1 / 49

การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ของหน่วยงานภาครัฐ : รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ

การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ของหน่วยงานภาครัฐ : รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards). โดย : ชัยยุทธ กมลศิริสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 26 เมษายน 2555. 2. การปรับปรุงวิธีการปฏิบัติราชการ.

Download Presentation

การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ของหน่วยงานภาครัฐ : รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ของหน่วยงานภาครัฐ : รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards) โดย : ชัยยุทธ กมลศิริสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 26เมษายน 2555

  2. 2. การปรับปรุงวิธีการปฏิบัติราชการ เนื้อหา 1. การปฏิรูประบบราชการไทย 3. ผลการดำเนินงาน

  3. การปฏิรูประบบราชการ

  4. การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ มติ ค.ร.ม. เมื่อ 19 พฤษภาคม 2546 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - 2550) ประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบจากต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การสร้างความเป็นเลิศของระบบราชการไทยให้รองรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงนั้น จำเป็นที่จะต้องยึดหลักประการสำคัญ คือ การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการในช่วงระยะปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550 ว่า "พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุขของประชาชน" • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 • ...เป็นการกำหนดขอบเขต แบบแผน วิธีปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหารราชการบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ดังนี้ ... • การบริหารราชการที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (citizen centered) • เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ โดยยึดการบริหารแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นผลลัพธ์จากการปฏิบัติงาน • มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ • ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น • มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ • ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ • มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ 4

  5. การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ(ต่อ)การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ(ต่อ)

  6. การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ(ต่อ)การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ(ต่อ)

  7. การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ(ต่อ)การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ(ต่อ)

  8. ผลการดำเนินการ

  9. รายละเอียดการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการประกอบธุรกิจ(Doing Business) ธนาคารโลก (World Bank)ได้เผยแพร่รายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดอันดับความยากง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก (Doing Business) ที่มา: มติครม. 20 ธค 48 ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงบริการฯ ตามรายงานผลวิจัยของธนาคารโลกและให้สกพร. ร่วมกับ ก.พาณิชย์ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษารายละเอียดและดำเนินการปรับปรุงบริการให้สำเร็จ การดำเนินการ สกพร. ร่วมกับ ก.พาณิชย์ และ 47 หน่วยงาน จัดตั้งคณะทำงานตามดัชนีชี้วัดของธนาคารโลก รวม 9 คณะทำงาน เพื่อดำเนินการปรับปรุงบริการตามมติครม. ดังนี้ • ผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยดีขึ้น ดังนี้

  10. ผลการจัดอันดับประเทศที่อยู่ใน 30 อันดับแรก Doing Business 2012 ผลการจัดอันดับ 30 อันดับแรก ในปี 2012 ประเทศไทยอยู่ ในลำดับที่ 17 จาก 183 ประเทศ ทั่วโลก และอยู่ในอันดับที่ 6 ของเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (28ปท.) 10

  11. ผลการจัดอันดับ Doing Business ของประเทศไทย ปี 2548 - 2555 Thailand 20 out of 155 17 out of 183 15 out of 178 12out of 183 20 out of 145 18 out of 175 19 out of 183 13 out of 181 2555 2549 2551 2553 2548 2550 2552 2554 หมายเหตุ ธนาคารโลกทำการศึกษาเพื่อจัดอันดับล่วงหน้า 1 ปี

  12. ผลการพิจารณารางวัล United Nations Public Service Awards ของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ค.ศ. 2007-2011 12

  13. รายงานผลการดำเนินการขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลUnited Nations Public Service Awards 2011 13

  14. รางวัล United Nations Public Service Awards 2011 นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ขึ้นรับรางวัลชนะเลิศ (1st Place Winner) United Nations Public Service Awards 2011 ในสาขาการเสริมสร้างการจัดการความรู้ในภาครัฐ (Advancing Knowledge Managementin Government) ด้วยงานบริการ “สำนักงานขวัญใจบริการประชาชน” จากรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐแทนซาเนีย ในงาน 2011 United Nations and Africa Public Service Day เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554 ณ เมือง Dar es Salaam สาธารณรัฐแทนซาเนีย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ขึ้นรับรางวัลรองชนะเลิศ (2st Place Winner) United Nations Public Service Awards 2011 ใน สาขาการส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วม ในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับ นโยบายผ่านกลไกด้านนวัตกรรม (Fostering participation in policy- making decisions through innovative mechanisms) ด้วยงานบริการ “การบริหารจัดการชลประทานแบบมีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการ ภาคประชาชนและองค์กรผู้ใช้น้ำ” ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

  15. เกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติเกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร และ คณะที่ปรึกษา จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

  16. เดิม:รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนเดิม:รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน • รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน • 1) ประเภทรายกระบวนงาน • 2) ประเภทภาพรวมกระบวนงาน • 3) ประเภทกระบวนงานที่มีความเชื่อมโยงหลายส่วนราชการ • 4) ประเภทนวัตกรรมการให้บริการ

  17. ใหม่:รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติใหม่:รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ(Thailand Public Service Awards) ซึ่งเป็นรางวัลที่พัฒนามาจากรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน จะประกอบด้วย 5 ประเภทรางวัล ได้แก่ 1) รางวัลการบริการภาครัฐยอดเยี่ยม รางวัลที่พิจารณาจากผลการดำเนินการพัฒนาการให้บริการที่มีความโดดเด่นครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐานการบริการ ด้านการบูรณาการการบริการ และด้านนวัตกรรมการบริการ 2) รางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการที่เป็นเลิศ รางวัลที่พิจารณาจากผลการดำเนินการขยายผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของกระบวนงานบริการหนึ่ง แล้วส่งผลให้การให้บริการนั้น ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกหน่วยบริการสาขา

  18. ใหม่:รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติใหม่:รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ(Thailand Public Service Awards) ซึ่งเป็นรางวัลที่พัฒนามาจากรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน จะประกอบด้วย 5 ประเภทรางวัล ได้แก่ 3) รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ รางวัลที่พิจารณาจากผลการดำเนินการปรับปรุงกระบวนงานการให้บริการที่มีการทำงานร่วมกันด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานหรือภาคส่วนต่าง ๆ อันนำไปสู่คุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น 4) รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ รางวัลที่พิจารณาจากการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการด้วยวิธีการที่หลากหลาย หรือรูปแบบทางเลือกใหม่ที่ตรงกับความต้องการของประชาชน อันนำไปสู่การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น

  19. ใหม่:รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติใหม่:รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ(Thailand Public Service Awards) ซึ่งเป็นรางวัลที่พัฒนามาจากรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน จะประกอบด้วย 5 ประเภทรางวัล ได้แก่ 5) รางวัลการพัฒนาการบริการอย่างยั่งยืน รางวัลที่พิจารณาจากการรักษาคุณภาพ และมาตรฐานการให้บริการของส่วนราชการที่ได้รับรางวัลไปแล้ว 3 ปี และแจ้งความจำนงที่จะขอรับรางวัลนี้ ซึ่งจะมีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558

  20. รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน • 1) ประเภทรายกระบวนงาน • 2) ประเภทภาพรวมกระบวนงาน • 3) ประเภทกระบวนงานที่มีความเชื่อมโยงหลายส่วนราชการ • 4) ประเภทนวัตกรรมการให้บริการ • รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • 1) รางวัลการบริการภาครัฐยอดเยี่ยม • 2) รางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการที่เป็นเลิศ • 3) รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ • 4) รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ • 5) รางวัลการพัฒนาการบริการอย่างยั่งยืน

  21. รางวัลการบริการภาครัฐยอดเยี่ยมรางวัลการบริการภาครัฐยอดเยี่ยม • รางวัลการบริการภาครัฐยอดเยี่ยม รางวัลที่พิจารณาจากผลการดำเนินการพัฒนาการให้บริการที่มีความโดดเด่นครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านมาตรฐานการบริการ 2.ด้านการบูรณาการการบริการ และ 3.ด้านนวัตกรรมการบริการ

  22. รางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการที่เป็นเลิศ • รางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการที่เป็นเลิศ รางวัลที่พิจารณาจากผลการดำเนินการขยายผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของกระบวนงานบริการหนึ่ง แล้วส่งผลให้การให้บริการนั้น ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกหน่วยบริการสาขา เงื่อนไขการเสนอกระบวนงานเพื่อขอรับรางวัล ดังนี้ 1) ผู้เสนอขอรับรางวัล เป็น ส่วนราชการ (กรม) เท่านั้น 2) เป็นกระบวนงานหลักที่มีความสำคัญของหน่วยงาน 3) เป็นกระบวนงานที่มีการให้บริการในหน่วยบริการไม่น้อยกว่า 5 แห่ง 4) พิจารณาจากผลงานในทุกหน่วยบริการ ซึ่งอาจมีทั้งในส่วนกลาง (กรม) และส่วนภูมิภาค

  23. รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ • รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ รางวัลที่พิจารณาจากผลการดำเนินการปรับปรุงกระบวนงานการให้บริการที่มีการทำงานร่วมกันด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานหรือภาคส่วนต่าง ๆ อันนำไปสู่คุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น เงื่อนไขการเสนอกระบวนงานเพื่อขอรับรางวัล ดังนี้ เป็นกระบวนงานที่มีลักษณะการบริการที่ต้องผ่านการพิจารณาหลายส่วนราชการ และเป็นกระบวนงานที่มีขั้นตอนการดำเนินการผ่านการพิจารณาหรือความเห็นชอบอย่างน้อย 3 ส่วนราชการ (กรม/จังหวัด/ท้องถิ่น) โดยให้ส่วนราชการผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติเป็นผู้เสนอขอรับรางวัล หรือเป็นกระบวนงานที่มีความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ส่วนราชการในการปรับปรุงและพัฒนาแล้วมีผลทำให้คุณภาพการให้บริการดีขึ้น

  24. รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศรางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ • รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ รางวัลที่พิจารณาจากการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการด้วยวิธีการที่หลากหลาย หรือรูปแบบทางเลือกใหม่ที่ตรงกับความต้องการของประชาชน อันนำไปสู่การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ ที่เป็นนวัตกรรม ได้แก่ 1) การสร้างสรรค์งานบริการใหม่ที่สามารถสร้างประโยชน์กับประชาชน 2) การสร้างสรรค์วิธีการทำงานในเรื่องขั้นตอนการทำงานหรือวิธีการปฏิบัติงานใหม่ในกระบวนการให้บริการที่สามารถลดเวลาและขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างเฉียบพลัน 3) การนำเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้ในการให้บริการ เช่น การพัฒนาหรือคิดค้นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำให้การให้บริการหรือการปฏิบัติงานมีความรวดเร็วขึ้น หรือการเพิ่มรูปแบบช่องทางการให้บริการที่สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงานได้ เป็นต้น 4) การเพิ่มคุณลักษณะใหม่ให้กับงานบริการเดิม ซึ่งเป็นการเพิ่มรูปแบบการเข้าถึงบริการ เช่น การทำงานเชิงรุกที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น

  25. รางวัลการพัฒนาการบริการอย่างยั่งยืนรางวัลการพัฒนาการบริการอย่างยั่งยืน • รางวัลการพัฒนาการบริการอย่างยั่งยืน รางวัลที่พิจารณาจากการรักษาคุณภาพ และมาตรฐานการให้บริการของส่วนราชการที่ได้รับรางวัลไปแล้ว 3 ปี และแจ้งความจำนงที่จะขอรับรางวัลนี้ ซึ่งจะมีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558

  26. เกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติเกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • เกณฑ์การพิจารณารางวัล แบ่งเกณฑ์การประเมินออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 พิจารณาที่กระบวนการจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการใน 7 ประเด็น มีคะแนนเต็ม 600 คะแนน โดยมีประเด็นในการพิจารณา ดังนี้ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ 2) การให้บริการที่มีคุณภาพ 3) การให้ความสำคัญกับความคิดเห็น และคำติชมของประชาชน 4) การส่งเสริมการทำงานแบบหุ้นส่วน 5) การเข้าถึงบริการ และการส่งเสริมให้เกิดการเสมอภาคในการรับบริการ 6) การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการ 7) การเสนอแนวคิดใหม่

  27. เกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติเกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • เกณฑ์การพิจารณารางวัล แบ่งเกณฑ์การประเมินออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 2 พิจารณาที่ผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ใน 3 มิติ คะแนนเต็ม 400 คะแนน โดยมีมิติในการพิจารณา ดังนี้ 1) มิติประสิทธิภาพการให้บริการ 2) มิติคุณภาพการให้บริการ 3) มิติความคุ้มค่า

  28. เกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติเกณฑ์รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ

  29. ส่วนที่ 1 การจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประกอบด้วย 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ 1.1) มีการปรับปรุง/ลดขั้นตอน หรือปรับปรุงกระบวนการทำงาน/กระบวนการ ให้บริการ หรือดำเนินการอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ 2) การให้บริการที่มีคุณภาพ 2.1) มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เช่น การกำหนดนโยบาย หรือกลยุทธ์ขององค์การ โดยคำนึงถึงผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 2.2)มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ (ทำให้กระบวนการให้บริการมีความคล่องตัว มากขึ้น) 2.3)มีมาตรฐานในการให้บริการของทุกหน่วยบริการ (คู่มือการปฏิบัติงาน/การให้บริการ ระยะเวลาที่ชัดเจน และพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่) 2.4)มีความเป็นเอกลักษณ์ของหน่วยบริการทั้งหมด เช่น แผนผังสำนักงาน เครื่องแต่งกาย การให้บริการนอกเวลาทำการ ป้าย สัญลักษณ์ต่างๆ

  30. ส่วนที่ 1 การจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประกอบด้วย 3) การให้ความสำคัญกับความคิดเห็นและคำติชมของประชาชน 3.1) มีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นที่มีประสิทธิภาพ/ มีการจัดกิจกรรมในการ รวบรวมความคิดเห็น/ความพึงพอใจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางาน/การบริการ 4) การส่งเสริมการทำงานแบบหุ้นส่วน 4.1) มีกลไกในการเปิดโอกาส/สนับสนุนให้ภาคส่วนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการ ปฏิบัติงาน/บริการ (เช่น จัดช่องทางให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในบริการภาครัฐ การให้ คำปรึกษาแนะนำ การสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน) 5) การเข้าถึงบริการ และการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคในการรับบริการ 5.1) สามารถเข้าถึงบริการได้หลายช่องทาง หรือสามารถเข้าถึงบริการของทุกหน่วยที่ เกี่ยวข้องได้ในจุดเดียว (จำนวนจุดบริการที่ลดลงจากการบูรณาการการทำงาน) 5.2) ขยายการให้บริการไปยังกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น คนยากจน คนพิการ เป็นต้น และประชาชนมากขึ้น

  31. ส่วนที่ 1 การจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประกอบด้วย 6) การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการ 6.1) มีการสร้างวัฒนธรรมองค์การ ให้มี Service mind 6.2) มีการสร้างความมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรในการปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน/บริการ 6.3) มีการบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ 7) การเสนอแนวคิดใหม่ 7.1) มีการให้ความสำคัญกับสิ่งท้าทาย(เน้นปัจจัยภายนอกที่ถือเป็น Big Change) ขององค์กร(ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมในการให้บริการ) 7.2) มีการสร้างสรรค์การให้บริการใหม่ รูปแบบ วิธีการ คุณลักษณะ) ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 7.3) มีการนำองค์ความรู้/เทคโนโลยีใหม่ มาใช้ในการปฏิบัติงาน/บริการ

  32. ส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการ ประกอบด้วย 1) มิติประสิทธิภาพการให้บริการ 1.1) การลดขั้นตอน และระยะเวลาในการให้บริการ 1.2)การดำเนินการตามมาตรฐานงานที่กำหนด 1.3)ผลของตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการให้บริการอื่นๆ 2) มิติคุณภาพการให้บริการ 2.1)ความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2.2) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย /ความพึงพอใจของภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามาร่วม ในการปฏิบัติงานหรือบริการ 2.3) ความไม่พึงพอใจ/ข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ

  33. ส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการ ประกอบด้วย 3) มิติความคุ้มค่า 3.1)การลดค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงบริการของประชาชน 3.2) การลดต้นทุน/ผลิตภาพการให้บริการของหน่วยงาน 3.3) ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน โดยรวม

  34. รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ • ระดับรางวัลมี 3 ระดับคือ • ระดับยอดเยี่ยม • ระดับดีเด่น • ระดับดี • ระดับยอดเยี่ยม หน่วยงานที่จะพิจารณาให้ได้รับรางวัลต้องมีการดำเนินการที่โดดเด่นครบทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านมาตรฐานการบริการ ด้านการบูรณาการการบริการ และด้านนวัตกรรมการบริการ • ระดับดีเด่น หน่วยงานที่จะพิจารณาให้ได้รับรางวัลต้องมีผลคะแนนรวมของกระบวนการจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและผลลัพธ์การดำเนินการ ไม่น้อยกว่า 800 คะแนน • ระดับดี หน่วยงานที่จะพิจารณาให้ได้รับรางวัลต้องมีผลคะแนนรวมของกระบวนการจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและผลลัพธ์การดำเนินการ ได้คะแนนมากกว่า 750 คะแนน แต่ไม่ถึง 800 คะแนน

  35. รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ 1.รางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการ • ระดับดีเด่น ต้องได้คะแนนส่วนที่ 1 ด้านการให้บริการที่มีคุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และคะแนนทั้งสองส่วนรวมกันต้องไม่น้อยกว่า 800 คะแนน • ระดับดี ต้องได้คะแนนส่วนที่ 1 ด้านการให้บริการที่มีคุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และคะแนนทั้งสองส่วนรวมกันต้องไม่น้อยกว่า 750 คะแนน 2.รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ • ระดับดีเด่น ต้องได้คะแนนส่วนที่ 1 ด้านการส่งเสริมการทำงานแบบหุ้นส่วนและการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคในการรับบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และคะแนนทั้งสองส่วนรวมกันต้องไม่น้อยกว่า 800 คะแนน • ระดับดี ต้องได้คะแนนส่วนที่ 1 ด้านการส่งเสริมการทำงานแบบหุ้นส่วนและการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคในการรับบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และคะแนนทั้งสองส่วนรวมกันต้องไม่น้อยกว่า 750 คะแนน

  36. รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ 3. รางวัลนวัตกรรมการให้บริการ • ระดับดีเด่น ต้องได้คะแนนส่วนที่ 1 ด้านการเสนอแนวคิดใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และคะแนนทั้งสองส่วนรวมกันต้องไม่น้อยกว่า 800 คะแนน • ระดับดี ต้องได้คะแนนส่วนที่ 1 ด้านการเสนอแนวคิดใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และคะแนนทั้งสองส่วนรวมกันต้องไม่น้อยกว่า 750 คะแนน

  37. ขั้นตอนการพิจารณารางวัลขั้นตอนการพิจารณารางวัล

  38. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  39. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  40. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  41. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  42. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  43. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  44. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  45. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  46. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  47. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

  48. การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล

More Related