120 likes | 294 Views
เทคนิค การนำกฎเกณฑ์การให้คะแนน ไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน. รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วันที่ 3-4 มิถุนายน พ.ศ. 255 7 บรรยาย ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. หัวข้อ.
E N D
เทคนิคการนำกฎเกณฑ์การให้คะแนน ไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์ ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 3-4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 บรรยาย ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ตัวอย่าง: กฎเกณฑ์หรือแนวทางการให้คะแนนแบบองค์รวม-การเขียน (Cohen & Spenciner, 2003, p.245)
ตัวอย่าง: กฎเกณฑ์หรือแนวทางการให้คะแนนแบบวิเคราะห์-การเขียน (Cohen & Spenciner, 2003, p.246)
ตัวอย่าง:มิติหรือเกณฑ์การวัดประเมิน 1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง: จงเขียนเรียงความจำนวนหลายย่อหน้าที่ประกอบด้วยบทนำ ตัวเนื้อเรื่อง และบทสรุป เพื่อตอบประเด็นคำถามที่นำมาให้อ่าน มาตรวัดประเมิน Criteria(มิติหรือเกณฑ์)
ตัวอย่าง:มิติหรือเกณฑ์การวัดประเมิน 3 ที่มา: http://www.intel.com/content/dam/www/program/education/us/en/documents/assessing-projects/strategies/demonstrating-understanding-rubrics-scoring-guides.pdf
เทคนิคการใช้กฎเกณฑ์การให้คะแนนในการจัดการเรียนการสอน 1 • ใช้กฎเกณฑ์การให้คะแนนเป็นส่วนหนึ่งของการวัดประเมินงานของผู้เรียน และควรแจกให้ผู้เรียนทราบงานที่มอบหมายให้ปฏิบัติพร้อมกับเกณฑ์การให้คะแนน • แจกกฎเกณฑ์การให้คะแนนและเกรดแสดงผลการปฏิบัติงานกลับคืนพร้อมกันไปยังผู้เรียน เพื่อสื่อสารให้ผู้เรียนทราบและปรับปรุง/พัฒนา • ให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยในการพัฒนากฎเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อใช้วัดประเมินผลการเรียนรู้ของตน • ให้ผู้เรียนใช้กฏเกณ์การให้คะแนนวัดประเมินการเรียนรู้ของตนเองและของเพื่อนร่วมชั้น • ควรมีการพูดคุยหรืออภิปรายเกี่ยวกับการวัดประเมินโดยใช้กฎเกณฑ์การให้คะแนน โดยเฉพาะการกำหนดเกณฑ์และคำบรรยายตามมาตรวัดประเมินแต่ละระดับว่าเป็นปรนัย เที่ยงตรง คงเส้นคงวาและยุติธรรมได้ดีเพียงใด • ใช้กฎเกณฑ์การให้คะแนนแบบวิเคราะห์สำหรับให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้ของตนในมิติคุณภาพที่ยังอ่อนด้อยอย่างต่อเนื่อง
เทคนิคการใช้กฎเกณฑ์การให้คะแนนในการจัดการเรียนการสอน 2 • ต้องใช้กฎเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนจาก • Halo effect (ความลำเอียงที่มีอิทธิพลมาจากอาจารย์มีความประทับใจในบุคลิกลักษณะอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะของผู้เรียนที่ต้องการวัดประเมิน) • Item or task carry-over effects (ความคลาดเคลื่อนจากคุณภาพของการวัดประเมินด้วยข้อคำถามหรืองานครั้งแรกส่งผลตกทอดต่อการวัดประเมินด้วยข้อคำถามหรืองานครั้งถัดไปของผู้เรียนคนเดียวกัน) • Test or performance carry-over effects (ความคลาดเคลื่อนจากผลของการวัดประเมินผู้เรียนก่อนหน้าส่งผลตกทอดต่อผลการวัดประเมินผู้เรียนถัดไป) • Order effects (ความคลาดเคลื่อนจากการตรวจให้คะแนนของผู้เรียนลำดับท้ายด้วยแบบแผนไม่คงเส้นคงวาหรือ “ลื่นไถล” ไปจากผู้เรียนในลำดับต้น ด้วยเหตุแห่งความหนื่อยล้าหรือเบื่อหน่ายกับการทำซ้ำ) • Writing and Language Mechanics Effects (ความลำเอียงจากทักษะในการเขียนหรือวาทศิลป์ทางภาษาของผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อคะแนนการวัดประเมิน แม้ว่าจะไม่ได้วัดประเมินความสามารถในการเขียนก็ตาม) Chatterji (2003, pp. 244-245)
หลักการสำคัญให้สารสนเทศป้อนกลับ (Feedback) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 1 • ใช้กฎเกณฑ์/แนวทางการให้คะแนน (Scoring rubrics or guidelines) เป็นแนวทางการให้สารสนเทศป้อนกลับเพื่อความชัดเจน • เน้นการให้สารสนเทศป้อนกลับเชิงเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (มากกว่าการให้สารสนเทศป้อนกลับเชิงเปรียบเทียบระหว่างผู้เรียนด้วยกัน) • ส่งเสริมบรรยากาศในหมู่ผู้เรียนให้มีการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ มีการคิดใคร่ครวญทวนสอบความคิดและการเรียนรู้ของตนเอง และการยอมรับจุดจำกัดที่ต้องพัฒนาปรับปรุง • ใช้ผลงานหรือทักษะจากการปฏิบัติงานของผู้เรียนเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแต่ละระดับเพื่อบ่งชี้ข้อดีและข้อจำกัดในการเรียนรู้ของผู้เรียน • ควรเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดกระบวนการเรียนรู้ (มิใช่เฉพาะตอนจบการสอนแต่ละหัวข้อ) • ครู/อาจารย์และผู้เรียนต้องเข้าใจร่วมกันว่าการให้สารสนเทศป้อนกลับช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ ต้องเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างกัน
หลักการสำคัญให้สารสนเทศป้อนกลับเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 2 • ควรรวบรวมและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดสำคัญ (Key errors) ที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนว่ามีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุอะไร และจะให้สารสนเทศป้อนกลับอะไรเพื่อช่วยให้ผู้เรียนหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น (อาจกระทำผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน) • ใช้กลยุทธ์การเสริมแรงทางบวกด้วยการสื่อสารให้ผู้เรียนรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) ในขณะให้สารสนเทศป้อนกลับเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ • สื่อสารด้วยถ้อยคำทางภาษาที่เข้าใจง่ายๆ ตรงประเด็นที่ต้องพัฒนาปรับปรุง และมีระดับความยากง่ายเหมาะสม (ไม่ง่ายเกินไปจนขาดความท้าทาย หรือยากเกินไปจนเกิดความท้อแท้ !!!)
เอกสารอ้างอิง Chatterji, M. (2003). Designing and using tools for educational assessment. Boston, MA: Pearson Education. Cohen, L.G., & Spenciner, L.J. (2003). Assessment of children and youth with special needs (2nd ed.). Boston, MA: Pearson Education. Links to examples of rubrics: http://www.intel.com/content/dam/www/program/education/us/ en/documents/assessing-projects/strategies/demonstrating-understanding-rubrics-scoring-guides.pdf
สวัสดี • รศ.ดร. องอาจ นัยพัฒน์ • Ong-Art Naiyapatana • Ong-art@swu.ac.th • โทร 089-169-9141