620 likes | 1.24k Views
สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย. สภาวิศวกร COUNCIL OF ENGINEERS. THE CONSULTING ENGINEERS ASSOCIATION OF THAILAND. ปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้าง ที่เกี่ยวกับกฎหมาย. ที่นิติบุคคลและวิศวกรควรทราบ. 1. หัวข้อการนำเสนอ. 01 – ประเภทของสัญญาจ้างก่อสร้าง 02 – สัญญามาตรฐาน
E N D
สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทยสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร COUNCIL OF ENGINEERS THE CONSULTING ENGINEERS ASSOCIATION OF THAILAND ปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้างที่เกี่ยวกับกฎหมาย ที่นิติบุคคลและวิศวกรควรทราบ 1
หัวข้อการนำเสนอ • 01 – ประเภทของสัญญาจ้างก่อสร้าง • 02 – สัญญามาตรฐาน • 03 – รูปแบบของสัญญามาตรฐาน • 04 – ข้อสัญญาที่ดี • 05 – จำเลยร่วม • 06 – วิธีการชั่วคราว • 07 – ศาล • 08 – อนุญาโตตุลาการ • 09 – ผู้ชี้ขาด • 10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พ.ร.บ. • 11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง • 12 – ผู้ว่าจ้าง • 13 – ผู้รับเหมา • 14 – ผู้รับเหมาช่วง • 15 – หลักประกัน • 16 – ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) • 17 – ประกันภัย • 18 – อายุความ • 19 – โอนสิทธิในการรับค่าจ้าง • 20 – ค่าจ้าง Back to Back • 21 – เหตุสุดวิสัย • 22 – ขยายระยะเวลาก่อสร้าง • 23 – ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น • 24 – การบอกเลิกสัญญา • 25 – การแล้วเสร็จของงาน
01 - ประเภทของสัญญาจ้างก่อสร้าง Unit Cost Cost Plus (Prime Cost Sum – Pay what is Spent) Turn Key Design & Build GMP (Guarantee Maximum Price) Build, Operate & Transfer จ้างเหมา Lump Sum
02 - สัญญามาตรฐาน FIDIC (International Federation of Consulting Engineers) JCT (Joint Contracts Tribunal) ICE (Institute of Civil Engineers) ACE (Association of Consulting Engineers) ACA (Association of Consultant Architects) สมาคมสถาปนิกสยาม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย คณะกรรมการพัสดุ
03 – รูปแบบของสัญญามาตรฐาน ข้อตกลง (Articles of Agreement) เงื่อนไขทั่วไป (General Conditions) เงื่อนไขเฉพาะโครงการ (Conditions of Particular Application, Particular Conditions หรือ Special Conditions) เอกสารผนวก (Appendices)
04 - ข้อสัญญาที่ดี ชัดเจน (Clarity) ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (Simplicity) ครอบคลุม (Comprehensive) เป็นธรรม (Fair) มีขั้นตอนในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีวิธีการลดความขัดแย้ง มีทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ไม่ยุ่งยาก รวดเร็ว และไม่สิ้นเปลือง
04 – ข้อสัญญาที่ดี (ต่อ) จ้างเหมา กับ VAT ฎีกา 1159/2550 • ขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 353 ลดเหลือร้อยละ 7 สัญญาว่าจ้างมีข้อความว่า... • “ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้างจำนวน 40,499,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือราคาเหล่ารวมเป็นเกณฑ์...” • การที่สัญญาระบุจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยเป็นเพียงกำหนดรายละเอียดเท่านั้น หามีผลทำให้สัญญาจ้างเหมาราคารวมกลับกลายเป็นสัญญาแยกความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปต่างหากไม่ จำเลยจึงต้องชำระส่วนต่างของภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์
05 – จำเลยร่วม ป.วิ-แพ่ง ม.57(3)(ก) เพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ผู้รับประกันภัย ผู้ร่วมรับผิดอื่น
06 - วิธีการชั่วคราว • ศาลยุติธรรม (ห้ามก่อสร้างเป็นการชั่วคราว) • เอกชน กับ เอกชน • ศาลปกครอง (ยกเลิกการประกวดราคา) • เอกชน กับ หน่วยงานทางปกครอง
06 – วิธีการชั่วคราว (ต่อ) คำสั่งห้ามชั่วคราว - ศาลปกครอง • คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 361/2546 “การกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีในระหว่างการพิจารณาคดี มีหลักเกณฑ์สองประการคือ… • หนึ่ง คำฟ้องต้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ที่ขอนั้นมาใช้ได้ โดยต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่าผู้ฟ้องคดีตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้อง และ... • สอง จะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐ
07 - ศาล “ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร แต่เพียงแห่งเดียว” ใช้ไม่ได้แล้ว ต้องเลิกสัญญา ใช้เวลานาน เสียค่าใช้จ่ายสูง
07 – ศาล [ต่อ] ศาล – ป วิแพ่ง ม. 7(4) ยกเลิกปี 2534 • ถ้าได้มีการตกลงกันไว้เป็นหนังสือว่า... • คู่สัญญาได้ยินยอมกันว่าบรรดาข้อพิพาทที่ได้เกิดขึ้นแล้วก็ดี หรือข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อสัญญาก็ดี... • ให้เสนอต่อศาลชั้นต้นศาลใดศาลหนึ่งตามที่ระบุไว้ ซึ่งไม่มีหรืออาจไม่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ข้อตกลงเช่นนี้ให้เป็นอันผูกพันกันได้... • แต่ศาลที่ได้ตกลงกันไว้นั้นจะต้องเป็นศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น หรือมูลคดีของเรื่องนั้นได้เกิดขึ้น หรือทรัพย์สินที่พิพาทกันนั้นตั้งอยู่ภายในเขตศาลแห่งนั้น ๆ
07 – ศาล [ต่อ] ศาล – ป วิแพ่ง มาตรา 4 ปัจจุบัน เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น (1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ (2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมี ภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล การที่จะเขียนสัญญาว่า “หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น คู่สัญญาตกลงให้ฟ้องที่ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร แต่เพียงแห่งเดียว” เหมือนแต่ก่อน ใช้บังคับไม่ได้แล้ว และอาจก่อให้เกิดปัญหาฟ้องผิดศาลได้
07 – ศาล [ต่อ] ศาล – ฎีกา 9430/2554 • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) บัญญัติว่า... • คำฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่... • สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่าง จำเลย กับ หจก ว. ระบุว่าทำขึ้น ณ ที่ทำการจำเลย ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตของศาลจังหวัดพล... • หจก ว. โอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างตามสัญญาให้โจทก์ เมื่อสัญญาที่เป็นมูลหนี้ให้เกิดการโอนสิทธิเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดพล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแขวงขอนแก่น
08 - อนุญาโตตุลาการ • เข้ามาแทนที่ศาล • พรบ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 และ พ.ศ.2545 • ถ้ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จึงจะฟ้องคดีในศาลได้ • รัฐแพ้คดีบ่อย ครม. มีมติไม่ให้รัฐทำสัญญากับเอกชน โดยมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ • ค่าใช้จ่ายอนุญาโตตุลาการต่างประเทศแพงมาก ทางออกใหม่ได้ • “ผู้ชี้ขาด”
08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – มติ ครม. 28 ก.ค. 52 • โครงการขนาดใหญ่หรือการให้สัมปทานของรัฐได้มีการตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท ส่วนใหญ่หน่วยงานของรัฐจะเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือเป็นฝ่ายต้องชดใช้ค่าเสียหาย จึงให้ปรับปรุงมติ ครม. วันที่ 27 มกราคม 2547 ข้อ 1 เป็น ... • “สัญญาทุกประเภทที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชนในไทยหรือต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ ไม่ควรเขียนผูกมัดในสัญญาให้มอบข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด หากมีความจำเป็น ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป”
08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – มติ ครม 7 ธค 53 • รับทราบผลการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ เกี่ยวกับการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค.52 (เรื่อง การทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน) โดยสรุป คือ... “ให้จำกัดประเภทของข้อพิพาทที่ควรหรือไม่ควรใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก สร้างเสริมขีดความสามารถของบุคลากรและพัฒนาระบบการบริหารจัดการสัญญา” • มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมเร่งร่าง พรบ. อนุญาโตตุลาการฉบับใหม่ ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรี
08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – พรบ. • มาตรา 14 พรบ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 บัญญัติว่า... • “ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุญาโตตุลาการตามสัญญา... • คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจไม่ช้ากว่าวันยื่นคำให้การหรือภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การตามกฎหมายให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ... • และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย”
08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – ฎีกา 10212/2553 • สัญญาจ้างออกแบบและควบคุมการก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่า... • ในกรณีที่มีข้อเรียกร้อง ข้อพิพาท หรือเรื่องอื่นใดที่เป็นปัญหาระหว่างคู่สัญญาซึ่งไม่สามารถยุติโดยการเจรจา ให้ได้รับการชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ เป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการ ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล... • เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ... • เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน ย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – ฎีกา 12705/2553 • การที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้น... • ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม พรบ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 ในวันชี้สองสถาน... • ศาลได้สอบถามคู่ความแล้ว คู่ความแถลงรับว่าได้มีการทำสัญญาพิพาท ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวในรายงานกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – ฎีกา 8714/2554 • ผู้ร้องก่อสร้างทางขึ้นที่จอดรถพิพาทมีความสูง 2.03 เมตร ไม่ได้ระยะความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ.2521 ซึ่งต้องมีความสูง ไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร... • แต่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12 ออกตามความใน พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทางขึ้นที่จอดรถยนต์ของผู้ร้องจึงถูกต้องตามกฎหมาย... • การที่อนุญาโตตุลาการไม่หยิบยกกฎกระทรวงดังกล่าวมาวินิจฉัย แล้วชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้านเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
09 - ผู้ชี้ขาด ศาลฎีการับรองผู้ชี้ขาด DAB ใน FIDIC 1999
09 – ผู้ชี้ขาด (ต่อ) ผู้ชี้ขาด (Adjudicator) – ฎีกา 1982/2524 • สัญญาจ้างมีข้อความว่า.... “ข้อพิพาทหรือความขัดแย้งไม่ว่าประการใดๆ ที่เกิดขึ้นจากสัญญาหรือในการปฏิบัติงาน (ไม่ว่าระหว่างการดำเนินงานหรือหลังจากที่งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่ว่าก่อนหรือหลังการเลิกสัญญา การละทิ้งงานหรือการผิดสัญญา)... ให้เสนอเป็นประการแรกและให้ทำการชำระสะสางโดยวิศวกร และวิศวกรจะได้แจ้งการตัดสินของเขาเป็นลายลักษณ์อักษรแก่เทศบาลและผู้รับเหมาภายใน 90 วัน”... • วิศวกรที่ปรึกษาจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างโจทก์และจำเลยได้ ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
09 – ผู้ชี้ขาด (ต่อ) ผู้ชี้ขาด (Adjudicator) – FIDIC • Disputes shall be adjudicated by a dispute adjudication board (DAB) in accordance with Sub-clause 20.4. • The parties shall jointly appoint a dab by the date stated in the appendix to tender. • The DAB shall comprise, in the appendix to tender, either one or three suitably qualified persons (“the members”). • If the number is not so stated and the parties do not agree otherwise, the dab shall comprise three persons.
10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. • ผู้ควบคุมงาน คือ ใคร ตาม พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 • ความรับผิดทางอาญาของผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. • ผู้บริหารงานก่อสร้าง เป็น ผู้ควบคุมงานตามคำพิพากษาของศาล • ไม่ได้ลงชื่อในคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารก็เป็นผู้ควบคุมงานตามคำพิพากษา
10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. (ต่อ) • พรบ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ... “ผู้ควบคุมงาน” หมายความว่า “ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการหรือควบคุมดูแลการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร” ดังนั้น “ผู้ควบคุมงาน” ไม่จำเป็นต้องเป็น วิศวกร หรือสถาปนิก ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม
10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. (ต่อ) คำพิพากษาฎีกาที่ 4805/2553 • จำเลยที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง แม้จะฟังว่าลายมือชื่อวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างเป็นลายมือชื่อปลอม... • ก็มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 4 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 4 ในช่องวิศวกรและผู้ควบคุมงาน.... • และยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของจำเลยที่ 4 ไปใช้ในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างโดยได้รับค่าตอบแทน... • การกระทำของจำเลยที่ 4 ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
11 - ผู้บริหารงานก่อสร้าง • ความรับผิดของผู้บริหารงานก่อสร้าง ส่วนใหญ่ที่พบเป็นความรับผิดทางแพ่ง • คดีสะพานเหล็ก • คดีทรัพย์สินที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้ สัญญามาตรฐาน คณะกรรมการพัสดุ เหมือนของ FIDIC • ………… • ………… • …………
11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง (ต่อ) เป็นผู้ควบคุมงาน ตาม ฎีกา • ฎีกาที่ 8402/2540 “จำเลยที่ 7 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่กำหนดและตามหลักวิชา... • ถ้าจำเลยที่ 7 ควบคุมดูแลด้วยความระมัดระวัง ย่อมไม่เกิดผลเสียหายแก่ตึกแถวของโจทก์ จึงถือว่าจำเลยที่ 7 ประมาทเลินเล่อ”
11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง (ต่อ) Dr.Narong Leungbootnak The Engineering Institute of Thailand เป็นผู้ควบคุมงาน ตาม ฎีกา • ฎีกาที่ 8001/2544 “จำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ต้องตรวจสอบงานแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรกว่า สารกันซึมที่กำหนดเหมาะสมกับสะพานเหล็กหรือไม่ • เมื่อผู้รับเหมาทักท้วง กลับยืนยันว่าใช้ได้ • เมื่อทดสอบแล้วใช้ไม่ได้ จึงเป็นความผิดพลาดของจำเลยที่ 6 ที่ไม่ใช้ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์”
11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง (ต่อ) มติ ครม. เป็น “ที่ปรึกษา” • มติ ครม. วันที่ 6 สิงหาคม 2556 “รับทราบหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา โดยให้ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ • ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ”
12 - ผู้ว่าจ้าง • รับผิดตามข้อสัญญา • รับผิดตามกฎหมาย ปพพ. 428 • รับผิดเหมือนผู้ว่าจ้าง • คดีคู่สมรสลงนามเป็นพยานในสัญญา • คดีเจ้าของที่ดินยินยอมให้ก่อสร้างในที่ดิน • …………
13 - ผู้รับเหมา คือ ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่ว่าจะรับจ้างเหมาหรือไม่ก็ตาม ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน อาจเป็น “ลูกจ้าง” ทำงานก่อสร้างก็ได้ ตามคำพิพากษา
13 – ผู้รับเหมา (ต่อ) • ผู้รับเหมา ต้อง “รับเหมา” หรือไม่ พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับผู้รับเหมา ที่ มาตรา 5 ว่าผู้รับเหมาชั้นต้น หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง • ไม่ได้กำหนดว่า ต้องตกลงราคา “เหมารวม” เท่ากับว่า... • ไม่ว่าจะจ้างเหมาหรือไม่ ก็เป็น “ผู้รับเหมา”
13 – ผู้รับเหมา (ต่อ) • ผู้รับเหมา กับ ผู้รับจ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 7086/2552 “โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับผู้รับเหมาร่วมกันทำละเมิด.... แต่การเป็นผู้รับเหมา อาจเป็นผู้รับจ้างทำของ หรือ เป็นลูกจ้างจำเลยที่จำเลยจ้างแรงงานก็ได้” ดังนั้น “ผู้รับเหมา” จึงเป็น “ผู้รับจ้าง” ก็ได้ เป็น “ลูกจ้าง” ก็ได้
14 - ผู้รับเหมาช่วง Domestic Sub-Contractor Nominated Sub-Contractor ………… ………… ………… ………… …………
15 - หลักประกัน • ริบทั้งหมดไม่ได้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ เบี้ยปรับ ศาลลดได้ • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
16 – ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) • ค่าปรับ ถือเป็น เบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลลดได้ • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
16 – ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) (ต่อ) การแล้วเสร็จของงาน – ปลายเปิด (Open End) • ฎีกาที่ 647/2534 “จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่างานงวดสุดท้ายตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์... • โดยจำเลยมิได้ทักท้วงว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดและจะใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแต่อย่างใด... • คดีฟังได้ว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้โจทก์โดยไม่ติดใจที่จะบังคับเอาเบี้ยปรับ... • จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์โดยการหักจากหนี้เงินตามเช็คพิพาท”
17 - ประกันภัย • ต้องแจ้งภายใน 15 วัน เป็นเรื่องระหว่างผู้เอาประกันกับผู้รับประกัน อ้างปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไม่ได้ • Deductibles เป็นเรื่องระหว่างผู้เอาประกันกับผู้รับประกัน • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
18 - อายุความ Dr.Narong Leungbootnak The Engineering Institute of Thailand • ชำรุดบกพร่องเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด อายุความ 10 ปี • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
19 - โอนสิทธิในการรับค่าจ้าง • เมื่อโอนแล้ว เป็น กรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน ผู้รับจ้างหมดสิทธิ์ • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
20 – ค่าจ้าง Back to Back • Back to Back ไม่ใช่เงื่อนไขในการชำระเงิน ตามคำพิพากษาของศาล • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
21 – เหตุสุดวิสัย • ฝนตกตามฤดูกาล ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
22 – ขยายระยะเวลาก่อสร้าง • การ “พ้นวิสัย” • พ้นวิสัยเพราะผู้รับจ้าง ขยายเวลาก่อสร้างไม่ได้ • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
23 – ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น • ตามข้อสัญญา • ตามคำพิพากษา • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
24 – การบอกเลิกสัญญา • ข้อสัญญา • ข้อกฎหมาย • ฎีกา • ………… • ………… • ………… • …………
25 – การแล้วเสร็จของงาน • “Performance Certificate” FIDIC 1999 • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………
สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทยสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร COUNCIL OF ENGINEERS THE CONSULTING ENGINEERS ASSOCIATION OF THAILAND แบบมาตรฐาน สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง 49 49