370 likes | 500 Views
ขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียน เรื่อง สุขศึกษาและพละศึกษา. สุขศึกษาและพละศึกษา. ระบบหายใจส่วนบน. ระบบหายใจส่วนล่าง. กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ. กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง. โรคที่เกิดในระบบหายใจ. อวัยวะในระบบหายใจ. กลไกการทำงานระบบหายใจ. หลอดคอ หลอดเสียง. กระบวนการทำงานระบบหายใจ.
E N D
ขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียนขอต้อนรับเข้าสู่บทเรียน เรื่อง สุขศึกษาและพละศึกษา
สุขศึกษาและพละศึกษา ระบบหายใจส่วนบน ระบบหายใจส่วนล่าง กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง โรคที่เกิดในระบบหายใจ อวัยวะในระบบหายใจ กลไกการทำงานระบบหายใจ หลอดคอ หลอดเสียง กระบวนการทำงานระบบหายใจ โรคของระบบหายใจ
ระบบหายใจส่วนบน ทางเดินหายใจส่วนบน (อังกฤษ: Upper respiratory tract, upper airway) ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียง (larynx) ขึ้นไป เช่นจมูก, คอหอย (pharynx) เป็นต้น โดยทางเดินหายใจส่วนบนนั้นจะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างต่อไป
ระบบหายใจส่วนล่าง ทางเดินหายใจส่วนล่าง (อังกฤษ: lower respiratory tract) เป็นทางเดินของอากาศที่อยู่ถัดจากทางเดินหายใจส่วนบนมีความสำคัญคือลำเลียงอากาศเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ประกอบด้วยกล่องเสียง (larynx), หลอดคอ (trachea), หลอดลมใหญ่หรือหลอดลมปอด (bronchus) และปอด
กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ 1.ซี่โครง 2.กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง (intercostal muscles) ซึ่งมี 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (External) ชั้นใน (Internal) และชั้นในสุด (innermost) 3.กล้ามเนื้อกระบังลม และ 4.เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มด้านในของผนังทรวงอก เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด (Pleura) ซึ่งมีอยู่ 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (Parietal pleura) และชั้นใน (Visceral pleura) กล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อรอบกระดูกหน้าอก หน้าหลัก ย้อนกลับ ถัดไป
กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครงกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง กล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครงชั้นนอก (External intercostal muscles) มีทั้งหมด 11 คู่ ซึ่งกล้ามเนื้อแต่ละมัด มีขอบเขตเริ่มจากบริเวณปุ่มกระดูกของซี่โครงจากทางด้านหลัง และสิ้นสุดที่รอยต่อระหว่างกระดูกซี่โครงกับกระดูกอ่อนของซี่โครงทางด้านหน้าโดยที่จุดสิ้นสุดส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนเป็นเยื่อหนา ๆ แทน ใยของกล้ามเนื้อมัดนี้จะมีลักษณะเฉียงจากทางด้านหลังมาด้านหน้า และจากบนลงล่าง โดยกล้ามเนื้อมีจุดยึดเกาะเริ่มต้นที่บริเวณขอบล่างของกระดูกซี่โครงชิ้นบน กล้ามเนื้อยึด ซี่โครงชั้นใน
กล้ามเนื้อยึดซี่โครงชั้นในกล้ามเนื้อยึดซี่โครงชั้นใน กล้ามเนื้อยึดระหว่างชี่โครงชั้นใน (Internal intercostal muscles) มีทั้งหมด 11 คู่เช่นกัน กล้ามเนื้อกลุ่มนี้อยู่ชั้นลึกใต้กล้ามเนื้อชั้นนอก และมีแนวกล้ามเนื้อตั้งฉากกับกล้ามเนื้อชั้นนอก โดยมีแนวการเกาะยึดจากร่องของกระดูกซี่โครงชิ้นบน เฉียงลงทางด้านหลังมาเกาะยึดอยู่ที่บริเวณขอบบนของกระดูกซี่โครงชิ้นล่าง
อวัยวะในระบบหายใจ 1.รูจมูก (Nostrill) เป็นทางผ่านเข้าของอากาศ 2.ช่องจมูกหรือโพรงจมูก (Nasal cavity) เป็นโพรงที่ถัดจากรูจมูกเข้าไปซึ่งติดต่อกับคอหอย ที่โพรงจมูกจะมีขนเส้นเล็ก ๆ และต่อมน้ำมันช่วยกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด นอกจากนี้ที่โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนาช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้น 3.คอหอย (Pharynx) เป็นบริเวณที่พบกันของช่องอากาศจากจมูก ช่องอาหารจากปาก กล่องเสียงจากหลอดลมคอ
อวัยวะในระบบหายใจ 5.ขั้วปอด (Bronchus)เป็นส่วนของหลอดลมที่แยกออกเป็นกิ่ง ซ้ายและขวาเข้าสู่ปอด 6.แขนงขั้วปวดหรือหลอดลมฝอย (Bronchiole)เป็นแขนงของท่อลมที่แยกออกไปมากมายแทรกอยู่ทั่วไปในเนื้อปอด ซึ่งจะไปสิ้นสุดที่ถุงลม (alveolus) 7.ถุงลมเล็ก ๆ ในปอด (alveolu)ที่ผนังของถุงลมจะมีเส้นเลือดฝอยล้อมรอบอยู่มากมาย จึงเป็นแหล่งในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ภายในปอดของคนมีอัลวิโอลัส (ถุงลมเล็ก ๆ )ประมาณ 300 ล้านถุง )
โรคที่เกิดในระบบหาบใจ โรคที่เกิดในระบบหาบใจ โรคของระบบหายใจเป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหสุขภาพที่เกี่ยวข้องฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการอาการแสดงความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทการเจ็บป่วยตามเกณฑ์เพื่อใช้บันทึกเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลทางสถิติในการวางแผนสุขภาพในระดับสากล การติดเชื้อ
การติดเชื้อ • คอหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน ไข้หวัด • โพรงอากาศอักเสบเฉียบพลัน • คอหอยอักเสบเฉียบพลัน • คอหอยอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส • เจ็บคอจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส • คอหอยอักเสบเฉียบพลันจากเชื้ออื่นที่ระบุ • คอหอยอักเสบเฉียบพลันไม่ระบุรายละเอียด • ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
กลไกการทำงานระบบหายใจกลไกการทำงานระบบหายใจ การหายใจ คือการนำออกซิเจนไปสู่เซลล์ และเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากเซลล์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อมีบา ออกซิเจนจะซึมผ่านผนังเซลล์ (Cell membrane) เข้าเยื่อบุเซลล์โดยตรง แต่ในสิ่งมีขีวิตที่ซับซ้อน เช่น มนุษย์ การที่เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายจะหายใจได้ต้องใช้การทำงานของ 2 ระบบ คือ 1. ระบบหายใจ (Respiratory system) 2. ระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory system) ซึ่งเป็นเรื่องของการขนส่งออกซิเจน (O2) ไปสู่เซลล์ต่าง ๆ
กลไกการทำงานระบบหายใจกลไกการทำงานระบบหายใจ 1. ระบบหายใจ (Respiratory system) 2. ระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory system) ซึ่งเป็นเรื่องของการขนส่งออกซิเจน (O2) ไปสู่เซลล์ต่าง ๆ
หลอดคอ หลอดเสียง หลอดคอ (Pharynx)มีลักษณะเป็นหลอดคอยาวประมาณ 5 นิ้ว เริ่มจากสันหลังของโพรงจมูกไปถึงหลอดอาหาร (Esophagus) มีรูปกรวย ปลายบนกว้าง ปลายล่างแคบ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเส้นใย ภายในบุด้วยเยื่อเมือกชนิดเดียวกับโพรงจมูก เปิดไปสู่กล่องเสียง (Larynx) และหลอดอาหาร จึงเป็นทางผ่านของทั้งอาหารและอากาศกล่องเสียง (Larynx) กล่องเสียง
กล่องเสียง กล่องเสียงตั้งอยู่ข้างบน และด้านหน้าของคอ ระหว่างโคนลิ้นกับปลายของท่อลม (Trachea) ตรงระหว่างกระดูกก้านคอเป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยมประกอบด้วยกระดูก 9 ชิ้น ยึดด้วย เอ็นและกล้ามเนื้อ
กระบวนการทำงานของระบบหายใจ อากาศเมื่อเข้าสู่ปอดจะไปอยู่ในถุงลม ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายลูกองุ่น ซึ่งปอดต่ละข้างจะมีถุงลมข้างละ 150 ล้านถุง แต่ะถุงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 0.1 มิลลิเมตร ถุงลมทุกอันจะมีหลอดเลือดฝอยมาห่อหุ้มไว้ การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน และไอน้ำ ผ่านเข้าออกถุงลมโดยผ่านเยื่อบางๆของถุงลมเลือดจากหัวใจมาสู่ปอด เป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง เมื่อมาสู่ถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยออกซิเจนในถุงลมจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ถุงลม แล้วขับออกทางลมหายใจออก ภาพประกอบ
โรคของระบบหายใจ โรคระบบหายใจคือภาวะพยาธิสภาพใดๆ ซึ่งเกิดกับอวัยวะเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซในสัตว์ชั้นสูง หมายรวมถึงภาวะซึ่งเกิดกับทางเดินหายใจส่วนบนหลอดลมใหญ่หลอดลมหลอดลอมฝอยถุงลมเยื่อหุ้มปอดโพรงเยื่อหุ้มปอดและเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการหายใจ โรคระบบหายใจมีตั้งแต่เป็นน้อยหายได้เอง เช่นหวัดไปจนถึงโรคซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่นปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียลิ่มเลือดตันในปอดและมะเร็งปอดเป็นต้น ภาพประกอบ
ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นายวีรพงษ์อ่อนหวานชื่อเล่น แม็คเกิดวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2538ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบ้านบึงหัวแหวนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษกปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยศึกษาปีที่6 โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก
ประวัติผู้สอน ชื่อ อาจารย์ปกรณ์กฤษ นามสกุล หวังกุ่มตำแหน่ง ครู ค.ศ.2 สังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพละเทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ ) โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษกจังหวัดกาญจนบุรี การติดต่อkorn.2514@hotmail.com www.pkkan.net
ประวัติอาจารย์ที่ปรึกษาประวัติอาจารย์ที่ปรึกษา