60 likes | 419 Views
งานนำเสนอวิชาคณิตศาสตร์. เรื่องนักคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์. โย ฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์. จัดทำโดย นาย เจษฎากร บุญ โสภาคย์ เลขที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / 1 เสนอ อาจารย์ชัยสิทธิ พงษ์พัฒน์. ประวัติของ โย ฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์.
E N D
งานนำเสนอวิชาคณิตศาสตร์งานนำเสนอวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องนักคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริชเกาส์ จัดทำโดย นาย เจษฎากร บุญโสภาคย์ เลขที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เสนอ อาจารย์ชัยสิทธิ พงษ์พัฒน์
ประวัติของ โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริชเกาส์ โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริชเกาส์นักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมันเกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2302 (ค.ศ. 1777) เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2398 (ค.ศ. 1855) เป็นหนึ่งในตำนานนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มีอาคิมิดีสนิวตันเกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" (Prince of Mathematics) เนื่องจากอุทิศผลงานในทุก ๆ ด้านของคณิตศาสตร์ในยุคสมัยของเขา นอกจากนี้เกาส์ยังมีผลงานสำคัญทางด้าน ฟิสิกซ์โดยเฉพาะ ด้านดาราศาสตร์ อีกด้วย
ผลงานของโยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริชเกาส์ วิธีกำลังสองต่ำสุด ความผิดพลาดในการวัด และการกระจายตัวแบบเกาส์ ในปี ค.ศ. 1809 เกาส์ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนไหวของวัตถุท้องฟ้าและได้สร้างค่าคงที่ gaussian gravitational constant ขึ้นมา นอกจากนี้ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้คิดค้นวิธีกำลังสองต่ำสุด (method of least squares) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในวิทยาศาสตร์ปัจจุบันในการลดผลกระทบจากค่าความผิดพลาดจากการวัดให้เหลือน้อยที่สุด โดยเกาส์ได้พิสูจน์ถึงความถูกต้องของวิธีนี้ เมื่อมีสมมุติฐานว่าค่าความผิดพลาดที่เกิดจากการวัดมี การกระจายตัวแบบปกติ (normal distribution) (เป็นสาเหตุให้คนทั่วไปนิยมเรียกกันการกระจายตัวแบบเกาส์ (gaussian distribution)
ใช้คณิตศาสตร์บุกเบิกวิทยาการด้านธรณีฟิสิกส์ใช้คณิตศาสตร์บุกเบิกวิทยาการด้านธรณีฟิสิกส์ เกาส์มีความเชื่อว่า คณิตศาสตร์คือราชินีของวิทยาศาสตร์ ที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนต้องใช้ในการศึกษาธรรมชาติ นอกจากเกาส์ ใช้คณิตศาสตร์ในการศึกษาดาราศาสตร์แล้วเขายังใช้ คณิตศาสตร์บุกเบิกวิทยาการด้านธรณีฟิสิกส์ด้วย เมื่อเขาอธิบายว่าปรากฏการณ์สนามแม่เหล็กโลกเกิดจากการมีแท่งแม่เหล็กขนาดใหญ่อยู่ที่แกนกลางของโลก และแกนของแท่งแม่เหล็กนี้เอียงทำมุมๆ หนึ่งกับแกนหมุนของโลก เพื่อเป็นเกียรติแก่ เกาส์ นักฟิสิกส์จึงได้เรียกหน่วยวัดความเข้มสนามแม่เหล็ก ว่าGuass ผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีแม่เหล็กและไฟฟ้า วิจัยเกี่ยวกับแม่เหล็กสร้างสหพันธ์ แม่เหล็ก(Magnetic Union) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ แม่เหล็กโลกงานเกี่ยวกับแม่เหล็กของเกาส์ได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นเครื่องโทรเลขในยุคแรกๆ นอกจากนี้ยังค้นพบกฎของเกาส์ในสนามไฟฟ้าซึ่งนำไปสู่ กฎของเคิร์ชที่เป็นหนึ่งในกฎพื้นฐานที่สุดของวงจรไฟฟ้า
แหล่งอ้างอิง www.trueplookpanya.com www.th.wikipedia.org www.atom.rmutphysics.com/physics/oldfront/53/1/เกาส์.htm www.space.mict.go.th/astronomer.php