460 likes | 601 Views
แวดวงทางเลือก. สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ ปรับปรุงจากสไลด์ที่นำเสนอในงานเสวนาเรื่อง “ ชีวิตในท้องนากับโลกาภิวัตน์ ” วันที่ 11 กรกฎาคม 2551 จัดโดย มูลนิธิที่นา ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม และหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
E N D
แวดวงทางเลือก สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ ปรับปรุงจากสไลด์ที่นำเสนอในงานเสวนาเรื่อง “ชีวิตในท้องนากับโลกาภิวัตน์” วันที่ 11 กรกฎาคม 2551 จัดโดย มูลนิธิที่นา ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม และหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ โรงละครเล็ก หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น
หัวข้อนำเสนอ 1. ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ “ทางเลือก” ของชุมชน 2. โมเดลที่อาศัยความร่วมมือกันระหว่างรัฐและชุมชน • ระบบจ่ายตรง (Direct Payment) และตัวอย่างจากกัมพูชา • โครงการ CAMPFIRE ในซิมบับเว • การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนในกานา 3. องค์กรการเงินชุมชนในไทย • พัฒนาการขององค์กรการเงินชุมชน • แนวคิดและการขับเคลื่อน
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ “ทางเลือก” ของชุมชน “ทางเลือก” ต้องอยู่ได้และยั่งยืน (viable + sustainable) – ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเลือก เป็นเพียง “มายาคติของเสรีภาพ” กรอบและขอบเขตของ “ทางเลือก” เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามความเปลี่ยนแปลงของบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ เช่น เมื่อต้นทุนของโลกร้อนสูงขึ้น โมเดลการผลิตพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ก็กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจขึ้นมาได้ ขีดจำกัดหลักๆ ของงานวิจัยเกี่ยวกับโมเดลการพัฒนาทางเลือก ที่ชาวบ้านทำเองหรือทำร่วมกับเอ็นจีโอและ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศไทยคือ เน้นศึกษาแต่ “กรณีความสำเร็จ” และ “ความเก่ง” ของปัจเจกบุคคล (เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน) มากเกินไป จนสังเคราะห์กระบวนการ และระบบที่จะเอาไป “ผลิตซ้ำ” ยากมาก โลกาภิวัตน์เปิดทางให้กับ “ทางเลือก” ที่อาศัยการร่วมมือระหว่างชุมชนกับ “คนนอก” มากกว่าเดิม 3
ระบบจ่ายตรง (Direct Payment) (ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณเพชร มโนปวิตร รองผู้อำนวยการ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ผู้เขียนคอลัมน์ “โลกสีเขียว” ในโอเพ่นออนไลน์ : http://www.onopen.com/?cat=81)
แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ • สมัยก่อน เป้าหมายหลักด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือ “การจัดตั้งพื้นที่อนุรักษ์” แต่ในความเป็นจริงพบว่า พื้นที่อนุรักษ์หลายแห่งมักอยู่แค่บนกระดาษ (“Paper Park”) เท่านั้น • แนวทางการอนุรักษ์จึงแตกออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ • แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ของภาครัฐ เน้นการบังคับใช้กฎหมาย สร้างศักยภาพด้านงานวิจัยและพัฒนาบุคลากรในพื้นที่อนุรักษ์ ปัจจุบัน “ล้าสมัย” แล้ว เพราะความสำเร็จขึ้นอยู่กับคุณภาพของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก และชุมชนขาดแรงจูงใจที่จะมีส่วนร่วม • แนวทางการจัดการ “คน” ที่อยู่รอบ ๆ พื้นที่อนุรักษ์ เน้นการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เสริมสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ เชื่อว่าเมื่อคนอยู่ดีกินดีและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ที่ดีแล้ว จะไม่เข้าไปทำลายธรรมชาติอีก แนวทางนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากทั้ง World Bank และ UNDP เพราะตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน เป็น “การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
แนวทางการอนุรักษ์แบบจัดการ “คน” • แนวทางจัดการ “คน” เกือบจะกลายเป็น กระแสหลัก โดยการบูรณาการอนุรักษ์เข้า กับการพัฒนา (ICDP- Integrated Conservation and Development Project) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน ท้องถิ่น (CBNRM- Community-based Natural Resource Management) เป็นวิธีให้ชุมชนที่พึ่งพาการใช้ทรัพยากรอยู่แล้ว มาเป็นผู้ดูแลอนุรักษ์ ใช้ และจัดการทรัพยากรด้วยตัวเอง โดยใช้มาตรการต่าง ๆ ซึ่งมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างจิตสำนึกและความพร้อมของแต่ละชุมชน • ที่ผ่านมาประสบปัญหาในหลายพื้นที่ เพราะต้องใช้เวลาบ่มเพาะ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และมีต้นทุนมหาศาล
ระบบการจ่ายตรง • งานศึกษาหลายชิ้นตั้งข้อสังเกตว่าแนวทางนี้ล้มเหลว เพราะไม่อาจต้านทานกระแสทุนนิยมได้ สุดท้ายชาวบ้านยังคงทำลายทรัพยากรต่อไป ดังนั้นงบประมาณที่ทุ่มเทไปก็เหมือน “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” • องค์กรอนุรักษ์บางแห่งจึงเริ่มหันกลับใช้ระบบจ่ายตรง (Direct Payment) เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์ แทนที่จะต้องไปผ่านกระบวนการสร้างจิตสำนึกหรือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นเสียก่อน
ระบบการจ่ายตรง • การจ่ายตรง เป็นการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้ชุมชนท้องถิ่นหันมาอนุรักษ์ธรรมชาติแทนการทำลาย มีหลายรูปแบบและก่อให้เกิดผลโดยตรงกับการอนุรักษ์แตกต่างกันออกไป • การจ่ายค่าตอบแทนให้คนในชุมชนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ เช่น จ้างพรานให้มาเป็นเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ • การสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานที่ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ • การสร้างรายได้ให้ชุมชนผ่านช่องทาง “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” • การครอบครองกรรมสิทธิ์ในการบริหารจัดการพื้นที่นั้น ๆ เช่น การระดมทุนซื้อพื้นที่ธรรมชาติเพื่อนำมาจัดตั้งเป็นเขตอนุรักษ์เอกชนหรือศูนย์ศึกษาธรรมชาติ
โครงการอนุรักษ์นกน้ำหายากในกัมพูชาโครงการอนุรักษ์นกน้ำหายากในกัมพูชา • NorthernPlains เป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติผสม ป่าเต็งรังและพื้นที่ชุ่มน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ขนาดใหญ่อยู่ในประเทศกัมพูชา และยังเป็น แหล่งอาศัยและวางไข่ของนกหายากใกล้ สูญพันธุ์หลายชนิด โดยเฉพาะนกช้อนหอยดำ (White-Shouldered Ibis) และนกช้อนหอยใหญ่ (Giant Ibis) ที่ใกล้สูญพันธ์และมีอยู่ที่นี่ที่เดียวเท่านั้นในโลก • ตั้งแต่ปลาย 1990 เริ่มมีการก่อตัวอย่างเงียบ ๆ ของโครงการ Ecotourism หลายโครงการ หนึ่งในนั้นคือโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นกหายาก (Tmatboey Ibis Tourism Site) โดยจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านอันประกอบไปด้วยตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง 9 คน มีหน้าที่หลักคือจัดการ “กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน” ในนามของชุมชน
โครงการอนุรักษ์นกน้ำหายากในกัมพูชา (ต่อ) • ดำเนินโครงการหลัก 2 โครงการ • โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยจัดให้พื้นที่ บริเวณนั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำหรับนักดูนก โดยไกด์ท้องถิ่นได้ผลตอบแทนจากการพา นักท่องเที่ยวไปดูนก และเก็บค่าบริการจาก ที่พัก (Home stay), อาหารและเครื่องดื่ม • โครงการปกป้องรังนก (Bird Nest Production Program) เนื่องจากการเก็บไข่นกมาขายเป็นภัย คุกคามที่สำคัญที่สุดต่อความอยู่รอดของนก ในโครงการนี้รัฐจึงให้เงินตอบแทนแก่ชาวบ้านที่ พบรังนกและดูแลรักษารังนกไปจนกว่าลูกนกจะ ออกจากรัง รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ 2 คนคอยดูแลตรวจสอบและติดตามผลงานเต็มเวลา
โครงการอนุรักษ์นกน้ำหายากในกัมพูชา (ต่อ) • เมื่อถึงปี 2004 รัฐจึงออกกฎให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ห้ามล่าสัตว์ • ถ้าสมาชิกคนใดไม่เคารพกฎการรักษารังนกหรือฝ่าฝืนล่านก แผนการท่องเที่ยวทั้งหมดจะถูกยกเลิกทันที หรือไม่ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกตัดสิทธิจากการได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ • หลังจากดำเนินการมาระยะหนึ่ง โครงการนี้เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มนักดูนก นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลาท่องเที่ยวนานขึ้นทุกปี ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชนมากขึ้น • เฉพาะปี 2006 – 2007 การท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า $7,000 ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ 50 เซนต์ต่อวันของชาวกัมพูชาแล้ว นี่ถือเป็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ผลของโครงการอนุรักษ์นกน้ำหายากในกัมพูชาผลของโครงการอนุรักษ์นกน้ำหายากในกัมพูชา • ประชากรนกมีจำนวนเพิ่มขึ้น ปัญหาการล่านกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งยังสร้างทัศนคติในเรื่องการอยู่ร่วมกับนกของชาวบ้านให้ดีขึ้น เพราะสมาชิกชุมชนรู้ว่านกและสัตว์ป่าอื่นๆ เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว • รายได้จากโครงการนี้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ตกอยู่กับชาวบ้านโดยตรง เป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้อย่างถูกกฎหมายให้ชาวบ้าน แทนที่จะต้องเสี่ยงหารายได้จากการล่าหรือขโมยลูกนกซึ่งผิดกฎหมาย
ผลของโครงการอนุรักษ์นกน้ำหายากในกัมพูชา (ต่อ) • สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสรร พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ให้กับชาวบ้าน ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เสียต้นทุนน้อยและ มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ ปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านสามารถรับผิดชอบ ดูแล และจัดการการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเองเกือบทั้งหมดแล้ว • จุดแข็งของทั้งสองโครงการอยู่ที่การเชื่อมโยงเป้าหมายการอนุรักษ์ เข้ากับแนวทางการดำเนินงานโดยตรง และมีระบบการสำรวจติดตามประชากรนกที่ชัดเจน • ใช้ “เงิน” สร้างแรงจูงใจในทางที่เอื้อต่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
โครงการ CAMPFIRE ในซิมบับเว
วัฒนธรรมชุมชนในซิมบับเววัฒนธรรมชุมชนในซิมบับเว • ชาวบ้านกว่า 5 ล้านคนอาศัยอยู่ใน ‘พื้นที่ชุมชน’ (communal land) ซึ่งกินพื้นที่ กว่าครึ่งประเทศซิมบับเว ทุกคนเป็นสมาชิกเผ่า ซึ่งแต่ละเผ่ามีเสาสลักรูปสัตว์ (totem) ชนิดต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งบ่งบอกว่า ห้ามสมาชิกในเผ่าฆ่าสัตว์ชนิดเดียวกับที่สลักอยู่บนเสาของเผ่าตนเอง • ในชุมชนมีความเชื่อที่ทำหน้าที่เป็นกลไกควบคุมการล่าสัตว์ป่าที่ “ได้ผล” กว่ากฎหมาย เพราะชาวบ้านเชื่อว่าการละเมิดความเชื่อเหล่านี้จะทำให้ฟ้าดินลงโทษ
จารีตท้องถิ่นและความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ในซิมบับเวจารีตท้องถิ่นและความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ในซิมบับเว • พื้นที่ประมาณร้อยละ 12 ของซิมบับเวเป็นพื้นที่สงวนในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่ชุมชน มีสัตว์ป่าหลายชนิด บางชนิดแพร่พันธุ์เร็วมากจนก่อความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม บางชนิดก็มีปัญหาทางพันธุกรรมจากการผสมพันธุ์กับญาติพี่น้องเชื้อสายเดียวกัน (inbreeding) • เมื่อรัฐสถาปนาอุทยานแห่งชาติชาวบ้านจำนวนมากถูกไล่ที่ จึงไปอาศัยอยู่บริเวณชุมชนในเขตใกล้เคียงที่มีสัตว์ป่าออกมาเดิน ทำลายพืชผล ทำร้ายสัตว์เลี้ยงและบางครั้งก็ทำร้ายมนุษย์ด้วยเสมอ ชาวบ้านจึงไม่มองว่าสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า ควรแก่การอนุรักษ์ • ปัญหานี้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยาน ทำให้มีการฆ่าทำลายสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายบ่อยครั้ง
กำเนิดโครงการ CAMPFIRE • CAMPFIRE (Communal Areas Management Program for Indigenous Resources) เป็นโครงการที่รัฐบาลซิมบับเวริเริ่มกลางทศวรรษ 1980 ออกแบบมาเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และการพัฒนาชนบทจากรายได้ที่มาจากสัตว์ป่า สนับสนุนให้ชาวบ้านร่วมกันบริหารจัดการและควบคุมประชากรสัตว์ป่า และระบบนิเวศในชุมชนด้วยตัวเอง เปลี่ยนความคิดของชาวบ้าน ให้มองว่าสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรสำคัญ
แหล่งรายได้จากโครงการ CAMPFIRE • สัมปทานล่าสัตว์: รายได้กว่าร้อยละ 90 ในโครงการ CAMPFIRE มาจากการขายสัมปทานล่าสัตว์ให้นักล่าสัตว์มืออาชีพ และผู้ประกอบการซาฟารี ภายใต้โควตาที่รัฐบาลให้ เช่น นักล่าสัตว์ต้องจ่ายเงิน US$12,000 เพื่อล่าช้างและควายป่า แต่ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของมืออาชีพท้องถิ่นที่ได้รับใบอนุญาต • การล่าสัตว์แบบนี้ถือเป็น ‘การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ’ (ecotourism) ชั้นดี เพราะรัฐไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอุดหนุนนักท่องเที่ยว ทำความเสียหายต่อระบบนิเวศท้องถิ่นน้อยมาก และทำรายได้สูง • ขายสัตว์ป่า:ในพื้นที่ที่มีประชากรสัตว์ป่าจำนวนมาก ชาวบ้านก็ขายสัตว์ป่าให้กับอุทยานแห่งชาติหรือพื้นที่สัตว์สงวนเพื่อสร้างรายได้
แหล่งรายได้จากโครงการ CAMPFIRE (ต่อ) • ขายของป่า: ภายใต้โครงการ CAMPFIRE ชาวบ้านสามารถขายของที่เก็บได้จากในป่า เช่น ไข่จระเข้ ให้กับนักท่องเที่ยวและคนต่างถิ่นได้ • การท่องเที่ยว:ในอดีตรายได้ส่วนใหญ่จากนักท่องเที่ยวตกเป็นของบริษัททัวร์ ไม่ใช่ของชุมชนท้องถิ่น แต่โครงการ CAMPFIRE พัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรม เช่น ทัวร์ดูนก และทัวร์บ่อน้ำพุร้อน โดยจ้างชาวบ้านเป็นไกด์ทัวร์และให้ชาวบ้านบริหารจัดการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวเอง • ขายหนังและเนื้อสัตว์ป่า: ในบริเวณที่มีสัตว์ป่า เช่น ละมั่ง ชุกชุม กรมอุทยานแห่งชาติก็ดูแลให้ชาวบ้านฆ่าและขายหนังกับเนื้อสัตว์ได้
โครงสร้างการจัดการในโครงการ CAMPFIRE • หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ CAMPFIRE จะแต่งตั้ง “คณะกรรมการสัตว์ป่า” (wildlife committee) ซึ่งมีหน้าที่ตรวจนับสัตว์ป่าในบริเวณท้องที่หมู่บ้านของตนทุกเดือน, ลาดตระเวนไม่ให้มีการลักลอบฆ่าสัตว์และให้ความรู้กับชาวบ้านด้วย • รัฐบาลทำหน้าที่ฝึกสอนนักสำรวจ (game scout) เพื่อช่วยสอดส่องดูแลป่าและบริหารประชากรสัตว์ป่า • กรมอุทยานทำหน้าที่จัด workshop ขึ้นทุกปี เพื่อกำหนดโควตาการล่าสัตว์ประจำปีร่วมกันกับชาวบ้าน โดยคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับประชากรสัตว์แต่ละชนิด (carrying capacity) • องค์กร World Wildlife Fund (WWF) ช่วยนับจำนวนประชากรสัตว์ป่า โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ • ส่วนเจ้าของบริษัททัวร์ต้องเก็บข้อมูลสัตว์ป่าที่ลูกทัวร์ล่าอย่างละเอียด และรายงานข้อมูลต่อรัฐก่อนที่จะได้รับโควตาใหม่
การบริหารรายได้จากโครงการ CAMPFIRE • สภามณฑล (District Council) เป็นผู้จัดเก็บรายได้จากโครงการและใช้รายได้นั้นตามเกณฑ์ที่โครงการแนะนำ ได้แก่: • 80% ของรายได้มอบให้กับชุมชนท้องถิ่นโดยตรง ซึ่งจะตัดสินใจร่วมกันว่าจะนำเงินไปใช้ทำอะไร • 20% ที่เหลือเป็นของสภามณฑล ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ CAMPFIRE ในพื้นที่ • ในปี 1993 เพียงปีเดียว 26 มณฑลที่เข้าร่วมโครงการสามารถหารายได้ จากโครงการได้มากกว่า 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐ • ในปีที่รายได้ดีชาวบ้านจะนำรายได้ไปพัฒนาชุมชน เช่น สร้างสถานีอนามัย, ถนนหรือโรงเรียน, ขุดบ่อน้ำบาดาล, จ้างไกด์ ส่วนในปีที่รายได้ไม่ดี ชาวบ้านมักนำเงินไปซื้ออาหาร เช่น ข้าวโพด มาสำรองเพื่อใช้บริโภคยามขาดแคลน • ตั้งแต่ปี 1989 โครงการมีชาวบ้านเข้าร่วมกว่า 250,000 คน
การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนในกานาการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนในกานา
การ “แปรรูป” รัฐวิสาหกิจ • ปัจจุบันกลุ่มทุนขนาดใหญ่และองค์กรโลกบาลอย่าง IMF และ World Bank มักกดดันรัฐบาลประเทศโลกที่สามให้ “แปรรูป” สาธารณสมบัติแล้วนำมาขายเอากำไร โดยเฉพาะกิจการผูกขาดธรรมชาติ (Natural Monopoly) เช่น กิจการส่งกระแสไฟฟ้า และกิจการส่งน้ำประปา ซึ่งสามารถทำกำไรสูงมากจากการใช้อำนาจผูกขาด • กลุ่มทุนมักจะผลักดันให้รัฐออกกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมการกระทำของตนเพื่อสร้างความชอบธรรม โดยอ้างว่าการแปรรูปจะช่วยเพิ่ม “ประสิทธิภาพ” ของการให้บริการ ส่วน IMF และ World Bank จะผลักดันให้ประเทศลูกหนี้แปรรูป ด้วยการผูกเข้าเป็นเงื่อนไขหนึ่งของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ประเทศยากจนมักจะจำเป็นต้องกู้มาพัฒนาประเทศ • การเข้าถึงไฟฟ้าและน้ำประปาแท้จริงแล้วถือเป็น “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ที่รัฐมีหน้าที่ผลิตและแจกจ่ายน้ำไฟให้กับประชาชนทุกคนทั่วประเทศ ในราคาย่อมเยา ไม่แสวงหากำไรเหมือนบริษัททั่วไป
ปัญหาของการ “แปรรูป” • การแปรรูปนั้นจะ “ได้ผล” อย่างยั่งยืน ทำประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ ก็ต่อเมื่อตลาดสามารถการันตีว่าจะเกิดการแข่งขันในกิจการนั้นๆ จริง หรือไม่รัฐก็ต้องออกกฎเกณฑ์ควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจผูกขาดในทางที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคได้เท่านั้น • เมื่อใดที่กิจการถูกแปรรูปภายใต้เงื่อนไขอื่น เอกชนจะสามารถขึ้นราคาสินค้าได้เต็มที่ โดยผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ทำให้ผู้มีรายได้น้อยต้องเดือดร้อน เงินจำนวนมหาศาลวิ่งเข้าสู่กระเป๋าของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ • เกิดปัญหาต้องแลกได้แลกเสียระหว่าง “ประสิทธิภาพ” กับ “ความเท่าเทียมของโอกาส” กล่าวคือ ถ้าต้องการให้การบริหารมีประสิทธิภาพ ก็ต้องยอมสละความเท่าเทียมในสังคม ในกรณีของสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน นั่นหมายถึงการต้องยอมสละสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้วย
การต่อสู้กับการ “แปรรูป” น้ำประปาในกานา • ก่อนปี 2538 นโยบายน้ำของรัฐตั้งอยู่บนความจำเป็นของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้นรัฐบาลกานาจึงมุ่งเน้นการให้บริการน้ำประปากับชุมชนที่ยากจนที่สุด เพื่อยกระดับสุขอนามัย • รัฐบาลกานาแยกระบบน้ำประปาของประเทศออกเป็นสองหน่วยธุรกิจ • การประปาส่วนภูมิภาคซึ่งขาดทุนอย่างต่อเนื่อง บริหารโดยองค์กรน้ำเพื่อชุมชน (Community Water Supply Agency – ย่อว่า CWSA) • การประปาในเมืองซึ่งมีกำไร เดิมเป็นของรัฐแต่ตั้งใจแปรรูปให้เอกชนบริหาร • IMF และ World Bank เสนอและสนับสนุนให้รัฐบาลแปรรูปกิจการน้ำประปาในเมืองที่สามารถทำกำไรได้ รัฐบาลกานาจึงออกมาตรการขึ้นค่าน้ำเพื่อเตรียมตัวสำหรับการแปรรูปน้ำประปาให้เป็นของเอกชน เพราะต้องมีกำไรสูงพอที่จะดึงดูดนักลงทุนเอกชน
ความเดือดร้อนของชาวกานาความเดือดร้อนของชาวกานา • การที่มีบ่อน้ำสะอาดไม่เพียงพอ ส่งผลให้กานามีโรคระบาดมากเป็นอันดับ 2 ของโลก • ในปี 2544 รัฐบาลกานาเป็นหนี้ World Bank และ IMF กว่า 12,000 ล้านบาท จึงประกาศขึ้นค่าน้ำกว่า 95 % เพื่อทำให้กิจการน้ำประปามีผลกำไรดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถขายกิจการให้นักลงทุนต่างชาตินำเงินมาใช้หนี้ดังกล่าวได้ ส่วนบริษัทเอกชนได้รับอนุญาตให้โอนผลกำไรทั้งหมดกลับประเทศได้ ทำให้ผลประโยชน์ทั้งหมดตกอยู่กับบริษัทข้ามชาติ ในขณะที่ความเสี่ยงทั้งหมดตกอยู่กับประเทศกานา • ถ้าการแปรรูปดำเนินไปตามแผน รัฐบาลจะไม่สามารถนำกำไรจากประปาในเมืองมาอุดหนุนการขาดทุนของประปาชนบทได้ ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกานากับWorld Bank และ IMF เปิดทางให้บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลทางการเมือง เข้ามาแสวงหากำไรในกิจการน้ำ แม้ผลการวิจัยจำนวนมากจะบ่งชี้ว่าการแปรรูปน้ำประปามักส่งผลให้อัตราผู้ป่วยสูงขึ้น เพิ่มช่องว่างทางเศรษฐกิจ และทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมเร็วขึ้นก็ตาม
ความเดือดร้อนของชาวกานา (ต่อ) • World Bank ยังบังคับให้รัฐบาลกานาก่อหนี้เพิ่มอีก 20,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในระบบน้ำ ให้กับบริษัทเอกชนที่ชนะประมูล ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระหนี้และดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเสนอให้เงินกู้อีก 400 ล้านเหรียญ เพื่อปฏิรูประบบน้ำประปาที่รัฐเป็นเจ้าของ แต่มีข้อแม้ว่า • ต้องยกเลิกข้อบังคับที่ให้ผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่ร่ำรวยอุดหนุนค่าน้ำให้กับชุมชนที่ยากไร้ • รัฐบาลต้องขายน้ำที่ราคาตลาด • ต้อง “คืนต้นทุนทั้งจำนวน” (full cost recovery) นั่นคือคนที่สามารถจ่ายค่าน้ำเต็มจำนวนเท่านั้นที่ใช้น้ำได้ ส่วนคนที่จ่ายไม่ได้ต้องถูกตัดน้ำ • ชุมชนต่างๆ ต้องอุดหนุนเงินจำนวน 5-10 % ของเงินลงทุนในโครงการน้ำในชนบท แต่หลายครั้งชุมชนมีเงินไม่พอจ่าย ทำให้โครงการต้องหยุดชะงัก • การขึ้นค่าน้ำครั้งนั้นก่อให้เกิดความเดือดร้อนแสนสาหัสไปทั่วประเทศ ลูกๆ ต้องออกจากโรงเรียนเพื่อแม่จะได้มีเงินจ่ายค่าน้ำ ชาวกานาต้องใช้เงินเพื่อซื้อน้ำกว่าวันละ 40 เพนซ์ ซึ่งประมาณเท่ากับรายได้ต่อวัน ทำให้ไม่มีเงินออม ภาระส่วนใหญ่ตกอยู่กับเด็กและผู้หญิงที่ต้องออกไปหาน้ำมาใช้แทนน้ำประปา และเมื่อไม่มีน้ำสะอาดใช้ชาวกานากว่า 70 % ต้องประสบกับโรคระบาดอย่างหนัก • ชาวกานาบางคนตอบโต้ประเด็นการจ่ายค่าน้ำว่า ในเมื่อเขาไม่ได้เงินเดือนในอัตราตลาด แล้วพวกเขาจะจ่ายค่าน้ำในราคาตลาดได้อย่างไร และยังมองว่าพวกเขาอาจจะต้องดื่มอากาศแทนน้ำ
การต่อสู้เพื่ออำนาจของชุมชนการต่อสู้เพื่ออำนาจของชุมชน • รูดอล์ฟ อาเมนก้า-เอเตโก้ (Rudolf Amenga-Etego) อดีตทนายความ อายุ 40 ปี เคยรับว่าความให้กับคนจนหลายรายที่ไม่สามารถจ่าย ค่าน้ำประปา หรือถูกรัฐฟ้องขึ้นศาลในข้อหาแอบใช้น้ำเพื่อยังชีพโดย ผิดกฎหมาย เห็นความเดือดร้อนของประชาชนมามาก เขามองว่าหาก รัฐปล่อยให้น้ำประปาเป็นสินค้าในระบบตลาดเสรี ชาวกานาส่วนใหญ่ จะไม่มีน้ำสะอาดใช้ เพราะจ่ายค่าน้ำไม่ได้ • เขาก่อตั้งแนวร่วมต่อต้านการแปรรูปน้ำแห่งชาติ (National Coalition Against the Privatization of Water : NCAP) ในปี 2001 ทำงานต่อต้านนโยบายแปรรูปของรัฐบาลและยังคิดค้นทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการน้ำโดยไม่ต้องอาศัยการแปรรูป
จุดประสงค์ของแนวร่วมต่อต้านการแปรรูปน้ำแห่งชาติจุดประสงค์ของแนวร่วมต่อต้านการแปรรูปน้ำแห่งชาติ • ต่อต้านโครงการแปรรูปของรัฐบาลกานาที่มี World Bank หนุนหลังอยู่ • สร้างความเข้าใจและตระหนักในกระบวนการการแปรรูปน้ำในกานา • เรียกร้องให้บริษัทที่มีแผนจะเข้ามาประมูลน้ำในกานา ถอนตัวอย่างเร็วที่สุด • เผยแพร่ความรู้และเอกสารเกี่ยวกับการเจรจา การประมูล ข้อตกลงในโครงการ "Service Management Contract" • สร้างความร่วมมือของกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อน้ำ ทั้งในและต่างประเทศ • ศึกษาและเรียนรู้จากบทเรียนในอดีตเกี่ยวกับการแปรรูปน้ำ • คิดค้นทางเลือกใหม่ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน • กระตุ้นให้ประชาชนมีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องการปฏิรูประบบน้ำ • สนับสนุนให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะมีน้ำสะอาดใช้ ภายในปี 2010
การต่อสู้เพื่ออำนาจของชุมชน (ต่อ) • อาเมนก้า-เอเตโก้สนับสนุนให้รัฐบาลและเอ็นจีโอร่วมมือ กับชุมชน เจรจาต่อรองกับรัฐวิสาหกิจที่ผลิตน้ำในเมืองเทมาเล ให้ขายน้ำประปาในราคาขายส่ง และให้ชาวบ้านหมู่บ้านซาเวลูกู ซึ่งเคยมีโรคพยาธิระบาดรุนแรงที่สุดในประเทศ รับผิดชอบการ จ่ายน้ำ เก็บค่าน้ำ บำรุงรักษาระบบน้ำประปา และให้บริการหลัง การขายเอง ชุมชนรู้จะรู้ว่าครอบครัวใดบ้างที่จ่ายค่าน้ำไม่ได้ ก็ยกเว้นให้ไม่ต้องจ่าย โดยมองว่าชุมชนท้องถิ่นควรมีสิทธิเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐรับผิดชอบต่อปัญหา เพราะบริษัทเอกชนจะรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น • มองว่ารัฐควรบริหารจัดการน้ำแต่ให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม เพราะการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นจะช่วยป้องกันคอร์รัปชั่น ทำให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ การที่ชุมชนมีอำนาจควบคุมระบบน้ำ ทำให้พวกเขามีแรงจูงใจที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ท่อน้ำระเบิด อย่างทันท่วงที ทำให้ลดปัญหาการจ่ายน้ำเกิน • ชุมชนซาเวลูกูลดราคาค่าน้ำจนถึงระดับที่ชาวบ้านส่วนใหญ่พอจะจ่ายได้
ผลของโมเดลทางเลือก • โรคพยาธิในหมู่บ้านซาเวลูกูลดลงเกือบเป็น 0 และประชากรกว่า 74 % มีน้ำสะอาดใช้ ใน 3 ปีที่ใช้โมเดลนี้ ชาวบ้านเก็บค่าน้ำได้ 100 % น้ำที่อยู่นอกระบบ (Unaccounted for water) ในพื้นที่ลดลงเหลือ 15 % แต่เมื่อเกิดการขาดแคลนน้ำจากเมืองเทมาเล เพราะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐไม่เพียงพอ และเริ่มมีการเตรียมขั้นตอนแปรรูปอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตน้ำต้องจำกัดปริมาณน้ำที่จ่ายให้กับชุมชนซาเวลูกูไปโดยปริยาย • ประสบการณ์ของกานาแสดงให้เห็นว่า • ความสำเร็จของโมเดลทางเลือกแบบนี้จะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ และเจตจำนงทางการเมืองที่แน่วแน่ของรัฐบาลว่า จะให้บริการสาธารธูปโภคพื้นฐานในฐานะที่เป็น “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ของประชาชน • ชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อความต้องการของคนในชุมชน ถ้านำองค์ความรู้จากโลกธุรกิจมาใช้ก็น่าจะยิ่งได้ผลดีกว่าเดิมอีก
องค์กรการเงินชุมชนในไทยองค์กรการเงินชุมชนในไทย (ขอขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ภีม ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หัวหน้าโครงการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน”) 32
เครดิตยูเนี่ยน: จุดเริ่มต้นองค์กรการเงินชุมชน • องค์กรการเงินชุมชนในไทยเริ่มขึ้นในปี 2500 โดยองค์กรศาสนาคริสต์ที่ทำงานช่วยเหลือคนจนในสลัมคลองเตย ได้นำแนวคิดเรื่องสหกรณ์จากเยอรมันตะวันตกเข้ามาเผยแพร่และจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนขึ้นในปี 2508 เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนและการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน • ผู้นำองค์กรพยายามจะร่วมมือกับภาครัฐตั้งแต่เริ่มดำเนินการ แต่กลับไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออีกทั้งรัฐยังระแวงคอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด • องค์กรเอกชนด้านศาสนามีการรวมตัวกันอย่างต่อเนื่องเพื่อเผยแพร่แนวคิดให้ชุมชน เพราะรัฐมีลักษณะเป็นเผด็จการและปัญหาภายในชุมชนบางแห่งที่พึ่งพารัฐ ไม่คิดพึ่งตนเอง • ด้วยความพยายามอย่างยากลำบาก แกนนำกลุ่มได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ในปี 2521 และมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในนามชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย (ช.ส.ค.)ในปี 2522 • กลไกที่ใช้ขับเคลื่อนงานของเครดิตยูเนี่ยนมีโครงสร้างเป็นระบบเครือข่ายที่ชัดเจนคือ มีสำนักงานใหญ่ทำหน้าที่บริหารจัดการ และสำนักงานย่อยเป็นหน่วยเผยแพร่และให้การสนับสนุน โดยมีสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ในแต่ละจังหวัดเป็นกลไกของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลอีกทางหนึ่ง 33
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต : เครื่องมือพัฒนาชนบทของรัฐราชการ • ในปี 2517 กรมการพัฒนาชุมชนได้นำแนวคิดสหกรณ์ผนวกกับกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนและการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรจัดตั้งเป็น “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต” เป็นโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชนบทตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 โดยยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ คือ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน • กลุ่มฯ มีการเชื่อมโยงกิจกรรมต่อเนื่อง รวมทั้งธุรกิจประเภทอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนรู้จักการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจด้านการผลิตและการตลาด • ในตอนแรกมีแนวคิดให้เตรียมจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการผลิตต่อไป แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาสนับสนุนให้จดทะเบียนเป็นสมาคมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตแทน • แนวทางการสนับสนุนกลุ่มมีการปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด ส่วนหนึ่งเพราะชุมชนชนบทมีลักษณะพึ่งพามาแต่เดิม โดยที่รัฐมีบทบาทหลักในทั้งด้านการสงเคราะห์และควบคุม โดยการให้เงินอุดหนุน ปรารถนาให้ชุมชนเชื่อฟังอยู่ในโอวาท • วิธีการดำเนินงานและระเบียบปฏิบัติหลายอย่างไม่เอื้อให้ชุมชนได้ประโยชน์เท่าใดนัก ทำให้กลุ่มจำนวนมากถูกบอนไซจนต้องยุบเลิกไป ส่วนที่เหลืออยู่ก็ได้หาทางพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เช่น กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต 34
กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต : ธรรมะภาคปฏิบัติ • กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต เกิดจากการพัฒนารูปแบบของกลุ่ม ออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกอย่างแท้จริง • ริเริ่มโดยครูชบ ยอดแก้วในปี 2525 โดยพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการเน้นที่การสร้างสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกโดยแบ่งเงินกำไรครึ่งหนึ่งมาจัดตั้งและสมทบกองทุนสวัสดิการในแต่ละปี และให้มีการฝึกฝนการทำงานโดยเปิดให้มีการกู้ยืมตั้งแต่เริ่มดำเนินการ • แนวคิดดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ขยายผลจนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยการนำไปประยุกต์เข้ากับหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาของพระสุบิน ปณีโต เพื่อเป็นเครื่องมือพาชุมชนเข้าสู่ธรรมนำไปจัดตั้งและเผยแพร่ที่จังหวัดตราดในปี 2533 ต่อมาได้ขยายผลโดยเชื่อมโยงเครือข่ายพระสงฆ์ทั่วประเทศ มีสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.)ให้การสนับสนุนโดยมีพระสงฆ์เข้าร่วม • สามารถขยายการจัดตั้งกลุ่มได้ประมาณ 500 กลุ่ม และในปัจจุบันกำลังดำเนินโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิตโดยใช้ศูนย์เรียนรู้ของพระสุบินที่จังหวัดตราดเป็นแกนดำเนินงานโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 35
ธนาคารหมู่บ้าน : รูปแบบใหม่ที่พยายามขยายผลผ่านระบบราชการ • ก่อตั้งโดย อ.จำนง สมประสงค์ อาศัยแนวคิดจากสหกรณ์และธนาคารกรามีนของบังคลาเทศ นำมาทดลองในโครงการอีสานเขียวในปี 2532 จากนั้นได้เผยแพร่ขยายผลโดยความร่วมมือจากมูลนิธิเผยแพร่ชีวิตประเสริฐ ซึ่งส่งเสริมให้มีการนำหลักพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนา แนวทางดังกล่าวได้ขยายผลผ่านเครือข่ายของระบบราชการ โดยสำนักปลัดกระทรวงฯได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ในแต่ละจังหวัดเป็นแกนหลักในการจัดตั้งเครือข่ายองค์กรชุมชนระดับจังหวัดขึ้นทั่วประเทศ • การออมทรัพย์ช่วยเหลือกันเองในรูปแบบที่ค่อนข้างเป็นอิสระช่วยให้กลุ่มชาวบ้านที่สนใจงานพัฒนาสังคมทั้งในเมืองและชนบทที่ต้องการหลีกหนีจากรูปแบบกลุ่มออมทรัพย์ที่กรมการพัฒนาชุมชนส่งเสริมอยู่มีช่องทางนำไปดำเนินการอย่างหลากหลาย • กลุ่มเหล่านี้ได้เรียนรู้ด้วยตนเองและจากการหนุนช่วยขององค์กรพัฒนาเอกชน ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์อัล-อิสลามิยะห์ ซึ่งเป็นรูปแบบออมทรัพย์ตามหลักการศาสนาอิสลามที่จังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้กลายเป็นกลุ่มต้นแบบที่มีการประยุกต์รูปแบบธนาคารหมู่บ้านให้เข้ากับหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งห้ามไม่ให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย จึงเป็นการระดมทุนนำมาดำเนินธุรกิจร่วมกัน เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในภาคใต้ 36
พลวัตของขบวนองค์กรการเงินชุมชนพลวัตของขบวนองค์กรการเงินชุมชน • หน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชนค่อย ๆ เปลี่ยนจากเป็น “เจ้าของ” มาเป็นสนับสนุนและค่อย ๆ ปล่อยให้ชุมชนดำเนินการเอง ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการต่อสู้ของกลุ่มที่เติบโตเป็นอิสระด้วยตนเอง และการหนุนช่วยขององค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้าไปเสริมการทำงานของภาครัฐ ให้ชุมชนได้มีที่ยืนในสังคมอย่างแท้จริง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนผลักดันให้รัฐจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนเมืองของขบวนการสลัม ซึ่งต่อมากลายเป็นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) • ต่อมา พอช. ได้พัฒนากลไกเชิงระบบ โดยให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของการดำเนินงาน โดยเจ้าหน้าที่สถาบันฯ เป็นเพียง “ผู้ช่วย” เพื่อให้องค์กรชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาอย่างแท้จริง • พอช. สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนแห่งชาติ (พอสช.) ขึ้น เพื่อต้องการจัดระบบในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นเอกภาพ โดยมีครูชบ ยอดแก้วเป็นประธาน เพื่อดำเนินการ เชื่อมโยงกลุ่มออมทรัพย์รูปแบบต่างๆ เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับกลุ่มออมทรัพย์สามารถจัดสวัสดิการของตนเองได้ 37
นโยบายพัฒนาชนบทและกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปกองทุนของรัฐนโยบายพัฒนาชนบทและกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปกองทุนของรัฐ • ในปี 2536 รัฐบาลมีนโยบายกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและจัดทำโครงการ แก้ไขปัญหาความยากจน โดยจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน(กขคจ.) จัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้หมู่บ้านยากจน โดยมีแนวคิดที่จะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในครัวเรือนที่ได้รับทุนหมุนเวียนต่อไป • การดำเนินงานมีทั้งที่สำเร็จและเกิดปัญหา ซึ่งมาจากเงื่อนไขภายในของชุมชนและกลไกการสนับสนุนที่ขาดความต่อเนื่องและการทุ่มเทอย่างเพียงพอ หลังจากนั้นในปี 2542 รัฐได้สนับสนุนเงินทุนมิยาซาว่าให้กับกลุ่มกิจกรรมในหมู่บ้านนำไปหมุนเวียนเพื่อการผลิต โดยไม่มีระบบติดตามสนับสนุนและการประเมินผลแต่อย่างใด โดยที่เงินทุนดังกล่าวได้ไหลเวียนเข้าไปเสริมการทำงานขององค์กรการเงินชุมชนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม • ในปี 2544 พรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายกองทุนหมู่บ้าน มีแนวคิดมาจากกองทุนชุมชนต้นแบบ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ตำบลคลองเปียะ และกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยใช้กลไกการดำเนินงานแบบผสมผสานทั้งการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ และกลไกการติดตามสนับสนุนที่ต่อเนื่องเป็นระบบ ถือเป็นพลังขับเคลื่อนทางการเมืองที่มีผลต่อขบวนการองค์กรการเงินชุมชนมากที่สุดในปัจจุบัน 38
แนวคิดและการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนในประเทศไทยแนวคิดและการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนในประเทศไทย • ที่มาขององค์กรการเงินชุมชนรูปแบบต่าง ๆ และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานล้วนมีความคล้ายคลึงกัน คือ มาจากแนวคิดสหกรณ์ที่เน้นความร่วมมือช่วยเหลือกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของศาสนา • หน่วยงานของรัฐได้ใช้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชนบท แต่เนื่องจากสภาพสังคมและการเมืองไทยในขณะนั้นยังเป็นรัฐเผด็จการอุปถัมภ์ รวมทั้งระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้มีการคิดค้นรูปแบบและกลไกสนับสนุนอื่นๆ เข้ามาเสริมการทำงานของรัฐ ที่สำคัญคือ บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในเชิงสงเคราะห์และการขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในชุมชนและทางการเมือง โดยใช้กลุ่มออมทรัพย์เป็นเครื่องมือ • เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปโดยมีปัจจัยสำคัญจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและหน่วยปฏิบัติการของรัฐ หนุนเนื่องเป็นพลังเสริมการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกัน เกิดการผสมผสานองค์กรภาครัฐกับงานพัฒนาสังคมที่ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากขึ้น 39
แนวคิดและการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน (ต่อ) • ผลของความเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งเป็นการกระจายอำนาจในระบบการเมืองในรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ขณะที่เกิดหน่วยปฏิบัติการของรัฐที่มีเจตนารมณ์และการดำเนินงานแบบองค์กรพัฒนาเอกชนเกิดขึ้น คือ กองทุนพัฒนาชุมชนเมือง ซึ่งต่อมาได้ขยายบทบาทการทำงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เกิดกองทุนเพื่อสังคม ต่อเนื่องโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน • หลังจากมีการเลือกตั้งในปี 2544 พรรคไทยรักไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและได้ดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยเจตจำนงทางการเมืองที่ไม่เคยมีมาก่อน • แม้ว่ารัฐบาลก่อนหน้าไทยรักไทยจะเคยดำเนินนโยบายกระจายเม็ดเงินให้กับชุมชนในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะในรูปกองทุนหมุนเวียน เช่น นโยบายเงินผัน นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน และมาตรการบรรเทาปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจด้วยกองทุนมิยาซาว่า แต่ก็เป็นการดำเนินนโยบายที่ปราศจากเจตจำนงทางการเมืองที่ชัดเจน ไม่มีการคิดค้นรูปแบบการดำเนินงานที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เพียงแต่ “ผูก” นโยบายไว้กับกลไกทางการเมืองแบบอุปถัมภ์เท่านั้น • อย่างไรก็ตาม ลักษณะ “มักง่าย” ของกองทุนหมู่บ้านก่อให้เกิดคำถามมากมายถึงประสิทธิผล 40
แนวคิดการเชื่อมโยงหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนแนวคิดการเชื่อมโยงหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน 41
การจัดระบบบริการการเงินให้กับชุมชนฐานรากของกระทรวงการคลังการจัดระบบบริการการเงินให้กับชุมชนฐานรากของกระทรวงการคลัง • กระทรวงการคลังได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการส่งเสริมบริการทางการเงินระดับรากหญ้า” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลและสนับสนุนองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นหน่วยบริการทางการเงินให้กับชุมชนฐานราก • คณะกรรมการได้ตั้งอนุกรรมการยกร่าง “แผนแม่บทการเงินระดับฐานราก” เพื่อดำเนินการจัดระบบองค์กรการเงินชุมชนให้มีความมั่นคงชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายในการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยทำการศึกษาแนวคิด การดำเนินงาน รวมทั้งการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนองค์กรการเงินชุมชนจากทุกภาค • ได้รับการผลักดันและสนับสนุนโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของขบวนการองค์กรการเงินชุมชนในการวางระบบการสนับสนุนที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรการเงินชุมชนมากที่สุด 42
ทิศทางในอนาคตจากงานวิจัยของอาจารย์ภีมทิศทางในอนาคตจากงานวิจัยของอาจารย์ภีม • การขับเคลื่อนเชิงอุดมการณ์ • การจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มการเงินรูปแบบอื่นๆ เพื่อทำให้ระบบกลุ่มและเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนเป็นปึกแผ่นอย่างแท้จริง • ควรประสานงานร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการเงินของรัฐเพื่อสนับสนุนให้องค์กรการเงินชุมชนเป็นหน่วยจัดการงบประมาณมูลฐานในรูปสถาบันการเงินเพื่อสร้างชุมชนสวัสดิการและเป็นหน่วยจัดการการเรียนรู้ตามอัธยาศัย • เสนอนโยบายจัดตั้งกองทุนสมทบเพื่อสร้างสวัสดิการชุมชนและสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านรวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรการเงินในหมู่บ้านและตำบล • ขยายแนวคิดไปสู่การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยอาศัยกลไกของกลุ่มและเครือข่าย • ทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยพลังการเรียนรู้ของประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มองค์กรและเครือข่ายที่มีเจตจำนงทางการเมืองอย่างชัดเจน 43
ทิศทางในอนาคตจากงานวิจัยของอาจารย์ภีม (ต่อ) • การขับเคลื่อนบนฐานความรู้ • รูปแบบและวิธีการจัดการกลุ่มเครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ตำบลให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน • เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ขึ้นในชุมชนโดยกลุ่มและเครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ตำบล • เสริมสร้างระบบการทำงานและทักษะความรู้ที่จำเป็นของหน่วยสนับสนุนในพื้นที่เพื่อใช้ในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ตำบล • ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการในการจัดการทุนระดับบุคคล/ครอบครัวของสมาชิกกลุ่มให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นในระดับจิตใจ เศรษฐกิจและสังคม 44
ข้อสังเกตเกี่ยวกับทิศทางขององค์กรการเงินชุมชนข้อสังเกตเกี่ยวกับทิศทางขององค์กรการเงินชุมชน • ทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรการเงินชุมชนในปัจจุบัน ตั้งอยู่บนฐานคิดของการ “พึ่งตนเอง” โดยให้รัฐและเอ็นจีโอช่วยสนับสนุน ยังไม่เชื่อมไปถึงภาคเอกชน (เช่น ธนาคารพาณิชย์) และดังนั้นจึงอาจประสบปัญหาจากข้อจำกัดในระบบ เช่น ความเชื่องช้าของระบบราชการ และความด้อยประสิทธิภาพของธนาคารรัฐเมื่อเทียบกับธนาคารเอกชน • ประเด็นที่ควรเริ่มมีการอภิปรายคือ จะสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนอย่างไร เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้จากโลกธุรกิจ (นวัตกรรมทางการเงิน เครื่องมือในการบริหารจัดการ เทคโนโลยี ฯลฯ) เข้ามาหนุนเสริมองค์กรการเงินชุมชน? แนวคิดใหม่ๆ เช่น ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม, โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม (ธนาคารกรามีน) จะช่วยได้หรือไม่ เพียงใด ในทางที่ไม่ส่งผลเสียต่อชุมชนในระยะยาว (เช่น ปัญหาการเสียวินัยทางการเงินถ้าธนาคารกระตุ้นให้บริโภคเกินตัวเพราะหวังกำไรระยะสั้น)? 45
โมเดลทางเลือกที่ประสบความสำเร็จบอกอะไรเราบ้างโมเดลทางเลือกที่ประสบความสำเร็จบอกอะไรเราบ้าง • “ชุมชน” เป็นผู้เล่นในพื้นที่ทางเศรษฐกิจอันทรงพลัง ที่ปัจจุบันมีนักเศรษฐศาสตร์น้อยคนที่จะศึกษาอย่างจริงจัง เพราะมักจะมองเห็นแต่ “เศรษฐกิจในระบบ” เท่านั้น • กรณีความสำเร็จของโมเดลการบริหารจัดการทรัพยากรโดยชุมชน เช่น เหมืองฝายพญาคำในลุ่มน้ำปิง และระบบ ซูบัค ในบาหลี อินโดนีเซีย แสดงให้เห็นศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการที่ได้ทั้งประสิทธิภาพ ความเท่าเทียมกัน (ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงและใช้ทรัพยากร) และความยั่งยืน แสดงให้เห็นว่าในหลายกรณี “ความร่วมมือกัน” ระหว่างคนในชุมชน ส่งผลดีกว่า “การแข่งขัน” ของเอกชนที่ใช้มโนทัศน์ธุรกิจกระแสหลักแบบเดิมๆ • บทบาทของรัฐและเอกชน ควรเป็นการสนับสนุนในด้านองค์ความรู้ ทุน เทคโนโลยี และปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อ “หนุนเสริม” โมเดลที่ส่งเสริมให้ชุมชนเป็น “เจ้าของ” และ “บริหาร” ทรัพยากร ไม่ใช่ครอบงำทางความคิด หรือผูกขาดควบคุมการบริหารจัดการไว้กับตัวเอง • “เงิน” ไม่ใช่ปีศาจร้ายที่ทำลายชีวิตและวิถีชีวิตของชุมชนเสมอไป ถ้ารู้จักวิธีบริหารจัดการอย่างถูกต้อง คำนึงถึงความยั่งยืนในระยะยาวมากกว่าผลกำไรในระยะสั้น เพื่อปรับเปลี่ยนแรงจูงใจไปในทิศทางที่เหมาะสม