630 likes | 761 Views
นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทย. เนื้อหา. 1. นโยบาย และมาตรการทาง การค้าของไทย 2 . ความตกลงทางการค้าต่างๆของไทย WTO ระดับภูมิภาค และทวิภาคี 3 . ประเมินผลการ เจรจาความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ของไทย. เอกสารอ้างอิง.
E N D
นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทยนโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทย
เนื้อหา 1. นโยบายและมาตรการทางการค้าของไทย 2. ความตกลงทางการค้าต่างๆของไทย • WTO • ระดับภูมิภาค และทวิภาคี 3. ประเมินผลการเจรจาความตกลงการค้าเสรีต่างๆของไทย
เอกสารอ้างอิง นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทยในช่วงปี 2543ถึงปัจจุบัน โดย รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ
นโยบายและมาตรการทางการค้าของไทยนโยบายและมาตรการทางการค้าของไทย
ภาพรวมของ นโยบายการค้าของไทย • ในฐานะสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ไทยปฏิบัติตามหลัก Most-Favored Nation(MFN) กับทุกประเทศสมาชิก • พยายามเจรจาการค้าแบบทวิภาคีกับหลายประเทศเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วภายใต้ AFTA • มีนโยบายด้านการลงทุนที่ค่อนข้างเสรี โดยผู้ลงทุนจากสหรัฐฯได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษเหนือกว่าประเทศอื่นตามสนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างไทยและสหรัฐฯ ปี พ.ศ. 2509
มาตรการที่มีผลต่อการนำเข้ามาตรการที่มีผลต่อการนำเข้า • ไทยใช้ภาษีนำเข้าเป็นมาตรการหลักในการควบคุมการค้า • อัตราภาษีเฉลี่ย 14.7% (ปี 2546) จากจำนวนภาษี 5,505 รายการภาษี • สินค้าเกษตร มีอัตราภาษีเฉลี่ย 25.4% • สินค้าอุตสาหกรรม มีอัตราภาษีเฉลี่ย 12.9% • อัตราผูกพัน (WTO bound rates) อัตราภาษี เฉลี่ย 28.4% คิดเป็น 72%ของรายการภาษี
มาตรการที่มีผลต่อการนำเข้ามาตรการที่มีผลต่อการนำเข้า • อัตราลดหย่อนพิเศษ (Concession rates) เช่น Common Effective Preferential Tariff (CEPT) ภายใต้ข้อตกลง ASEAN Free Trade Agreement (AFTA) • สินค้าที่ปลอดภาษีคิดเป็น 4.0 %ของรายการภาษี • สินค้าที่ใช้ tariff quota มี1.0% ของรายการภาษี
มาตรการที่มีผลต่อการนำเข้ามาตรการที่มีผลต่อการนำเข้า • การใช้มาตรการใบอนุญาตนำเข้ายังคงไม่ชัดเจนและในหลายกรณีมีสภาพไม่ต่างกับการจำกัดปริมาณ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม • ยังคงมีการใช้มาตรการที่ไม่ภาษี (Non-tariff boarder measures) บางชนิดอยู่เพื่อเหตุผลอื่นๆ หรือเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมทารก
มาตรการที่มีผลต่อการนำเข้ามาตรการที่มีผลต่อการนำเข้า • ตั้งแต่ปี 2542 ไทยใช้ระบบ EDI เพื่อเร่งการผ่านพิธีศุลกากร • ระบบดังกล่าวจัดการคำร้องศุลกากรประมาณ 85% • ลดเวลาเฉลี่ยการผ่านพิธีการจาก 4 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมง • ตั้งแต่ พ.ย. 2545 เริ่มใช้ระบบแจ้งภาษีผ่านอินเตอเน็ตสำหรับ SMEs • ไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเรื่อง Rule of Origin แต่สินค้านำเข้าที่ต้องการใช้สิทธิจาก CEPT (40% ผลิตในอาเซียน) จะต้องมีใบรับรองสินค้าตาม กฎแหล่งกำเนิดสินค้า
กลุ่มสินค้าที่มีอัตราภาษีสูงกลุ่มสินค้าที่มีอัตราภาษีสูง • กลุ่มผลิตภัณฑ์ผัก อาหารสำเร็จรูป อุปกรณ์ขนส่ง รองเท้าและหมวก อาวุธและดินปืน • โครงสร้างภาษีมีลักษณะ Tariff escalation • อัตราการคุ้มครองที่แท้จริงของภาษีจะเพิ่มขึ้นเมื่อสินค้าผ่านกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น • เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าสินค้าขั้นกลางและสำเร็จรูป • ได้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน ผลิตภัณฑ์อโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า โลหะอื่นๆ เป็นต้น
มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร • ประกอบด้วยใบอนุญาตนำเข้าและการห้ามนำเข้า • เงื่อนไขของการได้มาซึ่งใบอนุญาตนำเข้าของสินค้าบางรายการมีแนวโน้มที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและไม่โปร่งใส และในหลายกรณีดูคล้ายกับการจำกัดด้านปริมาณ
มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร • ตามพระราชบัญญัติการส่งออกและนำเข้าปีพ.ศ. 2522ให้อำนาจ รมต. พาณิชย์ ผ่านคณะรัฐมนตรีในการจำกัดการนำเข้า • เพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สาธารณะประโยชน์ สาธารณะสุข ความมั่นคงของชาติ ความสงบสุข ศีลธรรม หรือเหตุผลอื่นๆที่เป็นประโยชน์แก่ชาติ • พรบ. ส่งเสริมการลงทุน ให้อำนาจ BOI ขอให้ รมต. พาณิชย์ระงับการนำเข้าสินค้าที่แข่งขันกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ
มาตรการฉุกเฉิน • Safeguards:ตามกฎกระทรวงพาณิชย์ (9 มิย. 2542) • ม.ค. 2545BOI ประกาศเก็บ surcharge5% - 25% สินค้าเหล็กนำเข้าเพื่อปกป้องการผลิตเหล็กภายในประเทศที่ได้รับส่งเสริมฯ • ยกเลิกในก.ค.ปีเดียวกัน ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดแทน • Anti-dumping (มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด) : • พ.ค. 2546 เก็บ AD สินค้า 6 ชนิด จาก 12 รัฐสมาชิกของ WTO และเก็บกับสินค้าอีก 3 ชนิดจากที่ไม่ใช่รัฐสมาชิก • มีอัตราอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5.9% - 135% • Countervailing Measures: ยังไม่มีการใช้
มาตรการที่มีผลต่อการส่งออกมาตรการที่มีผลต่อการส่งออก • ภาษีส่งออกยังอัตราประกาศฯที่ค่อนข้างสูง แต่ใช้จริงน้อยมาก • ใช้การขออนุญาตในการคุมโควตาส่งออก การห้ามการส่งออกตามเงื่อนไข และการห้ามการส่งออกโดยเด็ดขาด โดยมีสาเหตุ • เหตุผลทางเศรษฐกิจ คุณภาพ สุขภาพ และความปลอดภัย • เป็นไปตามข้อตกลงกับคู่ค้า เช่นสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า และสินค้าเกษตรกรรมบางชนิดๆ • EXIM Bank: ปลายปี 2545 ยกเลิกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่การส่งออก (Packing Credit) แต่ยังคงให้การสนับสนุนการส่งออกประเภทอื่นๆ อยู่
มาตรการการค้าอื่นๆ • เคยใช้ แต่ได้ยกเลิกการบังคับ Local content และ Performance requirement เกือบทั้งหมด • มีการออกมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น • มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่างๆ หลายฉบับที่เกี่ยวกับการกักกันสิ่งมีชีวิต (quarantine)
มาตรการการค้าอื่นๆ • ปรับปรุงความเข้มแข็งของกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการออกมาตรการหลายประการเพื่อบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น • การบังคับใช้นโยบายแข่งขันทางการค้ายังไม่เข้มแข็งนัก • มีการตัดสินคดีความไปเพียง 3 คดีเท่านั้นนับตั้งแต่กฎหมายแข่งขันทางการค้ามีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2542- 45
ความตกลงทางการค้าต่างๆของไทยความตกลงทางการค้าต่างๆของไทย
องค์การการค้าโลก (WTO) จุดยืนของไทยในการเจรจาการค้าหลายฝ่ายในWTO • ปฏิบัติตามหลักการ MFN กับทุกประเทศสมาชิก WTO • ให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร โดยเฉพาะ export subsidies และ domestic supports โดยเป็นสมาชิกใน Cairns Group
WTO จุดยืนของไทยในการเจรจาการค้าหลายฝ่ายในWTO • ไม่เห็นด้วยกับการอ้างสิ่งแวดล้อมมาเป็นเหตุลดหย่อนกฎเกณฑ์ WTO • ไม่ยอมรับหลักการการป้องกันไว้ก่อนที่ไม่ใช่หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งอยู่นอกเหนือกรอบของ WTO ปัจจุบัน -> GMO ของ EU
WTO จุดยืนของไทยใน WTO • ให้ความสนใจเรื่อง • ข้อตกลง TRIPs กับสาธารณสุข • การขยายขอบเขตข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ครอบคลุมสินค้าอื่นนอกเหนือจากไวน์และสุรา • สนใจประเด็นการผนวกการลงทุนและการแข่งขันกับ WTO
ความตกลงทางการค้าระดับภูมิภาค (RTA) RTA อาจให้ทั้งคุณและโทษ • Trade creation: สามารถนำเข้าเสรีจากประเทศสมาชิกที่ผลิตได้ถูกกว่า • Trade diversion: เปลี่ยนการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่มที่ผลิตได้ถูก มาเป็นประเทศในกลุ่มที่ผลิตได้แพงกว่า • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
ประโยชน์แก่ประเทศที่ทำ RTAs • นำเข้าได้ถูกลง และเพิ่มการส่งออก • ใช้ประโยชน์จาก ความประหยัดเนื่องจากขนาดการผลิต • ลดอำนาจของบริษัทผูกขาดในประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพ • ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ • เพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจา WTO • เป็นห้องทดลองสำหรับการเปิดเสรีเต็มรูปแบบ • ป้องกันการย้อนกลับไปใช้นโยบายปิดประเทศของประเทศด้อยพัฒนา
โทษแก่ประเทศที่ทำ RTAs • สูญเสียรายได้ภาษี • Trade and investment diversion • สร้างภาระกับระบบศุลกากร: rules of origin • สูญเสียอธิปไตยในการกำหนดนโยบาย • อาจมีการกระจายผลประโยชน์ที่ไม่เท่ากันในหมู่สมาชิก จากอำนาจต่อรองที่ต่างกัน • ทำให้เกิดการพึ่งพิงบางตลาดมากเกินไป • ความสัมพันธ์ทางการค้า ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ
APEC ASEM Canada Chile Mexico Papua New Guinea Peru USA New Zealand Australia + 1 China EU + 3 Japan Korea CER BIMST-EC Bangladesh India Sri Lanka AFTA-CER Pakistan Bahrain Yunan GMS ASEAN Singapore Philippines Indonesia Brunei Malaysia Vietnam Thailand Myanmar Cambodia Laos Source: adapt from TRDI
ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ลดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้า (ที่มี share การผลิตในอาเซียน > 40%) ภายใต้ระบบ Common Effective Preferential Tariff (CEPT) • ลดเหลือ 5% ภายในปี 2545 หรือภายในปี 2546 สำหรับสินค้าบางรายการ • สมาชิกใหม่ของอาเซียนมีระยะเวลานานกว่าในการลดภาษี เวียดนามในปี 2549 ลาวในปี 2551 และกัมพูชาในปี 2553 • สินค้าอื่นนอกรายการ CEPT ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Exclusion Lists หรือ SensitiveLists หรือ Temporary Exclusive List (TEL)
ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • เมื่อสิ้นปี 2544 รายการใน TEL คิดเป็น 0.6% ของรายการภาษีทั้งหมดของกลุ่มสมาชิกดั้งเดิมและ 40% สำหรับสมาชิกใหม่ • สินค้ายกเว้นทั่วไป (General exceptions: GE) ซึ่งยกเว้นไม่ต้องลดภาษีถาวร (ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ ศีลธรรม ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของรายการภาษีของอาเซียน
ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ไทยมีการโอนรายการสินค้าเข้าสู่ระบบ CEPT อย่างต่อเนื่อง • ในสิ้นปี 2545 แทบทุกรายการสินค้ามีอัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 5% • (60% ของรายการภาษี มีอัตราภาษี 0%) • โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 6.0% ในปีเดียวกัน • ลดเหลือ 4.6% ในปี 2546 • ประเทศไทยไม่มีสินค้าที่อยู่ในกลุ่ม TL และ GE แล้วตั้งแต่ปี 2545 • ยังมีสินค้าอีก 7 รายการ (เนื้อมะพร้าวตากแห้ง (copra) กาแฟ ไม้ตัดดอก มันเทศ เป็นต้น) ที่ยังอยู่ใน Sensitive list
ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • กลุ่มอาเซียนพยายามที่จะมีความร่วมมือทางการค้ากับนอกกลุ่มด้วย • กลุ่ม ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี) ซึ่งมีการตกลงกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area) • ประเทศไทยเองสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนภายในปี 2553 สำหรับกลุ่มสมาชิกดั้งเดิม และภายในปี 2558 สำหรับสมาชิกใหม่ • โดยที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดสินค้าอ่อนไหว • ให้เริ่มจากสินค้าบางชนิดที่มีความพร้อมก่อนหรือ early harvest
ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี): • ตกลงกันเมื่อ พ.ย 2545 ให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area) • ASEAN - China Free Trade Area • สำหรับกลุ่มสมาชิกดั้งเดิม (ในปี 2553 ) สมาชิกใหม่ (ในปี 2558 ) • มีการลงนามข้อตกลงเมื่อ 29 พ.ย. 2547 • ในช่วง ม.ค.-มี.ค.ปี 2549 ไทยส่งออกภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวเพียง 273.91 ล้าน$ (10.61%) เนื่องจากเพิ่งลดภาษีเพียง 1-4% และปัญหา Rules Of Origin
ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ไทยยังสนับสนุนให้อาเซียนมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่เข้มข้นขึ้นกับ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย นิวซีแลนด์ และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องร่วมกันว่าอาเซียนและญี่ปุ่นจะร่วมกันพัฒนากรอบการเจรจาเพื่อนำไปสู่หุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership) ภายในสิบปี
ความตกลงการค้าเสรี: APEC • สมาชิก LDCs จะเปิดเสรีการค้า บริการ และการลงทุน ภายในปี 2563 และภายในปี 2553 สำหรับ DCs • เป็นการเปิดแบบสมัครใจ และแบบ concerted unilateral liberalization ตามหลักการของ Osaka Action Agenda ที่ระบุว่า • ต้องครอบคลุมกว้างขวาง (comprehensive) สอดคล้องกับ WTO • Open regionalism นั่นคือไม่เลือกปฏิบัติในหมู่สมาชิกเอเปก หรือระหว่างสมาชิกกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก • แต่ละประเทศจะมีการระบุแผน Individual Action Plans: IAPs
ความตกลงการค้าเสรี: ASEM • EU และอาเซียนมีความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ตาม Trade Facilitation Action Plan: TFAP • ลดการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เพิ่มความโปร่งใส และส่งเสริมโอกาสทางการค้าระหว่างทั้งสองภูมิภาค
ความตกลงการค้าเสรี: ASEM • มีการรับรอง concrete goals สำหรับปี 2545 – 47 ซึ่งครอบคลุม • การส่งเสริม paperless custom procedure และ Investment Promotion Action Plan: IPAP • มีการใช้ Asia-Europe Business Forum เป็นเวทีในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน • ใช้กองทุนอาเซ็ม (ASEM Trust Fund) ในการสนับสนุนทางการเงินแก่การปรับโครงสร้างภาคการเงินและการแก้ปัญหาความยากจน
ความตกลงการค้าทวิภาคี: ยุทธศาสตร์ของไทย • ประเทศใหญ่ ตลาดเดิม (Market Strengthening) : • ญี่ปุ่น สหรัฐฯ • ขยายตลาดใหม่ (Market Broadening & Deepening) • ตลาดที่มีศักยภาพ: จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ • ตลาดที่เป็นประตูการค้า (Gateway): บาห์เรน เปรู • ตลาดภูมิภาค: BIMST-EC
หมายเหตุ: ตัวเลขท้ายชื่อประเทศ เป็นอันดับความสามารถในการแข่งขัน, หน่วยของมูลค่า (ล้านบาท), ไทย อันดับ 32
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทยกับบาเรน: ลงนามใน Framework Agreement on Closer Economic Partnership แล้ว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2545 โดยทั้งสองฝ่ายต่างยกเลิกอากรนำเข้าจำนวน 626 รายการซึ่งมีอัตราที่ร้อยละ 3 ลงทันที และคาดว่ารายการที่เหลือจะมีการยกเลิกภายในปี 2553 • อย่างไรก็ดี แม้จะกำหนดให้มีการลดอัตราภาษีลงตั้งแต่ปี 2545 • ไทยได้ออกประกาศกระทรวงการคลังไปแล้ว • แต่บาห์เรนก็ยังไม่ออกประกาศลดอัตราภาษีให้ไทยแต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทยกับจีน:ทำความตกลงการค้าเสรีกับจีนในแบบ early harvest โดยลงนามเมื่อ 18 มิถุนายน 2546 ครอบคลุมเรื่องการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการ ตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08 ให้เหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 • ณ สิ้น พ.ย. 2548 ไทยส่งออกผักและผลไม้ไปจีน 16.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.75% และนำเข้า 6.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.3% ไทยเกินดุล (เฉพาะผัก ผลไม้) 10.0 พันล้านบาท • สินค้าส่งออกสำคัญของไทย: มันสำปะหลัง (ร้อยละ 99.8) • ดุลการค้าโดยรวมของไทยก็ยังขาดดุลจีนเพิ่มขึ้นเป็น 77.0 พันล้านบาท
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทย-อินเดีย (TIFTA): ลงนามในแล้วเมื่อ9 ต.ค. 2546 และมีผล 1 ม.ค. 2547 เป็นแบบ Early harvest ครอบคลุมสินค้า 84 รายการ • เริ่มจาก 1 มี.ค. 2547 โดยลดลง 50% ในปีแรก 75% ในปีที่ 2 และ 100% ในปีที่ 3 สินค้าที่เหลือมีเป้าหมายลดภาษีลงเหลือ 0% ในปี 2553 • สำหรับบริการ เริ่มเจรจาในเดือนมกราคม 2547 และมีเป้าหมายที่จะสรุปภายใน มี.ค. 2549 • ไทยส่งออกไปอินเดีย 53.8 พันล้านบาท และนำเข้า 46.7 พันล้านบาท เกินดุลการค้า 7.1 พันล้านบาทซึ่งถ้าพิจารณาเฉพาะสินค้า 82 รายการ ไทยมีการส่งออกไปอินเดีย 12.2 พันล้านบาท และนำเข้า 3.3 พันล้านบาท ทำให้มีการเกินดุลการค้า 8.9 พันล้านบาท
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA): ลงนามในไปแล้วเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 และมีผลแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 นี้โดยเป็นความตกลงที่ครอบคลุมการค้า บริการและการลงทุน • สินค้าส่วนหนึ่ง ลดภาษีเหลือ 0 ทันที ที่เหลือทยอยภายใน 5 ปี • สินค้าอ่อนไหว ลดช้ากว่า (ออสเตรเลียใน 10 ปี ไทยใน 20 ปี) • มีมาตรการปกป้องพิเศษสำหรับสินค้าเกษตรอ่อนไหว
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA): • สินค้าเกษตรที่มีโควตา จะกำหนด specific quota และทยอยลดภาษีในโควตา ส่วนภาษีนอกโควตาลดตาม WTO (Margin of preferences: MOP 10%) เช่น WTO คิด 100%, AUS คิด 90% • สิ้นพ.ย. 2548 ไทยขาดดุลถึง 4.5 พันล้านบาทโดยส่งออก 117.6 พันล้านบาทและนำเข้า 122 พันล้านบาท (29% เป็นทองคำ)
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทยและนิวซีแลนด์ลงนามความตกลง การค้าเสรี ในเดือนเม.ย. 2548 และ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กค. 2548 • เริ่มเจรจาเดือนพฤษภาคม 2547 และสรุปในเดือนพฤศจิกายน 2547 !! • นิวซีแลนด์จะลดภาษีเป็น 0% ประมาณ 79% ของรายการสินค้าหรือประมาณ 85% ของมูลค่าการนำเข้าของนิวซีแลนด์จากไทยทันที • สำหรับสินค้าที่เหลือทั้งหมดจะลดภาษีเป็น 0 ภายในปีพ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าสิ่งทอเสื้อผ้าและรองเท้าซึ่งนิวซีแลนด์จะค่อยๆทยอยลดภาษีเป็น 0 ในปีพ.ศ. 2558
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทยจะลดภาษีเป็น 0 สำหรับสินค้าจาก NZ ประมาณ 54% ของจำนวนรายการทั้งหมดหรือ 49% ของมูลค่านำเข้าจากนิวซีแลนด์ทันที • ไทยจะทยอยลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553 อีกประมาณ 10% ของการนำข้าจาก NZส่วนสินค้าอ่อนไหวเช่นนมและผลิตภัณฑ์เนื้อวัวเนื้อหมูหัวหอมและเมล็ดเป็นต้นจะทยอยลดภาษีเป็น 0 ในปีพ.ศ. 2558-2563 • สิ้น พ.ย. 2548 ไทยส่งออก 19.2 พันล้านบาท และนำเข้า 9.1 พันล้านบาท และทำให้ไทยเกินดุลการค้า 10.1 พันล้านบาท
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทยและญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) เริ่มเจรจาตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2546 • ณ ส.ค. 2548 ได้บรรลุข้อตกลงดังนี้ • เหล็ก: เหล็กรีดร้อนที่ไม่ผลิตในไทย จะเลิกภาษีทันที เหล็กอื่นๆ ยกเลิกภาษีภายในปีที่ 11 • ชิ้นส่วนยานยนต์ (สำหรับ OEM): ไทยยกเลิกภาษีรายการสินค้าที่ไม่อ่อนไหวในปี 2554 ส่วนสินค้าอ่อนไหว ยกเลิกปี 2556
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • รถยนต์สำเร็จรูป (CBU): • ไทยจะเริ่มลดภาษีในปีแรกที่ JTEPA มีผลบังคับใช้ สำหรับขนาดที่เกินกว่า 3,000 ซีซี (โดยลดจาก 80% เหลือ 60% ในปี 2552 และคงไว้จนกว่าจะมีการเจรจากันใหม่) • สำหรับที่มีขนาดต่ำกว่า 3,000 ซีซี จะเจรจาใหม่ภายใน 5 ปี • สินค้าเกษตร: ญี่ปุ่นจะลดหรือเลิกภาษีในสินค้า ไก่ปรุงสุก ไก่สดแช่เย็น เนื้อปลากระป๋อง ปู หอย ผักสดแช่เย็น กุ้งสด กุ้งต้ม แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป ทุเรียน มะละกอ มะม่วง มังคุด
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ความร่วมมือ: มีการตกลงกันด้านมาตรฐานสุขอนามัย ทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การท่องเที่ยว การส่งเสริม SME และบรรยากาศการลงทุน • ด้านการค้าบริการ/ลงทุน: ไทยจะสามารถส่งพ่อครัวแม่ครัว คนดูแลคนสูงอายุ ครูสอนภาษาไทย รำไทย และสามารถเข้าไปทำงานในสาขาอาชีพดังเช่น ด้านโฆษณา ทัวร์ บริการโรงแรม เป็นต้น • ญี่ปุ่นไม่ยอมที่จะให้ไทยนำเอาสินค้าข้าวเข้ามาในการเจรจาด้วย • ข้อตกลงมีผลใช้บังคับในปี 2550
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทย-สหรัฐ: เริ่มต้นเจรจากันตั้งแต่ วันที่ 28 มิถุนายน 2547 และยังไม่บรรลุข้อตกลง (2552) • แบ่งกลุ่มการเจรจาไว้ 21 กลุ่ม ได้แก่ การเปิดตลาด ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งทอ มาตรการปกป้องทางการค้า มาตรฐานสินค้า มาตรฐานสุขอนามัย พิธีการด้านศุลกากร นโยบายการแข่งขัน การค้าบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายบุคคล
ความตกลงการค้าทวิภาคีความตกลงการค้าทวิภาคี • ไทย-สหรัฐ: • สินค้าเกษตร: สหรัฐฯ เสนอเปิดตลาดให้ไทยประมาณ 65% ของการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยภายใน 0-5 ปี • ไทยเสนอเปิดสินค้าที่ไทยไม่มีการผลิตหรือผลิตน้อย และไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อยู่แล้ว เช่น ฝ้าย พ่อและแม่พันธุ์ไก่ เป็นต้น • สินค้าอ่อนไหวมากของไทย เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ข้าวโพด มันฝรั่ง หัวหอมใหญ่ ไทยเสนอลดภาษีภายใน 10-20 ปี
ความตกลงการค้าทวิภาคี:ความตกลงการค้าทวิภาคี: • สินค้าอุตสาหกรรม: • สหรัฐฯ เสนอเปิดตลาด 74% ของการนำเข้ารวมจากไทย • สินค้าไทยที่น่าจะได้ประโยชน์ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทำจากไม้และยาง เครื่องแก้ว/ เซรามิค ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณี กลุ่มอาหารแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ความตกลงการค้าทวิภาคี:ความตกลงการค้าทวิภาคี: • สินค้าอุตสาหกรรม: • ไทยเสนอเปิดตลาดให้สหรัฐฯ ร้อยละ 71% • สินค้าอ่อนไหวของไทย ซึ่งได้แก่ แก้ว เหล็ก ปลา และสี ไทยเสนอลดภาษีเป็นเวลา 10 ปี • สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไทยขอลดภาษีสิ่งทอเป็น 0% ทันทีทุกรายการ เนื่องจากเป็นสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้ามากอยู่แล้ว และไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียงเล็กน้อย (2.3%)
ความตกลงการค้าทวิภาคี:ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ทรัพย์สินทางปัญญา • สหรัฐฯ ขอให้ไทยยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่เข้มงวดกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน • ไทยยืนยันการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่มีอยู่ และได้ยื่นข้อเสนอ 4 เรื่อง • เรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เรื่องความร่วมมือระหว่างกัน เช่น ในการอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของ SMEs ไทยและการเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกัน • คาดกันสหรัฐฯจะขอขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิบัตรยาซึ่งจะกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงยาของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเอดส์ และจะกดดันให้ไทยยอมจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชละสัตว์