110 likes | 397 Views
EC 210. Supachai Srisuchart ssrisuchart@econ.tu.ac.th. คำอธิบายรายวิชา.
E N D
EC 210 Supachai Srisuchart ssrisuchart@econ.tu.ac.th
คำอธิบายรายวิชา • ศึกษาหลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค ในเรื่องปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยกำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าพฤติกรรมผู้บริโภค ลักษณะสำคัญของตลาดสินค้าที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ การคำนวณผลิตภัณฑ์ประชาชาติ การเงินการธนาคาร นโยบายการเงินและการคลังโดยสังเขป ความสำคัญของการค้าและการเงินระหว่างประเทศในดุลการชำระเงิน
วิธีการเรียนการสอน • การศึกษาวิชานี้จะมีการบรรยาย สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ตามหัวข้อบรรยายที่กำหนดให้ในบทต่างๆ • อาจารย์ผู้บรรยายอาจจะบรรยายเพียงบางหัวข้อ • สำหรับหัวข้อที่ไม่มีการบรรยายนักศึกษาจะต้องอ่านและทำความเข้าใจด้วยตัวเอง จากหนังสือหรือเอกสารประกอบคำบรรยายที่ได้แนะนำไว้ในแต่ละบท • นอกจากนี้นักศึกษาควรมีการฝึกฝนตนเองด้วย จากแบบฝึกหัดที่ผู้บรรยายจะมอบให้นักศึกษาทุกบทที่กำหนดให้
การปรึกษาอาจารย์ • เมื่อนักศึกษาประสบปัญหาต่าง ๆ ในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนวิชานี้ จะเข้าพบอาจารย์ผู้บรรยายได้ทั้งก่อนหรือหลังเวลาเข้าเรียน หรือถ้านักศึกษาไม่สะดวกในเวลาเหล่านั้น อาจนัดแนะเวลาอื่นกับอาจารย์ก็ได้
ตำราและเอกสารประกอบการเรียนตำราและเอกสารประกอบการเรียน • ตำราหรือเอกสารอื่นๆเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นที่ระบุไว้ในแนวการบรรยาย วิชานี้ (Course Outline) หรือที่อาจารย์ผู้สอนแนะนำมีในห้องสมุดป๋วยที่ศูนย์รังสิต หรือที่ท่าพระจันทร์ • เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา ศ.210 ซึ่งจัดทำโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาสามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายเอกสาร ชั้นล่างคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ และจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือ ( ศูนย์รังสิต ) ทุกวันทำการ
ตำราภาษาไทย • วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 2541 ( พิมพ์ครั้งที่ 5 ), สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำราภาษาอังกฤษ • Lipsey, Richard G., Paul N. Courant, Douglas D. Purvis, and Peter O. Steiner, Economics, 11th edition 1996. (L & S). *****( แนะนำ ) • McConnell, C.R., and Brue, Stanley C., Economics 13thed. 1996. (MC) • Samuelson, P.A. and Nordhaus W.D., Economics, Fifteenth edition 1998.
การวัดผล • คะแนนประกอบด้วยการสอบกลางภาค สอบไล่ปลายภาค การทำแบบฝึกหัด และทดสอบย่อย ดังนี้ • 1) การสอบกลางภาค 35 คะแนน • 2) การสอบไล่ปลายภาค 50 คะแนน • 3) การทำแบบฝึกหัด ทดสอบย่อย 15 คะแนน • หมายเหตุ : มีการเช็คชื่อหรือสุ่มทดสอบในห้องเรียน ถ้าขาดเกิน 3 ครั้ง จะไม่มีสิทธิสอบไล่ • และหากนักศึกษาทำคะแนนได้ต่ำกว่า 45 คะแนน จะได้รับเกรด F และหากนักศึกษาทำคะแนนได้เกินกว่า 85 คะแนนจะได้รับเกรด A สำหรับเกรดอื่นๆพิจารณาโดยใช้กลุ่มเป็นเกณฑ์
ห้องทำงานอาจารย์ • ท่าพระจันทร์ • ห้อง 451 คณะเศรษฐศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทร . ( 02 ) 613 – 2418 • วันจันทร์ และ วันศุกร์ เวลา 10.00 น. – 14.00 น. (นัดหมายล่วงหน้า ) • รังสิต: ห้องพักอาจารย์ อาคารวิจัย 244 • วันอังคาร เวลา 10.00 – 11.00 น. และ 14.00 – 15.00 น • วันพฤหัสบดี เวลา 10.00 – 11.00 น. • E-mail : ssrisuchart@econ.tu.ac.th
หัวข้อบรรยาย วิชา เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น • บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ • บทที่ 2อุปสงค์ (Demand) อุปทาน (Supply) และการกำหนดราคา (Price Determination) • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน และการวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจบางประการ • บทที่ 4 การผลิตและต้นทุนการผลิต • บทที่ 5 ตลาด โครงสร้างตลาด และการกำหนดราคา • บทที่ 6การกำหนดรายได้ประชาชาติ
หัวข้อบรรยาย วิชา เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น • บทที่ 7บทบาทของภาครัฐบาล และนโยบายการคลัง • บทที่ 8การเงิน การธนาคาร สถาบันการเงิน และนโยบายการเงิน • บทที่ 9บทบาทของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในระบบเศรษฐกิจ • บทที่ 10เศรษฐกิจไทยและการประยุกต์ทฤษฎีเพื่อการอธิบาย