180 likes | 308 Views
นวัตกรรมกับงานประจำ. น.พ.สุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบสาธารณสุข. วิสัยทัศน์. สำนักอนามัยเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความเป็นเลิศสำหรับนวัตกรรมสุขภาพในเขตเมือง. Definition.
E N D
นวัตกรรมกับงานประจำ น.พ.สุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบสาธารณสุข
วิสัยทัศน์ สำนักอนามัยเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความเป็นเลิศสำหรับนวัตกรรมสุขภาพในเขตเมือง
Definition • "นวัตกรรม" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "innovare" ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา" (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ,2547) • โทมัสฮิวส์ (Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา • นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ มอร์ตัน(Morton,1971)
การสร้างนวัตกรรมในองค์กร การสร้างนวัตกรรมในองค์กร • สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท (ภานุ, 2546) ได้แก่ • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) เช่น ยาอมแก้เผ็ด :เวลากินของแซ๊บแล้ว พริกลวกปาก อมประเดี๋ยวเดียวก็หายเผ็ด • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เช่น สุขภาพแบบพกพา : ส่งเสริมที่ไหนก็ได้ • นวัตกรรมการจัดการ หรือ นวัตกรรมการบริหาร (Manangement Innovation) เช่น การบริหารองค์การแบบไร้เจ้านาย
การจัดการนวัตกรรมสุขภาพประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ • การจัดตั้งและกำหนดหน้าที่คณะผู้จัดการนวัตกรรม(Innovation Management Team) • การกำหนดแหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์/นวัตกรรม • การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางแนวคิด และความสับสนในบทบาท • การสอดแทรกความคิดริเริ่มในกลยุทธ์และกิจกรรมสำคัญ • การสร้างนวัตกรรมระหว่างปฏิบัติการ
ขั้นตอนที่ 1 : การจัดตั้งและกำหนดหน้าที่คณะผู้จัดการนวัตกรรม • ให้มีการจัดตั้งคณะผู้จัดการนวัตกรรมสุขภาพระดับหน่วยงาน โดยมีผู้อำนวยการกอง/ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเป็นประธาน สมาชิกประกอบด้วยผู้ที่มีประสบการณ์หรือมีความคิดสร้างสรรค์ ในหน่วยงาน • ถ้าหาได้ คือ เจ้าของความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมที่ได้รับการคัดเลือกไว้สำหรับการพัฒนาหรือถ่ายทอด จำนวนสมาชิกของคณะนี้ไม่จำกัด แต่ควรพิจารณาเท่าที่จำเป็น คณะผู้จัดการนวัตกรรมระดับหน่วยงานควรมีอายุการทำงานประมาณ 1 ปี แล้วคัดเลือก แต่งตั้งใหม่เพื่อให้โอกาสกับบุคคลที่มีศักยภาพอื่นๆบ้าง
บทบาทของคณะผู้จัดการนวัตกรรม • กำหนดเงื่อนไขของการสร้างนวัตกรรม (Innovation Strategy) • จัดการความคิดและความสามารถสร้างสรรค์ (Ideas and Creativity Management) • จัดการบัญชีนวัตกรรม (Portfolio Management) • จัดการโครงการ (Project Management) • จัดการทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management)
Principle • ถ่ายทอดแนวคิดเรื่องความสามารถสร้างสรรค์และนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้บุคคลทุกฝ่าย ทุกระดับมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและสร้างนวัตกรรมในงานที่ปฏิบัติ • จัดระบบการสร้างนวัตกรรม ซึ่งมีหลายด้าน เช่น ส่งเสริมให้คิดนอกกรอบ ให้รู้จักประยุกต์ รู้จักเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้มีใจกับการสร้างนวัตกรรม(Commitment) สร้างความท้าทาย ให้ความเป็นอิสระ และที่สำคัญมากคือ ให้การรับรองความสำเร็จของผู้สร้างนวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 2 : การกำหนดแหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์/นวัตกรรม • นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนมีจุดมุ่งหมายของการสร้างนวัตกรรมอยู่ที่ความสำเร็จในการที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม • นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ/การบริหารมีจุดมุ่งหมายของการสร้างนวัตกรรมอยู่ที่การลดเวลาในการปฏิบัติราชการ หรือ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน • นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ด้านสุขภาพ/งานสาธารณสุขมีจุดมุ่งหมายของการสร้างนวัตกรรมอยู่ที่ทำให้ประชาชนมีอุปกรณ์ช่วยเหลือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือช่วยในการพัฒนางานประจำ
นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
ขั้นตอนที่ 3: การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางแนวคิด และความสับสนในบทบาท • ใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ปฏิบัติการย่อยเฉพาะประเด็นเป็นกระบวนการในการพัฒนาการแก้ไขปัญหา (อบรม 3-4 ก.พ.) • การใช้แผนที่ยุทธศาสตร์จะทำให้สามารถเข้าถึงและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยเฉพาะความสับสนในบทบาทของผู้เกี่ยวข้องต่างๆทั้งในและนอกหน่วยงาน
ขั้นตอนที่ 4 : การสอดแทรกความคิดริเริ่มในกลยุทธ์และกิจกรรมสำคัญ • ปรับกลยุทธ์ให้มีความสมดุลระหว่างมาตรการทางเทคนิควิชาการและมาตรการทางสังคมแล้ว • ขั้นต่อไป จึงสำรวจหาความคิดริเริ่มและนวัตกรรมว่ามีบรรจุอยู่ในกลยุทธ์และกิจกรรมสำคัญของกลยุทธ์เหล่านั้นหรือไม่
ขั้นตอนที่ 5 : การสร้างนวัตกรรมระหว่างปฏิบัติการ • หลังจากได้ปฏิบัติการไปแล้วระยะหนึ่ง ควรจะมีการสำรวจเพื่อปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งอาจจะทำโดยคณะผู้จัดการนวัตกรรมระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือประชาชนผู้มีบทบาทในกิจกรรมเหล่านั้น เป็นที่คาดว่า • การปรับปรุงหลายๆครั้งที่เกิดขึ้นภายหลังการปฏิบัติงานจะนำไปสู่นวัตกรรมที่เหมาะสม
ตัวอย่างนวัตกรรม ด้านสิ่งประดิษฐ์สุขภาพ
ชุดสื่อประชาสัมพันธ์มุมสุขภาพดีชุดสื่อประชาสัมพันธ์มุมสุขภาพดี (Health Corner) การจัดวางชุดสื่อประชาสัมพันธ์มุมสุขภาพดีและจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ใช้พื้นที่ ประมาณ 20 ตารางเมตร สื่อนิทรรศการ เพื่อการสื่อสารสุขภาพ (Health Backdrop) ที่ใส่เอกสาร ตู้เรียนรู้ทางสุขภาพด้วยระบบสัมผัส (Health Kiosk)
ตู้เรียนรู้ทางสุขภาพด้วยระบบสัมผัสตู้เรียนรู้ทางสุขภาพด้วยระบบสัมผัส (Health Kiosk) 40 cm. 193 cm. 35 cm. 70 cm.