350 likes | 526 Views
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. ประเด็นปัญหาและสาเหตุ. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้านขาดความชัดเจน
E N D
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
ประเด็นปัญหาและสาเหตุประเด็นปัญหาและสาเหตุ • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้านขาดความชัดเจน • สาเหตุความต้องการของท้องถิ่น, การเมือง และประเทศเพื่อนบ้าน • ระบบโลจิสติกส์ และการขนส่งภายในประเทศขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ • สาเหตุขาดการจัดการเป็นระบบ, สถานีรวบรวมและกระจายสินค้าไม่เพียงพอ และขาดการประสาน/เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน • กฎระเบียบวิธีการการขนส่งข้ามแดน ตลอดจนกฎหมายของแต่ละประเทศแตกต่างกัน รวมทั้ง ขาดการประสานงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด • สาเหตุ ความแตกต่างด้านวิธีการ กฎระเบียบ และขาดการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด
ส่งเสริมยุทธศาสตร์หลักของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอินโดจีนส่งเสริมยุทธศาสตร์หลักของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอินโดจีน • จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน • ด้านโครงสร้างพื้นฐาน • ด้านการจัดการด้าน Logistics ภายในประเทศ • ด้านการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าข้ามแดน
โครงสร้างพื้นฐานทางถนนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน โครงข่ายทางหลวงของประเทศไทย มีความยาว ทั้งสิ้น 51,777กม.
โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ รางรถไฟในประเทศไทย มีความยาวประมาณ 4,180 กม. และเชื่อมต่อกับ 46 จังหวัด
โครงสร้างพื้นฐานทางลำน้ำโครงสร้างพื้นฐานทางลำน้ำ โครงข่ายการขนส่งสินค้าทางลำน้ำระหว่างประเทศ โครงข่ายการขนส่งสินค้าทางลำน้ำภายในประเทศ
โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ ระหว่างประเทศ
โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ
ปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศ หน่วย: ล้านตัน-กม. ที่มา: สำนักแผนงาน สนข * ระยะทางที่ใช้ในการคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยที่ได้จากแบบจำลอง
ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศปริมาณการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศ หน่วย: พันคน ที่มา: กระทรวงคมนาคม
ข้อมูลการค้าชายแดน พ.ศ. 2548 ไทย - จีนตอนใต้ นำเข้า 1,058ลบ. ส่งออก 4,211ลบ. ไทย – ลาว นำเข้า 5,745ลบ. ส่งออก 32,802 ลบ. ไทย - พม่า นำเข้า 65,568 ลบ. ส่งออก 23,047 ลบ. ไทย - กัมพูชา นำเข้า 1,067 ลบ. ส่งออก 20,175 ลบ. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ หน่วย : ล้านบาท ไทย - มาเลเชีย นำเข้า 83,356 ลบ. ส่งออก 188,868 ลบ.
ช่องทางการค้าระหว่าง ไทย – ประเทศเพื่อนบ้าน
ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: มันสำปะหลัง
ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: ยางพารา
ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: แผงวงจรไฟฟ้า
Logistic Cost/GDP (%) Thailand19 % USA8.5 % Japan8.5 % West -EUR6.5 % Singapore 7 % เปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยกับประเทศต่างๆ ที่มา:สภาพัฒน์ฯ, 2548
ต้นทุนบริหารคลังสินค้า 7% ต้นทุนค่าขนส่ง 7.5% ต้นทุนบริหารจัดการ 4% ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย 19% ของ GDP ที่มา:สภาพัฒน์ฯ, 2548
ปัญหาการขนส่งข้ามแดน • กฎระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งที่แตกต่างกัน อาทิ มาตรฐานรถบรรทุก มาตรฐานน้ำหนักสูงสุดในการบรรทุก ใบอนุญาตผู้ขับขี่ หรือใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น • โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งยังไม่เพียงพอ • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังคงมีน้อยซึ่งในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้นกับระบบการขนส่งแบบครบวงจร • เงื่อนไขที่เข้มงวดเกี่ยวกับวีซ่าและการเข้าเมืองมักทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งระหว่างประเทศ • การปกป้องอุตสาหกรรมขนส่งภายในประเทศสร้างแนวปฏิบัติหรือกลไกทางกฎหมายเพื่อจำกัดปริมาณผู้ประกอบการหรือจำกัดปริมาณการขนส่ง
ปัญหาการขนส่งข้ามแดน (ต่อ) • การประกันภัยทั้งกรณีที่เป็นประกันสินค้าหรือประกันภัยการขนส่งอาจมีราคาแพงและไม่มีระบบประกันภัยระหว่างประเทศในบางประเทศ • ขาดการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยบนเส้นทางขนส่งผ่านแดน • กรอบกฎหมายมีไม่เพียงพอและชัดเจน • ขาดระบบขนส่งผ่านแดนด้านศุลกากร • พิธีการและขั้นตอนในการข้ามแดนยุ่งยาก ซับซ้อนและล่าช้าทำให้การขนส่งล่าช้าไปด้วย • การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านแดนที่แตกต่างกัน • ความไม่ชัดเจนในเรื่องกฎระเบียบหรืออาจมีการแก้ไขกฎระเบียบบ่อยโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
การวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งการวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน • ปริมาณสินค้าผ่านแดน • ความสำคัญของจุดผ่านแดนตามแผนพัฒนาของไทย • การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเพื่อนบ้าน • ศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน • ศักยภาพการพัฒนาต่อเนื่องกับประเทศอื่นๆ การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization)
การวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (ต่อ) ด้าน Logistics • พิจารณาจากการเคลื่อนไหวของสินค้า • การขนส่งในแต่ละรูปแบบและ การเชื่อมโยงผสมผสานกัน • การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การกำหนดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จุดเชื่อมการขนส่ง และ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน การกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริม/ ปรับปรุงกิจกรรมการขนส่ง ผ่านชายแดน • วิเคราะห์ปัญหาในส่วนทวิภาคี • ประมวลผลโดยรวม
กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน กลยุทธ์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน • การจัดอันดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ทางหลวง ทางรถไฟ และทางน้ำ ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังต่อไปนี้ • ไทย – ลาว • ทางหลวง • 1. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต • 2. โครงการทางหลวง R3 เชื่อมโยง เชียงของ (เชียงราย) – ห้วยทราย (บ่อแก้ว) - หลวงน้ำท่า –บ่อเต็น (รวมสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ) • 3.โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3 (นครพนม) –ท่าแขก • 4. โครงการการก่อสร้างถนนเชื่อมท่าเทียบเรือแขวงคำม่วน – ทางหลวงหมายเลข 13 (ใน สปป. ลาว) • 5. โครงการทางหลวงสายห้วยโก๋น (จ.น่าน) – ปากแบ่ง (สปป.ลาว) • ทางรถไฟ • 1. การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายหนองคาย – ท่านาแล้ง – เวียงจันทน์ • 2. โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ เด่นชัย – เชียงราย - จีนตอนใต้ • ทางน้ำ • 1. โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชียงแสน แห่งที่ 2
กลยุทธ์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ต่อ) • ไทย –พม่า • ทางหลวง • 1. โครงการก่อสร้างถนนสายแม่สอด - เมียวดี – เมาะละแหม่ง - ย่างกุ้ง • 2. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 (อ. แม่สาย จ. เชียงราย) • 3. โครงการก่อสร้างถนนสายกาญจนบุรี – ทวาย • ทางน้ำ • 1. โครงการพัฒนาท่าเรือเอนกประสงค์ จังหวัดระนอง • ไทย – กัมพูชา • ทางหลวง • 1. โครงการก่อสร้างทางสายอรัญประเทศ – ศรีโสภณ – เสียมราฐ • 2. โครงการก่อสร้างทางสายอรัญประเทศ – ศรีโสภณ – พระตะบอง – พนมเปญ • 3. โครงการเส้นทางถนนเลียบชายฝั่งทะเลไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ตอนตราด-บ้านหาดเล็ก – เกาะกง - สะแรอัมเปิล – ฮาเตียน – คาเมา • 4. โครงการก่อสร้างถนนสาย 67 ช่องสะงำ – อัลลองเวง – เสียมราฐ • 5. โครงการก่อสร้างทางสายสุรินทร์ – ช่องจอม – กระลัน (เสียมราฐ) • 6. โครงการก่อสร้างทางสายบุรีรีมย์ – บ้านกรวด – บันเตียร์ชะมา - ศรีโสภณ • ทางรถไฟ • 1. โครงการทางรถไฟอรัญประเทศ – ศรีโสภณ (กัมพูชา)
กลยุทธ์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ต่อ) • ไทย – มาเลเซีย • ทางหลวง • 1. โครงการปรับปรุงทางสายหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ • 2. โครงการบูรณะและปรับปรุงทาง อ. หาดใหญ่ – ชายแดนมาเลเชีย (คลองพรวน) • 3. โครงการก่อสร้างถนนบ้านนาทวี-บ้านประกอบ-อลอสตาร์ • 4. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก เชื่อมโยงระหว่าง บ. บูเก๊ะตา อ. แว้ง จ. นราธิวาส กับ บ.บูเก๊ะบุหงา รัฐกลันตัน • 5. โครงการก่อสร้างถนนยะลา-เบตง-ปีนัง • 6. โครงการก่อสร้างทางสายสตูล-รัฐเปอร์ลิส • ทางรถไฟ • 1. โครงการทางรถไฟสายหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์
กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ การพัฒนาโครงข่ายถนน • - การพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) • การก่อสร้างถนนถนนเชื่อมเข้าสู่ท่าข้าวกำนันทรง (Int’l Rice hub) โดยตรง เพื่อสนับสนุนให้ท่าข้าวกำนันทรงเป็นศูนย์กลางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบนานาชาติ • การก่อสร้างถนนเชื่อมเข้าสู่สถานีสินค้าอื่นๆ ทั่วประเทศ • การปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญที่เชื่อมโยงกับประตูการค้าสำคัญให้เป็น 4 ช่องจราจรขึ้นไป • การปรับปรุงถนนช่วงชุมพร – ระนอง เชื่อมท่าเรือระนองให้เป็น 4 ช่องจราจร • การปรับปรุงถนน ทางหลวงหมายเลข 404 และทางหลวงหมายเลข 416 เชื่อมท่าเรือปากบาราให้เป็น 4 ช่องจราจร • การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเส้นทางพิเศษสำหรับรถบรรทุก
กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ • การจัดหาหัวรถจักรและแคร่รถไฟโดยการระดมทุน ตลอดจน การพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อลดปัญหาความล่าช้าในการขนส่ง • การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย • การพัฒนารถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกและสายใต้ เพื่อเชื่อมโยงไปยังท่าเรือแหลมฉบัง • - การก่อสร้างทางรถไฟรางเดี่ยวแนวใหม่เชื่อมเข้าท่าเรือปากบารา สายตรัง – อ. ละงู • - การขยายโครงข่ายทางรถไฟเชื่อมโยงกับจีนทางตอนใต้เป็นโครงการ ความร่วมมือระหว่างจีน พม่า และลาว
กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางลำน้ำและชายฝั่ง • การพัฒนาท่าเรือสาธารณะริมแม่น้ำให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทาง ลำน้ำเชื่อมโยงการขนส่งกับการขนส่งทางบก • การจัดหาเครื่องมือยกขนที่มีประสิทธิภาพ • การพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพฝั่งอ่าวไทยเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ • การพัฒนาท่าเรือเชียงแสน 2 หรือ ท่าเรือเชียงของ • - การพัฒนาและการให้บริการท่าเรือชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบังเพื่อเชื่อมโยงกับการขนส่งทางลำน้ำในภาคกลางและการขนส่งชายฝั่งในภาคใต้ • - การพัฒนาท่าเรือปากบารา พร้อมกิจกรรมหลังท่า เช่น นิคมอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการเป็นประตูการค้าสู่อันดามัน • - การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอกชนให้บริการเรือ Roll on – Roll off ในเส้นทางแหลมฉบัง –สุราษฎร์ธานี หรือ แหลมฉบัง – สุราษฎร์ธานี – สงขลา หรือ แหลมฉบัง – สงขลา
กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางอากาศ • การสนับสนุนการใช้สนามบินสุวรรณภูมิในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย • การพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่และภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค • การขยายพื้นที่ระวางบรรทุกสินค้าไปยังเมืองสำคัญทั่วโลก • - การจัดหาเครื่องบินบรรทุกเช่าเหมาลำ และการจัดให้มีเครื่องบินขนส่งสินค้า • - การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าการเกษตรของเอเชีย • - การก่อสร้างคลังสินค้าในเขตปลอดอากรที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ • - การจัดตั้ง Express Logistics Center
สถานีขนส่งสินค้า อ. เชียงของ จ. เชียงราย สถานีขนส่งสินค้าอ. เมือง จ. หนองคาย สถานีขนส่งสินค้าอ. แม่สอด จ. ตาก สถานีขนส่งสินค้า อ. เมือง จ. มุกดาหาร สถานีรถไฟท่าพระ สถานีรถไฟกุดจิก สถานีรถไฟวิสัย สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ สถานีขนส่งสินค้า ย่านกองเก็บตู้สินค้า กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาจุดเชื่อมโยงการขนส่ง • การพัฒนาย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) บริเวณที่สถานีรถไฟกุดจิก จ. นครราชสีมา, สถานีรถไฟท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น, สถานีรถไฟวิสัย จ.ชุมพร, สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จ.สุราษฎร์ธานี • การพัฒนาท่าข้าวกำนันทรงเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรของภาคเหนือตอนล่าง • - การพัฒนาพื้นที่ อ. ท่าเรือ อ. นครหลวง หรือ อ. บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา และ อ.เมือง หรือ อ. ป่าโมก จ. อ่างทอง • - การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าชายแดนที่ อ. แม่สอด จ. ตาก, อ. เมือง จ. หนองคาย, อ. เมือง จ. มุกดาหาร และอ. เชียงของ จ.เชียงราย
กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาด้านการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศ • ผลักดันโครงการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Services: OSS ) • เพิ่มมาตรฐานงานที่เกี่ยวกับการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ • - มาตรฐานโครงสร้างทางหลวง • - มาตรฐานของรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ • - มาตรฐานของสิ่งอำนวยความสะดวก • - มาตรฐานการตรวจสภาพรถยนต์และรถบรรทุก • - กำหนดจำนวนและประเภทของสินค้าที่สามารถขนส่งข้ามแดนกัน • ปรับปรุงระบบการควบคุมกำกับดูแลด้านความสามารถทางวิชาชีพ ความมั่นคงทางการเงิน การทำประกันภัยและการชดเชยค่าเสียหายของบริษัทผู้ประกอบการขนส่ง • - พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติงาน • - ฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ • - ประชาสัมพันธ์และอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับ ความปลอดภัยในการใช้ถนน
สรุป • พิจารณานำกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ด้าน Logistics และด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน) ไปกำหนดเป็นแผนงาน/ โครงการ ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง • กลยุทธ์ทั้ง 3 ด้านใช้เป็นกรอบแนวคิดในการเจรจาด้านคมนาคมขนส่งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี