340 likes | 646 Views
โรงเรียนบ้านไร่อ้อย. เรียนดี สุขภาพดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้. ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป. ตั้งอยู่ที่ 265 หมู่ที่ 5 ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ แม่ใจจังหวัด พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56130 โทรศัพท์ 054886436 E - Mail raioi_2555@hotmail . com www.raiooy school.ac.th. ข้อมูลนักเรียน.
E N D
โรงเรียนบ้านไร่อ้อย เรียนดี สุขภาพดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตั้งอยู่ที่ 265 หมู่ที่ 5 ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ แม่ใจจังหวัดพะเยา รหัสไปรษณีย์ 56130 โทรศัพท์ 054886436E-Mail raioi_2555@hotmail.com www.raiooy school.ac.th
ข้อมูลนักเรียน จำนวนนักเรียนปฐมวัย 22 คน ประถมศึกษา 111 คน มัธยมศึกษาตอนต้น 47 คน รวมทั้งสิ้น 180 คน
บุคลากรโรงเรียนบ้านไร่อ้อยบุคลากรโรงเรียนบ้านไร่อ้อย
วิสัยทัศน์ ภายในปี ๒๕๕๗ โรงเรียนบ้านไร่อ้อย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย มีคุณภาพตามมาตรฐานด้านการบริหาร จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนมีนิสัย รักการอ่าน มีความเป็นเลิศด้านการใช้เทคโนโลยี มีคุณธรรมจริยธรรม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ ๑. พัฒนาและส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน มีคุณธรรม ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาตนเองสู่คุณภาพระดับสากล ๒. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต ๔. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
พันธกิจ (ต่อ) ๕. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๖. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ๗. ส่งเสริมพัฒนาให้ครูทุกคน สามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างครูมืออาชีพ ๘. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองชุมชนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ๙. ส่งเสริมการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และชุมชนให้หลากหลายเอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียน
เป้าประสงค์ ๑. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีนิสัยรักการอ่าน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรม ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล ๒. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓. ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต ๔. ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
เป้าประสงค์ (ต่อ) ๕. ผู้เรียนมีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๖. ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ๗. ครูทุกคน สามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างครูมืออาชีพ ๘. ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ๙. สร้างสื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนให้หลากหลาย เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียน
ตอนที่ 2 1. การบริหารงานวิชาการ 1.1 มีแผนงาน/โครงการพัฒนางานวิชาการ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยมีโครงการบริหารวิชาการ ดังนี้ - โครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - โครงการห้องสมุดมีชีวิต - โครงการแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน - โครงการสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน - โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน - โครงการอ่านเถิดเด็กไทยอ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่าน
1.2 มีข้อมูลสารสนเทศ ทางด้านวิชาการ ได้ดำเนินการดังนี้ - จัดทำข้อมูลเด็กรายบุคคล - ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ และระดับชาติ - ข้อมูลเด็กพิเศษเรียนร่วม
1.3 มีการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอย่างเป็นระบบได้ ดำเนินการดังนี้ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนงานวิชาการ การบริหารสถานศึกษาใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบ CLIP Modelมีการดำเนินการดังนี้ C Continuous Improvement การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หมายถึงการพัฒนาทุกด้านเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นพลวัต ( Dynamic ) L Learning การเรียนรู้หมายถึง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย ได้ศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อร่วมกันค้นหานวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ I Integration การบูรณาการหมายถึง การเข้ามาทำหน้าที่ประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ให้มีความสมบูรณ์ ครบถ้วนในตัว หมายถึง การบูรณาการภารกิจ กิจกรรม ความรับผิดชอบ บุคลากร ทรัพยากร และเทคโนโลยีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา P Participation การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน หมายถึง การบริหารจัดการศึกษาแบบ บวร ประกอบด้วย บ้านวัด และโรงเรียน การพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบไปสู่การปฏิรูปการศึกษา ๓ ด้าน ได้แก่ การปฏิรูปหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อสอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น ชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การปฏิรูปการบริหารจัดการเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การปฏิรูปการเรียนการสอนเน้นให้ครูปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนจัดการเรียนร็ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.4 มีการบริหารหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรตามองค์ประกอบ ของหลักสูตรสถานศึกษาได้ดำเนินการดังนี้ - จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา - กรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน - จัดทำหลักสูตรชั้นเรียนครบทุกกลุ่มสาระฯ - ประเมินผลและพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา
1.5 มีการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อสนองต่อกาเรียนการสอน ได้ดำเนินการดังนี้ - พัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด - ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ - ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ สวนพฤกษศาสตร์ สวนครัวพอเพียง ธนาคารขยะ
1.6 มีการส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม ทางการศึกษาและงานวิจัย ได้ดำเนินการดังนี้ เป็นโรงเรียนต้นแบบทรู ปลูกปัญญา จัดการเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีทุกห้องเรียน ใช้กระบวนการวิจัย โดยใช้วัฒนธรรมการวิจัย QPAR เป็นกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนา สู่การเรียนการสอน
1.7 มีการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้ดำเนินการดังนี้ - ครูออกแบบการเรียนรู้ และวัด ประเมินผลด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย นำผลการประเมินมาพัฒนา
1.8 มีการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ ได้ดำเนินการดังนี้ จัดทำแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระ เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างยั่งยืน ได้กำหนดนโยบาย ๗๐ /๓๐ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ดังนี้ ในเวลาเรียน ๑ คาบหรือ ๑ ชั่วโมง ครูจัดการเรียนรู้โดยแบ่งสัดส่วนกิจกรรม ดังนี้ ๗๐ หมายถึง ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้มาตรฐาน ตัวชี้วัด ตามหลักสูตร/ สาระการเรียนรู้มาเป็นแม่บทในการกำหนดกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ เน้นความหลากหลายในเนื้อหาและธรรมชาติของรายวิชา ได้ร้อยละ ๗๐ ๓๐ หมายถึงการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสรุปผลการเรียนรู้ องค์ความรู้โดยการเขียนสรุป วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น บรรยาย หรือ การพูด การรายงาน หรือชิ้นงานอื่นๆ เป็นต้น
2. การดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน - กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน - จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา - มีระบบบริหารและสารสนเทศ4กลุ่มงาน - มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา - มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา - มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา - มีการจัดทำรายงานประจำปีเป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน - มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3. ปัจจัยสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียน 3.1 การจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3.2 พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีการรายงานผลการพัฒนา 3.3 ประขุมชี้แจงบุคลากรได้รับรู้เป้าหมายของสถานศึกษาอย่างถูกต้อง/ครบถ้วน 3.4 สื่อการเรียนรู้ / สื่อ ICT สร้างและใช้สื่อ ICT ในการจัดการเรียนการสอนอย่าง 3.5 ห้องเรียนพิเศษ เช่น ห้องสมุด ห้องพยาบาล -พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเป็นแหล่งเรียนรู้หลักในโรงเรียน 3.6 การนิเทศติดตามของผู้บริหาร -นิเทศภายในอย่างเป็นระบบและทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
4. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย 4.1 ผู้บริหารมีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอและ เป็นปัจจุบันดำเนินการดังนี้ 4.1.1 กำหนดปฏิทินการนิเทศตลอดปีการศึกษา2556 4.1.2 ทำการนิเทศตามปฏิทิน ประชุม ตรวจเยี่ยม 4.2. มีการสนับสนุนงบประมาณตามความต้องการและจำเป็น ดำเนินการดังนี้ 4.2.1. จัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี 4.2.2. ระดมทรัพยากรจากชุมชน เช่น ขอสนับสนุนจากผู้ปกครอง 4.3. การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรอื่นๆ ดำเนินการดังนี้ 4.3.1 ร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา,สนับสนุนงบประมาณ เป็นวิทยากรให้ความรู้ เป็นต้น
5. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5.1จัดทำแผนงาน/โครงการ กิจกรรมที่เกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนดังนี้ โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการห้องเรียนแสนสุข โรงเรียนสีขาว 5.2 มีคำสั่งมอบหมายความรับผิดชอบผู้เรียนเป็นรายบุคคล 5.3 สำรวจข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย 5.4 มีการคัดกรองและจำแนกผู้เรียนเป็นรายกลุ่มตามสภาพ 5.5 จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการของผู้ปกครอง นักเรียน 5.6 มีการประเมินการจัดกิจกรรมป้องกันและพัฒนาผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง 5.7 มีการประสานและส่งต่อการแก้ไข และพัฒนา โรงพยาบาล ตำรวจ อำเภอ
6. การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียง 6.1 จัดทำโครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงการชีวิตพอเพียง ธนาคารขยะ ธนาคารความดี แหล่งเรียนรู้สามห่วงสองเงื่อนไข 6.2 ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6.3 ประเมินผลการดำเนินการ และรายงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ 6.4 นำผลการติดตามไปพัฒนา แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
7. การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) 7.1 ประชุมคณะครูผู้เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งเรื่องนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-Net) 7.2 กำหนดเป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธ์ทางการเรียน (O-Net) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 7.3 กำหนดแนวทาง/วิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-Net) อย่างชัดเจน 7.4 จัดทำปฏิทิน/ตารางการสอนซ่อมเสริมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-Net) อย่างชัดเจน 7.5 ดำเนินการตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเป็นกิจกรรมหลักในการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการกับจุดเน้นในแต่ละระดับชั้น เช่น -อ่านออกเขียนได้ -อ่านคล่องเขียนคล่อง -คิดเป็นวิเคราะห์ได้ -กล้าแสดงออก
9. การบริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 9.1 มีแผนงาน/โครงการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา - โครงการชีวิตพอเพียง 9.2 มีการจัดการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรโดยมีจุดเด่นในเรื่อง..ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และสาระเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนานักเรียน โดย มุ่งเน้นวิชาการและวิชาชีพอย่างชัดเจน และส่งเสริมงานด้านอาชีพตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริมอาชีพและหารายได้ระหว่างเรียน พืชผักสวนครัว ไม้กวาดทางมะพร้าว ดนตรีพื้นบ้าน
10. กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมฯ ปลูกจิตสำนึกความเป็นไทย ดำเนินการดังนี้ 10.1 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและการปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยในสถานศึกษาโครงการธนาคารความดี คนดีศรีไร่อ้อย 10.2 ดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/ กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ การปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยในสถานศึกษา 10.3 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและการปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยในสถานศึกษา และนำผลการติดตามไปพัฒนาแผนงาน/ โครงการกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและการปลูกจิตสำนึก
11.การดำเนินการกิจกรรมการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ดำเนินการดังนี้ จัดทำและพัฒนาหลักสูตรอาเซียนในสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มุมอาเซียน ศาลาอาเซียน ภาษา อาเซียน โดยร่วมมือกับศูนย์การเรียนรู้อาเซียนจัดกิจกรรมของสถานศึกษาเกี่ยวกับอาเซียน ASEAN Day / การจัดนิทรรศการ มีและใช้แหล่งสืบค้นข้อมูลด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับและประเมินผลพร้อมใสรูปรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ผลการดำเนินการ รางวัล 8 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 5 เหรียญทองแดง การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาค ปีการศึกษา 2556 ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ดีเยียม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ห้องสมุดที่จัดกิจกรรมรักการอ่าน ดีเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้บริหารรักการอ่าน ดีเยี่ยมระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครูรักการอ่าน ดีเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนรักการอ่าน ดีเยี่ยม ระดับ ประถม และระดับมัธยม รางวัลชนะเลิศโครงการอ่านเถิดเด็กไทยอ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่าน ระดับจังหวัด รางวัล แสนครูดี จำนวน 3 คน นายสุริยนต์อุนจะนำ นางพิกุล พันธ์ปัญญา นางกนิษฐา กาจินา รางวัลครูดีไม่มีอบายมุข ระดับภาค ผู้บริหาร นายประพันธ์ ทนันชัย ครู นางวิสุทธิ์ ไชยปิน
ภาพกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมรักการอ่าน
ภาพกิจกรรมต่างๆ การแข่งขันทักษะวิชาการ
ภาพกิจกรรมต่างๆ อาเซียนศึกษา
ภาพกิจกรรมต่างๆ ปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นแหล่งเรียนรู้
ภาพกิจกรรมต่างๆ สื่อการเรียนรู้ทรูปลูกปัญญา
รางวัลชนะเลิศส่งเสริมนิสัยรักการอ่านรางวัลชนะเลิศส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
คณะครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านไร่อ้อย ขอขอบพระคุณ