสังคมระดับมหัพภาค ซึ่งหมายถึงความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะของผู้เรียนที่จำเป็นต่อความอยู่รอด และการสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมของประเทศชาติ ในการแข่งขันทางธุรกิจการค้าและทางเทคโนโลยี ระดับภูมิภาคและระดับโลก
หลักการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) 2) การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่เน้นการวางแผนและเตรียมการป้องกันล่วงหน้าก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น ไม่ใช่การแก้ สถาานการณ์เฉพาะหน้าเพื่อตอบสนองต่อปัญหาที่ได้เกิดขึ้นแล้ว 3) การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บน รากฐานของหลักวิชาและหลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ กระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกะ และความสมเหตุสมผล
หลักการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) 4) การตรวจสอบและการวัดและประเมินผลในบริบทของการประกัน คุณภาพ มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลย้อนกลับสำหรับใช้ในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มิใช่การจับผิดหรือการ ตัดสินให้รางวัลหรือลงโทษ 5) คุณภาพของการออกแบบ (มาตรฐานวิชาการ กรอบหลักสูตร และแผนการสอน) และกระบวนการทำงาน (การเรียนการสอน การบริหารหลักสูตร ครูและบุคลากรทางการศึกษา) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
หลักการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) 6) การประกันคุณภาพการศึกษาเน้นความสำคัญของการสร้างความรู้ ทักษะ และความมั่นใจ แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก สถานศึกษา เพื่อสร้างโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล 7) การประกันคุณภาพการศึกษาให้ความสำคัญต่อการประสานสัมพันธ์ภายในระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ และการร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษา และภูมิภาค
หลักการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) 8) ภาวะความเป็นผู้นำและความเอาจริงเอาจังของผู้บริหารสถานศึกษา และการกระจายอำนาจความรับผิดชอบที่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญของ การประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเป็นระบบที่สถานศึกษาร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่การศึกษา ภายใต้การกำกับดูแลและสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานองหลักวิชาข้อมูล หลักฐานที่ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรฐาน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หน่วยงานต้นสังกัด กำกับดูแล สนับสนุน ส่งเสริม ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ถูกหลักวิชา การจัดและการให้บริการการศึกษา ตรวจสอบได้ คุณภาพผู้เรียน การประเมินจากภายนอก
Practice, Strategy or Intervention • Research-proven: • Supported by research conducted in a variety of settings with a variety of student populations that demonstrates consistent effectiveness across settings and populations. • Research-based: • Based on research demonstrating its effectiveness conducted on similar practices, strategies or interventions and with similar student populations. • Best Practice: • Supported by evidence that it can reasonably be expected to produce the desired improvement in student learning, but with little or no direct research conducted on it.
ตัวบ่งชี้คุณภาพสถานศึกษาและความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ตัวบ่งชี้คุณภาพสถานศึกษาและความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ • บริบทสถานศึกษา • ภาวะผู้นำ • วิสัยทัศน์ • บุคลากรมืออาชีพ • ระเบียบวินัย* • บรรยากาศวิชาการ* • คุณภาพคณาจารย์ • ทักษะทางวิชาการ** • สอนตรงสาขา** • ประสบการณ์** • พัฒนาการวิชาชีพ* • ลักษณะห้องเรียน • สาระวิชา* • วิธีสอน • เทคโนโลยี* • ขนาดชั้นเรียน** ผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน
กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ (2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา (3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา (4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา (5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา (6) การประเมินมาตรฐานการศึกษา (7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี (8) การผดุงระบบประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบ การประกัน คุณภาพ ภายใน สถานศึกษา คุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบ/ทดสอบจากต้นสังกัด ตรวจสอบทบทวนภายใน วางแผน ปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษา รายงานคุณภาพประจำปี ระบบบริหาร สารสนเทศ และหลักสูตรสถานศึกษา
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา • การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ • ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา • ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ • กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา • ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา • แต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวนและรายงาน คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา • การพัฒนามาตรฐานการศึกษา • ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ให้ เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้อง กับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา • ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้ • (1) เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ปัญหา สภาพความจำเป็นอย่างเป็นระบบ และมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ • (2) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายและสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่องชัดเจน และเป็นรูปธรรม
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา • ข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้ (ต่อ) • (3) กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลการวิจัยหรือ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ • (4) กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา • ข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้ (ต่อ) • (5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้ง ผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมี ประสิทธิภาพ • (6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน • (7) กำหนดการจัดงบประมาณ และการใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา รวมทั้ง มีการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุ เป้าหมายที่กำหนดไว้
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ให้คณะบุคคลที่ได้แต่งตั้งดำเนินการตรวจสอบทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา สำหรับการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม อาทิเช่น การสังเกตพฤติกรรมและกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐานร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงานและแฟ้ม สะสมงาน ตลอดจนการใช้แบบสำรวจ แบบสอบถามแบบทดสอบ และแบบวัด มาตรฐาน เป็นต้น การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • ประเด็นการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา • 1) ความเหมาะสมของวิสัยทัศน์และภารกิจของสถานศึกษาโดยพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานและผลการวิเคราห์สภาพความจำเป็น และปัญหาของสถานศึกษา • 2) ความสอดรับกันในเชิงตรรกและเชิงเหตุผลทางวิชาการระหว่าง เป้าหมาย ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จยุทธศาสตร์และ เทคนิควิธี ที่ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย • 3) ความสอดคล้องกันระหว่างเป้าหมาย ผลการเรียนรู้และมาตรฐานหลักสูตร
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • ประเด็นการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา (ต่อ) • 4) ระดับและสภาพความสำเร็จที่เป็นเป้าหมายหลักของแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา อันได้แก่ความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะของผู้เรียน • 5) การเรียนการสอน ซึ่งรวมถึง การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์และวิธีการสอน กระบวนการเรียนรู้ และการตอบสนองการเรียนรู้
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • ประเด็นการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา (ต่อ) • 6)การเรียนรู้ ความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้แก่หลักสูตร ผลงานของผู้เรียน ระบบการวัดและประเมินผล และการสนับสนุนการเรียนรู้ • 7) การบริหารและจัดการได้แก่วิสัยทัศน์ ภารกิจ ภาวะผู้นำและการจัดโครงสร้างองค์กร • 8) การดำเนินการและสภาพความสำเร็จของโครงการพัฒนาบุคลากร
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • ประเด็นการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา (ต่อ) • 9) การมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และระบบประสานสัมพันธ์ของ บุคลากรฝ่ายต่างๆ ในสถานศึกษา • 10) การมีส่วนร่วม และความร่วมมือของบุคลากรและองค์กรในชุมชน
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) การประเมินมาตรฐานการศึกษา ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด (ป.3 ป. 6 ม.3 และม.6) ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน การทดสอบระดับชาติ (National Test) ป.3 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ป.6 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ม.3 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาตร์ สังคมศึกษา ม.6 SATและวิชาหลักตามแผนการเรียน
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมหลักฐาน ข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ เสนอต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • การผดุงระบบประกันคุณภาพการศึกษา • ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเขต พื้นที่การศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนและร่วมดำเนินงาน ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้ • (1) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่มี ประสิทธิภาพ • (2) จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักร่วมกันของสถานศึกษา เป็น รายปี/รายภาค
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) • (3) จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน • (4) จัดให้มีการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อย หนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสอบและทบทวนให้เป็นไปตามนัยข้อ 9 โดยอนุโลม
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) การผดุงระบบประกันคุณภาพการศึกษา (ต่อ) ให้หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและเผยแพร่วัตกรรมเกี่ยวกับ รูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุนส่งเสริม ติดตาม ประเมินผล และผดุงประสิทธิภาพของระบบประคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วย
บทเฉพาะกาล ในระยะเริ่มแรก ยังไม่ได้มีการจัดตั้งสำนักงานการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา บรรดาอำนาจของสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมจังหวัด
การประเมินจากภายนอกในปี 2545 (มติที่ประชุมระหว่าง ศธ. กับ สมศ.) 1. สถานศึกษาเป้าหมายจะได้รับการประเมินจากบริษัทเอกชนที่ผ่านการฝึกอบรมของ สมศ. 2. การประเมินจะเน้นคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรเป็นสำคัญ และจะมีการวัดตัวแปรด้านปัจจัยและกระบวนการตามมาตรฐาน 14 ข้อ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการอธิบายตีความผล 3.ไม่ให้ความสำคัญกับ Paper Works แต่จะเน้นการสังเกต สอบถาม และดูหลักฐานข้อมูลสภาพจริงจากภารกิจตามแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา 4. มีคณะทำงานประกอบด้วยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยและศึกษานิเทศ กำกับดูแลการประเมินของบริษัทเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรม และความเป็นมืออาชีพของการประเมิน
ขอบคุณทุกท่านที่รับฟังขอบคุณทุกท่านที่รับฟัง ดร.ชอบ ลีชอ