911 likes | 3.65k Views
รหัส 3200 - 1001. หนังสือหมวดวิชาชีพพื้นฐาน. หลักเศรษฐศาสตร์. สอนโดย อ.ขวัญตา จั่นอิ๊ด โทร. 083 - 9893239. เกณฑ์การประเมินผล เวลาเรียน 10 คะแนน งานส่ง 10 คะแนน ทดสอบย่อย 20 คะแนน รายงาน(เดี่ยว) 20 คะแนน สอบปลายภาคเรียน 20 คะแนน สอบปลายภาคเรียน 20 คะแนน.
E N D
รหัส 3200 - 1001 หนังสือหมวดวิชาชีพพื้นฐาน หลักเศรษฐศาสตร์
สอนโดยอ.ขวัญตา จั่นอิ๊ดโทร.083-9893239
เกณฑ์การประเมินผล • เวลาเรียน 10 คะแนน • งานส่ง 10 คะแนน • ทดสอบย่อย 20 คะแนน • รายงาน(เดี่ยว) 20 คะแนน • สอบปลายภาคเรียน 20 คะแนน • สอบปลายภาคเรียน 20 คะแนน
แผนการเรียนการสอน (FT) สัปดาห์ที่ 1 บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ สัปดาห์ที่ 2-3 บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน สัปดาห์ที่ 4 บทที่ 3 ภาวะดุลยภาพ + test สัปดาห์ที่ 5-6 บทที่ 4 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ อุปทาน สัปดาห์ที่ 7 ทบทวนบทเรียน สัปดาห์ที่ 8 สอบกลางภาคเรียน (20 คะแนน)
แผนการเรียนการสอน (FT) สัปดาห์ที่ 9 บทที่ 5 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค สัปดาห์ที่ 10-11 บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต สัปดาห์ที่ 12 บทที่ 7 การกำหนดราคาในตลาด สัปดาห์ที่ 13-14 บทที่ 8 รายได้ประชาชาติ สัปดาห์ที่ 15-16 บทที่ 9 การเงินการธนาคาร สัปดาห์ที่ 17 สอบปลายภาคเรียน (20 คะแนน)
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/เศรษฐศาสตร์คือความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/เศรษฐศาสตร์คือ หนังสือหน้า 3 เศรษฐศาสตร์คืออะไร “เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมเกี่ยวกับการเลือก ปัจจัยการผลิตอันที่มีอยู่อย่างขาดแคลน เพื่อผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไปบำบัดความต้องการของมนุษย์อันมีอยู่อย่างไม่จำกัด”
บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิท (Adam Smith) กล่าวว่า “เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยทรัพย์ อันหมายถึงเศรษฐทรัพย์ ถ้าใครมีมากย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง อยู่ดีกินดี”
อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred Marshall) “ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการกระทำของมนุษย์ในการดำรงชีวิต โดยศึกษาว่ามนุษย์หารายได้มาอย่างไรและใช้จ่ายไปอย่างไร”
ประเทศไทยใช้หลักการทางด้านเศรษฐกิจในกิจการด้านการค้า การเก็บภาษีอากร มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ยังไม่ได้รวบรวมหลักวิชาการอย่างเป็นแบบแผน จนถึง พ.ศ. 2454พระยาสุริยานุวัตร์ ได้เรียบเรียงหนังสือชื่อว่า “ทรัพยาศาสตร์” ขึ้น ถือเป็นหนังสือเศรษฐสาตร์เล่มแรกของประเทศไทย
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/แขนงของวิชาเศรษฐศาตร์ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/แขนงของวิชาเศรษฐศาตร์ หนังสือหน้า 3 แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์ 1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค(Micro - economics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยย่อย ๆ ในสังคม 2 เศรษฐศาสตร์มหภาค(Macro economics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของส่วนรวมหรือระดับประเทศ
การสร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การสร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ • วิธีอนุมาน ศึกษาจากเหตุไปหาผล • วิธีอุปมาน ศึกษาจากผลเพื่อหาสาเหตุ
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ความสัมพันธ์ระหว่างวิชา หนังสือหน้า 3 ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์ กับวิชาอื่น 1 เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ หรือที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง ปัจจุบันรัฐบาลของทุก ประเทศพยายามที่จะให้มีความเจริญเติบโตและมีเสถียรภาพทั้งเศรษฐกิจและการเมืองควบคู่กันไป
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ความสัมพันธ์ระหว่างวิชา หนังสือหน้า 4 2 เศรษฐศาสตร์กับบริหารธุรกิจ เพื่อการประหยัด เกิดกำไรจากการประกอบธุรกิจสูงสุด นักธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่ได้จากวิชาเศรษฐศาสตร์ 3 เศรษฐศาสตร์กับจิตวิทยา นักเศรษฐศาสตร์สามารถนำ ความรู้นี้ไปใช้อธิบายกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ได้
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/วิธีการศึกษาความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/วิธีการศึกษา หนังสือหน้า 4 วิธีการศึกษาเศรษฐศาสตร์ 1 เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์(economic analysis) ศึกษาเพื่อให้รู้ถึง สิ่งที่เคยเป็นมาในอดีต (what was) สิ่งที่กำลังเป็นอยู่ (what is) และที่กำลังจะเป็น (what will be) เพื่อสร้างเป็นทฤษฎี(theory) โดยไม่คำนึงถึงว่าผลจะดีหรือเลวอย่างไร เป็นที่พึงปรารถนาของสังคมหรือไม่ 2 เศรษฐศาสตร์นโยบาย (economic policy) ศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น (what ought to be) การศึกษาแบบนี้จึงเกี่ยวข้องกับ การตัดสินคุณค่าอย่างมาก
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ปัญหาเศรษฐกิจพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ปัญหาเศรษฐกิจพื้นฐาน หนังสือหน้า 4 ปัญหาเศรษฐกิจพื้นฐาน 1 ผลิตอะไร (what to produce) 2 ผลิตอย่างไร(how to produce) 3 ผลิตเพื่อใคร (for whom to produce
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจพื้นฐานในระบบ เศรษฐกิจต่าง ๆ รูปแบบทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดผู้กระทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (economic activities) จัดตั้งสถาบันทาง เศรษฐกิจ (economic institution) กำหนดผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน รวมทั้งออกระเบียบข้อบังคับและวิธีการควบคุมการกระทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ให้เหมาะสมและเป็นผลดีต่อประชาชนในประเทศของตน ซึ่งเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจ (economic system) ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/การแก้ปัญหา หนังสือหน้า 5
รูปแบบระบบเศรษฐกิจ 1.ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม - ประชาชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้อย่างเต็มที่ - ธุรกิจมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ - ใช้ระบบราคา -มีการแข่งขันอย่างเสรี -รัฐไม่ได้เข้าไปควบคุมกิจการต่างๆ
2.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม2.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม - รัฐเป็นเจ้าของการผลิตและดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจที่สำคัญเสียเอง - ประชาชนยังสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ได้บ้าง - ระบบราคามีบทบาทน้อยกว่าแบบทุนนิยม - รัฐใช้นโยบายการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า
3.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม 1. ประชาชนและธุรกิจมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้อย่างเต็มที่ 2. รัฐจะเข้าไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญและคนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ 3. ระบบราคายังคงมีบทบาทสำคัญ แต่ราคาที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ถูกกำหนดจากกลไกตลาดอย่างเสรี
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/วงจรกิจกรรมความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/วงจรกิจกรรม หนังสือหน้า 6 วงจรกิจกรรมทางเศรษฐกิจ องค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจจึงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ครัวเรือน (households) ธุรกิจ (business firm) และรัฐบาล (government)
วงจรกิจกรรมทางเศรษฐกิจวงจรกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตลาดสินค้าและบริการ ซื้อสินค้าและบริการ ขายสินค้าและบริการ จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าและบริการ รายรับจากการขาย ผลผลิต รายจ่าย สินค้าและบริการ สินค้าและบริการ (ผู้บริโภค) ครัวเรือน (เจ้าของปัจจัยการผลิต) ธุรกิจ (ผู้ผลิต) รัฐบาล ภาษี ภาษี ปัจจัยการผลิต รายจ่าย ค่าใช้จ่ายในการซื้อปัจจัย รายได้จากการขายปัจจัย ขายปัจจัยการผลิต ซื้อปัจจัยการผลิต ตลาดปัจจัยการผลิต
ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ประโยชน์ความรู้เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์/ประโยชน์ หนังสือหน้า 7 ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ 1 ช่วยให้การดำรงชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล 2 เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจ 3 หน่วยธุรกิจสามารถนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น 4 ในด้านของส่วนรวม ถ้าประชาชนมีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ก็จะสามารถประกอบอาชีพในอันที่จะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวม
แบบฝึกหัดบทที่ 1 • ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง • การศึกษาการบริโภคและการออมรวมของคนไทย เป็นเศรษฐศาสตร์แขนงใด • การศึกษาการโฆษณามีผลต่อการขายกระทิงแดง เป็นเศรษฐศาสตร์แขนงใด • วิธีการศึกษาเศรษฐศาสตร์มีกี่วิธี อะไรบ้าง • การผลิตจะต้องใช้ปัจจัยการผลิตในสัดส่วนเท่าไร เป็นปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ เรื่องอะไร • บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ คือใคร • ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่กลไกราคา มีโอกาสนำไปใช้น้อยที่สุด • ประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด • ระบบเศรษฐกิจแบบใดได้รับการขนานนามว่า “ระบบมือใครยาว สาวได้สาวเอา” • หน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงเติมคำหรือข้อความลงในช่องว่างให้สมบูรณ์จงเติมคำหรือข้อความลงในช่องว่างให้สมบูรณ์ 1. ระบบเศรษฐกิจ...........มีแนวคิดว่าคนเกิดมามีศักยภาพไม่เท่ากันเป็นธรรมดาที่จะมีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน 2. ระบบเศรษฐกิจ.............เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของประชาชน • ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจ ...........ฐานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศจะเท่าเทียมกัน แต่มีความยากจน • ระบบเศรษฐกิจ............มีการวางแผนจากส่วนกลางทั้งหมด • ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ................
6. รัฐวิสาหกิจ จะมีอยู่ค่อนข้างมากในระบบเศรษฐกิจ................... 7. ระบบเศรษฐกิจแบบผสมได้นำเอาวิธีการของระบบเศรษฐกิจ ............ มาใช้เป็นส่วนใหญ่ 8. ระบบเศรษฐกิจแบบ...............ที่รัฐและเอกชนร่วมกันตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต • ประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ.................. • ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดระบบเศรษฐกิจของประเทศคือ............