920 likes | 1.26k Views
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4. วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง. ลักษณะ 1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ม. 253 - 270. วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
E N D
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ลักษณะ 1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ม. 253 - 270 • วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล • ประเภทของวิธีการชั่วคราว 1. คุ้มครองประโยชน์ของจำเลย ม. 253, 253 ทวิ 2. คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ ม. 254, 255 3. คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความทุกฝ่าย ม. 264
วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของจำเลย (ในศาลชั้นต้น) ม. 253 • กฎหมายให้สิทธิหรือให้ความคุ้มครองแก่ 1. จำเลย 2. คู่ความที่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย • หลักเกณฑ์ที่จะขอคุ้มครอง หรือขอให้ศาลสั่งกำหนด วิธีการชั่วคราว 1. โจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับได้อยู่ในราชอาณาจักร 2. เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
วิธีการในการขอคุ้มครองวิธีการในการขอคุ้มครอง • จำเลยยื่นคำร้อง ระบุหรือกล่าวข้อความตาม หลักเกณฑ์ในการขอคุ้มครอง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ วางเงิน หรือหาประกันมาวาง ต่อศาลเพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่าย • ระยะเวลาในการยื่น ยื่นต่อศาลในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลมีคำพิพากษา
การไต่สวนคำร้องของศาล ปฏิบัติตาม ม. 21 กรณีมิใช่ คำร้องที่ทำได้ฝ่ายเดียว ถ้าศาลจะสั่งอนุญาตต้องส่งสำเนา ให้โจทก์ได้มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน และทำการไต่สวน • การส่งคำร้องของศาล • กรณีที่ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรืออนุญาต ตามคำร้องของจำเลย การไต่สวนต้องได้ความว่า 1. กรณีมีเหตุอันสมควร (หลักเกณฑ์ข้อ 1) หรือ 2. กรณีมีเหตุเป็นที่เชื่อได้ (หลักเกณฑ์ข้อ 2) • ถ้าไม่ได้ความ สั่งยกคำร้อง • เงื่อนไข กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติ
กรณีที่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของศาลกรณีที่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของศาล • ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่1. จำเลยขอให้พิจารณาคดีต่อไป หรือ 2. มีการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ม. 253 ทวิ • กฎหมายให้สิทธิแก่จำเลย หรือคู่ความที่อยู่ในฐานะ จำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น • จำเลยจะขอคุ้มครองหรือยื่นคำร้อง ให้โจทก์ วางเงินหรือหาประกันมาวางในชั้นอุทธรณ์ – ฎีกาได้ เมื่อกรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ 1. โจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา 2. กรณีมีเหตุหรือเข้าหลักเกณฑ์ตาม ม. 253
คำร้องของจำเลยต้องยื่นต่อศาลคำร้องของจำเลยต้องยื่นต่อศาล • โดยหลักทั่วไปคือศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา • ยกเว้นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความ ไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ต้องยื่นต่อ ศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวน เสร็จแล้วส่งไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง • ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง ยื่นเมื่อใดก็ได้ก่อนศาลมีคำพิพากษา • ศาลที่มีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้อง ได้แก่ ศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา
การพิจารณาและสั่งคำร้องของศาลอุทธรณ์ – ฎีกา ให้นำมาตรา 253 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม • ศาลจะสั่งอนุญาตได้ต้องปฏิบัติตาม ม. 21 • ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตาม ม. 253, 253 ทวิ • การกำหนดเงื่อนไขระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติ ตามคำสั่ง • กรณีโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ ม. 254 • กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ หรือคู่ความที่อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ • วิธีการชั่วคราวที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครอง ที่พิพาท 1. ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ไว้ชั่วคราว ทรัพย์สินของจำเลย กระทำซ้ำซึ่งเป็นการละเมิด, ผิดสัญญา 2. ห้ามจำเลยชั่วคราวมิให้ ที่พิพาท จำหน่าย โอน ขาย ยักย้ายทรัพย์สิน ของจำเลย 3. ห้ามนายทะเบียนชั่วคราวมิให้รับจดทะเบียน ทรัพย์สิน ในเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ที่พิพาท ของจำเลย 4. จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว
วิธีการในการขอคุ้มครองวิธีการในการขอคุ้มครอง • ยื่นคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง • ระยะเวลาในการยื่น • ยื่นต่อศาลใด และศาลใดมีอำนาจพิจารณาสั่ง • โดยหลักทั่วไปศาลที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาให้พิจารณาสั่ง • ในระหว่างศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกายื่นต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้น มีอำนาจพิจารณาสั่งอนุญาตหรือยกคำขอได้
การพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ ม. 256 • คำขอของโจทก์เป็นคำขอฝ่ายเดียว พิจารณาตาม ม.21 • กรณีคำขอให้ยึดหรืออายัด ม. 254 (1) และคำขอให้จับกุมกักขัง ม. 254 (4) เป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัดศาลจะส่งสำเนาให้จำเลยไม่ได้ • กรณีคำขอห้ามจำเลยชั่วคราว ม. 254 (2) และห้ามนายทะเบียนชั่วคราว ม. 254 (3) เป็นคำขอฝ่ายเดียวที่ไม่เคร่งครัด ศาลมีดุลยพินิจส่งสำเนาให้จำเลยได้ • กรณีศาลจะใช้ดุลพินิจส่งสำเนาคำขอให้จำเลยมีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน ม. 256 ได้ต่อเมื่อศาลเห็นว่าจะไม่เสียหายแก่โจทก์
การพิจารณาสั่งอนุญาตตามคำขอของโจทก์ ม.255 • โจทก์ต้องนำพยานให้ศาลไต่สวนให้เป็นที่พอใจศาลว่า • คำฟ้องมีมูล และ • มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองที่ขอมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ 1. กรณีที่ขอให้ยึดอายัด ม. 254 (1) ก. จำเลยตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินไปให้พ้นอำนาจศาล ข. มีเหตุจำเป็นที่ศาลเห็นเป็นการยุติธรรม 2. กรณีที่ขอให้ห้ามจำเลย ม. 254 (2) ก. จำเลยตั้งใจทำซ้ำ ข. โจทก์ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของจำเลย ค. ทรัพย์สิน มีพฤติการณ์เปรื่องไปเปล่า ยุบสลาย
3. กรณีที่ขอให้ห้ามนายทะเบียน ม. 254 (3) ก. เกรงว่าจำเลยจะให้มีการจดทะเบียน ข. มีเหตุจำเป็นอื่นใด 4. กรณีที่ขอให้จับกุมกักขังจำเลย ม. 254 (4) ก. จำเลยซ่อนตัวไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่งของศาล ข. ยักย้ายพยานหลักฐาน หรือทรัพย์สิน ค. หลีกหนีไปให้พ้นอำนาจศาล
ขอบเขตหรือเงื่อนไขที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาต ม. 257 • ศาลสั่งอนุญาตภายใต้ขอบเขตหรือเงื่อนไขใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควร • กรณีศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยตาม ม. 254 (2) ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ • กรณีศาลมีคำสั่งห้ามจำหน่าย โอน ขาย ยักย้าย จำหน่ายทรัพย์ ม.254 (2) หรือห้ามนายทะเบียนจดทะเบียนทรัพย์สิน ให้แจ้งคำสั่ง ให้นายทะเบียนทราบเพื่อให้บันทึกคำสั่งไว้ในทะเบียน • ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งยึดอายัด ม. 254 (1) ห้ามจำเลย ม. 254 (2) ห้ามนายทะเบียน ม. 254 (3) หมายจับ ม. 254 (4) สั่งให้ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อชำระ ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจำเลยอาจได้รับตาม ม. 263 ก็ได้
การบังคับใช้คำสั่งในวิธีการชั่วคราว ม. 258 • คำสั่งยึดอายัด ม. 254 (1) บังคับจำเลยได้ทันทีแล้วแจ้งจำเลยทราบ • คำสั่งห้ามจำเลย ม. 254 (2) ใช้บังคับจำเลยได้ทันที เว้นแต่ศาล เห็นสมควรให้มีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งแล้ว • คำสั่งห้ามนายทะเบียน ม. 254 (3) • กรณีห้ามจดทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์ ใช้บังคับนายทะเบียนได้ทันที เว้นแต่ศาลเห็นสมควรให้มีผลเมื่อแจ้งคำสั่งให้นายทะเบียนทราบแล้ว • กรณีห้ามจดทะเบียนในเรื่องที่ฟ้องบังคับนายทะเบียนได้ต่อเมื่อแจ้งคำสั่งให้นายทะเบียนทราบแล้ว • หมายจับ ม.254 (4) ใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร ส่วนการกักขัง ห้ามกักขังเกิน 6 เดือน นับแต่วันจับ
ผลของคำสั่งในวิธีการชั่วคราวเมื่อมีการฝ่าฝืน ม.258 ทวิ โดยสุจริต • เมื่อคำสั่งในวิธีการชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้ว 1. กรณีคำสั่งยึดอายัด จะใช้บังคับภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า รับโอนมา มีค่าตอบแทน ก่อนแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ ม.258 วรรคแรก 2. กรณีคำสั่งห้ามจำเลย กรณีจำเลยฝ่าฝืน ไม่อาจใช้ยันโจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ 3. กรณีคำสั่งห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียน เกี่ยวกับทรัพย์ กรณีฝ่าฝืนไม่อาจใช้ยันโจทก์หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ เว้นแต่ผู้รับโอนพิสูจน์ได้ว่า รับโอนมา เกี่ยวกับเรื่องที่ฟ้องไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โดยสุจริต มีค่าตอบแทน ก่อนแจ้งคำสั่งให้นายทะเบียนทราบ
การนำบทบัญญัติในลักษณะ 2มาใช้บังคับ ม. 259 กรณีให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี ตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง มาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวโดยอนุโลม
ผลบังคับของคำสั่งในวิธีการชั่วคราว ม.260 • กรณีศาลได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวไว้ในคำพิพากษาหรือ คำสั่งชี้ขาดคดีอย่างไร จะเป็นตามที่กล่าว • กรณีคำพิพากษาไม่กล่าวไว้ ผลบังคับจะเป็น ดังนี้ 1. กรณีศาลตัดสินให้จำเลยชนะคดี คำสั่งยกเลิกเมื่อพ้น 7 วัน นับแต่วันพิพากษา แต่ถ้าโจทก์ยื่นคำขอฝ่ายเดียวภายใน 7 วัน นั้นว่าประสงค์อุทธรณ์ ฎีกา และมีเหตุอันควรให้คำสั่งมีผลต่อไป ถ้าศาลชั้นต้นอนุญาต จะมีผลต่อไปจนกว่า จะครบกำหนดอุทธรณ์ ฎีกา เว้นแต่ศาลไม่รับอุทธรณ์ ฎีกา จะส่งผลเมื่อมีคำสั่งไม่รับ ถ้ารับอุทธรณ์ ฎีกา ผลจะมีต่อไป จนกว่าศาลอุทธรณ์ ฎีกา จะสั่งเป็นอย่างอื่น 2. กรณีศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา
การคุ้มครองสิทธิของจำเลยซึ่งถูกบังคับจากผลของวิธีการชั่วคราวการคุ้มครองสิทธิของจำเลยซึ่งถูกบังคับจากผลของวิธีการชั่วคราว • ม. 261 ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย มีคำขอให้ศาลเพิกถอน เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ในกรณีที่ ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น • ม. 262 ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอที่ได้รับความเสียหาย มีคำขอให้ศาลแก้ไข หรือยกเลิกวิธีการชั่วคราว กรณีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการสั่งเปลี่ยนแปลงไป • ม. 263 ให้สิทธิจำเลยยื่นคำขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลย
ม. 261ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่จะต้องเสียหาย จากผลบังคับของคำสั่งตาม ม. 254 ยื่นคำขอให้ศาล ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่ง แก้ไข เปลี่ยนแปลงคำสั่ง • กรณีต้องด้วยเหตุหรือหลักเกณฑ์ วิธีการที่ศาลสั่งตาม ม. 254 1. ไม่มีเหตุเพียงพอ หรือ 2. มีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลมีคำสั่ง 1. อนุญาตตามที่จำเลยขอ หรือ 2. สั่งอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลกำหนดให้จำเลยวางเงินหรือ หาประกันมาวางตามที่เห็นสมควร • กรณีต้องด้วยเหตุหรือหลักเกณฑ์ดังกล่าว จำเลยที่ถูก คำสั่งจับกุม ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่ง ถอนหมาย ปล่อย หรือปล่อยชั่วคราว • คำขอของจำเลยต้องยื่นต่อศาลชั้นต้น • ศาลที่มีอำนาจสั่งคือศาลที่มีคำสั่งกำหนดวิธีการชั่วครา ให้แก่โจทก์ตาม ม. 254
ม. 262 ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่ต้องเสียหาย จากผลของคำสั่งตาม ม. 254 ของศาล ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการ ชั่วคราวตาม ม. 254 กรณีต้องด้วยเหตุหรือหลักเกณฑ์ว่า กรณีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักตาม ม. 255 (1) (2) (3) หรือ (4) อย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป คำขอยื่นต่อศาลชั้นต้น ส่วนศาลที่มีอำนาจพิจารณาสั่ง ได้แก่ ศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา ข้อสังเกตกรณีระหว่างศาลอ่านคำพิพากษาศาลล่างจนถึงเวลา ศาลชั้นต้นส่งสำนวนที่มีการอุทธรณ์ ฎีกา ให้ศาลสูงยื่นต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่ง
ม. 263 ให้สิทธิแก่จำเลยยื่นคำขอให้โจทก์ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน เหตุหรือหลักเกณฑ์ที่จำเลยจะยื่นคำขอได้ 1. กรณีศาลตัดสินให้โจทก์แพ้คดีและปรากฏ ว่าศาลมีคำสั่งโดยเห็นลงไปว่าสิทธิเรียกร้อง ของโจทก์มีมูลโดยความผิดหรือเลินเล่อ ของโจทก์ 2. กรณีศาลตัดสินให้โจทก์แพ้หรือชนะก็ตาม ปรากฏว่าศาลมีคำสั่ง โดยเห็นลงไปว่า วิธีการที่สั่งมีเหตุผลเพียงพอ (มีเหตุตาม ม. 255 (1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี) โดยความผิดหรือเลินเล่อของโจทก์
วิธีการในการขอ • จำเลยยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีนั้น • ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการ ชั่วคราวนั้นมีคำพิพากษา • การพิจารณาคำขอ • ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำขอโดยอาจแยกจากคดีเดิม หรือไม่ก็ได้ • ศาลที่มีอำนาจสั่งคำขอ ได้แก่ ศาลที่มีคำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราวตาม ม. 254 • คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ฎีกาต่อได้ • กรณีศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากไม่ยอม ปฏิบัติจะถูกบังคับเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ม. 264 • นอกจาก ม. 253 ให้ความคุ้มครองจำเลย ม. 254 ให้ความคุ้มครองโจทก์ ม. 264 ยังให้ความคุ้มครองประโยชน์คู่ความทุกฝ่าย • ให้สิทธิคู่ความยื่นคำขอต่อศาล • ให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับคดี • ศาลมีอำนาจกำหนดวิธีการคุ้มครองอย่างใด ๆ ก็ได้ เช่นให้นำทรัพย์สินหรือเงินพิพาทมาวางศาล ตั้งผู้จัดการรักษาทรัพย์ ห้างร้าน ให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก
การใช้วิธีการชั่วคราวต่อผู้ค้ำประกัน ม. 265 • กฎหมายให้สิทธิโจทก์ยื่นคำขอให้ศาลกำหนด วิธีการชั่วคราว เพื่อบังคับแก่กรณีศาลรับรอง บุคคลเป็นประกัน หรือผู้ค้ำประกันในศาล • กรณีที่บุคคลดังกล่าวแสดงกิริยาที่ทำให้เนิ่นช้า ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของตน
คำขอในเหตุฉุกเฉิน • ม. 266ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่ง กำหนดวิธีการชั่วคราวตาม ม. 254 ให้แก่โจทก์ ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินได้ • วิธีการที่โจทก์จะขอคุ้มครองในเหตุฉุกเฉิน 1. โจทก์ต้องยื่นคำขอให้ศาลสั่งคุ้มครองตาม ม. 254 2. ยื่นคำร้องอ้างเหตุกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
กระบวนพิจารณาคำขอในเหตุฉุกเฉินกระบวนพิจารณาคำขอในเหตุฉุกเฉิน • ม. 267ให้ศาลพิจารณาคำขอของโจทก์เป็นการด่วน การพิจารณาอาจฟังจากคำแถลงของโจทก์ หรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบก็ได้ หรือศาลอาจเรียกพยานมาสืบเอง กรณีที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของ โจทก์ในเหตุฉุกเฉินได้ต่อเมื่อได้ความว่า 1. คดีมีเหตุฉุกเฉินตามที่โจทก์อ้างมาในคำร้อง และ 2. คำขอตาม ม. 254 ของโจทก์มีเหตุผลสมควรอันแท้จริง
เมื่อคดีได้ความดังกล่าว ศาลจะมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่โจทก์ขอมาภายในขอบเขตและเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นจำเป็นให้ทันที คำสั่งนี้ยังไม่เป็นที่สุด ถ้าไม่ได้ความดังกล่าว ศาลมีคำสั่งยกคำขอ คำสั่งยกคำขอเป็นที่สุด โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้ สิทธิของจำเลยที่ถูกบังคับจากวิธีการชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลยกเลิกคำสั่งได้ จำเลยอาจขออนุญาตศาลทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวได้ คำสั่งยกเลิกตามคำขอของจำเลยเป็นที่สุด แต่ถ้ายกคำขอ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ กรณีที่ศาลมีคำสั่งยกคำขอของโจทก์ที่ยื่นมาในเหตุฉุกเฉิน หรือยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้แก่โจทก์ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอตาม ม. 254 ได้ใหม่
ม. 268 การวินิจฉัยว่าคดีมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล วิธีการชั่วคราวที่ศาลจะกำหนด ตามคำขอของโจทก์ตาม ม. 254 ต้องให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลย เท่าที่จำเป็นแก่กรณีเท่านั้น
ม. 269 ผลของคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ในเหตุฉุกเฉิน จะมีผลเช่นเดียวกับ กรณีทั่วไปตาม ม. 258 และ ม. 258 ทวิ แต่ศาลอาจให้รอการบังคับตามคำสั่งนั้น กรณีจำเลยขอยกเลิกเพื่อรอฟัง คำชี้ขาดของศาลก่อน กรณีโจทก์ต้องวางประกันก่อน
ม. 270 คำขอในเหตุฉุกเฉิน หรือกระบวน พิจารณาในเหตุฉุกเฉินใช้บังคับ แก่คำขอ 1. คำขอตาม ม. 254 2. ป.วิ พ. หรือกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ โดยชัดแจ้ง
ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ม. 271 • คำพิพากษาที่ต้องมีการบังคับคดี คำพิพากษาหรือคำสั่งให้มีการบังคับให้บุคคลใด ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง • คำพิพากษาที่ไม่มีการบังคับคดี คำพิพากษาหรือคำสั่งไม่มีการบังคับแก่บุคคลใด
บุคคลที่มีสิทธิขอให้มีการบังคับคดีบุคคลที่มีสิทธิขอให้มีการบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา คู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดี • บุคคลที่ถูกบังคับคดี ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายแพ้คดี
ระยะเวลาในการบังคับคดีระยะเวลาในการบังคับคดี • เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษา หรือคำสั่ง เป็นระยะเวลามิใช่อายุความ นับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะใช้สิทธิบังคับตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งได้ เมื่อร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี แล้ว การบังคับกระทำ เกิน 10 ปี ได้ การร้องขอให้บังคับคดีศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเรื่อง ระบุตัวทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับให้
คำบังคับ • ความหมาย การแจ้งหรือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ ตามคำพิพากษาปฏิบัติตาม คำพิพากษาหรือคำสั่ง • คำบังคับต้องออกเมื่อใด ม. 272 • ออกเฉพาะกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งต้องมีการบังคับ • ศาลมีหน้าที่ออกคำบังคับให้วันที่อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่ง
เมื่อออกคำบังคับแล้ว • ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มาฟังการอ่าน คำพิพากษาลงลายมือชื่อทราบคำบังคับไว้ (ลูกหนี้ฯ รวมถึงทนายความและผู้รับฉันทะ จากทนายความ) • ถ้าลูกหนี้ไม่มาฟังการอ่าน ศาลต้องสั่งให้ลูกหนี้ โดยทางเจ้าพนักงานศาล
รายการที่ต้องระบุในคำบังคับรายการที่ต้องระบุในคำบังคับ 1. วิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับ ม. 272 ได้แก่ คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติ ม. 273 ให้ใช้เงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ 2. ระยะเวลาและเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ กรณีระยะเวลาเป็นดุลพินิจที่ศาลจะกำหนด เว้นแต่ คดีมโนสาเร่ต้องกำหนดไม่เกิน 15 วัน คดีขาดนัดต้องไม่ต่ำกว่า 7 วัน 3. กรณีไม่ปฏิบัติ ลูกหนี้จะต้องถูกยึดทรัพย์ ถูกจับกุม และกักขังได้ตามกฎหมาย
การบังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ม. 274 • ผู้ค้ำประกัน จะต้องเป็นการค้ำประกันในศาล • เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษานั้นบังคับ แก่การประกันได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน • เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องฟ้อง
หมายบังคับคดี • หมายบังคับคดีได้แก่ คำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดี • กรณีจะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลตั้งบังคับโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ • วิธีการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ม. 275 เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอฝ่ายเดียว ให้ศาลออกหมายบังคับคดี
คำขอให้ออกมายบังคับคดีต้องมีข้อความคำขอให้ออกมายบังคับคดีต้องมีข้อความ 1. คำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดี 2. จำนวนหนี้ที่ยังมิได้รับชำระตามคำพิพากษา 3. วิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายนั้น • คำขอนั้นต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาและ มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น
การออกหมายบังคับคดี ม. 276 • กรณีเป็นคำขอฝ่ายเดียว ศาลต้องพิจารณา ตาม ม. 21 • กรณีต้องหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ศาลต้องออกหมาย บังคับคดีให้ทันที 1. มีการส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ฯ , หรือลูกหนี้ ฯ ลงลายมือชื่อทราบคำบังคับไว้แล้ว 2. ระยะเวลาที่ศาลกำหนดในคำบังคับล่วงพ้นไปแล้ว 3. คำขอให้ออกคำบังคับมีข้อความระบุไว้ครบถ้วน
ข้อสังเกต 1. การออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใด โดยเฉพาะ ถ้าศาลสงสัยว่าไม่สมควรยึด สั่งให้ผู้ขอวางเงินหรือหาประกันมาวาง เพื่อป้องกันการบุบสลายหรือสูญหาย 2. การออกหมายบังคับคดีให้ลูกหนี้ ฯ ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการงดเว้นกระทำการหรือขับไล่ ให้ศาลระบุ เงื่อนไข ป.พ.พ. มาตรา 213 เท่าที่สภาพแห่งหนี้จะ เปิดช่องให้ทำโดยทางศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้วเมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว 1. ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ เว้นแต่ เจ้าหนี้จะนำหมายไปให้เจ้าพนักงานเอง 2. ไม่ต้องส่งสำเนาหมายให้ลูกหนี้ ฯ เว้นแต่ศาล มีคำสั่งให้เจ้าหนี้เป็นผู้จัดการส่ง (ถ้าไม่ส่ง สำเนาหมายให้ลูกหนี้ ฯ เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน บังคับคดีต้องแสดงหมายให้ลูกหนี้ ฯ ทราบ)
การสั่งหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ม. 277 • เจ้าหนี้ ฯ มีหน้าที่ต้องติดตามสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ฯ • ม. 277 ให้โอกาสแก่เจ้าหนี้ที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้ทำการไต่สวนลูกหนี้หรือ บุคคลอื่นที่สามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์ • หลักเกณฑ์ที่เจ้าหนี้ ฯ จะยื่นคำขอนั้นได้เจ้าหนี้ ฯ เชื่อว่า ลูกหนี้ ฯ มีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ หมายเหตุคดีมโนสาเร่ เป็นดุลพินิจที่ศาลจะออกหมาย เรียกลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมาไต่สวนได้ก่อน ออกหมายบังคับคดี
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี • เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้แก่ ดูนิยาม ม. 1 (14) • อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นเมื่อ ม. 278 วันที่ส่งหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ ฯ ถ้าไม่มีการส่งนับแต่วันออกหมาย • อำนาจหน้าที่ทั่วไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี
อำนาจ เป็นผู้แทนเจ้าหนี้รับชำระหนี้ที่ลูกหนี้วางและออกใบรับให้ ยึด อายัดทรัพย์สินของลูกหนี้และนำออกขายทอดตลาด จำหน่ายทรัพย์สินและเงินรายได้ที่ได้จากการนั้น ดำเนินวิธีการบังคับที่ศาลกำหนดไว้ในหมายบังคับคดี หน้าที่ 1. รับผิดในการรักษาเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาไว้โดยปลอดภัย 2. ทำบันทึกการบังคับคดีรักษาไว้ในที่ปลอดภัย และรายงาน ศาลเป็นระยะ ๆ หมายเหตุ เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบหมายให้บุคคลอื่น ปฏิบัติการแทนได้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ม.279 • ต้องดำเนินการบังคับคดี ในวันทำการปกติ ระหว่าง พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ข้อยกเว้น1. กรณีมีเหตุฉุกเฉิน 2. ได้รับอนุญาตจากศาล • ในการดำเนินการบังคับคดีมีอำนาจ 1. ค้นสถานที่ใด ๆ ที่เป็นของลูกหนี้ ฯ หรือลูกหนี้ปกครองอยู่ 2. ยึดและตรวจสมุดบัญชีแผ่นกระดาษ 3. เปิดสถานที่บ้าน ตู้นิรภัย ตู้หรือที่เก็บของ
ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ม. 280 • ผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินหรือ สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 1. เจ้าหนี้ ฯ 2. ลูกหนี้ ฯ 3. ลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัด 4. บุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิจดทะเบียนได้ก่อน 5. บุคคลที่ยื่นคำร้องขอตาม ม. 288, 289, 290 ที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง เว้นแต่ จะถูกยกในชั้นที่สุด • สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ม. 281 1. อยู่ด้วยในการบังคับคดี 2. ร้องขอสำเนาบันทึกการบังคับคดี