1 / 26

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. จุดประสงค์. ทำความเข้าใจกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT สามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถปกป้องสิทธิ์ของตน เพื่อประโยชน์ในการอื่นๆ. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

Download Presentation

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

  2. จุดประสงค์ • ทำความเข้าใจกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT • สามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย • สามารถปกป้องสิทธิ์ของตน • เพื่อประโยชน์ในการอื่นๆ

  3. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 • พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

  4. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 • กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้นเป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

  5. การละเมิดลิขสิทธิ์ • ทำซ้ำหรือดัดแปลง • เผยแพร่ต่อสาธารณชน • ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

  6. ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (3) ติชมวิจารณ์หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้องเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย (6) ทำซ้ำดัดแปลงนำออกแสดงหรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว (7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ (8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้ (9)จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

  7. บทกำหนดโทษ • ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

  8. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 • พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น

  9. ประเด็นที่สำคัญ - ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7) - การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง มีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)- การรับรองลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)- การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)

  10. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 • “เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว”

  11. ลักษณะความผิด 1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ - การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5) - การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6) - การรบกวนระบบ (มาตรา 10) 2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ - การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7) - การดักข้อมูล (มาตรา 8) - การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9) - สแปมเมล์ (มาตรา 11) - การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14) - การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)

  12. ลักษณะความผิด (ต่อ) 3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12) 4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13) 5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26) 6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)

  13. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มี มาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน โทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  14. การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบการเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ คอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

  15. การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มี มาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและ มาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

  16. การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 8ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธี การทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งใน ระบบคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อ ให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

  17. การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  18. สแปมเมล์ (Spam Mail) มาตรา 11ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอม แปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อัน เป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข โทษ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน100,000บาท

  19. การนำเข้า/ เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม มาตรา 14ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

  20. การเผยแพร่ภาพซึ่งตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาทการเผยแพร่ภาพซึ่งตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท มาตรา 16ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการ อื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  21. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 24 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจร คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา 18 และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  22. การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงการกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง มาตรา 12กำหนดว่าถ้าเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการ รบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 9 หรือ เป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 10 (1)ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ โทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ โทษต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15ปี และปรับตังแต่ 60,000 – 300,000บาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 – 20ปี

  23. การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบการใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้น โดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ กระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  24. ผู้ให้บริการก็มีความผิดได้ผู้ให้บริการก็มีความผิดได้ มาตรา 15ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน โทษ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14 มาตรา 26 - ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลการจราจรทาง คอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน โทษ ผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000บาท

  25. ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้บริการข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้บริการ • อย่าบอก password ตนเองแก่บุคคลอื่น • อย่านำ user ID และ password ของบุคคลอื่นมาใช้งานหรือเผยแพร่ • อย่าส่ง (send) หรือส่งต่อ (forward) ภาพ ข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย • อย่าให้บุคคลอื่นที่ไม่รู้จักมายืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ • การติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายควรจะมีระบบป้องกันมิให้บุคคลอื่นแอบใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต

  26. ข้อแนะนำสำหรับผู้ให้บริการข้อแนะนำสำหรับผู้ให้บริการ • จัดเก็บข้อมูลจราจรไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน • ติดตามประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ • ประเภทผู้ให้บริการ • ชนิดของข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ • เวลาที่ต้องเริ่มเก็บ (เมื่อพ้น 30/180/360 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) • เทียบเวลาประเทศไทยให้ตรงกับเครื่องให้บริการเวลา (Time Server)

More Related