400 likes | 617 Views
การเทียบโอนผลการเรียน จากการศึกษา นอกระบบและตามอัธยาศัย โดย อัมพา สุวรรณศรี. สาระสำคัญ. 1. นิยามศัพท์ 2. องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่มีมาก่อน 3. คุณสมบัติของผู้ขอเทียบโอน 4. หลักการสำคัญในการเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน. สาระสำคัญ ( ต่อ ). 5. กระบวนการ / ขั้นตอนในการเทียบโอน
E N D
การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยโดย อัมพา สุวรรณศรี
สาระสำคัญ 1. นิยามศัพท์ 2. องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่มีมาก่อน 3. คุณสมบัติของผู้ขอเทียบโอน 4. หลักการสำคัญในการเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน
สาระสำคัญ (ต่อ) 5. กระบวนการ/ขั้นตอนในการเทียบโอน 6. การปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการ 7. วิธีการ/เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 8. หลักการประเมินผลการเรียนรู้ 9. การบันทึกผลการประเมิน
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • ความหมายตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 1. การศึกษาในระบบ กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา ที่แน่นอน
2. การศึกษานอกระบบ - มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา - เนื้อหาและหลักสูตรจะต้องเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย - ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส - โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
ความหมายจาก Alberta Council on Admission and Transfer • การเรียนรู้ในระบบ เป็นการเรียนรู้ (ความรู้และทักษะ) ที่ได้รับจากการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร โดยได้รับประกาศนียบัตร ประกาศนียบัตรชั้นสูง ปริญญา หรือคุณวุฒิทางการศึกษาอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับ
2. การเรียนรู้นอกระบบ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ได้มุ่งเพื่อคุณวุฒิทางการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ เป็นการเรียนรู้ที่จัดให้กลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งไม่ใช่ผู้เรียนตามปกติ เช่น การประชุมปฏิบัติการ การสัมมนา การประชุมวิชาการ การฝึกอบรม เป็นต้น
3. การเรียนรู้ตามอัธยาศัย เป็นการเรียนรู้ที่บุคคลเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น หนังสือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ และจากประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการท่องเที่ยว ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์ชีวิต เป็นต้น
การเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อนการเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน • USA - prior learning assessment (PLA) • อังกฤษ - accreditation of prior learning (APL) - accreditation of prior achievement (APA) - assessment of prior experiential learning (APEL)
การเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อนการเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน • ออสเตรเลีย - recognition of prior learning (RPL) - Recognition of Current Competence (RCC) • แคนาดา - prior learning assessment and recognition (PLAR) • ฝรั่งเศส - validation of experience
การเรียนรู้ที่มีมาก่อน (Prior Learning) การเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ทำงาน และประสบการณ์ชีวิต โดยเฉพาะ ไม่ได้ผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัย การเรียนรู้นั้นอาจเกิดจากประสบการณ์ต่อไปนี้ - การทำงานแบบเต็มเวลา หรือไม่เต็มเวลา หรือแบบมีสัญญาเป็นช่วงเวลา - งานอาสาสมัคร หรืองานบริการสังคม - การฝึกอบรม ที่จัดภายใน/ภายนอกองค์กร - การศึกษาแบบอิสระที่ลงลึก / งานอดิเรก
การเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อนการเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน เป็นระบบซึ่งสถาบันการศึกษาประเมินรายบุคคลที่เที่ยงตรง และอนุมัติ การเทียบโอนหน่วยกิตให้ผู้เรียนที่สามารถแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ ทักษะ และเจตคติของตนเอง พร้อมทั้งมีหลักฐานซึ่งแสดงว่าผู้เรียนนั้นมีผลสัมฤทธิ์ตรงตามจุดประสงค์หรือสมรรถนะที่กำหนดไว้ในรายวิชาที่ขอเทียบ
องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่มีมาก่อนองค์ประกอบของการเรียนรู้ที่มีมาก่อน • วัดได้ • ประยุกต์ใช้ได้ นอกเหนือจากงาน หรือบริบทเฉพาะ ที่ได้เรียนรู้ • มีฐานความรู้ • มีความเป็นปัจจุบัน ไม่ล้าสมัย • แสดงถึงความคิดรวบยอด / ความคิดเชิงทฤษฏีและความเข้าใจเชิงปฏิบัติ • สัมพันธ์กับรายวิชาที่ขอเทียบ
คุณสมบัติผู้ขอเทียบโอนคุณสมบัติผู้ขอเทียบโอน • มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า • ต้องเป็นนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา • มีประสบการณ์จากการทำงาน • ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ผ่าน การประเมินจากสถาบันอุดมศึกษา
หลักการสำคัญในการเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน • นำมาใช้เฉพาะกับนักศึกษา ซึ่งขอรับการเทียบโอนหน่วยกิต ตามหลักสูตรของสถาบัน • เป็นการให้หน่วยกิตจากการประเมินว่านักศึกษาได้ “เรียนรู้” อะไรบ้างจากประสบการณ์ • หน่วยกิตที่ให้มีค่าเช่นเดียวกับหน่วยกิตที่ได้จากการเรียน • การประเมินเพื่อการเทียบโอนหน่วยกิต ต้องมีบรรทัดฐาน
การให้หน่วยกิตจะต้องให้หน่วยกิตทั้งหมดของรายวิชานั้นการให้หน่วยกิตจะต้องให้หน่วยกิตทั้งหมดของรายวิชานั้น • การเทียบโอนในรายวิชาใดรายวิชาหนึ่ง ต้องมีเนื้อหาสาระ ครอบคลุมไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของรายวิชาที่ขอเทียบ • ระดับปริญญาตรี จะเทียบโอนหน่วยกิตได้รวมกันไม่เกิน 3 ใน 4 และระดับบัณฑิตศึกษา ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหลักสูตร • ตัดสินผลการประเมิน ผ่าน – ไม่ผ่าน ไม่ให้ระดับคะแนนตัวอักษร และไม่นำมาคิดคะแนนเฉลี่ยสะสม
กระบวนการ / ขั้นตอนในการเทียบโอน • การแนะนำเบื้องต้น • การยื่นขอเทียบโอน • การชำระค่าธรรมเนียม • การกำหนดตารางและแผนการประเมิน • การเตรียมการประเมินผลการเรียนรู้ • การประเมินผลการเรียนรู้ • การประกาศผลการประเมิน • กระบวนการร้องขอให้ทบทวน
1. การแนะนำเบื้องต้น • สถาบันอุดมศึกษา • กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ หรือระเบียบ • จัดทำคู่มือวิธีการเทียบโอน • กำหนดปฏิทิน • จัดทำสมรรถนะ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา • จัดประชุมชี้แจง
การแนะนำเบื้องต้น • นักศึกษา • รับฟังคำชี้แจง • ศึกษาหลักสูตร รายวิชา คำอธิบายรายวิชา สมรรถนะหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ • รวบรวมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ • พบอาจารย์ที่ปรึกษา
2. การยื่นขอเทียบโอน หน่วยงานที่ทำหน้าที่เทียบโอน • กำหนดแบบฟอร์มคำร้องขอเทียบโอน • ตรวจสอบคำร้องขอเทียบโอน • ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ
การยื่นขอเทียบโอน (ต่อ) นักศึกษาผู้ขอเทียบโอน • รวบรวมเอกสารหลักฐานการเรียนรู้ • กำหนดรายวิชาและหน่วยกิตที่ขอเทียบโอน • ยื่นคำร้องและกรอกแบบฟอร์มขอเทียบโอน รายวิชา
3. การชำระค่าธรรมเนียม • เป็นอำนาจของสภาสถาบันอุดมศึกษา • ต้องประกาศในคู่มือการเทียบโอน • ค่าธรรมเนียม มี 2 ส่วน - ค่าธรรมเนียมการขอเทียบโอน - ค่าธรรมเนียมในการประเมินผลการเรียนรู้
4. การจัดทำตารางและแผนการประเมิน นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาทำงานร่วมกัน • ศึกษาคู่มือหลักสูตร / สมรรถนะและ ผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา • ศึกษาปฏิทินการเทียบโอนผลการเรียนรู้ • จัดทำแผนการดำเนินการ โดยเฉพาะกรณีเลือก วิธีประเมินโดยการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน
5. การเตรียมการประเมินผลการเรียนรู้ • จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการประเมิน - หัวหน้าสาขาวิชาหรือผู้แทน - ผู้แทนจากภาควิชา - ผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรม หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา - ผู้แทนจากหน่วยงานที่นักศึกษาสังกัด
จัดเตรียมเอกสารหลักเกณฑ์การประเมิน จัดเตรียมเอกสารหลักเกณฑ์การประเมิน • เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน • จัดทำแบบฟอร์มการประเมิน • กำหนดวันสอบ หรือประเมินผลการเรียนรู้
6. การประเมินผลการเรียนรู้ • คณะกรรมการหรืออาจารย์ผู้ประเมินดำเนินการ ประเมินตามวิธีที่นักศึกษาผู้ขอเทียบโอนเลือก • หากไม่แน่ในผลการเรียนรู้สามารถขอให้ นักศึกษาแสดงทักษะ ความสามารถ หรือ สัมภาษณ์เพิ่มเติมได้
7. การประกาศผลการประเมิน • คณะกรรมการหรืออาจารย์ผู้ประเมินส่งแบบฟอร์ม การประเมินให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยให้ คะแนนตามเกณฑ์การประเมิน • หากผลการประเมินไม่ผ่าน จะต้องชี้แจงเหตุผล ที่ไม่ผ่านให้ชัดเจน
7. การประกาศผลการประเมิน • หน่วยงานที่รับผิดชอบการเทียบโอน - เสนอผลการประเมินให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ - ส่งผลการประเมินให้ฝ่ายทะเบียนบันทึก ผลการเทียบโอน - แจ้งผลให้นักศึกษาทราบ
8. การร้องขอให้ทบทวน • เป็นอำนาจของสภาสถาบันอุดมศึกษาในการ กำหนดหลักเกณฑ์ • ต้องกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ให้ ชัดเจน • วิธีการยื่นอุทธรณ์ • การชำระค่าธรรมเนียมในการประเมินใหม่
การแนะนำและให้ คำปรึกษาเบื้องต้น ไม่ได้ ลงทะเบียน เรียนรายวิชา ได้ การยื่นขอเทียบโอน การจ่ายค่าธรรมเนียมในการเทียบโอน การจัดทำแผนการขอเทียบโอน การเตรียมการประเมิน นักศึกษาขอ ทบทวน หรืออุทธรณ์ การดำเนินการประเมิน ไม่ผ่าน ผ่าน การประกาศผล การประเมิน ได้รับ หน่วยกิต อาจารย์ที่ ปรึกษาให้ คำแนะนำ บันทึกผล การประเมิน จบ
การปรับปรุงและแก้ไขการดำเนินงานการปรับปรุงและแก้ไขการดำเนินงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจัดให้มีการประเมิน และติดตามผลการดำเนินงานทุกปีการศึกษาและ รายงานต่อภาควิชา หรือคณะวิชา เพื่อปรับปรุง แก้ไขการดำเนินงาน
วิธีการ / เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เพื่อการเทียบโอน • การทดสอบ (test) 1.1 Standard Tests 1.2 Non – Standard Tests - Challenge Exam - Oral Exam - Skill Performance • การประเมินการศึกษา/อบรม ที่จัดโดยหน่วยงานอื่น • การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
การเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์การเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ • เอกสารประกอบการพิจารณาประเมิน - ระเบียนผลงาน - จดหมายรับรอง - การประเมินสมรรถนะ - การฝึกอบรมรายวิชา - คำอธิบายรายวิชา
หลักการประเมินผลการเรียนรู้หลักการประเมินผลการเรียนรู้ • การตรงตามสภาพจริง • ความเป็นปัจจุบัน • คุณภาพ • ความเกี่ยวข้อง • ความสามารถในการถ่ายโอน • ความสามารถในการเปรียบเทียบ
วิธีการประเมิน Standard Tests 2. การทดสอบโดยอาจารย์ผู้สอน 3. การประเมินการศึกษาอบรมที่จัด โดยหน่วยงานอื่น การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน / แฟ้มสะสมผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน การบันทึกผลการประเมิน CS (Credit from Standard Tests CE (Credit from Exam) CT (Credit from Training) CP (Credit from Portfolio ) การบันทึกผลการประเมิน
ประโยชน์สำหรับรายบุคคลประโยชน์สำหรับรายบุคคล • ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องเรียนรู้หรือ ทำใหม่ • ได้คุณวุฒิในระบบเร็วขึ้น ประหยัดเวลา และเงิน • มีความมั่นใจในการแสวงหาความรู้เพิ่ม • พัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการ • เห็นคุณค่าของผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน
ประโยชน์สำหรับองค์กร • ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผลสำหรับการศึกษาและฝึกอบรม • สนองความต้องการของลูกค้า บุคลากร และนักศึกษา • จูงใจให้ลูกค้า บุคลากร และนักศึกษา สนใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้ให้สัมฤทธิ์ผล • ให้โอกาสของความเสมอภาค • สอดแทรกการประเมินไปในการทำงาน และให้บริการ