1 / 13

หลักการยอกยาการ์ตา

หลักการยอกยาการ์ตา. คำปรารภ มนุษย์เกิดมาโดยอิสระ เสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิต่างๆ ทุกคนทรงสิทธิ โดยไม่มีความแตกต่างกันในด้านใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรืออื่นๆ ชาติกำเนิด เผ่าพันธุ์ ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด

colin
Download Presentation

หลักการยอกยาการ์ตา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการยอกยาการ์ตา คำปรารภ มนุษย์เกิดมาโดยอิสระ เสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิต่างๆ ทุกคนทรงสิทธิ โดยไม่มีความแตกต่างกันในด้านใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรืออื่นๆ ชาติกำเนิด เผ่าพันธุ์ ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด วิตกว่า ได้มีการใช้ความรุนแรง การก่อกวน การเลือกปฏิบัติ การแบ่งแยก กีดกัน การประทับตราบาป หรืออคติอยู่ทั่วโลก เพราะวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ ด้วยเหตุต่างๆ รวมทั้งเพศสภาพ วิถีทางเพศ หมายถึง สมรรถภาพของแต่ละบุคคลในความดึงดูดสนใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางอารมณ์ ความรักใคร่ และทางเพศ และในสัมพันธภาพที่มีทั้งลักษณะความใกล้ชิดทางเพศสัมพันธ์ และในทางเพศ ที่มีต่อปัจเจกบุคคล ซี่งมีเพศสภาพที่แตกต่างไปหรือมีเพศสภาพเดียวกัน หรือมีมากกว่าหนึ่งเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ หมายถึง ประสบการณ์ทางเพศสภาพ สามารถรู้สึกได้ภายในของแต่ละคน และเป็นของปัจเจก ซึ่งอาจสอดคล้อง หรือไม่ก็ได้ กับเพศซึ่งได้ระบุไว้เมื่อแรกเกิด ความรู้สึกของบุคคลในร่างกาย ด้วยวิธีทางการแพทย์ ศัลยกรรม หรือวิธีการอื่นใด ทั้งตัดสินใจเลือกโดยอิสระ และการแสดงออกต่าง ๆ ทางเพศสภาพ การแต่งกาย คำพูด และกิริยาท่าทาง

  2. สิทธิในการใช้สิทธิมนุษยชนที่เป็นสากลสิทธิในการใช้สิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล • สิทธิในความเสมอภาค และการห้ามเลือกปฏิบัติ • สิทธิในการรับรองทางกฎหมาย • สิทธิในชีวิต • สิทธิในหลักประกันของบุคคล • สิทธิในความเป็นส่วนบุคคล • สิทธิในความเป็นอิสระจากการถูกเพิกถอนเสรีภาพโดยพลการ • สิทธิในการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม • สิทธิในด้านการปฏิบัติในลักษณะความเป็นมนุษย์ ระหว่างถูกควบคุมตัว • สิทธิในความเป็นอิสระจากการถูกทรมานและการปฏิบัติหรือลงโทษ ในลักษณะทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

  3. สิทธิในความคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ การค้า และการลักพามนุษย์ในทุกรูปแบบ • สิทธิในการทำงาน • สิทธิในการประกันสังคม และมาตรการคุ้มครองทางสังคมหรืออื่นๆ • สิทธิในมาตรฐานการครองชีพตามสมควร • สิทธิในการมีที่อยู่อาศัยตามสมควร • สิทธิในการศึกษา • สิทธิในการจัดให้มีมาตรฐานสูงสุดด้านสุขภาพ • ความคุ้มครองจากการกระทำที่มิชอบทางการแพทย์ • สิทธิในความเห็นและการแสดงความคิดเห็น • สิทธิในอิสระด้านการชุมนุมโดยสงบและการสมาคม • สิทธิในอิสระด้านความคิด ความเชื่อ และศาสนา หลักการ

  4. สิทธิในอิสระด้านการย้ายถิ่นฐานสิทธิในอิสระด้านการย้ายถิ่นฐาน • สิทธิในการแสวงหาที่พักพิง • สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว • สิทธิในการมีส่วนร่วมในการดำรงชีวิตทางปกครอง • สิทธิในการมีส่วนร่วมในการดำรงชีวิตทางวัฒธรรม • สิทธิในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน • สิทธิในการเยียวยาแก้ไขและการชดใช้ในลักษณะเกิดผลใช้บังคับได้ • ภาระความรับผิด

  5. 1. ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองและปกป้องคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ แม้ว่ารัฐธรรมนูญฯ จะระบุ ว่า ห้ามเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ ในปี พ.ศ. 2555 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศที่เสนอโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขณะที่ในมาตรา 3 ของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีข้อความที่เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ด้วยเหตุผลทางด้านวิชาการ ศาสนา และเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งส่งผลให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิ

  6. 2. รัฐไทยยังคงไม่ให้การสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการออกกฎหมายเพื่อนำไปสู่การรับรองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นร่างกฎหมายรับรองบุคคลแปลงเพศ ร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงคำนำหน้านามบุคคล และร่างกฎหมายรับรองสถานะคู่ชีวิตของบุคคลรักเพศเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เครือข่ายความหลากหลายทางเพศร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำลังทำงานเพื่อผลักดันให้เกิดร่างกฎหมายรับรองสถานะคู่ชีวิตของบุคคลรักเพศเดียวกัน จากกรณีที่ชายรักชายคู่หนึ่งที่ต้องการจดทะเบียน สมรส และถูกปฏิเสธจากสำนักทะเบียนประจำที่ว่าการอำเภอ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 และเสนอเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ทำให้คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศขึ้น

  7. ในส่วนของการเปลี่ยน แปลงคำนำหน้านามบุคคล ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเปลี่ยนคำนำหน้านามที่ระบุเพศตามเพศกำเนิดสำหรับผู้ที่มีเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด มีเพียงกรณียกเว้นสำหรับบุคคลที่เกิดมามีอวัยวะเพศกำกวมหรือมีอวัยวะสองเพศ ซึ่งสามารถแก้ไขคำนำหน้านามได้หากต้องได้รับคำวินิจฉัยยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศจากแพทย์ เช่น กรณีของนางสาวสิริลดา โคตรพัฒน์ ซึ่งทำเรื่องร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯให้ช่วยเหลือในการเปลี่ยน แปลงคำนำหน้านามจากนายมาเป็นนางสาวเมื่อวันที่ 5 สิง หาคม พ.ศ. 2555

  8. 3.ประเทศไทยยังขาดการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางด้านวิชาการที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ แม้ว่ากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขของไทย จะให้การรับรองว่าการรักเพศเดียวกันไม่ได้เป็นความผิดปรกติทางจิตตามหลักการขององค์การอนามัยโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ส่งผลให้อคติและการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยยังไม่ลดลง ตัวอย่างเช่น 3.1 การผลิตซ้ำอคติ และ การเลือกปฏิบัติโดยสถาบันการศึกษา ได้แก่ -กรณีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่อนุญาตให้บัณฑิตสาวประเภทสองสามารถแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาหญิงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ หากต้องมีเอกสารรับรองจากแพทย์ว่าเป็นบุคคลผู้มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ถือเป็นผู้ป่วยทางจิตใจที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา -กรณีนิสิตสาวประเภทสองจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ไปฝึก สอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ถูกส่งตัวกลับโดยให้เหตุผลว่า เป็นผู้มีความเบี่ยงเบนทางเพศ สอนหนังสือไม่ได้ ขณะที่ในเดือนมกราคม 2555 มีข่าวคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ห้ามนักศึกษา แต่งกายข้ามเพศไปฝึกสอน

  9. - กรณีแบบเรียนสุขศึกษาออนไลน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนโสภณศิริราษฎร์ จ. ราชบุรี ที่ระบุว่าการรักร่วมเพศ เป็นความเบี่ยงเบนทางเพศ และ บุคคลรักร่วมเพศมักมีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงเมื่อผิดหวังเรื่องเพศ และกรณีแบบเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักพิมพ์แม็ค ที่ลงภาพสาวประเภทสองโดยมีแถบสีดำคาดที่ตา โดยบรรยายใต้ภาพว่าเป็นบุคคลที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ และยังมีข้อความที่ผลิตซ้ำอคติต่อบุคคลรักเพศเดียวกันว่า "ความสัมพันธ์ของพวกรักร่วมเพศมักไม่ค่อยยั่งยืน เมื่ออีกฝ่ายแยกตัวไปมักจะเกิดความโกรธแค้นรุนแรง อิจฉา และทำร้ายร่างกายได้"

  10. 3.2 การผลิตซ้ำอคติ และการเลือกปฏิบัติโดยสถาบันสื่อสารมวลชน -กรณีรายการโทรทัศน์ตีสิบที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำเสนอเรื่องราวของทอมที่กลายมาเป็นผู้หญิง เพราะได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองจากอุบัติเหตุรถชน โดยไม่ได้มีเหตุผลทางวิชาการที่ยืนยันชัดเจน สร้างความเข้าใจผิดให้กับสังคม -กรณีสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ขอความร่วมมือผู้ผลิตรายการห้ามนักแสดงชายแสดงบทกะ เทย โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นตัวอย่างให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ 3.3 บรรทัดฐานค่านิยมเรื่องสถาบันครอบครัว ที่ไม่ยอมรับเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่าง -กรณีข่าวทอมอายุ 19 ปี ถูกแม่บังคับให้เลิกมีพฤติกรรมเป็นทอม และเลิกกับแฟนที่อยู่ด้วยกัน ทำให้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย

  11. 3.4 การเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากอคติของหน่วยงานบริษัทเอกชน กรณีร้านหนังสือซีเอ็ด -กรณีบริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นทำจดหมายถึงผู้ฝากจำหน่ายหนังสือ ขอให้ตรวจสอบและคัดกรองหนังสือที่ฝากจำหน่ายไม่ให้มีเนื้อหาประเภทวรรณกรรมชายรักชาย หญิงรักหญิง เป็นลักษณะของการรักร่วมเพศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555

  12. 1. ทำไมสังคมไทยจึงจำเป็นหรือต้องมีกฏหมาย หรือพ.ร.บคู่ชีวิต ? ตอบ การเลือกคู่ชีวิต เลือกคนที่จะมาใช้ชีวิตร่วมกัน ย่อมถือเป็นสิทธิ และเสรีภาพของทุกคน เป็นการเคารพศักดิ์ความเป็นคน ซึ่งมิใช่เพียงผู้หญิงหรือผู้ชายแต่อย่างใด ในการเลือกคู่ชีวิต แต่หมายถึงทุกคน เพื่อให้เกิดความเสมอภาค 2. ถ้ามีพ.ร.บ ฉบับดังกล่าวแล้วสังคมไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากการมีกฏหมายนี้ ? ตอบ สังคมไทย ซึ่งถือเป็นสังคมที่เรียกได้ว่า เป็นสังคมที่รู้จักคำว่าใจเขาใจเรา ดังนั้นสิ่งที่สังคมจะ ได้รับจากกฎหมายดังกล่าว คือ สังคมจะได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการทำให้ประชาคมโลก ทราบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยอมรับ และคำนึงถึงศักดิ์ความเป็นมนุษย์ ไม่เลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิมนุษยชนของกันและกัน ทั้งนี้ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือที่ใช้คุ้นเคยกันว่า กลุ่มที่รักเพศเดียวกัน ก็เป็น ส่วนหนึ่งของสังคมไทย และควรจะได้รับสิทธิ สวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้แก่ประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม

  13. 3.หลักการ แนวคิด เนื้อหา หรือสาระสำคัญของกฏหมายฉบับนี้ควรจะเป็นอย่างไร หรือควรประกอบไปด้วยเรื่องอะไรบ้าง ? ตอบ หลักการของกฎหมายที่สำคัญที่สุด คือ ทำให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงสิทธิ เสรีภาพ ต่างๆ อย่างเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ หากบุคคลที่มีเพสเดียวกัน ตัดสินในที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน กฎหมายนั้นย่อมจะต้องคุ้มครอง เป็นหลักประกัน และรับรองสิทธิต่างๆ ของบุคคลนั้น อีกทั้ง กฎหมายดังกล่าวย่อมควรอยู่ในหลักการสิทธิมนุษยชนด้วย

More Related