440 likes | 597 Views
ขยายสะพานการค้าจากเพื่อนบ้านสู่ไทย. การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 เวลา 12.45 – 16.00 น. ณ ห้องเชียงรุ้ง โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย.
E N D
ขยายสะพานการค้าจากเพื่อนบ้านสู่ไทยขยายสะพานการค้าจากเพื่อนบ้านสู่ไทย การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 เวลา 12.45 – 16.00 น. ณ ห้องเชียงรุ้ง โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย
กรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนกรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน ASEAN-DPs WTO MYANMAR ACMECS AFTA LAOS CAMBODIA กรอบอื่นๆ AISP
อัตราอากรศุลกากร • อัตราอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 2. อัตราอากรปกติ ซึ่งใช้เป็นการทั่วไปกับทุกประเทศ • อัตราอากรผูกพันสำหรับสมาชิก WTO อัตราอากรขาเข้าภายใต้กรอบการปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) 4. อัตราอากรสำหรับสิทธิพิเศษ อัตราอากรขาเข้าเพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันในการให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรตามความตกลงพิเศษต่างๆ เช่น CEPT (AFTA), AISP, GSTP, TAFTA, TNZCEP, ASEAN-China
ความตกลง FTA ของไทย ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจใกล้ชิดยิ่งขึ้น ไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) ความตกลงระหว่างไทย-ญี่ปุ่นสำหรับ ความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (JTEPA)
ASEAN-คู่เจรจา ASEAN-จีน ASEAN-ญี่ปุ่น ASEAN-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ASEAN-อินเดีย ASEAN-เกาหลี ASEAN-EU
เขตการค้าเสรีอาเซียน ตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 ประเทศสมาชิก: บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย (เดิม) กัมพูชาลาวพม่าเวียดนาม (ใหม่) เพื่อขยายการค้าภายในภูมิภาค ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อประสิทธิภาพการผลิตของประเทศสมาชิก และเพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีโลก
การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า - AFTA ลดอัตราอากรศุลกากร (Tariff) ระหว่างกันเป็นร้อยละ 0 ครอบคลุม ทุกรายการสินค้า สมาชิกเดิม ปี 2553 สมาชิกใหม่ ปี 2558 สถานะปัจจุบัน - สมาชิกเดิม มีสินค้าที่มีอัตราภาษีร้อยละ 0-5 คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนรายการสินค้าในบัญชีลดภาษี (Inclusion List) - สมาชิกใหม่ มีสินค้าที่มีอัตราภาษีร้อยละ 0-5 คิดเป็นร้อยละ 76.85 ของจำนวนรายการสินค้าในบัญชีลดภาษี (Inclusion List)
การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า - AFTA • แผนการลดภาษีของไทย • ปัจจุบันสินค้าทุกรายการมีอัตราภาษีสินค้าร้อยละ 0-5(ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว 13 รายการ) • ลดภาษีสินค้าในบัญชีลดภาษี จำนวนร้อยละ 80 ลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2550 • ลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553
การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า - AFTA การขอใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน • สินค้าต้องมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในอาเซียนมากกว่าร้อยละ 40 • มีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form D): กรมการค้าต่างประเทศ • ระเบียบวิธีปฏิบัติทางศุลกากรในการผ่านพิธีการ: กรมศุลกากร • ประโยชน์ที่จะได้รับ • นำเข้าวัตถุดิบจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้ในราคาถูก • ส่งสินค้าไปขายยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้ในอัตราภาษีต่ำ
AISP มาตรการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences : AISP ) ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ( Initiative for ASEAN Integration: IAI ) เป็นการให้ลักษณะทวิภาคีเป็นการให้ฝ่ายเดียวโดยไม่มีการเจรจาต่อรอง เพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคขยายตัว มากขึ้น และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับสมาชิกใหม่อาเซียน กรอบเวลา 8 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ประเทศผู้ได้สิทธิ AISP จะต้องแจ้งรายการสินค้าที่ต้องการจะได้รับสิทธิ AISP แก่ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ โดยพิจารณาให้เป็นรายสินค้าปีต่อปี อัตราภาษีที่จัดเก็บอยู่ระหว่างร้อยละ 0 - 5
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin)ของ AISP สินค้าเกษตร สินค้าเกษตร หมายถึง สินค้าในพิกัดตอนที่ 01-24 และรวมถึงสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันในองค์การการค้าโลก (WTO) ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) : สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นทั้งหมดโดยไม่มีการนำเข้า หรือ สินค้าต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกประเทศเดียว หรือ รวมกับวัตถุดิบจากไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 สินค้าอุตสาหกรรม ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) : สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นทั้งหมดโดยไม่มีการนำเข้า หรือ สินค้าต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกประเทศเดียว หรือ รวมกับวัตถุดิบจากไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
การระงับสิทธิ AISP ไทยสามารถระงับการให้สิทธิ AISP ได้ในกรณี: มูลค่าการนำเข้าของสินค้าที่ได้รับสิทธิ AISP เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 มีผู้ผลิตภายในประเทศร้องเรียนต่อกระทรวงการคลังว่า การนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษ AISP มีผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยมีข้อมูลที่ชัดเจนและเชื่อถือได้สนับสนุน
ตารางแสดงการให้สิทธิ AISPของไทย แก่ CLM ในปี 2550 หน่วย: จำนวนรายการ
ตารางแสดงการให้สิทธิ AISPของไทย แก่ CLM
ตารางแสดงการให้สิทธิ AISPของไทย แก่ CLM
การนำเข้าสูงสุดของแต่ละประเทศการนำเข้าสูงสุดของแต่ละประเทศ
ACMECS ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS: Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคที่จัดตั้ง ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล โดยมีประเทศสมาชิก คือ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม CONTRACT FARMING โครงการ Contract Farming เป็นโครงการที่เน้นการลงทุนร่วมในประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีพืชเป้าหมายเป็นพืชที่ขาดแคลนหรือผลิตในประเทศได้ไม่เพียงพอ
CONTRACT FARMING พืชเป้าหมาย: ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยูคาลิปตัส ถั่วเหลือง ถั่วลิสง (ปี 50-51) ถั่วเขียวผิวมัน งา ข้าวโพดหวาน ลูกเดือย ละหุ่ง ประโยชน์ที่ ไทยจะได้รับจาก Contract Farming สร้างงาน สร้างรายได้ ขยายการลงทุน ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานผิดกฎหมาย ลดต้นทุนการผลิตของไทย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประกาศพิเศษอื่นๆ • การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากพม่า (ตั้งแต่ปี 2549) - พืชผัก ผลไม้ (ตอนที่ 7 และ 8) - โครงการพัฒนาดอยตุง สินค้าต่างๆ เช่น โค กระบือ น้ำผึ้ง ขิง ข้าวสาลี บาร์เล่ย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย ฝ้าย งา ดอกคำฝอย น้ำมันพืช ต่างๆ แตงร้าน หอมหัวใหญ่ เห็ด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ด้าย เป็นต้น - ด่านศุลกากรแม่สาย เชียงดาว
ประกาศพิเศษอื่นๆ • การลดอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากลาว ตามมาตรา 14 (ประกาศตั้งแต่ปี 2549) - ข้าวโพด พรรณไม้เพื่อเภสัชกรรม ให้เก็บอากรที่ไม่เกิน 5% - สินค้าต่างๆ เช่น ขนหมู ขนเป็ด ขนม้า มะเขือเทศ กระเทียม กาแฟ กระวาน ฝ้าย งา กำยาน นุ่น ไม้ปาเก้ต์ ประตู ป่าน ปอกระเจา เฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นต้น
ภาวะการค้าไทยกับพม่า ลาว และจีน หน่วย : ล้านบาท
ภาวะการค้าชายแดนไทย (ภาคเหนือ 8 ด่าน) กับพม่า ลาว และจีน หน่วย : ล้านบาท
สัดส่วนการนำเข้าของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (ทุกประเทศ)
สัดส่วนการส่งออกของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (ทุกประเทศ)
ภาวะการค้าชายแดนไทย (ภาคเหนือ 8 ด่าน) กับพม่า หน่วย : ล้านบาท *
สัดส่วนการนำเข้าของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (จากพม่า)
สัดส่วนการส่งออกของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (ไปพม่า)
การค้าชายแดนไทย-พม่า • ด่านที่สำคัญ - แม่สอด แม่สาย เชียงแสน • สินค้าส่งออกของไทยไปพม่าที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงอุตสาหกรรมการเกษตร (เช่น น้ำมันปาล์ม)ของใช้ประจำวัน (เช่นผงชูรส ยาแก้ปวด) ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ประมงและปศุสัตว์ กสิกรรม ไม้ และอุตสาหกรรมการเกษตร
หน่วย : ล้านบาท ภาวะการค้าชายแดนไทยภาคเหนือ 8 ด่านกับลาว
สัดส่วนการนำเข้าของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (จากลาว)
สัดส่วนการส่งออกของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (ไปลาว)
การค้าชายแดนไทย-ลาว • ด่านที่สำคัญ - เชียงของ ทุ่งช้าง เชียงแสน • สินค้าส่งออกของไทยไปลาวที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ยานพาหนะอุปกรณ์และชิ้นส่วน สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภคและสิ่งทอขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าประเภท ไม้และไม้แปรรูป ถ่านหิน รวมทั้งสินค้ากสิกรรม
หน่วย : ล้านบาท ภาวะการค้าชายแดนไทยภาคเหนือ 8 ด่านกับจีน *
สัดส่วนการนำเข้าของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (จากจีน)
สัดส่วนการส่งออกของด่านภาคเหนือ 8 ด่าน (ไปจีน)
การค้าชายแดนภาคเหนือ 8 ด่าน ไทย-จีน • ด่านที่สำคัญ - แม่สอด แม่สาย เชียงของ เชียงแสน • สินค้าส่งออกของไทยไปจีนที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าอุปโภคบริโภค น้ำมันเชื้อเพลิงผลไม้ของใช้ประจำวัน ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อชั้นใน สิ่งทอ ประมง
การนำเข้ากระเทียม • กระเทียมเป็นสินค้าโควตาภาษี – WTO 27% ในปริมาณ 65 ตัน นอกโควตา 57% • อัตราภาษีนำเข้ากระเทียม ASEAN-China ในโควตา 0% (ปริมาณ WTO) • โควตานำเข้าจัดสรรให้แก่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว โดย อคส. ยังไม่เคยนำเข้า • AFTA ไม่กำหนดโควตา อัตราภาษี 5%
มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้ามาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า • งบประมาณยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถใน • การแข่งขันของประเทศ 59,000 ล้านบาท • กองทุนปรับโครงสรางการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่ม • ขีดความสามารถการแขงขันของประเทศ • โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของ • ภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบ • จากการเปิดเสรีทางการค้า
กองทุนปรับโครงสรางการผลิตภาคเกษตรฯ กองทุนปรับโครงสรางการผลิตภาคเกษตรฯ • มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 • เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรปฏิรูปผลิตผลเพิ่ม • ประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร • รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และปรับเปลี่ยนการผลิต • จากสินค้าเกษตรที่ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ • วงเงินที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ปี 2549 – 2550 รวม 400 ล้านบาท • อนุมัติโครงการแล้ว 8 โครงการ วงเงินรวม 231 ล้านบาท
โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า • ให้ความช่วยเหลือระยะสั้น แก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในสินค้า • อุตสาหกรรมการเกษตรสินค้าอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจบริการ • ที่ได้รับผลกระทบจาก FTA เพื่อปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถ • แข่งขันได้ โดยให้ความช่วยเหลือแต่ละโครงการเป็นระยะเวลาไม่ • เกิน 3 ปี • ความช่วยเหลือของกองทุน จะอยู่ในรูปของเงินทุนเพื่อสนับสนุนใน • ด้านการศึกษา วิจัยพัฒนา การจัดหาที่ปรึกษา เพื่อช่วยในการปรับปรุง • ธุรกิจ การฝึกอบรมอาชีพใหม่ให้กับคนงาน การจัดฝึกอบรม สัมมนา • และดูงาน • มาตรการช่วยเหลือของกองทุนจะต้องดำเนินการโดยที่ไม่ขัดกับ • พันธกรณีระหว่างประเทศ
โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า • กรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานดำเนินงานโครงการฯ • ในปีงบประมาณ 2550 ได้รับจัดสรรเงินเพื่อดำเนินการ จำนวน 40 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2551ได้รับจัดสรรเงินเพื่อดำเนินการ จำนวน 100 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 140 ล้านบาท • สรุปผลการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 50 – มีนาคม 51 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 9 โครงการ คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 45.58 ล้านบาท