1 / 44

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ. ป่าเป้า หมู่ที่ 10 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ. ป่าเป้า หมู่ที่ 10 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม. ประวัติความเป็นของบ้านป่าเป้า.

cooper
Download Presentation

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ. ป่าเป้า หมู่ที่ 10 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ.ป่าเป้า หมู่ที่ 10 ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

  2. ประวัติความเป็นของบ้านป่าเป้าประวัติความเป็นของบ้านป่าเป้า บ้านป่าเป้า ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2407 โดยมี นายขุน ต้นตระกุล นนทลี ย้ายครอบครัวมาจากบ้านแห่ใต้ ซึ่งตอนนั้นท่านได้ย้ายครอบครัวมาอยู่กับที่นา ของตนเองต่อมามีพรรคพวก ซึ่งมีที่นาอยู่บริเวณใกล้เคียงกันย้ายครอบครัวมาอยู่ร่วมกันประมาณ 12 ครัวเรือน ครอบครัวเหล่านั้นอยู่ร่วมกันมาจนถึง พ.ศ. 2450 ทางราชการก็อนุญาตให้มีการพัฒนาสร้างสรรค์หมู่บ้านเรียกว่า บ้านป่าเป้า และมีนายชาลี ศิริโยธา เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน และได้มีการพัฒนาสร้างสรรค์หมู่บ้านเรื่อยมา ซึ่งตอนนั้นเด็กชาวบ้านป่าเป้าไปเรียนที่โรงเรียนบ้านแห่ใต้ (แห่บริหารวิทย์)

  3. อยู่ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2515 ชาวบ้านได้เห็นความลำบากของเด็กซึ่งเดินทางไปโรงเรียนที่บ้านแห่ใต้ซึ่งมีระยะทางห่างจากบ้านป่าเป้าระยะทางกว่า 3 กิโลเมตรจึงได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น 1 หลัง งบประมาณ 5,000 บาท โดยมีนางสอน แสนทา และนายบุญมี อับไพชา บริจาคที่ดินให้ปลูกสร้างเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา และได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนขึ้นใหม่ในปีนั้น แต่ทางราชการไม่อนุมัติ จึงไม่สามารถเปิดทำการสอนได้ ต่อมาปี พ.ศ. 2516 ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านจึงดำเนินการขอเปิดโรงเรียนใหม่อีกครั้ง ทางราชการจึงได้อนุญาตให้เปิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2516 โดยมีนักเรียน 32 คน ครู 2 คน โดยมี นายเข็มชาติ จันทร์โสภณ เป็นครูใหญ่คนแรก และต่อมานายชาลี ศิริโยธาผู้ใหญ่บ้านคนแรกก็ได้เกษียณอายุ

  4. และต่อมานายบุญมี อับไพชา ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านแทน ชาวบ้านพร้อมคณะครูในโรงเรียนก็ได้ร่วมกันพัฒนาสร้างสรรค์หมู่บ้าน โรงเรียน วัด ให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยมีถนนติดต่อหมู่บ้านใกล้เคียงและออกสู่ตลาดตามฝั่งหนองกุดกอกเชื่อมถนนสายโกสุม – เชียงยืน ก.ม. ที่. 6

  5. สภาพทั่วไปของบ้านป่าเป้าสภาพทั่วไปของบ้านป่าเป้า ที่ตั้งบ้านป่าเป้า หมู่ที่ 10ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากตัวอำเภอโกสุมพิสัย 7 กิโลกรัม ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกลาดต่ำลงสู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นที่ลุ่ม ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก • สภาพทางภูมิศาสตร์บ้านป่าเป้า หมู่ที่ 10 ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดของหมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของโครงการชลประทานหนองหวายมีฝายน้ำล้นและแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดเล็กที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลยางน้อย

  6. อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านคันจ้อง ตำบลแห่ใต้ มีแนวเขตประมาณ 800 เมตรทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านคุยโพธิ์ ตำบลหัวขวาง มีแนวเขตประมาณ 1,000 เมตร ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านโพนทอง ตำบลแห่ใต้มีแนวเขต ประมาณ 2,500 เมตร ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านยางใหญ่ ตำบลยางน้อยมีแนวเขต ประมาณ 1,600 เมตร บ้านป่าเป้า ติดต่อกับ บ้านยางใหญ่ ตำบลยางน้อยมีแนวเขต ประมาณ 1,600 เมตร

  7. ประชากรบ้านป่าเป้ามีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น120ครัวเรือนมีจำนวนประชากร ทั้งสิ้น 464 คน ชาย 241 คน หญิง 223 คน

  8. สภาพเศรษฐกิจ อาชีพทำนา(อาชีพหลัก) ทำไร่ หัตถกรรมพื้นบ้าน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย

  9. ธุรกิจในหมู่บ้าน โรงสีข้าว 2 แห่ง แต่ยกตัวอย่างมา 1 ที่ เจ้าของโรงสีข้าว นายนคร ผ่องขำ ร้านขายของชำ 5 แห่ง ยกตัวอย่างมา 1 ที่ เป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน เจ้าของร้านนายทองพูล รัตวัตว์

  10. ร้านซ่อมรถ 2 ร้าน ยกตัวอย่างมา 1 ร้าน เจ้าของร้านนายธนพงษ์ สอนคำหาร อายุ 25 ปี

  11. ขนบธรรมเนียมประเพณี

  12. สถานที่สำคัญ โรงเรียนบ้านป่าเป้า จำนวนนักเรียน รวม 28 คน แยกเป็นชาย 10 คน หญิง 18 คน จำนวนครู รวม 4 คน แยกเป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน รูปที่ 1 โรงเรียนบ้านป่าเป้า รูปที่ 2 อาคารเรียน

  13. วัดบูรพาป่าเป้า วัด 1 แห่ง พระสงฆ์ จำนวน 2 รูป รูปที่ 3 วัดบูรพาป่าเป้า

  14. การคมนาคม มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนการคมนาคม มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน • สายถนนลูกรัง 3 สาย มีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน รูปที่ 5 ฝ่ายที่ทำประปาในหมู่บ้าน รูปที่ 4 ประปาประจำหมู่บ้าน

  15. ถนน คอนกรีต 1 สาย ถนนดิน ลำเลียงผลผลิตทางการเกษตร 4 สาย

  16. แหล่งน้ำในหมู่บ้าน ลำน้ำ (หนองกุดกอก) 1 สาย มีเนื้อที่ ประมาณ 108 ไร่ คลองส่งน้ำเพื่อใช้การเกษตร

  17. ข้อมูลอื่นๆ • กลุ่มอาชีพและแหล่งเงินทุนในหมู่บ้าน1. กองทุนหมู่บ้านทุนหมุนเวียน/กู้ยืม 1,122,000 บาท จำนวนสมาชิก 189 ราย2. เงินสัจจะกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 154,760 บาท3. กลุ่มปศุสัตว์ บ้านป่าเป้า ทุนหมุนเวียน 87,400 บาท จำนวนสมาชิก 77 ราย4. กลุ่มสตรีแม่บ้าน ทุนหมุนเวียน 100,000 บาท จำนวนสมาชิก 38 ราย5. กลุ่มศูนย์ร้านค้าสาธิต ประจำหมู่บ้าน ทุนหมุนเวียน 52,000 บาท จำนวนสมาชิก 44 ราย6. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านป่าเป้า ทุนหมุนเวียน 4,000 บาท จำนวนสมาชิก 40 ราย

  18. บรรยากาศภายในหมู่บ้านบรรยากาศภายในหมู่บ้าน

  19. ประวัติความเป็นมาของกลุ่มสตรีทอเสื่อกกประวัติความเป็นมาของกลุ่มสตรีทอเสื่อกก กลุ่มสตรีทอเสื่อกกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2544 รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อต้องการที่จะอนุรักษ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณคือ เสื่อกก ให้มีคุณภาพเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและเป็นรายได้เสริมเพื่อรายได้ให้กับสมาชิกและครอบครัวยามว่างจากการทำการเกษตรได้มีการระดมทุนจากสมาชิกเพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินการของกลุ่ม มีการออมเงินจากสมาชิกทุกเดือนและพัฒนาเสื่อกกให้มีหลากหลายรวมถึงเสื่อมัดหมี่ เสื่อเปียและแปรรูปทั่วไป

  20. วัตถุประสงค์ของกลุ่มสตรีทอเสื่อกก1. ส่งเสริมการประหยัดในหมู่สมาชิกโดยการสะสมเงินทุนเพื่อเป็นทุนดำเนินงานของกลุ่ม2. จัดให้มีเงินกู้ยืมสำหรับกลุ่มตามความจำเป็น3. จัดให้มีการแปรรูปผลผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มพูนมูลค่ารวมทั้งจัดจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของสมาชิกให้ได้ราคาดี 4. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการดำเนินกิจการของกลุ่มหรือเพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิก 5. จัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของกลุ่ม6. รับและจัดการเกี่ยวกับเงินอุดหนุน เงินบริจาค เงินช่วยเหลือ7. ส่งเสริมและพัฒนาด้านสังคม ได้แก่ การบำเพ็ญประโยชน์ การพัฒนาชุมชนและการเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์

  21. ผลิตภัณฑ์เด่น เสื่อกกแบบพับผลิตภัณฑ์เด่น เสื่อกกแบบพับ • ข้อดีและลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม 1. มีคุณภาพดีราถาถูก2. มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือก 3. มีหลายสีหลายลายให้เลือก 4. เสื่อเนื้อแน่นได้มาตรฐานสีสันสวยงามสีไม่มีตก • ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่ม1. ตลาดไม่แน่นอน2. เงินทุนและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ3. สมาชิกไม่มีความชำนาญในการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์4. ต้นทุนสูง ราคาต่ำ

  22. กลุ่มลูกค้า 1. กลุ่มทอเสื่อบ้านแพง2. นายวิเชียร สีนวนแสง3. ประชาชนทั่วไป4. นางชวนพิศ อวบอ้วนรายได้ต่อเดือน เดือนละ 15,000 – 30,000 บาท ปีละ ประมาณ 250,000 บาท • กลุ่มทอเสื่อที่พบใน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 1. กลุ่มทอเสื่อกกบ้านแพง2. กลุ่มทอเสื่อกกบ้านแห่ใต้3. กลุ่มทอเสื่อกกบ้านยางใหญ่

  23. วิธีการประชาสัมพันธ์ • 1. ออกงานขายสินค้าที่ทางราชการจัดให้ • 2. จัดทำแผ่นพับใบปลิว • คุณค่าทางสังคมสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน1. ได้ช่วยกันรักษาสินค้าที่มาจากฝีมือชาวบ้าน 2. เป็นของฝากให้แก่คนต่างจังหวัดและชาวต่างชาติที่ชอบหัตถกรรมพื้นบ้าน3. ช่วยทำมีรายได้เข้าออกประเทศ

  24. ประโยชน์ของเสื่อกก1. บ้านป่าเป้ามีรายได้เพิ่มขึ้นจาการจำหน่ายสินค้า OTOP เทียบกับปีที่ผ่านมา2. บ้านป่าเป้ามีจำนวนสมาชิกหรือครัวเรือนที่ผลิตสินค้า OTOP เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากยอดการสั่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่มีผู้อพยพไปใช้แรงงานที่อื่น ลักษณะราคาขายผลิตภัณฑ์1. ขายส่ง จำนวน 10 ชิ้น ราคา 1,200 บาท2. ขายปลีก แบบยังไม่แปรรูป 130 บาท3. ขายปลีก แบบแปรรูปแล้ว 250 บาท

  25. วัสดุอุปกรณ์ในการทอเสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการทอเสื่อ 1. กกกระจูด กกชนิดนี้ชาวบ้านสามารถปลูกได้ มีลักษณะลำต้นกลม ๆ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ไหล รูปที่ 6 กกหรือไหล รูปที่ 7 กกหรือไหล

  26. 2. ฟืมเครื่องสำหรับทอเสื่อมีลักษณะเป็นท่อนไม้มีรูห่างกันประมาณ 1 นิ้ว สำหรับสอดไนล่อน จะกระทบเชือกไนล่อนและกกให้ประสานกัน รูปที่ 8 ฟืม 3. โฮงโครงไม้เครื่องทอ ทำด้วยแก่นไม้เนื้อแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 เมตร ยาว 2.5 เมตร ใช้สำหรับขึงเชือกไนล่อนในการทอเสื่อกก รูปที่ 9 โฮง

  27. 4. ไม้สอด ไม้ที่ทำจากไม้ไผ่มีลักษณะแบนๆ ใช้สอดไปตามช่องว่างระหว่างเชือกไนล่อนโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด รูปที่ 10 ไม้สอด 5. เอ็นหรือเชือกไนล่อนเชือกที่ใช้ขึงกับโฮง ใช้สอดตามรูฟืม รูปที่ 11 เชือกไนล่อน

  28. 6. เทียนไข คือ เทียนไขที่เป็นแท่งนำมาถูกับเชือกไนล่อนที่ขึงระหว่างการทอเพื่อช่วยให้การกระทบฟืมมีความลื่นยิ่งขึ้น รูปที่ 12 เทียนไข 7.ม้ารองนั่ง เป็นท่อนไม้ไผ่ขนาดใหญ่ที่วางขวางกับโฮง เพื่อเป็นที่รองนั่งสำหรับคนทอที่ทำการกระทบฟืม รูปที่ 13 ม้ารองนั่ง

  29. ขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนที่ 1 การสอยต้นกก 1. ตัดต้นกกสด • 2. คัดเลือกต้นกกที่มีขนาดเท่ากันไว้ด้วยกัน

  30. 3. นำต้นกกที่คัดแล้วมาสอยเป็นเส้นเล็กโดยใช้มีดปลายแหลมคม(มีดแกะสลัก) 4. นำเส้นกกที่สอยแล้วมาผึ่งแดด ให้แห้ง (ถ้าเป็นไปได้ต้องเป็นแดดที่กล้าจัด)

  31. 5. นำเส้นกกสอยที่ตากแห้งแล้วมากมัดเป็นมัด ๆ รอการย้อมสี

  32. ขั้นตอนที่ 2การย้อมสี 1. เลือกซื้อสีสำหรับย้อมกกสี่ต่าง ๆ ที่มีสีสันสวยงามเช่น สีแดงสีเหลือง สีม่วงสีดำสีเขียวเป็นต้น 2. ก่อไฟโดยไฟที่ใช้ต้องสม่ำเสมอ

  33. 3.นำปี๊ป หรือภาชนะใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือดและเท่สีลงในน้ำ • 4. นำเส้นกกที่คัดเลือกแล้วลงย้อมจนเพียงพอที่จะใช้ในการทอ

  34. 5. นำเส้นกกที่ย้อมสีแล้วพักไว้ให้เสด็จน้ำแล้วนำไปตากแดด • 6. นำเส้นกกที่ย้อมสีเสร็จแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง

  35. ขั้นตอนที่3 การทอเสื่อ 1. กางโฮงที่ทำสำเร็จรูปแล้วมากาง • 2. นำเชือกในลอนสำหรับทอเสื่อมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จ

  36. 3. นำเส้นกกที่สอยและย้อมสีแล้วเลือกว่าจะใช้สีใดบ้างที่จะ • ทอเสื่อ 4. เลือกลายแล้วเริ่มทอจนเป็นแผ่น

  37. 5. พอทอเสร็จก็ตัดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปตากแดดเพื่อให้สีไม่ออก 6. พอทอเสร็จแล้วก็นำไปเก็บไว้ในที่ร่ม

  38. ขั้นตอนที่ 4 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกลายต่าง ๆ 1. เสื่อที่พิมพ์แล้วนำมาเย็บต่อเป็นผืนโดยใช้จักรเย็บและทำให้เสร็จจนเป็นเสื่อพับ • 2. นำเสื่อที่ตัดเอาไว้ตามแบบแล้วนำมาเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้ออกแบบเอาไว้

  39. ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

  40. ประธานกลุ่มสตรีทอเสื่อกกประธานกลุ่มสตรีทอเสื่อกก

  41. ประวัติของประธานกลุ่มประวัติของประธานกลุ่ม ชื่อ นางเข็มพร สอนคำหาร เกิดวันที่ 27 มกราคม 2506 อายุ 49 ปีที่อยู่68 หมู่ 10 บ้านป่าเป้า ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140ระดับการศึกษา ประถมศึกษาที่ 4 โรงเรียนบ้านป่าเป้าเบอร์โทรศัพท์087-2336409สถานภาพ สมรสกับนายพ่อจรัญ สอนคำหาร เกิดวันที่ 20 เมษายน 2504 อายุ 51 ปีมีบุตรชายด้วยกัน 2 คน 1.ชื่อนายธนพงษ์สอนคำหาร อายุ 25 ปี2. ชื่อนายพงษ์พานิช สอนคำหาร อายุ 23 ปี

  42. นักปราชญ์

  43. ประวัตินักปราชญ์ คุณพ่อประดิษฐ์ ราชรินทร์ เกิดวันที่ 3 กันยายน 2488 อายุ 66 ปีที่อยู่ 38 หมู่ 10 บ้านป่าเป้า ตำบลยางน้อง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140ย้ายมาอยู่บ้านป่าเป้า พ.ศ. 2408การศึกษา เรียนโรงเรียนวัด จบ ป. 4เมื่อ พ.ศ. 2547 ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านป่าเป้า เกษียรเมื่อ พ.ศ. 2552อุปสมบท ปี พ.ศ. 2510 สมรมกับ นางทองศรี ราชรินทร์ เกิดวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2492 อายุ 63 ปีมีบุตรด้วยกัน 2 คน 1.นางสุนีย์ ราชรินทร์ อายุ 44 ปี2. นางสุนัน ราชรินทร์ อายุ 41 ปี คุณพ่อประดิษฐ์ ราชรินทร์ เป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้ความนับถือในด้านการสู่ขวัญงานแต่งงาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่

  44. จบการนำเสนอ

More Related